“แอล ดับเบิลยู เอส” ระบุ คอนโดฯเกือบ 200 แห่ง ต้องออกแบบตามเกณฑ์อาคารประหยัดพลังงานที่มีผลบังคับใช้ปี 2566
“แอล ดับเบิลยู เอส” ระบุคอนโดฯ เกือบ 200 แห่งในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ต้องออกแบบตามเกณฑ์อาคารประหยัดพลังงานที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2566 ส่งผลต้นทุนก่อสร้างเพิ่ม 5% แต่สามารถประหยัดค่าพลังงานได้ไม่น้อยกว่า 10% ต่อปี ระยะเวลาคืนทุน 3.5 ปี
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด(LWS) บริษัทวิจัยพัฒนาและที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศไทยมีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และที่อยู่อาศัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตพลังงานไฟฟ้า ทำให้กระทรวงพลังงานโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดประเภท ขนาดของอาคาร และกำหนดวิธีในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 โดยกฏกระทรวงดังกล่าวได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 รวมทั้งออกประกาศกระทรวงฯ และประกาศกรมฯ ในปี พ.ศ. 2564 มีผลบังคับใช้กับอาคารที่จะสร้างใหม่ หรือดัดแปลงอาคาร ให้มีการออกแบบเป็นไปตามข้อกำหนดกฎหมายโดยเริ่มนำร่องใช้กับอาคารภาครัฐมาตั้งแต่
โดยกฎกระทรวงดังกล่าว นายประพันธ์ศักดิ์ อธิบายว่า เป็นเกณฑ์ที่เรียกว่า “เกณฑ์มาตรฐานอาคาร ด้านพลังงาน (Building Energy Code หรือ BEC)” ที่มีผลบังคับใช้กับอาคาร 9 ประเภท ที่มีขนาดพื้นที่รวมกันทุกชั้นในอาคารหลังเดียว ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป โดยสาระสำคัญของการกำหนดค่ามาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน มีการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ด้วยกันทั้งสิ้น 6 ระบบ ได้แก่ ระบบเปลือกอาคาร (OTTV, RTTV), ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (LPD), ระบบปรับอากาศ, อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน, การใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร และ การใช้พลังงานหมุนเวียนพร้อมกับแบ่งกลุ่มของอาคารเป็น 3 กลุ่มตามระยะเวลาการใช้งานของอาคารในแต่ละวัน ซึ่งใน 3 กลุ่มมีประเภทอาคารรวมทั้งหมด 9 ประเภท กล่าวคือ
กลุ่มที่ 1 ใช้งานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ได้แก่ สถานศึกษา, สำนักงานหรือที่ทำการ
กลุ่มที่ 2 ใช้งานวันละไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน ได้แก่ ห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้า, สถานบริการ, โรงมหรสพ, อาคารชุมนุมคน
กลุ่มที่ 3 ใช้งานวันละไม่เกิน 24 ชั่วโมงต่อวัน ได้แก่ สถานพยาบาล อาคารชุด โรงแรม
เกณฑ์ในการพิจารณาจะใช้โปรแกรม Building Energy Code (BEC) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการคำนวณค่าการอนุรักษ์พลังงาน ที่ต้องผ่านเกณฑ์ตามมาตรฐานออกเป็น 2 ลักษณะคือ การประเมินผ่านทุกรายระบบทั้ง 6 ระบบ หรือ การประเมินการใช้พลังงานโดยรวมของอาคาร ซึ่งสามารถดาวน์โหลดเพื่อดูหลักเกณฑ์การประเมินค่าอนุรักษ์พลังงาน เอกสารรายละเอียดเพิ่มเติม และข่าวสารสำคัญได้ทาง https://2e-building.dede.go.th/
ปี 2554 และเริ่มมีผลบังคับใช้กับการก่อสร้างอาคารสำหรับภาคเอกชนในวันที่ 13 มีนาคม 2566