พลัสฯ แนะนำตั้งการ์ดวางแผนรับมือการป้องกันการเกิดน้ำท่วมในช่วงมรสุม
จากสถานการณ์ในช่วงนี้ที่เกิดฝนตกหนักและเกิดภาวะน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียงในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นที่ภาคตะวันออก พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีผลกระทบเป็นวงกว้าง ทำให้หลายพื้นที่มีความกังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เป็นมหาอุทกภัยเหมือนในปี 2554 หรือไม่ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และพื้นที่รอบนอก หลายๆ หน่วยงานของภาครัฐได้เข้ามาดูแล เช่น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ออกมาหาแนวทางในการป้องกันปัญหาน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น หรือทางกรมอุตุนิยมวิทยาทำการแจ้งข้อมูลเป็นระยะๆ รวมทั้งได้คาดการณ์ว่าในช่วงปลายฤดูฝนจะมีปริมาณฝนตกมากกว่าค่าเฉลี่ยปกติ โดยเฉพาะในเดือนกันยายน -ตุลาคม 2565 อาจจะเกิดน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลันขึ้นได้ จึงเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวังและติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด
วันนี้ทางพลัส พร็อพเพอร์ตี้ ในฐานะผู้ดูแลบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัยกว่า 270 โครงการ ด้วยประสบการณ์การ ของ Plus Living Management ได้แนะนำแนวทางเบื้องต้นในการดูแลที่พักอาศัยอย่างมืออาชีพ ซึ่งทีมนิติบุคคลมีการวางแผนดูแลและซ่อมบำรุงระบบวิศวกรรม แบบป้องกันก่อนเกิดเหตุ (Preventive Maintenance) เพื่อรองรับสถานการณ์น้ำท่วมขังนี้ โดยมีแนวทางปฏิบัติด้วยการตรวจสอบระบบปั๊มน้ำ ไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ เพราะระบบเหล่านี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญหลักที่จะช่วยในการบรรเทาน้ำท่วมขัง จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมให้ใช้งานได้อยู่เสมอ และถ้าพบความผิดปกติในการทำงานของระบบเหล่านี้ก็จะต้องได้รับการแก้ไขในทันที เพื่อให้มีผลกระทบกับผู้พักอาศัยน้อยที่สุด นอกจากนี้จะต้องมีการสำรวจตรวจสอบบริเวณที่เป็นจุดรับน้ำ เช่น ท่อระบายน้ำโดยรอบโครงการ แผงหรือประตูกันน้ำที่เชื่อมต่อกับท่อระบายน้ำสาธารณะ ตรวจเช็กระดับน้ำสาธารณะในกรณีถ้าอยู่ติดกับทางโครงการ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หรือลำราง ก่อนอื่นทีมนิติบุคคลต้องมีการประเมินความเสี่ยงของโครงการได้ เช่น โดยรอบๆ โครงการมีพื้นที่ติดแม่น้ำ ลำคลอง หรือลำรางสาธารณะหรือไม่ หรือพื้นที่โครงการอยู่ในพื้นที่ลุ่มเป็นจุดเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะน้ำท่วมขังได้ง่าย เป็นต้น ที่สำคัญอีกอย่างคือการฝึกซ้อมทีมงานให้มีความรู้และความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพราะเมื่อเกิดสถานการณ์จริงจะได้ทำการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้พลัสฯ ได้มีการวางมาตรฐานในการบริหารจัดการเชิงป้องกันตามระดับความเสี่ยงเพื่อเตรียมการรับมือดังต่อไปนี้