ผ่ากลยุทธ์เสนา ปรับมุมคิดเรื่องโลเคชั่น พร้อมซื้อสดรวด 3 โครงการเพื่อลดความเสี่ยง รัตนาธิเบศร์, เจริญนคร, เตาปูน – บางซื่อ
“ทิศทางในอนาคตต่อจากนี้คาดว่าจะทยอยฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าก่อนเกิดโควิด อสังหาฯเป็นปัจจัยสี่ ทำให้มันมีเสน่ห์ตรงที่เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเริ่มมีกำลังซื้อ ดีมานท์ก็จะค่อยๆกลับมา แต่ในขณะที่ทุกอย่างกลับมาก็มีบางสิ่งที่ไม่เหมือนเดิม โดยเฉพาะในเรื่องของความสามารถในการกู้แบงค์ของคนส่วนใหญ่ ซึ่งธนาคารก็ล้วนมี cautious level ในการดูกิจการต่างๆว่ามีความสามารถในการกลับมาได้รึเปล่า การกลับมาขออสังหาเชื่อว่าจะช้ากว่านั้น ไม่ใช่ว่าเปิดประเทศปุป กลับมาปั๊บ มันต้องลุ้นหลายๆอย่าง เราเคยอยู่ใน Level ที่การท่องเที่ยวพีคที่สุดในโลก ถ้าเราต้องการกลับไปจุดนั้นเราก็ต้องได้ Level คนท่องเที่ยวที่ 40 ล้านคนต่อปีในปี 2019 เราคาดว่าจะได้แบบนั้นหรือเปล่า?” ดร.ยุ้ย ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ เปิดนำด้วยคำถามที่ท้าทายทุกภาคส่วนของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดทิศทางและบริหารประเทศ ในงานพบปะสื่อมวลชนที่จัดขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเช้านี้ ภายใต้หัวข้อ “แนวคิดและมุมมองในธุรกิจยุคโควิด จุดไหน คือ เป้าหมาย โอกาส อนาคต” ซึ่งใน Session นี้เราได้สรุปประเด็นสำคัญมาให้อ่านดังนี้ครับ
จากข้อมูลที่ดร.ยุ้ย มานำเสนอเราในวันนี้เราเห็นตัวเลขหน่วยเหลือขายสะสมที่ค่อนข้างน่าตกใจก็คือ จำนวนเหลือขายสะสมของคอนโดค่อยๆลงมาพอๆกับทาวน์โฮมแล้ว เนื่องจากในปีที่ผ่านมาคอนโดเปิดตัวน้อยลง และมีการลดราคาแรงๆจนขายไปได้เยอะ ในขณะที่หลายๆดีเวลลอปเปอร์มีการเปิดตัวโครงการทาวน์โฮมมากยิ่งขึ้น ซึ่งนี่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวของดีเวลอปเปอร์ส่วนใหญ่
BTS ยกเลิกบัตรโดยสารประเภท 30 วัน คือ Challenge ใหม่ที่ทุกดีเวลลอปเปอร์ต้องไปหามุมคิดใหม่ในการพัฒนาโครงการ? เนื่องจากเมื่อก่อนคนส่วนใหญ่อาจจะมองว่าเราใช้รถไฟฟ้าเดินทางไปได้รอบเมืองในเวลาที่รวดเร็ว และกำหนดค่าโดยสารได้ โครงการหลายๆโครงการจึงใช้ Key Message ประเภท 10 สถานีจากอโศก ซึ่งมันโดนใจกลุ่มลูกค้าที่ทำงานที่อโศกที่มีงบประมาณแค่ 2-3 ล้านบาท เค้าจึงยอมเลือกโครงการชานเมืองอย่างแพรกษา ที่ได้ห้องใหญ่กว่า ราคาถูกกว่า โดยที่เอาเงินส่วนต่างมาจ่ายเป็นค่าโดยสาร BTS แทน ซึ่งการยกเลิกตัวเดือนนี้มี Effect มากสำหรับคนที่ถือตัวเดือนในแบบ Fix Rate ส่งผลให้ราคาค่าเดินทางเพิ่มขึ้นถึง 100 กว่าเปอร์เซนต์…ในมุมมองของดร.มองว่า รัศมีในการขายจะแคบลง ไม่เหมือนเมื่อก่อนที่สุดสาย ก็ขายคนทำงานปลายสายได้ แต่พอมาแบบนี้วงรอบของการเดินทางมันก็จะมีแค่ 5 สถานี ซึ่งมันส่งผลดีต่อการเปลี่ยนแปลงตลาดของคอนโด ที่น่าจะยังคงได้รับการตอบรับที่ดีอยู่
สำหรับประเด็นที่ต้องจับตามองอื่นๆทางดร.คิดว่าเรื่อง Oversupply น่าห่วงน้อยที่สุด เพราะตั้งแต่อยู่ในวงการมาคำศัพท์นี้เกิดขึ้นมาตลอดแต่ท้ายที่สุดก็ได้รับการดูดซับทั้งหมด แต่สำหรับดร.มองว่าเป็นในเรื่องของจำนวนคอนโดหยุดการขายที่มีมากถึง 70% ในปี 2564 ซึ่งทางเสนาเองก็มีโครงการแบบนี้เช่นเดียวกัน ซึ่งในบางกรณีก็เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ และเป็นปกติทั่วไป หากโครงการนั้นไม่ได้รับการตอบรับที่ดี ขายไม่ได้ ก็หยุดสร้าง หยุดขาย แล้วมาคิดพิจารณากันว่าจะทำอย่างไรใหม่ดีกว่า ยิ่งเป็นตึกสูง 30 ชั้นนี่ถ้าไม่ไหวยิ่งต้องหยุดเลย เพราะมันใช้เวลาในการสร้างนานมาก