“นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” คืออะไร? ร่วมอัปเดตเทรนด์ความรู้ไปกับหนังสือ “Sustainnovation: Innovation for a Better World” จากศูนย์วิจัย RISC by MQDC

ต่อทอง ทองหล่อ 04 January, 2023 at 00.00 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ความยั่งยืน” เป็นคีย์เวิร์ดที่สังคมโลกให้ความสนใจร่วมกัน และกำลังจะเป็นแนวคิดหลักในการขับเคลื่อนสังคมโลกที่เราทุกคนควรให้ความสำคัญ ปรากฎการณ์ทางความคิดนี้เกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแล้วในภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่หันมาให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และการจัดการธรรมภิบาล (Governance) หรือที่เรียกย่อๆ กันว่า “ESG” เป็นกรอบแนวคิดที่จะช่วยสนับสนุนบริษัทต่างๆ ให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อทุกชีวิตบนโลกและเพื่อความยั่งยืนโดยมวลรวมอย่างแท้จริง

 

เพราะอะไรประเด็น “ความยั่งยืน (Sustainability)” ถึงกลายเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็หันมาสนับสนุน

เพราะโลกทั้งใบต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เราคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่ามวลมนุษยชาติต่างมีชะตากรรมร่วมกันอยู่ ณ เวลาเดียวกันนี้ เราทุกคนต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายมากมาย เช่น การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาอาชญากรรม ผลกระทบจากความไม่เท่าเทียมทางสังคม ความไม่ลงรอยและเหยียดเชื้อชาติที่มีเหตุเริ่มมาจากการอพยพย้ายถิ่นฐาน รวมไปถึงความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตอันย่ำแย่ของใครหลายๆ คน นี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ บางส่วนของปัญหาชิ้นใหญ่ที่สะสมอยู่ในปัจจุบัน ความท้าทายเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคต่อตัวเรา ญาติพี่น้อง คนรู้จัก ชุมชน และประเทศชาติ โดยสังคมทั่วโลกต่างพยายามที่จะแก้ไขให้ดีขึ้นด้วยกรอบแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนเพื่อสร้างความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนให้ทุกชีวิตในโลก และเมื่อมีโจทย์ปัญหาก็ต้องมีเครื่องมือที่จะช่วยแก้ปัญหา และหนึ่งในเครื่องมือแก้ปัญหานั้นก็คือแนวคิด “Sustainnovation” ที่จะนำนวัตกรรมต่างๆ มาประกอบสร้างเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ด้วยเหตุนี้ทางศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center–RISC by MQDC) ในฐานะที่เป็นองค์กรที่ทำงานวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน จึงได้ออกหนังสือ “Sustainnovation: Innovation for a Better World ” ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน สร้างความเข้าใจด้านความยั่งยืนในมิติต่างๆ ตลอดจนความสำคัญของแนวคิด โดยแบ่งปันความรู้จากการวิจัยและตัวอย่างของนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน และเปิดมุมมองด้าน Sustainnovation โดย 10 กูรูจากสาขาวิชาต่างๆ อาทิ นักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ สถาปนิก วิศวกร บุคลากรทางการแพทย์ นักพัฒนาสิ่งแวดล้อม นักเศรษฐศาสตร์ นักวิจัย ฯลฯ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาและต่อยอดแนวคิดนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกชีวิตในอนาคต ที่ไม่เพียงมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองความต้องการของมนุษย์หรือการออกแบบที่สวยงามเท่านั้น แต่ต้องตอบโจทย์ในด้านการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและความไม่สมดุลของโลก เพื่อการสร้างความยั่งยืนสำหรับคนรุ่นถัดไป

สนใจหนังสือสามารถอ่าน e-book หรือ download ได้ที่ https://online.anyflip.com/bpnjl/fqqy/mobile/

RISC มุ่งหวังว่า หนังสือ “Sustainnovation” เล่มนี้ จะสามารถสร้างประโยชน์สำหรับทุกคนไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนระดับบุคคล ระดับเมือง ระดับประเทศ และระดับโลก เพราะทุกชีวิตล้วนมีส่วนรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ ความรู้จากหนังสือเล่มนี้จะทำให้ทุกคนเห็นถึงความสำคัญของการสร้าง “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” หรือ Sustainnovation และสามารถนำความรู้จากกระบวนการคิดวิจัยและตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจไปต่อยอดเพื่อสร้างความยั่งยืนและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และทุกชีวิตบนโลกใบนี้ (For All Well-Being)” รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน กล่าว

 

“Sustainnovation” คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร? หาคำตอบได้จากเล่มนี้

คำว่า “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Sustainnovation)” มาจาก 2 คำประสม ได้แก่ คำว่า “ความยั่งยืน (Sustainability)” และ “นวัตกรรม (Innovation)”  โดยคำว่า ความยั่งยืน (Sustainability) ยังมีความหมายที่แตกต่างกันผ่านมุมมองต่างๆ เช่น ความยั่งยืนด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ โดยทุกมุมมองล้วนมีเป้าหมายในการสร้างความอยู่ดีมีสุข (Well-being) ไม่เพียงแค่มนุษย์เราเท่านั้น แต่รวมถึงสิ่งแวดล้อมและโลกของเรา ดังนั้น การนำองค์ประกอบด้านนวัตกรรม (Innovation) มาประยุกต์ใช้การสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ จึงมีความสำคัญและสามารถร่วมสร้างแรงผลักดันให้เกิดความยั่งยืนในโลกใบนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการศึกษา การพัฒนาองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม และการประยุกต์ใช้จริงในทุกภาคส่วน และมีประสิทธิผลจริงทั้งในระดับบุคคล ชุมชน สังคม เมือง และประเทศ

 

โดยศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ให้ความหมายและวางจุดมุ่งหมายของคำว่า Sustainnovation คือการผนวกกันของความคิดระหว่าง Sustainability กับ Innovation โดย Sustainability หรือความยั่งยืน คือการสร้างความสมดุลระหว่างความต้องการต่างๆ ของเรากับระบบนิเวศ สังคมและวัฒนธรรม และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่วน Innovation หรือ นวัตกรรม จะมี 3 องค์ประกอบ คือ หนึ่งต้องใหม่ สองเกิดการใช้งานจริงแล้ว และสามคือ มีประโยชน์อย่างชัดเจนจริงๆ กล่าวคือ Sustainnovation หมายถึงเทคโนโลยีที่มุ่งแก้ปัญหาจากการเสียสมดุลจากการพัฒนาด้านต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งต้องพัฒนานวัตกรรม ใช้แนวคิดใหม่ หรือสร้าง framework ใหม่ เพื่อนำไปสู่ “ความยั่งยืน หรือความอยู่รอด”

6 หมวดนวัตกรรมน่าอ่าน จากหนังสือ “Sustainnovation”

หนังสือเล่มนี้ยังได้รวบรวมแนวคิด และประสบการณ์ของนวัตกร (Sustainnovators) จากหลากหลายสาขาวิชา ในการอธิบายความหมายของคำว่า “Sustainnovation” หรือ “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” ในมิติต่างๆ และความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมความยั่งยืน เพื่อนำความคิดที่หลากหลายนี้ถอดรหัส สร้างความเข้าใจเพื่อนำไปพัฒนาต่อ พร้อมช่วยสร้างความตระหนักและผลักดันไอเดียนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนในอนาคต ผ่านการยกตัวอย่างการต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน “Sustainnovation” ให้เกิดขึ้นจริง และตัวอย่างเทรนด์ (Trend) นวัตกรรมจากทั่วโลก จำแนกออกเป็นทั้งหมด 6 หมวดดังนี้

 

หมวดที่ 1: สุขภาวะ (Health & Wellness) นวัตกรรมด้านสุขภาพ ที่ส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ

หมวดที่ 2: สิ่งแวดล้อม (Environment) นวัตกรรมที่ช่วยลดปัญหาและผลกระทบด้านต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม ทั้งปัญหาขยะ ภาวะโลกรวน มลภาวะทางน้ำ และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ

หมวดที่ 3: การจัดการทรัพยากร (Resource management) นวัตกรรมที่ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนทรัพยากร และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

หมวดที่ 4: พลังงาน (Energy) นวัตกรรมด้านพลังงาน นำเสนอแนวทางการใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้ในอนาคต

หมวดที่ 5: การขนส่ง (Transportation) นวัตกรรมด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบด้านมลพิษทางอากาศ ลดปัญหาขยะ ลดแนวโน้มของการแพร่กระจายเชื้อ รวมถึงส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (Active Mobility)

หมวดที่ 6: การบริโภคอาหาร (Food consumption) นวัตกรรมด้านการบริโภคอาหาร สร้างทางเลือกด้านอาหารเพื่อความยั่งยืน รวมถึงตัวอย่างการใช้ทรัพยากรอาหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

รวบรวมแนวทางสร้างสรรค์ความยั่งยืนจากบทสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญถึง 10 ท่าน

หนังสือ Sustainnovation เล่มนี้ นอกจากจะมุ่งแบ่งปันความรู้ด้านนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน สร้างความเข้าใจเรื่องความยั่งยืนในมิติต่าง ๆ หนังสือยังจะพาผู้อ่านไปพบกับ 10 กูรูจากหลากหลายสาขา อาทิ นักวิทยาศาสตร์ นักออกแบบ สถาปนิก วิศวกร บุคลากรทางการแพทย์ นักเศรษฐศาสตร์ นักพัฒนา สิ่งแวดล้อม นักวิจัย ฯลฯ เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืน ไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์หรือสุนทรียภาพในการออกแบบเท่านั้น แต่ต้องตอบโจทย์ในแง่ของการแก้ปัญหาสังคมทั้งในยุคปัจจุบันและยุคอนาคตของผู้คนรุ่นถัดไป โดยคุณจะได้พบตัวอย่างมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญดังต่อไปนี้

 

รองศาสตราจารย์ ดร.สิงห์ อินทรชูโต

หัวหน้าคณะที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน

(Research & Innovation for Sustainability Center; RISC)

“ความยั่งยืน” ในอนาคตจะต้องประกอบด้วย “การปรับตัว (Resilience)” มากขึ้น ดังนั้น “Sustainnovation” จะต้องเป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมการปรับตัวให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่ยากลำบากในอนาคต

 

ดร.การดี เลียวไพโรจน์

ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษาฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab)

ไม่มีอะไรที่ “ใหญ่” เกินไปจนมนุษย์เราไม่สามารถทำให้เป็นจริงได้ และไม่มีอะไรที่ “เล็ก” จนเกินกว่าที่เราจะต้องมองข้าม ทุกอย่างมีความสำคัญ และเราทุกคนต้องร่วมมือกัน ช่วยให้เกิด “นวัตกรรม” เพื่อความยั่งยืนต่อตัวเรา โลกของเรา และสรรพสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติได้ในอนาคต

 

รองศาสตราจารย์ นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ

รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช

เพราะไม่มีอะไรที่อยู่ยั่งยืน การดำรงอยู่ขององค์กรขึ้นอยู่กับว่า ”เรายังเป็นที่ต้องการของสังคมหรือไม่” ในโลกปกติใหม่ (New Normal) ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ เทคโนโลยี สภาพเศรษฐกิจสังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนวิถีชีวิต และความต้องการของผู้รับบริการ สถานการณ์เหล่านี้เรียกว่า “VUCA World” องค์กรจึงต้องเรียนรู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ให้ทันต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของโลก “การปรับตัว” หรือ การเปลี่ยนแปลง “Transform” ให้เร็วและเป็นที่ต้องการจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร

 

ดร.ภัทรารัตน์ ตันนุกิจ

ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อและสุขภาวะ

ที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)

 

Sustainnovation” คือนวัตกรรมที่อยู่ในรูปแบบทั้งสิ่งประดิษฐ์หรือระบบ ที่มีความใหม่ มีประโยชน์ใช้ได้จริง โดยขั้นตอนการพัฒนาและการใช้งานต้องคุ้มค่า ไม่ทำลายธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม ไม่สร้างความเดือดร้อนหรือความรำคาญให้กับคนหรือสัตว์ที่อยู่รอบข้าง สอดคล้องกับบริบท และแก้ปัญหาได้จริง

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร

อาจารย์ประจำ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การสร้าง “Sustainnovation” เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน ต้องคิดเสมอว่าผู้ใช้งานคือใคร และระหว่างทางการพัฒนานวัตกรรมก่อให้เกิดขยะในวงจรมากแค่ไหน โดยต้องคำนึงถึงทั้งความยั่งยืนและการจัดการงบประมาณอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างการจัดการและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์

ผู้อำนวยการ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล (iNT)

หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

“Sustainnovation” หรือ “นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” ไม่ควรถูกจำกัดให้เข้าถึงได้เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้สูงเท่านั้น แต่ทุกคนจะต้องสามารถเข้าถึงได้ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคน และจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ตลอดเวลา และสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้นั้นๆ ให้กับคนที่มีศักยภาพได้อย่างทั่วถึง ให้ชุมชนสามารถสร้างนวัตกรรมได้ด้วยตัวเอง รวมถึงการสอนให้คน unlearn ในสิ่งเก่าๆ และเพิ่มการจะเริ่มเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา

 

ดร.ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์

หัวหน้าศูนย์วิจัยและนวัตกรรมประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การสร้าง “Sustainnovation” เราต้องเริ่มจากที่ตัวเราเอง อาจจะเริ่มจากการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ นอกจากนี้เราจะต้องไม่คิดว่าเราเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เราต้องใช้ทรัพยากรอย่างระมัดระวัง ลดการสร้างขยะและมลภาวะ หันมาดูแลรักษาสุขภาพกายและใจของตนเองและคนรอบตัว คิดถึงเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนในโลกของเรา

 

คุณเกชา ธีระโกเมน

ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท อีอีซี เอ็นจิเนียริ่ง เน็ทเวิร์ค จำกัด (EEC)

หากเราจะสร้าง “โลกที่ยั่งยืน” เราจะต้องปรับตัวในการพัฒนาองค์ความรู้ของเราอยู่เสมอ เพื่อที่จะก้าวไปให้ทันโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่อยู่เพียงแต่ใน “Safe Zone” ของตัวเองเท่านั้น ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เราถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

 

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรจน์ เศรษฐบุตร

ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“Necessity is a Mother of Innovation.” หรือ “ความจำเป็น” จะเป็นตัวขับเคลื่อนการสร้างนวัตกรรม ดังนั้นท่ามกลางปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เราควรเริ่มมองหาโอกาสในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความเป็นอยู่ที่ดี

 

คุณทวีสุข ธรรมศักดิ์

ที่ปรึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศและการเงิน บริษัท ดีทีจีโอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด

“Sustainnovation” เป็นคำที่ตรงตัว และสุขุมนุ่มลึกในช่วงของการเปลี่ยนผ่านยุค และเป็นแรงบันดาลใจสำหรับสร้างหรือคิดสิ่งใหม่ๆ ที่จะทำให้ “ความยั่งยืน” เติบโตอย่างก้าวกระโดด และเป็นโอกาสครั้งใหญ่ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเริ่มปรับสมดุลเข้าหากันและกัน นำไปสู่ความยั่งยืนของการพัฒนาต่อไป

 

หนังสือที่คนวงการอสังหาฯ ต้องอ่าน!

หนังสือ Sustainnovation เล่มนี้เหมาะกับทุกคนในวงการอสังหาฯ เป็นอย่างยิ่ง เพราะวงการอสังหาฯ มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทั้งทางธรรมชาติและทางสังคม แนวคิดการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนจึงถือว่ามีความสำคัญต่อคนอสังหาฯมาก ผู้พัฒนาอสังหาฯ และทุกอาชีพที่เกี่ยวข้องกับอสังหาฯ จำเป็นต้องเรียนรู้การสร้างความสมดุลในระบบนิเวศ สร้างสังคมและวัฒนธรรมให้กับเมือง หนังสือ Sustainnovation เล่มนี้เต็มไปด้วยองค์ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจและต่อยอดสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างความสุขให้กับทุกคน และไม่ใช่แค่เพื่อมนุษย์เท่านั้นแต่ยังหมายถึงการสร้างคุณค่าให้กับทุกชีวิตในโลกรวมทั้งพืชสัตว์และสรรพสิ่งอีกด้วย

 

สนใจดูคลิปวิดีโอแนะนำหนังสือ Sustainnovation ได้ที่: https://youtu.be/NaWEP72Igok


หรือ QR code

ติดตามข่าวสาร RISC ได้ที่

RISC website: http://risc.in.th/

RISC Facebook: https://www.facebook.com/riscwellbeing/

RISC TikTok: risc_tiktok

RISC Twitter: @RISCWellBeing

RISC YouTube: https://www.youtube.com/channel/UCMADRyPOzrlp_73M0_CN0Rw/featured

 

ติดต่อ RISC ได้ที่ risc_admin@dtgo.com หรือ 063-902-9346

 

เกี่ยวกับศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC)

ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) โดย บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) คือ เป็นศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาที่เน้นนวัตกรรมด้านคุณภาพชีวิตแห่งแรกของเอเชีย ประกอบด้วยเครือข่ายนักวิจัย นวัตกร ผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งผู้ผลิต เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายที่สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสุขภาวะของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิต ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ทั้งหมด 990 ตารางเมตร แบ่งออกเป็น 8 โซน มีการติดตั้งระบบอัจฉริยะ (Intelligent System) ตรวจจับการใช้พลังงานและตรวจจับคุณภาพอากาศ (IAQ) และควบคุมในทุกพื้นที่ เพื่อสุขภาวะที่ดีของผู้ใช้งาน นอกจากนี้ RISC เป็นสำนักงานที่ได้รับรองมาตรฐาน WELL แห่งแรกในประเทศไทย และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเภทโครงการ New & Existing Interiors ในระดับ “Gold” ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลกจาก International WELL Building Institute (IWBI) สถาบันที่กำหนดมาตรฐานอาคารที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างสุขภาวะที่ดี ของผู้อาศัยภายในอาคาร แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในการออกแบบเพื่อสุขภาวะและความยั่งยืน ทั้งนี้ RISC มุ่งมั่นในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน วงการอสังหาริมทรัพย์ และเป็นที่ตั้งของ Well-Being Material Library ซึ่งมีการรวบรวม แสดงรายละเอียดและตัวอย่างวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่า 500 รายการ

 

#RISC #หนังสือ #ebook #Sustainability #ความยั่งยืน #MQDC

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง