พาชมบ้านจิ๋ว ทรงแปดเหลี่ยม ในประเทศญี่ปุ่น
ภาพจาก: designboom, Toshiyuki Yano
รูปมวลอาคารที่มีเหลี่ยมมีมุม ทำให้ Octa House มีความแตกต่างจากอาคารอื่นๆ
บ้านหลังนี้ได้จัดการกับความท้าทายของพื้นที่ในเมืองที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้สามารถรองรับสมาชิกของครอบครัว โดยตัวอาคารเป็นโครงสร้างไม้สูง 3 ชั้น ตั้งอยู่ในย่านการค้าของเมืองเอฮิเมะ ประเทศญี่ปุ่น การออกแบบนำโดยสถาปนิก Yoko Okegawa มีความท้าทายจากพื้นที่ขนาดเล็กที่ล้อมรอบด้วยอาคารสูง แต่จำเป็นต้องสร้างพื้นที่ให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้งานและความสะดวกสบายสำหรับครอบครัว
ซึ่งโจทย์ของลูกค้า คือ ต้องการพื้นที่โรงจอดรถแบบมีหลังคาและห้องส่วนตัวสำหรับเด็ก โดยจำเป็นต้องมีการออกแบบที่กะทัดรัดและใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหานี้สถาปนิกได้ใช้รูปทรงเหลี่ยมที่มีการตัดมุมแนวทแยง ซึ่งเป็นรูปร่างที่ทำให้เกิดขอบด้านนอก โดยขอบมุมอาคารจะถูกใช้งานเป็นระเบียงปลูกต้นไม้ทรงสามเหลี่ยมบนชั้น 2 และระเบียงดาดฟ้าบนชั้น 3 ช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวให้กับการออกแบบทางตั้ง
ภาพจาก: designboom, Toshiyuki Yano
ใช้การตัดมุมอาคารเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนา
พื้นที่ชั้น 1 ของ Octa House ภายนอกอาคารจะถูกออกแบบให้มีหน้าตาแตกต่างจากชั้นบน เนื่องจากต้องการให้ฐานตรงนี้มีความกลมกลืนไปทิวทัศน์โดยรอบรวมถึงตัวถนนด้วย และต่อมาในส่วนของชั้นบน ผนังที่ทำมุมไม่เท่ากันของชั้น 2 และ 3 จะช่วยแบ่งมวลอาคารให้มีขนาดที่เล็กลง ลดความรู้สึกเทอะทะ ซึ่งการจัดวางรูปแบบของมวลอาคาร ช่วยให้บ้านมีความกลมกลืนกับพื้นที่ใกล้เคียงโดยรอบ และไม่ส่งผลกระทบต่อคนเดินถนนและบ้านใกล้เคียง
ซึ่งวิธีการตัดมุมของมวลอาคาร เป็นการแก้ปัญหาของบริบทพื้นที่ที่ทำให้การอยู่อาศัยรับรู้ถึงความรู้สึกความเป็นส่วนตัว แม้ในสภาพแวดล้อมในเมืองจะมีความหนาแน่น
โดยในชั้นที่ 1 มุมของอาคารจะเป็นพื้นที่สำหรับอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ในส่วนชั้น 2 ช่องเปิดจะถูกออกแบบให้มีความเอียงทำให้รู้สึกถึงระยะห่างจากหน้าต่างบ้านข้างเคียง และยังช่วยให้ภายในกว้างและมีแสงส่องถึง สำหรับในส่วนของชั้นที่ 3 จะออกแบบให้เป็นระเบียงดาดฟ้ารองรับการพักผ่อนแบบส่วนตัวแบบเปิดโล่ง สร้างความต่อเนื่องระหว่างพื้นที่ของบ้านกับสภาพแวดล้อมของเมือง
ภาพจาก: designboom, Toshiyuki Yano
บ้านสำหรับครอบครัวบนพื้นที่ในเมืองที่มีอยู่อย่างจำกัด
สำหรับภายใน Octa House จะใช้การจัดวางพื้นที่ที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกของการโอบล้อม และในขณะเดียวกันก็ยังคงให้ความรู้สึกโปร่งโล่งผ่านมุมมองที่ล้อมรอบด้วยหน้าต่าง ส่วนการวางบันได ได้วางไว้ที่จุดตัดของรูปทรงแปดเหลี่ยม ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้งแกนหลัก และเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่ส่งเสริมการเชื่อมต่อของสมาชิกในครอบครัว
ในส่วนการตกแต่งพื้นและผนังจะมีความหลากหลาย รวมถึงหลังคาแหลมสูงชันที่ช่วยให้บ้านดูมีชีวิตชีวา โดยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของเด็กๆ ส่งเสริมให้เกิดการสำรวจและการมีส่วนร่วมกับพื้นที่ ผ่านการผสมผสานรูปทรงเรขาคณิตที่ซับซ้อน ดังนั้น Octa House จึงเปลี่ยนข้อจำกัดของพื้นที่ให้กลายเป็นโอกาส
ภาพจาก: designboom, Toshiyuki Yano
มีการใช้รูปทรงสี่เหลี่ยมที่มีการตัดมุมในแนวทแยง