อนาคตสดใสในย่าน “ดอนเมือง” พบโอกาสใหม่บนศักยภาพที่เพิ่มเป็นทวีคูณของย่านดอนเมือง ที่โครงการ นิว คอนเน็กซ์ คอนโด ดอนเมือง
“ดอนเมือง” ศูนย์กลางการเดินทางที่สมบูรณ์แบบครบทั้ง รถ – ราง – อากาศ ของกรุงเทพฯตอนเหนือ
ที่มาภาพ : วิกิพีเดีย (wikipedia.org)
พื้นที่ย่านดอนเมืองเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ในบริเวณทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร มีขอบเขตย่านติดต่อกับพื้นที่จังหวัดปทุมธานี โดยมีถนนสายหลักที่ใช้ในการสัญจรเดินทางเข้าและเดินทางออกเมือง คือ ถนนวิภาวดีรังสิต และ ถนนพหลโยธิน วิ่งตัดผ่านตามแนวแกนเหนือใต้ มีถนนสรงประภาตัดวิ่งผ่านตามแนวแกนตะวันตกตะวันออก เชื่อมต่อสู่จังหวัดนนทบุรี หรือ บริเวณใกล้เคียงอย่างเมืองทองธานี ในส่วนของทางพิเศษย่านดอนเมืองยังมีทางด่วนโทลล์เวย์ (ทางยกระดับอุตราภิมุข) วิ่งตัดผ่านกลางย่าน ซึ่งในอนาคตมีแผนจะขยายทางด่วนโทลล์เวย์ต่อออกไปในช่วง รังสิต-บางปะอินด้วย และนอกจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางถนน พื้นที่ย่านดอนเมืองยังมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางราง อย่างรถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ – รังสิต และส่วนต่อขยายในอนาคตอย่าง รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน คูคต – ลำลูกกา กับ รถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย – มีนบุรี โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่กล่าวมาข้างต้นจะส่งผลทำให้พื้นที่ในย่านดอนเมืองมีการเดินทางเข้าและออกเมืองสะดวกสบายมากขึ้น
จากการพัฒนาต่อเนื่องของโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวยังส่งผลโดยตรงต่อระดับราคาที่ดินด้วย จาก ข้อมูลราคาประเมินทรัพย์ที่ดิน ของสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร สาขาดอนเมืองรอบบัญชี พ.ศ.2555-พ.ศ.2558 พ.ศ.2559-พ.ศ.2562 และล่าสุด พ.ศ.2566-พ.ศ.2569 ราคาประเมินที่ดินมีอัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มสูงขึ้นในทุกช่วงรอบบัญชีการประเมินที่ดิน โดยจะขอยกตัวอย่างบนถนน 3 เส้นหลักที่มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น คือ ถนนวิภาวดีรังสิต ถนนพหลโยธิน และ ถนนสรงประภา ดังตารางต่อไปนี้
ซึ่งจากราคาประเมินทรัพย์ที่ดินดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าพื้นที่ในย่านนี้เป็นพื้นที่ที่มีความน่าสนใจและมีศักยภาพสูงต่อการพัฒนาในอนาคต ทั้งสาเหตุจากการเดินทางที่สะดวกมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ย่านดอนเมืองยังมีแหล่งอำนวยความสะดวกรองรับอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์ราชการ ที่ทำงานออฟฟิศของภาคเอกชน ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล
ที่มาภาพ : EEC
รวมถึง ใกล้สถานศึกษาชั้นนำอย่างมหาวิทยาลัยรังสิต และมากไปกว่านั้นพื้นที่ในย่านนี้ ยังเป็นพื้นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติดอนเมือง ซึ่งเป็นศูนย์กลาง(Hub)การบินของการเชื่อมต่อในระดับนานาชาติอีกด้วย โดยจากแผนการพัฒนา EEC (https://eeco.or.th/th/news/347) หรือ แผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้วางแผนไว้ให้สนามบินนานาชาติดอนเมือง จัดเป็น 1 ใน 3 สนามบินชั้นนำของประเทศไทยที่จะมีการเชื่อมต่อ ระหว่าง สนามบินสุวรรณภูมิ และ สนามบินอู่ตะเภา ด้วยรถไฟความเร็วสูงซึ่งการพัฒนาดังกล่าวจะเข้ามาเสริมศักยภาพในการเดินทางและการขนส่งของประเทศ จะเห็นได้ว่าพื้นที่ย่านดอนเมือง เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา จนหลายต่อหลายคนเปรียบพื้นที่ย่านนี้เสมือนทำเล CBD ของพื้นที่โซนรังสิต
ปี 2566 คาดนักท่องเที่ยวพุ่ง กระตุ้นความต้องการอยู่อาศัย
ถ้าเรามาดูข้อมูลประกอบของสถานการณ์ ณ ปัจจุบันในพื้นที่ย่านดอนเมือง ด้วยความที่ย่านดอนเมือง เป็นสถานที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ เมื่อสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง ทำให้ทุกคนสามารถเดินทางไปมาระหว่างประเทศได้อย่างเป็นปกติ การกลับมาของจำนวนนักท่องเที่ยวหลังสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลทำให้มีจำนวนเที่ยวบินมากขึ้น โดยจากข้อมูล ที่มาของ กรุงเทพธุรกิจ กล่าวว่า หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลทำให้เกิดการฟื้นตัวของปริมาณนักท่องเที่ยวชาวจีน โดยสนามบินดอนเมืองมีผู้โดยสารเฉลี่ยประมาณ 80,000 คนต่อวัน ซึ่งมีการฟื้นตัวกว่า60% เมื่อเทียบกับในช่วงปีพ.ศ.2562 ส่วนข้อมูลล่าสุด ในเดือน ก.พ.2566 ที่ผ่านมา สนามบินดอนเมืองมีเที่ยวบินระหว่างประเทศ 130 เที่ยวต่อวัน และเที่ยวบินภายในประเทศ 320 เที่ยวต่อวัน หรือเรียกได้ว่ากลับมาฟื้นตัวกว่า70% เมื่อเทียบกับในช่วงปีพ.ศ.2562
จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นถึงแนวโน้มของตลาดในย่านนี้เมื่อมีคนเข้ามาในย่านเพิ่มมากขึ้น ย่อมส่งผลต่อตลาดการอยู่อาศัย ไม่ว่าจากการที่จะมี Demand ในการพักอาศัยเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากการพักระยะสั้น(Short-term) หรือ ระยะยาว(Long-term) รวมถึงอาจจะส่งผลดีต่อพื้นที่พาณิชยกรรม ห้างสรรพสินค้า ที่จะมีคนจับจ่ายใช้สอยกันมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย และเมื่อกล่าวถึงพื้นที่พาณิชยกรรมสำหรับพื้นที่ย่านดอนเมือง ศูนย์การค้าชั้นนำคงนี้ไม่พ้นโครงการ Future City โครงการนี้เป็นโครงการห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ของกลุ่มตระกูลหวั่งหลี เป็นการพัฒนาโดยการรวมห้างสรรพสินค้า Future Park Rangsit และ ZPELL ซึ่งมีแผนในอนาคตที่ได้เปิดเผยมาแล้วหลายปีว่า จะแบ่งพื้นที่การพัฒนาเป็นห้าง Future Park ขนาด 200 ไร่ ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 400 ไร่ ซึ่งจะถูกพัฒนาเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัย (Residential), คอนโดมีเนียม (Condominium), เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ (Service apartment), ออฟฟิศ(Office ให้เช่า) และ โรงแรม (Hotel)
ศักยภาพที่รอวันปลดล๊อคกับโครงการ Mega Project ในอนาคต
ส่วนในอนาคตของพื้นที่ย่านดอนเมือง-รังสิต พบว่า มีแผนการพัฒนา Mega Projects อีกหลายโครงการตามมา ซึ่งมีทั้งในรูปแบบการพัฒนาที่มาจากส่วนภาครัฐและส่วนภาคเอกชน โดยโครงการที่จะมีการพัฒนาดังกล่าวจะมีหลากหลายรูปแบบทั้งประเภทที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ซึ่งจะเข้ามาช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับคนในย่าน
โดยโครงการแรกคือโครงการในส่วนของภาครัฐ Government Complex zone c หรือโครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนขยายศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ที่มา PPS (https://pps.co.th/portfolio/national-government-complex-extension-zone-c) โครงการนี้เป็นโครงการที่ตั้งอยู่บริเวณ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ได้ทำการพัฒนาเป็นอาคารสำนักงานความสูง 11 ชั้น มีชั้นใต้ดิน 2 พื้นที่การใช้ประโยชน์อาคารรวมทั้งหมดประมาณ 660,000 ตร.ม. โดยมีการใช้งานเป็น
อาคารสำนักงานส่วนราชการ ศูนย์ประชุม ลานอเนกประสงค์ โดยในโครงการนี้ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาการก่อสร้างโครงการอยู่ที่ 3-4 ปี (พ.ศ.2563 – พ.ศ.2567)
ส่วนโครงการถัดมาทุกท่านคงเคยได้ทราบหรือได้เห็นผ่านตากันมาบ้าง สำหรับโครงการขนาดใหญ่อีก 2 แห่งในบริเวณนี้ คือ โครงการ MEGA Rangsit ที่มีขนาดโครงการขนาดค่อนข้างใหญ่ และคาดว่าจะมาพร้อมกับแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ชั้นนำจากสวีเดนอย่าง IKEA ส่วนอีกโครงการ คือ โครงการ Central M โครงการนี้มีพื้นที่ 616 ไร่ โดยข้อมูลล่าสุดจาก Realist การพัฒนาของทั้ง 2 โครงการระหว่างโครงการ MEGA Rangsit และ Central M ยังไม่สอดคล้องกับผังเมืองรวมของจังหวัดปทุมธานี ทำให้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการดำเนินการต่อในอนาคตอย่างไร
ขีดความสามารถที่ถูกยกระดับขึ้นของสนามบินดอนเมืองในอนาคตอันใกล้
Mega Project อีก 1 แห่งที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ พร้อมทั้งยังมีความสำคัญในระดับประเทศ คือ แผนการขยายสนามบินดอนเมืองในระยะที่ 3 โดยแผนพัฒนานี้จะเป็นการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของสนามบินดอนเมืองให้สามารถรองรับผู้โดยสารต่อปีเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งครม. ได้ทำการอนุมัติโครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองในระยะที่3 ไปเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 มีวงเงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ 36,829 ล้านบาท และจะมีการดำเนินการก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2566 – พ.ศ. 2572
ที่มาภาพ : ฐานเศรษฐกิจ
โดยเป้าหมายของตัวโครงการเพื่อที่จะยกระดับศักยภาพของสนามบินดอนเมืองให้รองรับการใช้งานที่มากขึ้นในอนาคตได้ โดยจากข้อมูล Realist ในปัจจุบันสนามบินดอนเมือง สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดอยู่เพียง 30 ล้านคนต่อปีเท่านั้น แต่จากแผนการพัฒนาในการขยายสนามบินดอนเมืองในระยะ 3 จะสามารถเพิ่มศักยภาพให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดเพิ่มขึ้นเป็น 50 ล้านคนต่อปี ซึ่งรายละเอียดการพัฒนาในระยะที่3 จะประกอบไปด้วยพื้นที่ 5 ส่วนหลักดังต่อไปนี้ 1) อาคารทางทิศใต้(Terminal 3) มูลค่าการลงทุน 15,100 ล้านบาท 2) อาคารทางทิศเหนือ มูลค่าการลงทุน 7,600 ล้านบาท 3) พื้นที่ลานจอดอากาศยาน มูลค่าการลงทุน 3,700 ล้านบาท 4) ปรับปรุงอาคาร terminal และ อาคารเทียบเครื่องบิน มูลค่าการลงทุน 6,800 ล้านบาท 5) งานด้านสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม มูลค่าการลงทุน 1,165 ล้านบาท
ที่มาภาพ : ประชาชาติธุรกิจ
ในส่วนรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ที่สุดของแผนการพัฒนาสนามบินดอนเมืองในระยะที่ 3 คือ การปรับปรุงอาคารทางทิศใต้ หรือ Terminal 3 ซึ่งจะเป็นการรื้ออาคารเดิมออกและก่อสร้างอาคารใหม่ทดแทน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในช่วงปี พ.ศ.2569 โดยการปรับเปลี่ยน คือ อาคารผู้โดยสารภายในประเทศ(Domestic Terminal) จากเดิมพื้นที่ 106,000 ตร.ม. เพิ่มขึ้นเป็น 240,000 ตร.ม. อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ(International Terminal) จากเดิมพื้นที่ 137,000 ตร.ม. เพิ่มขึ้นเป็น 166,000 ตร.ม. ซึ่งจะส่งผลทำให้ความสามารถในการรองรับจำนวนผู้โดยสารจากเดิม 30 ล้านคนต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 40 ล้านคนต่อปี หรือ ในกรณีฉุกเฉินสามารถเพิ่มขึ้นเต็มที่ที่สุด 50 ล้านคนต่อปี นอกจากนั้นก็จะเป็นพื้นที่จอดรถ จากเดิมจำนวนที่จอดรถอยู่ที่ 4,400 คัน เพิ่มขึ้นเป็น 10,000 คัน
และด้วยความที่สนามบินดอนเมืองในปัจจุบันเป็นเสมือนจุดศูนย์กลางของย่าน เป็นจุดดึงดูดที่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจในพื้นที่ ให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อื่นๆตามมา อย่างพื้นที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่พาณิชยกรรม และในอนาคตการขยายสนามบินดอนเมืองในระยะที่ 3 ย่อมส่งผลดีต่อพื้นที่ภายในย่าน ไม่ว่าจะเป็นในด้านการจ้างงานเอง หรือ การที่จะมีความต้องการที่อยู่อาศัยที่จะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้ระดับราคาอสังหาริมทรัพย์และระดับราคาที่ดินปรับตัวเพิ่มขึ้น สุดท้ายอาจจะเกิดการพัฒนาพื้นที่พาณิชยกรรมแห่งใหม่ๆเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย