Hudson Yards โครงการระดับ Mega Development ของอเมริกา มูลค่าสูงลิ่วแค่หกแสนหกพันล้านบาทเท่านั้นเอง

Propholic EditorialTeam 24 October, 2019 at 11.23 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ที่อเมริกาเปิดตัวโครงการอภิมหามหึมาของการพัฒนาอสังหาฯ อย่าง Hudson Yards ไปเมื่อไม่นานมานี้

 

อันที่จริงความคิดในการพัฒนาโครงการ Hudson Yards มีมาตั้งแต่ยี่สิบกว่าปีที่แล้ว จากมุมมองของนักพัฒนาอสังหาฯ และหน่วยงานในเมืองที่เห็นพ้องต้องกันว่าแมนฮัตตันนั้นเป็น Manifest Destiny คือ ความเชื่อที่ว่าอเมริกาได้รับการมอบหมายจากพระเจ้าให้ทำการขยายพรมแดน บนพื้นที่ที่เหลืออยู่ ‘ในที่ที่ความฝันและความทะเยอทะยานของมนุษย์มีอย่างไม่จบสิ้น ผืนแผ่นดินมีขอบเขตที่จำกัดของมัน และที่สุดท้ายที่ยังเหลืออยู่นั้น คือ แมนฮัตตัน Hudson Yards นักพัฒนาและวางผังเมืองนิวยอร์กกล่าว

 

Hudson Yards เป็นโครงการ mixed-use พื้นที่ 28 เอเคอร์หรือประมาณ 70 ไร่ อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแมนฮัตตัน โอบล้อมด้วยถนนหมายเลข 34 และ 30 ทางทิศเหนือและใต้ มี Tenth Avenue อยู่ทางทิศตะวันออก และ West Side Highway ทางทิศตะวันตก

การพัฒนาโครงการแบ่งออกเป็น 2 เฟส เฟสแรก Eastern Yard มีทั้งหมด 8 ตึก ประกอบไปด้วยพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย ตึกระฟ้าเชิงพาณิชย์ สวนสาธารณะ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และศูนย์แสดงศิลปะวัฒนธรรม เฟสที่สอง Western Yard มีพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย สำนักงาน พื้นที่ค้าปลีกและโรงเรียนประถมศึกษา ทั้งสองเฟสมีกำหนดการแล้วเสร็จในปี 2025

Hudson Yards คือโครงการพัฒนาอสังหาฯ เอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อเมริกา ต่อจากโครงการรุ่นพี่ Rockefeller Center ที่มีอายุมากกว่า 80 ปี นักพัฒนาอสังหาฯ คาดว่าจะสามารถสร้างเงินสะพัดให้แก่นิวยอร์กได้หนึ่งหมื่นเก้าพันล้านดอลลาร์ต่อปีทันทีที่ Hudson Yards แล้วเสร็จ และก่อให้เกิดรายได้ภาษีเมือง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งยังคาดการณ์ว่าจะสามารถรองรับชาวนิวยอร์กได้วันละ 55,752 คนโดยประมาณ

กว่าจะเกิดเป็นโครงการนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ต้องยอมรับว่าพื้นฐานการสร้างโครงการได้อานิสงส์มาจากการที่นิวยอร์กไม่ถูกรับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดโอลิมปิกปี 2012 บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Tishman Speyer จึงได้เข้ามาประมูลและได้พื้นที่ไปพัฒนาต่อในปี 2008 แต่แล้วไฟในการปลุกวิญญาณให้กับโครงการก็ค่อยๆ มอดไปสืบเนื่องจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ จนในที่สุด The Related Companies บริษัทพัฒนาอสังหาฯ เอกชนที่คุมบังเหียนโดย Stephen Ross ก็ได้เข้ามาแทนที่ในปี 2009 และได้ทำการร่วมทุนกับ Oxford Properties Group ในเวลาต่อมา

ข้อมูลเปิดเผยว่างบประมาณการก่อสร้างของโครงการนี้อยู่ที่มากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 606,400,000,000 บาท! เป็นจำนวนเงินที่สามารถเอามาสร้างอาณาจักร One Bangkok ที่กรุงเทพได้ประมาณ 5 แห่ง) ตกเอเคอร์ละ 1 พันล้านดอลลาร์โดยประมาณ และจากข้อมูลอ้างอิงของ New York Times เปิดเผยว่านักพัฒนาโครงการได้รับการยกเว้นทางภาษีจากทางรัฐบาลถึง 6 พันล้านดอลลาร์

ในด้านของการร่วมออกแบบรูปแบบของโครงการ มีสถาปนิกชื่อดังมากมายเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการนี้ เช่น KPF ที่ดูแลการเขียนโครงร่างการดำเนินงานในพื้นที่ของ 10, 30 และ 55 Hudson Yards ในส่วนของ 15 Hudsons Yards และ The Shed ศูนย์แสดงศิลปะวัฒนธรรม ได้รับการดูแลจาก Diller Scofidio + Renfro และ Rockwell Group ด้านนักออกแบบจากอังกฤษ Thomas Heatherwick รับหน้าที่ดูแลบันไดแลนด์มาร์ก The Vessel ในขณะที่ Nelson Byrd Woltz ดูแลภูมิทัศน์ของจตุรัสหลัก David M. Childs แห่ง SOM และนักออกแบบภายใน Tony Ingrao ดูแล 35 Hudson Yards อีกหนึ่งสถาบันการออกแบบจากอังกฤษ Foster + Partners รับผิดชอบในส่วนของ 50 Hudson Yards และ Elkus Manfredi Architects ควบคุมร้านค้าและร้านอาหาร

 

The Vessel

 

The Shed

10 Hudson Yards คือโซนที่เปิดตัวไปเรียบร้อยแล้วในปี 2016 และกลายเป็นถิ่นของ Coach, L’Oreal, VaynerMedia, Alphabet’s (บริษัทแม่ของ Google) Sidewalk Labs, the Boston Consulting Group และอื่นๆ อีกมากมาย โซนที่พักอาศัยจะอยู่ใน 15 Hudson Yards ส่วนของสำนักงานอยู่ที่ 55 Hudson Yards และในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัวร้านค้า ร้านอาหาร และศูนย์การค้าหรู Neiman Marcus รวมทั้งร้านค้าแบรนด์ดัง เช่น Cartier และ Rolex

สำหรับวิธีการเดินทางไปยัง Hudson Yards ทำได้โดยนั่งรถไฟใต้ดินไปลงที่ 34th Street-Hudson Yards Subway Station หรือเดินเล่นผ่าน High Line ไปทางทิศเหนือเรื่อยๆ สำหรับผู้ที่ต้องการความแปลกใหม่ในการเดินทางก็สามารถนั่งเรือเฟอร์รี่ไปจอดเทียบท่าหรือว่าจะไปโดยเฮลิคอปเตอร์ก็มีพื้นที่รองรับด้วยเช่นกัน

เป็นธรรมดาที่โครงการระดับอภิมหึมาจะมีเสียงตอบรับทั้งในเชิงบวกและเชิงวิพากษ์วิจารณ์ บ้างมองว่านี่เป็นการทดลองของการวางผังเมือง การสร้างความยั่งยืนและวางโครงสร้างพื้นฐานอย่างชาญฉลาด บ้างก็มองว่าโครงการนี้เป็นเพียงสนามเด็กเล่นของมหาเศรษฐี ไม่ว่าคนจะรักหรือจะเกลียด Hudson Yards แต่โครงการนี้ก็ได้เปลี่ยนชีวิตของคนเมืองนิวยอร์คไปตลอดกาล มีเพียงเวลาเท่านั้นที่จะบอกได้ว่าที่แห่งนี้มีจะผลให้ชีวิตคนในพื้นที่เป็นอย่างไรต่อไป

 

คลิกชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hudson Yards ได้ที่นี่

www.hudsonyardsnewyork.com

 

แหล่งข้อมูลและภาพ

https://www.architecturaldigest.com/story/everything-you-need-to-know-hudson-yards-nyc-opening

www.hudsonyardsnewyork.com

https://unsplash.com/photos/SiZX2b8Iq3U

https://unsplash.com/photos/xZ5aIGQ7ldY

https://unsplash.com/photos/axpjgviJWmk

https://urbanomnibus.net/2015/08/pneumatic-tubes-for-one-new-yorks-trash/hudson-yards-nyc-master-plan/

https://www.corkeryconsulting.com/corkery-blog/2017/7/7/hudson-yard-development-new-york

Propholic EditorialTeam

เราคือทีมสร้างสรรค์เนื้อหาคุณภาพจาก Propholic.com มุ่งมั่นตั้งใจนำเสนอความรู้และข่าวสารในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

เว็บไซต์

นิว เอปิค อโศก-พระราม 9

นิว คอร์ คูคต สเตชัน

ศุภาลัย แกรนด์ เอสเซ้นส์ อรุณอมรินทร์

ทำเลฝั่ง “ธนบุรี” ในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง...

6 November, 2024

ศุภาลัย ธาม เจริญนคร

เป็นคอนโดมิเนียมแบรนด์ใหม่ของศุภาลัย ที่เป็นผู้เชี่ย...

2 November, 2024

นิช ไพรด์ เอกมัย

Unimaginable Life ชีวิตเกินจินตนาการใจกลางเอกมัย หาก...

21 October, 2024

ศุภาลัย บลู สาทร-ราชพฤกษ์

ทำเลสถานีบางหว้า คือสถานี Interchange สำคัญของชาวฝั่...

17 October, 2024

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง