การพัฒนาโรงเรียนอนุบาลภายใต้ทางยกระดับของรางรถไฟภายในพื้นที่เมือง Machiya กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ชยางกูร กิตติธีรธำรง 26 April, 2023 at 11.30 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


โรงเรียนอนุบาลตั้งอยู่ใต้ทางยกระดับรถไฟ ในเมือง Machiya ในกรุงโตเกียว

 

โดยโครงการนี้เริ่มต้นเพื่อแก้ไขปัญหา การขาดแคลน โรงเรียนอนุบาล ผ่านการนำพื้นที่ใต้ทางยกระดับทางรถไฟที่ไม่ได้ถูกใช้งานมาปรับพื้นที่ใหม่เพื่อให้เกิดประโยชน์

โดยทางยกระดับทางรถไฟในโครงการนี้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี 1931 หรือ พ.ศ.2474 โดยในช่วงแรกพื้นที่ใต้ทางยกระดับรางรถไฟนี้ จะมีการตั้งของร้านค้าขายของเพื่อหล่อเลี้ยงคนอยู่อาศัยในพื้นที่บริเวณนี้ ต่อมาก็ถูกทางการไล่ที่หรือเวนคืนออกไป เพราะต้องการจะนำตัวสะพานมาทำการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อรองรับกับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดิน หลังจากนั้นเมื่อมีการปรับปรุงโครงสร้างเสร็จพื้นที่ใต้ทางรถไฟก็ไม่ได้ถูกใช้งานตามเดิม แต่ถูกปล่อยทิ้งว่างมาอย่างยาวนานหลายปี จนกระทั่งมีแนวคิดที่จะทำการปรับเปลี่ยนพื้นที่บริเวณนี้ให้กลายเป็นโรงเรียนอนุบาล

 

ในปัจจุบัน โรงเรียนอนุบาลไม่ค่อยตั้งอยู่ในพื้นที่เมือง ผู้คนและเด็กๆในชุมชนเริ่มเหินห่างกันมากขึ้น โครงการนี้นอกจากจะเป็นการนำพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วมาปรับปรุงใหม่ ยังเป็นโครงการที่ตั้งใจจะสร้างสถาปัตยกรรมโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กเล็กที่อยู่ใกล้บ้าน ให้คนในชุมชนสามารถคอยดูการเติบโตของลูกๆหลานๆกันภายในชุมชนได้ เป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของคนภายในพื้นที่มากขึ้น

ซึ่งตัวโครงสร้างของสะพานยกระดับทางรถไฟแห่งนี้ มีความสูงอยู่ที่ 3.9 เมตร และ มีช่วงระยะความกว้างระหว่างเสาที่สั้นที่สุดคือ 6 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่เพียงพอต่อการปรับเปลี่ยนเป็นห้องเรียน ฝั่งทางผู้ออกแบบจึงได้ทำการพัฒนาโดยสร้างหลังคาความยาวถึง 67 เมตร ติดตั้งยาวตลอดแนวภายใต้ทางยกระดับ

โดยใช้แนวคิดการออกแบบให้ตัวห้องเรียนมีความกลมกลืนกับความสูงของทางยกระดับ และ façade ห้องเรียนโรงเรียนอนุบาล มีการออกแบบให้สอดคล้องไปกับบริบทของถนน

สำหรับในส่วนของพื้นที่ภายในตัวอาคาร ภายใต้หลังคาหรือเพดานมีการเลือกใช้วัสดุที่ดูมีความ soft และ ดูอบอุ่นทำให้พื้นที่ภายในน่าใช้งานมากขึ้น

สำหรับตัวห้องเรียนถูกแบ่งออกเป็น 3 cluster โดยอยู่ภายใต้หลังคาอันเดียวกัน โดยแต่ละ cluster จะถูกเชื่อมโยงด้วยพื้นที่ semi-outdoor ซึ่งเป็นพื้นที่กิจกรรมที่เด็กสามารถใช้งานได้ ซึ่งการออกแบบโรงเรียนอนุบาลมีแนวคิดให้เชื่อมโยงกับคนภายนอกหรือคนในชุมชน

ด้วยการที่ทุกคนสามารถมองเห็นการทำกิจกรรมของเด็กๆที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ได้จากภายนอกอาคาร เช่น พื้นที่กิจกรรมทำความสะอาด พื้นที่กิจกรรมอุปกรณ์เครื่องใช้ พื้นที่จอดจักรยาน และ พื้นที่ทางเข้า

โดยพื้นที่ Playground ซึ่งเป็นพื้นที่ semi outdoor จะมีความพิเศษจากการที่ตั้งอยู่ภายใต้ชายคายกระดับ ทำให้สามารถป้องกันแสงแดดโดยตรงที่ส่องลงมา เป็นการช่วยลดความร้อนได้ นอกจากนั้นยังสามารถป้องกันฝนตกได้ ในส่วนตอนการคืนจะมีการซ่อนไฟสร้างความอบอุ่นให้กับพื้นที่ห้องเรียนสร้างความน่าใช้ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน

 

สุดท้ายโรงเรียนอนุบาลสามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่เมืองด้วย Deep eaves สร้าง Sense of security  และจากการพัฒนาพื้นที่ผู้คนภายในเมืองสามารถเพลิดเพลินกับ ดอกไม้นานาชนิดที่มีการปลูกเรียงรายตามแนวโรงเรียนอนุบาล เป็นการเพิ่มความรู้สึกในการอยากเดินให้กับคนในพื้นที่เมืองมากขึ้น สัมผัสชีวิตประจำวันของเด็กอนุบาล การถ่ายรูป การสื่อสารกับธรรมชาติ

 

อ้างอิง : Gallery of Nursery School Under Elevated Railway in Machiya / Takahiro Akiyama Architects + Atelier HMC – 7 (archdaily.com)

takahiro akiyama architects revives tokyo railway line as school (designboom.com)

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

สถาปนิกจบใหม่ กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มีความสนใจด้านอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภทตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ คอนโด โรงแรม และชอบไปดูโครงการและงานออกแบบอยู่เสมอ เพื่อเก็บเกี่ยวองค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง