พาชมศูนย์วิจัย RISC กับพันธกิจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยอย่างยั่งยืน จนทำให้ MQDC กล้าที่จะรับประกันงานก่อสร้างนานถึง 30 ปี
คุณผู้อ่านเคยคิดเหมือนกับผมไหมครับว่าขนาดรถยนต์ที่มีราคาเริ่มต้นเพียงแค่ไม่กี่แสนบาท ยังมีประกันอะไหล่ และค่าแรงยาวนานถึง 5 ปีในแบบที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม แต่ทำไมอสังหาริมทรัพย์ฯที่มีราคาเป็นล้านจนถึงหลักร้อยล้าน ถึงมีประกันจากดีเวลลอปเปอร์ส่วนใหญ่ ภายใต้เงื่อนไขมากมาย จนเจ้าของบ้านเบื่อที่จะทวงถามความเป็นธรรมเพียงแค่ 1-3 ปีเท่านั้น ลองคิดดูครับหากมีระยะเวลาประกันเพียงแค่ 1 ปี (รวมทั้งวัสดุ งานระบบ ถ้ารวมโครงสร้างก็อาจแค่ 5 ปี) ทันทีที่โอนนี่เราต้องอยู่ตั้งแต่คืนแรกที่โอนเลยนะครับ จะมามัวโอ้เอ้ไม่ได้ ไม่งั้นหากเจออะไรเสียหายจะไม่ทันแก้ เสียระยะเวลาประกันไปฟรีๆ…แต่ชีวิตจริงมันไม่ใช่แบบนั้นน่ะสิครับ พอโอนเสร็จกว่าจะตามเรียกให้ช่างเก็บงานหลังโอนเพราะดันติดกับดักโปรโมชั่นเร่งโอน ว่าโอนไปก่อนเถอะ ยังไม่ต้องเซ็นรับมอบบ้านก็มาแก้ให้ ก็ปาเข้าไป 4-5 เดือน (บ้านผมโดนไป 8 เดือน) กว่าจะต่อเติมบ้าน งานระบบน้ำ ไฟ โน้นนี่นั่นก็อีก 2 เดือน กว่าจะหาซื้อ ติดตั้งเฟอร์ฯ เครื่องใช้ไฟฟ้าจนครบก็อีก 3 เดือน กว่าจะขนของจากที่เดิมเข้าบ้านหมดก็สองสัปดาห์ และต้องไปเสียเวลารอฤกษ์เข้าบ้านอีกเป็นเดือน…สรุปวันแรกที่เข้าอยู่บ้านก็มีเวลาเหลือแค่เดือนเดียวก็ประกันหมดละครับ!! ถ้าเข้ามาอยู่แล้วไม่เจอปัญหาอะไรมันก็ดี แต่บ้านไหนที่เจอแล้ว และเจอปัญหาซ้ำซ้อนที่แก้ยังไงก็ไม่จบจนกระทบชิ่งกับส่วนอื่นๆ พอโทรเข้า Call Center หรือผจก.นิติฯ ก็ทำตัวราวกับเป็น Bot ที่บอกได้เพียงไม่กี่ประโยค เช่น ประกันหมดแล้ว หรือไม่เกี่ยวกับโครงสร้าง หรือแล้วจะแจ้งกลับอีกครั้ง… เจอแบบนี้เข้าไป เจ้าของบ้านผู้น่าสงสารส่วนใหญ่ก็ต้องไปซ่อมเอาเองตามกำลังทรัพย์ และขีดความอดทนของแต่ละคน ในขณะที่ดีเวลลอปเปอร์และนิติฯบุคคลที่ถูกจัดตั้งมาแบบขอไปที ก็ล้วนแต่ภาวนาให้ผ่านครบปีไปไวไว กูจะได้หนีไปทำที่อื่นแบบนี้ไปเรื่อยๆ นี่คือสิ่งที่พวกเราผู้บริโภคคนไทยต้องทนเผชิญอยู่ตลอดเวลาครับ
สำหรับผมแล้วในภาวะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่มี Pain มากมายจากปัญหาการก่อสร้างที่ห่วย ไม่ได้มาตรฐาน จนเกิดเป็นความทุกข์เมื่อเข้าอยู่ เพราะมันเป็นการยากมากที่จะสามารถตรวจรับบ้านให้ละเอียดลึกซึ่งไปถึงงานโครงสร้าง งานระบบอะไรต่างๆที่ไม่ว่าใครก็มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่าตอนก่อนโอน แต่มีเพียงแค่ Commitment จากดีเวลลอปเปอร์เท่านั้นว่ากูสร้างดีตามมาตรฐานนะ (อ้าวแล้วทำไมประกันแค่ปีเดียวฟะ มาตรฐานมันอยู่ได้แค่ปีเดียวหรอ ต่างชาติที่มาเห็นโดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น ผู้นำแห่งศาสตร์การ Maintenance ก็คงคิดว่ามาตรฐานคนไทยทำไมต่ำจัง นี่มันบ้านพักอาศัยนะไม่ใช่บ้านกงเต๊ก) สิ่งเดียวที่จะช่วย Relieve เค้าได้ก็คือการสร้างความรู้สึกอุ่นใจให้กับผู้ซื้อครับว่า ซื้อแล้วฉันจะไม่โดนลอยแพเมื่อมีปัญหานะ และการสร้างความอุ่นใจให้มันจับต้องได้เป็นรูปธรรมที่สุดก็คือการรับประกันครับ สินค้าบางประเภทที่เป็น Low Involvement Product อย่างอุปกรณ์ IT ก็ยังมีการนำเสนอการรับประกันตลอดอายุการใช้งาน (Lifetime Warranty) ซึ่งไม่ได้หมายความว่ารับประกันจนคนใช้งานจะตายจากกันไปข้างนึงนะ แต่เป็นการกำหนด standard ของผลิตภัณฑ์ว่าไอ้ของแต่ละอย่าง มันควรที่จะมีอายุการใช้งานยาวนานแค่ไหนจนกว่าจะแก่ตาย แปรสภาพเป็นปุ๋ยพร้อม Recycle ไป เช่น อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอาจจะมีอายุการใช้งานในแบบมาตรฐานปกติยาวนานถึง 5 ปี ทางเจ้าของผลิตภัณฑ์ก็มีการรับประกันตลอดอายุการใช้งานเปลี่ยนเครื่องให้ฟรี หรือซ่อมฟรีไปก็แล้วแต่ตลอด 5 ปี ซึ่งการรับประกันนี่ล่ะคือตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการซื้อหรือการเลือกใช้สินค้า มากกว่าโปรโมชั่น การลดราคา และของแถมที่เป็นกิมมิคทางการตลาดอย่างเห็นได้ชัด และหากมองในอีกหนึ่งคือถ้าสินค้าคุณผลิตออกมาดี ทนทานได้นานตามมาตรฐาน ทำไมจะต้องกลัวว่าจะมี Cost มากมายที่ตามมาจากการรับประกัน จริงไหมครับ?… การรับประกันจึงไม่ใช่แค่เครื่องมือการตลาดในส่วนของ Promotion แต่เป็นการไอเทมพิเศษที่ช่วยเสริมให้ Product ของคุณมี Value ที่มากขึ้นจนเกิดเป็นภาพลักษณ์ของสินค้าดีมีคุณภาพ ที่พ่วงด้วยความรับผิดชอบของเจ้าของสินค้า ในสายตาของผู้บริโภค