THE SUBPRIME CRISIS นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมองวิกฤตซับไพรม์แตกต่างจากนักวิเคราะห์ทั่วไปอย่างไร

ต่อทอง ทองหล่อ 26 July, 2019 at 13.01 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์เป็นปัญหาเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2551 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาจากการกู้ยืมและการให้กู้ยืมที่ด้อยคุณภาพ มีความเสี่ยงสูง ระดับหนี้สินของบริษัทและหนี้ของบุคคลสูงเกินไป

Dan Ariely (แดน อารีลีย์) เป็นนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ผู้เขียนหนังสือเรื่อง พฤติกรรมพยากรณ์ (Predictably Irrational) เขาออกมาพูดถึงวิกฤตซับไพรม์ที่เกิดขึ้นในอเมริกาตามมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

 

Dan มองว่าช่วงจังหวะที่ตลาดซื้อขายบ้านกำลังคึกคักและเป็นที่หมายตาของคนทั้งหลายนั้น นายธนาคารผู้ซึ่งปล่อยสินเชื่อย่อมไม่คิดว่าลูกค้าของเขาจะอยากปล่อยให้บ้านของตนหลุดจำนอง และทุกคนก็คงต้องหาวิธีทำอะไรสักอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นแน่ๆ สมมติฐานข้างต้นนี้ถูกต้องเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น  แน่นอน ไม่มีใครอยากปล่อยให้บ้านของตนเองหลุดจำนอง แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้ตัวเองรอดพ้นจากสถานการณ์นี้ได้ สมมติฐานในครึ่งหลังจึงผิดมหันต์ เพราะปัญหาที่พบโดยทั่วไป คือ มันยากมากที่จะคำนวณว่าแค่ไหนถึงเป็นวงเงินที่เหมาะสมที่สุดในการกู้ยืม ลองยกตัวอย่างเล่นๆ หากคุณต้องการจะซื้อบ้านทันทีตอนนี้ คุณจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนทั้งหมดเท่าไหร่และคิดเป็นส่วนที่จะต้องกู้ยืมจำนวนเท่าไหร่?

 

ยิ่งไปกว่านั้น นายธนาคารหัวแหลมทั้งหลายยังได้แนะนำให้ผู้คนได้รู้จักกับ เงินกู้แบบจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย (Interest Only Mortgage) ในมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปการกู้ยืมประเภทนี้คือสิ่งมหัศจรรย์ที่มอบความยืดหยุ่นแก่ผู้กู้ เมื่อการกู้ยืมนี้เริ่มเป็นที่นิยม Dan ผู้ซึ่งกำลังทำงานอยู่ที่ Federal Reserve Bank หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาในบอสตันในขณะนั้นก็ได้มีข้อถกเถียงกับนักเศรษฐศาสตร์ท้องถิ่น เขายอมรับว่าเงินกู้แบบจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย (Interest Only Mortgage) ถือเป็นไอเดียที่ดี เพราะมันมอบความสะดวกสบายให้แก่ผู้กู้ได้มากขึ้น ทำให้คนสามารถเลือกชำระเฉพาะแค่ดอกเบี้ยในช่วงปีแรกๆ และนำเงินส่วนที่เหลือไปจัดการค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น บัตรเครดิต หรือค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ และแน่นอนที่ผู้กู้ยังคงต้องกลับมาชำระเงินต้นอยู่ดี แต่ในมุมมองของเขาการผ่อนชำระเงินประเภทนี้ถือเป็นวิธีการในฝันถ้าการใช้จ่ายต่างๆ ของผู้คนเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลอย่างแท้จริง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่ใช่แบบนั้นเลย

เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการพิจารณาขอกู้ยืมเงิน ผู้กู้มักจะถูกนายธนาคารหรือไม่ก็นายหน้าสินเชื่อบอกให้ทราบถึงวงเงินสูงสุดที่ผู้กู้เหล่านั้นจะสามารถดำเนินการได้ หาใช่ให้คำแนะนำไปที่วงเงินที่เหมาะสมที่สุดที่พวกเขาควรจะกู้ เช่น เสนอว่าจะเลือกวงเงินกู้สูงสุดที่ 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ (12 ล้านบาท) ในประเภทกู้ยืมปกติ หรือว่าจะสามารถกู้เป็นวงเงินสูงสุดที่ 650,000 ดอลลาร์สหรัฐ (20 ล้านบาท) ในประเภทกู้แบบจ่ายเฉพาะดอกเบี้ย เมื่อเจอข้อเสนอเช่นนี้ คุณคิดว่าคนทั่วไปจะเลือกกู้แบบจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยที่วงเงิน 400,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้แก่ตนเอง หรือว่าจะจัดไปให้สุดทางกับวงเงิน 650,000 ดอลลาร์สหรัฐกันล่ะ

 

โชคไม่ดีที่เรามักจะพบกับช่วงเวลาที่ยากลำบากในการหาข้อสรุปจำนวนวงเงินที่เราควรกู้ยืม ตัวเลือกสุดท้ายจึงมักไปจบลงที่การกู้ที่วงเงินสูงสุดเท่าที่จะได้รับการอนุมัติ ความยืดหยุ่นทางการเงินที่ควรจะมีจึงหายไปแล้วแทนที่เข้ามาด้วยการแบกรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในตลาดอสังหาริมทรัพย์นี้

เมื่อเราเห็น Dan Ariely อธิบายกลไกทางความคิดของมนุษย์แบบนี้…ก็ไม่แน่ว่านโยบายเรื่องเข้มงวด LTV ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยตัดสินใจประกาศออกมาก็เพราะเรียนรู้จากกรณีศึกษาลักษณะนี้มานั่นเอง

 

#psychology

 

แหล่งข้อมูลและภาพ

https://www.psychologytoday.com/intl/blog/predictably-irrational/200810/how-would-behavioral-economist-look-the-sub-prime-mortgage-crisis

https://unsplash.com/photos/rItGZ4vquWk

 

https://pixabay.com/th/illustrations/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B5-2070384/

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง