เบเยอร์ เดินหน้า “เปลี่ยนใหญ่” ทุ่ม 30 ล้าน สร้างปรากฏการณ์ใหม่วงการสีทาบ้าน ตอกย้ำความเป็น “ผู้นำสีนวัตกรรม” หลังคว้ารางวัลเกียรติยศ งานนวัตกรรมแห่งชาติ ชนะเลิศหนึ่งเดียวของประเทศไทยจาก 300 แบรนด์ของทุกอุตสาหกรรม

เกริก บุณยโยธิน 15 November, 2024 at 13.07 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


เบเยอร์ ยังคงเดินหน้าสานต่อแนวคิด “Eco-Wellness Innovation” พร้อมต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วย “นวัตกรรม” เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “BegerCool” โดยใช้เทคโนโลยี “AeroTech” วัสดุแห่งอนาคตเข้ามาเสริมแกร่งให้กับผนังบ้าน ภายใต้แนวคิด “เย็นขึ้น ทนกว่า” เพื่อยืนหยัดการเป็น The Best Cool Paint พร้อมปักธงร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านภาคธุรกิจด้วยสีรักษ์โลก ปูพรมเติมเต็มอาคารรักษ์โลกหรือ “Low Carbon Building Design” ในห่วงโซ่อุปทานทางธุรกิจ มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions

ดร.วรวัฒน์ ชัยยศบูรณะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทสีเบเยอร์ เปิดเผยว่า กว่า 6 ทศวรรษในการดำเนินธุรกิจ หนึ่งในกุญแจที่สำคัญของการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์จนกลาย เป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงในตลาดผู้บริโภคทั้งบ้านเรือน อาคารและสำนักงาน คือ การนำเอานวัตกรรมมาผนวกใช้อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง “เบเยอร์คูล (BegerCool)” ถือเป็นผลิตภัณฑ์เรือธงในผลงาน เชิงประจักษ์ที่ยังคงเดินหน้าพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การันตีด้วยรางวัลชนะเลิศ (Champ of the Champ) จากเวทีนวัตกรรมแห่งชาติ ประจำปี 2567 เพียงหนึ่งเดียว ซึ่งได้รับการคัดเลือกจาก 300 แบรนด์ โดยประกอบไปด้วยบริษัทชั้นนำจากทุกอุตสาหกรรมทั่วประเทศ และ ยอดขายอันดับ 1 กว่า 18 ปี ในฐานะ “ผู้นำตลาดสีบ้านเย็น” ล่าสุดได้ต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ่านการนำเอาเทคโนโลยี “AeroTech” มาพัฒนาทำให้สีทาบ้านของเบเยอร์มีความ “เย็นขึ้น ทนกว่า” พร้อมตอบโจทย์และเติมเต็มทุกการอยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ดร.วรวัฒน์ กล่าวต่อไปว่า เบเยอร์ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องตามกรอบแนวคิด “Eco-Wellness Innovation” โดยสำหรับผลิตภัณฑ์ จากเบเยอร์ อย่าง “เบเยอร์คูล” ล่าสุดได้นำเอาเทคโนโลยี “AeroTech” มาผนวกใช้ควบคู่กับ “Ceramic Cooling” ในการการผลิตซึ่งมีความโดดเด่นในด้านสะท้อนความร้อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพยิ่งที่สุดแห่งยุค จนเกิดการพัฒนาที่รักษ์บ้านและรักษ์โลกขั้นกว่า ด้วยหลักการทำงาน “Double Cool, Double Protection” ช่วยสะท้อนความร้อน ส่งผลให้ฟิล์มสีมีความทนทาน และไม่ถูกทำลายจากความร้อนช่วยให้ผนังบ้านมีความเย็นขึ้น โดยเบเยอร์มุ่งมั่นผสานคุณสมบัติที่โดดเด่น (High Performance) และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นพร้อมกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างครอบคลุมในทุกห่วงโซ่อุปทาน

“สำหรับความโดดเด่นของ เบเยอร์คูลที่มาพร้อมกับ เทคโนโลยี AeroTech เสมือนฉนวนกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง โดยผลิตจากซิลิกา/ซิลิเกต (Sillica/Silicate) ทนทานต่อรังสี UV สามารถ “สะท้อนและสกัดกั้นความร้อนได้สูงสุดถึง 97.5%” ไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน ทดสอบโดยสถาบันทดสอบด้านรังสีและความร้อน OTM Solutions ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งจากการทดสอบสามารถ “ลดอุณหภูมิได้สูงสุด 6 องศาเซลเซียส” และช่วย “ประหยัดค่าไฟได้กว่า 32%” และที่สำคัญความโดดเด่นในการทนทานต่อความร้อนนั้นส่งผลให้บ้านหรืออาคารที่เลือกใช้สีเบเยอร์คูลมีอายุการใช้งานที่นานขึ้นกว่า 10 ปี

อย่างไรก็ดีเบเยอร์ยังคง มุ่งเน้นการผลิตสินค้าคาร์บอนต่ำที่ลดการปล่อยคาร์บอนจากการผลิต (embodied carbon) ให้น้อยที่สุด ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนจากการใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำความเย็นในบ้านหรือในตัวอาคารหลังจากผู้อยู่อาศัยย้ายเข้ามา (operational carbon)  ส่งผลให้ตลอดการดำเนินงานที่ผ่านมา เบเยอร์สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้วกว่า 350,000,000 กิโลกรัมคาร์บอนหรือเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ชดเชยมากกว่า 5,594,492 ต้น โดยวันนี้ถือได้ว่า เบเยอร์เป็นผู้ผลิตสีรายแรกในประเทศที่ผลักดันให้เกิดสินค้าสีที่ช่วยสะท้อนความร้อนและเป็นฟันเฟืองสำคัญในอุตสาหกรรมสีที่ขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม” ดร.วรวัฒน์ กล่าวเสริม

คุณพงษ์เชิด จามีกรกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบเยอร์ จำกัด กล่าวว่า ในทศวรรษที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสีทาบ้านมีการแข่งขันสูง ซึ่งที่ผ่านมาเบเยอร์ให้ความสำคัญทั้งในด้านคุณภาพและเทคโนโลยีผ่านการต่อยอดสร้างนวัตกรรมที่สอดรับกับความต้องการของตลาดโดยเฉพาะในด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมส่งผลให้เบเยอร์คูลกลายเป็นที่ยอมรับในตลาดสีรักษ์โลกตลอด 1-2 ทศวรรษที่ผ่านมา สำหรับในปี 2568 เบเยอร์ตั้งเป้าขยายส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่มสีรักษ์โลกปีละ 15% ภายใน 1-2 ปีจากนี้ ซึ่งนอกจากเป็นที่ต้องการในตลาดสียังสอดคล้องกับนโยบายจากภาครัฐที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนแนวทางการใช้วัสดุรักษ์โลกและช่วยลดคาร์บอนหรือ “Green Product”

“สำหรับแผนการพัฒนาของเบเยอร์ในปี 2568 ยังคงมุ่งมั่นในการพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำเพื่อให้สอดรับกับมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) และ Carbon Tax ของตลาดโลก รวมถึงนำเอานวัตกรรมมาผนวกใช้เพื่อสร้างผลลัพธ์เชิงบวกตลอดห่วงโซ่อุปทานทางธุรกิจ โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้ง “Net Zero Innovation & Solution Center” เพื่อเป็นศูนย์กลางให้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมก่อสร้างทั้งห่วงโซ่อุปทานมาพัฒนาโครงการต้นแบบในการสร้างธุรกิจคาร์บอนต่ำ มากไปกว่านั้นยังมุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกกระบวนการ ตั้งแต่ ต้นน้ำ-ปลายน้ำ และใช้สีนวัตกรรมรักษ์โลกขยายผลสู่ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ ภาคการก่อสร้าง เพื่อร่วมสร้างอาคารเขียวรักษ์โลกหรือ “Low Carbon Building Design” เป็นไปได้ง่ายขึ้นและเข้าถึงได้มากขึ้นให้กับเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero อย่างยั่งยืน สอดรับกับพันธกิจที่สำคัญของเบเยอร์ในการเป็น “ผู้นำสีนวัตกรรมที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม” คุณพงษ์เชิด กล่าวทิ้งท้าย

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง