TOD Standard 3.0 เพื่อชีวิตที่ดีกว่าร่วมกัน

เกริก บุณยโยธิน 01 July, 2022 at 12.18 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


นับตั้งแต่แนวคิด TOD (Transit Oriented Development) หรือการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ เป็นที่รู้จักตั้งแต่ปีค.ศ.1993 จนถึงวันนี้แนวทางการพัฒนาแบบ TOD ได้สร้างแนวทางการพัฒนาจนได้มาตรฐานที่สามารถนำไปใช้ในชื่อ TOD Standard ซึ่งปัจจุบันพัฒนามาถึงเวอร์ชัน ที่ 3 หรือเรียกว่า TOD Standard 3.0 โดยให้มาตรฐานตามคะแนนรวมทั้งหมด 100 คะแนน หากการพัฒนาพื้นที่นั้นได้คะแนน 86 – 100 จะได้ Gold standard ส่วนคะแนนตั้งแต่ 71 – 85 ได้ Silver standard และคะแนน 56 – 70 ได้ Bronze standard โดยคะแนนจะพิจารณาจากแนวทางการพัฒนาทั้ง 8 ด้าน ดังต่อไปนี้

1. Walk (15 คะแนน)

โครงข่ายทางเดินเท้าที่ดีเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของการพัฒนาตามแนวทาง TOD ทางเดินที่ดี ไม่เพียงแต่ทำทางเดินให้กว้างขวาง สะอาด สวยงาม และปลอดภัยเท่านั้น  แต่ยังต้องพิจารณาเรื่องสิ่งกีดขวาง ความลาดชัน บันได เส้นบล็อกนำทางอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางสายตา และผู้ใช้งานวีลแชร์ สำคัญที่สุด คือ ทางเดินนั้นต้องดีต่อกายและใจ ไม่ว่าจะเป็นความร่มรื่นจากต้นไม้ เก้าอี้นั่งพักระหว่างทาง กิจกรรม สีสันของผู้คนระหว่างทางเดิน มีสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ห้องน้ำสาธารณะ ถังขยะ ไฟทางเดิน ป้ายบอกทาง คือ โครงข่ายทางเดินเท้าที่มีคุณภาพ

 

2. Cycle (5 คะแนน)

แม้หัวข้อนี้จะมีความสำคัญเพียง 5 คะแนน แต่ก็เป็นคะแนนสำคัญที่อาจชี้วัดความเป็นไปว่าจะได้ TOD ระดับทองหรือไม่ การเดินทางด้วยจักรยานได้รับความนิยมเป็นอันดับสอง รองลงมาจากการเดินเท้า ในจุดที่ TOD ให้ความสำคัญมากที่สุดคือเรื่องการออกแบบเส้นทางจักรยานที่มีความปลอดภัย การจัดทำที่จอดจักรยานชั่วคราว ที่จอดจักรยานถาวร รวมถึงจุดขึ้นลงจักรยานว่าสามารถจอดแล้วจรต่อไปได้มากน้อยแค่ไหน

 

3. Connect (15 คะแนน)

การสร้างเส้นทางเชื่อมโยงทุกการเดินทางในเมือง โดยใช้สถานีขนส่งสาธารณะอย่างไร้รอยต่อ ภายในระยะ 400 เมตรจากตัวสถานีขนส่งสาธารณะ ประชาชนสามารถสัญจรไปมาภายในรัศมี อย่างสะดวกสบายได้ด้วยโครงข่ายทางเดินเท้า และจักรยาน จูงใจทำให้ผู้ใช้รถยนต์ส่วนบุคคลเห็นว่าการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้พวกเขาเข้าถึงสถานที่ทำงาน และร้านค้าดีกว่า

 

4. Transit (ไม่มีคะแนน)

เส้นทางคมนาคมและสถานีขนส่งสาธารณะ เป็นหัวใจและจุดเริ่มต้นของการพัฒนาทุกอย่างตามแนวทาง TOD ในหัวข้อนี้จึงไม่มีคะแนน แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดไปไม่ได้เลย เพราะถ้าขาดระบบขนส่งสาธารณะก็จะไม่มีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวทาง TOD เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามคำแนะนำของ TOD กล่าวว่าสถานีขนส่งสาธารณะที่ดี ควรมีระบบขนส่งที่มีความหลากหลาย เข้าถึงทุกพื้นที่ของเมือง เพื่อเป็นทางเลือกการเดินทางให้กับประชาชน

 

5. MIX (25 คะแนน)

MIX คือ การผสมผสานพื้นที่ต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างลงตัว ประชาชนต้องเข้าถึง ร้านค้า คลินิกการแพทย์ ร้านอาหาร ธุรกิจ สถานบริการ สนามเด็กเล่นหรือสวนสาธารณะ และการจัดสรรพื้นที่ที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะไม่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคม ผู้มีรายได้น้อยก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีเฉกเช่นผู้มีรายได้สูง ด้วยการเข้าถึงบริการพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกันได้ด้วยการเดิน หรือปั่นจักรยานเหมือนกัน  ที่สำคัญคือต้องไม่ทำลายชุมชน และวัฒนธรรมของผู้อยู่อาศัยเดิมที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงพื้นที่พัฒนา แต่ต้องทำให้พวกเขารู้สึกได้ถึงการมีส่วนร่วม และเข้ามาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาร่วมกันได้

 

6.Densify (15 คะแนน)

การกำหนดพื้นที่ความหนาแน่นของประชากรอย่างเหมาะสม คือส่วนสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย TOD ไม่ใช่เพียงการกำหนดความหนาแน่นโดยรวมของประชากรในพื้นที่ แต่ต้องทำให้พื้นที่พัฒนานั้นมีความหนาแน่นอย่างเหมาะสม ระหว่างพื้นที่อยู่อาศัย กับพื้นที่ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย เช่นการจัดสรรพื้นที่ทำกิจกรรมของชุมชน สวนสาธารณะ พื้นที่โล่งกว้าง เป็นพื้นที่ให้ผู้คนได้หายใจ หลีกหนีจากความแออัด ลองนึกภาพดูว่าแม้จะมีทางเดิน สวนสาธารณะ และสถานีขนส่งสาธารณะที่น่าใช้งานแค่ไหนก็ตาม แต่คงไม่มีใครอยากใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางความแออัด มองไปทางไหนก็มีแต่ผู้คน เดินหัวไหล่ชนกัน การจัดสรรพื้นที่ต่างๆ ต้องมีความหนาแน่นที่เหมาะสม เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

7. Compacts (10 คะแนน)

แม้จะเป็นสเกลการพัฒนาระดับใหญ่ แต่ในการใช้งานจริงต้องมีความกระชับในการเดินทาง กล่าวคือการออกแบบเส้นทาง ต้องช่วยให้ประชาชนในพื้นที่ทุกจุดรอบสถานีขนส่งสาธารณะ สามารถเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดในการเดินทางระหว่างที่พัก ที่ทำงาน ศูนย์การค้า สวนสาธารณะ หรือจุดหมายปลายทางในย่านนั้น โดยใช้เวลาไม่นาน ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อย เช่นหากต้องการเดินทางไปร้านขายยา จะสามารถเดินถึงได้ในระยะไม่เกิน 400 เมตร เป็นต้น

8. Shift (10 คะแนน)

ข้อสุดท้ายคือการดูภาพรวมคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่พัฒนา ว่าสนใจลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล แล้วหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน ยิ่งประชาชนหันมาใช้การเดินเท้า ปั่นจักรยาน และระบบขนส่งสาธารณะมากยิ่งขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งสะท้อนคุณภาพชีวิตของคนเมืองมากขึ้นเท่านั้น

 

หากการพัฒนาข้อ 1 – 7 ทำได้ดี ย่อมจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นอย่างแน่นอน

 

ทั้งหมดนี้เราจะเห็นได้ว่า TOD ไม่ใช่เพียงแค่สร้างแนวคิดการพัฒนาแล้วนำไปใช้ แต่ต้องทำให้แน่ใจว่าการพัฒนานั้น สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในพื้นที่ใหม่ หรือพื้นที่ที่มีผู้อยู่อาศัยเดิมอยู่ก่อนแล้วก็ตาม ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกชนชั้น จะต้องได้ประโยชน์จากการพัฒนาตามแนวทางของ TOD ไปด้วยกัน

 

ขอบคุณข้อมูลจากบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด, www.sutp.org

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง