โปรเจค ESSENCE ตึกสูงพร้อมด้วยระบบนิเวศ 11 รูปแบบ

นิตยสาร eVolo เริ่มต้นจัดการแข่งขันประกวดแนวคิดและวิสัยทัศน์การออกแบบตึกสูงในอนาคตมาตั้งแต่ปี 2006 การประกวดอาคารระฟ้างานนี้มีผลงานเข้าส่งกว่า 6,000 โครงการจากทั่วโลก และตำแหน่งชนะเลิศปีนี้ ก็ตกเป็นของผลงานดาวเด่นชื่อ ESSENCE อาคารขนาดยักษ์นี้ออกแบบโดยทีม BOMP จากโปแลนด์ (มีสมาชิกคือ Ewa Odyjas, Agnieszka Morga, Konrad Basan และ Jakub Pudo) ภายในประกอบไปด้วยแหล่งที่อยู่อาศัย ของสิ่งมีชีวิตกว่า 11 รูปแบบ รวมถึง ป่าดงดิบ ทะเลทราย ภูเขาน้ำแข็ง มหาสมุทรและถ้ำ ทั้งหมดออกแบบมา เพื่อให้เป็นระบบนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่จริง image001 image002 “เป้าหมายหลักของโครงการคือเพื่อนำเอาปรากฎการณ์ที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ในทางสถาปัตยกรรม ให้เป็นรูปเป็นร่างเพื่อมาอยู่ท่ามกลางเมืองหลวงที่แออัด โดยใช้ตัวตึกเรียบง่ายเป็นฉาก แรงบันดาลใจจากธรรมชาติช่วยให้สามารถสื่อภาพโลกภายนอก ในรูปแบบโครงสร้างแนวตั้งได้” ทีม BOMP อธิบาย image003 อาคาร ESSENCE ชั้นแรกซึ่งเป็นส่วนทางเข้าอาคารจัดแต่งเป็นระบบนิเวศใต้น้ำ และทิวทัศน์ในแต่ละชั้นด้านบน จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยเรียงลำดับจากชั้นล่างถึงชั้นบน อาคารแห่งอนาคตนี้จะนำคุณไปสู่มหาสมุทร ป่าดิบชื้น หนองน้ำ ที่ราบกว้างใหญ่ (ซึ่งเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งแล้ง) ทะเลทราย ถ้ำ น้ำตก แม่น้ำ ทุ่งหญ้า ภูเขา และภูเขาน้ำแข็ง นอกจากนี้ยังมีชั้นเพิ่มอีกสามชั้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลระบบ เพื่อให้ภูมิอากาศและภาวะต่างๆ คงสภาพดังที่ควร image004 อาคารแนวตั้งความสูง 2,066 ฟุตแห่งนี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสประสบการณ์ต่างๆอย่างเต็มอิ่ม ทั้งทางทัศนวิสัย อุณหภูมิ ประสาทรับกลิ่นและการเคลื่อนไหว ในแบบเปิดโล่งและการจัดแต่งเหมือน “เดินท่องเที่ยว” อยู่ภายใน ยกตัวอย่างเช่น ชั้นระบบนิเวศใต้น้ำจะอยู่ใต้ตู้ปลาขนาดยักษ์ซึ่งอยู่สูงจากพื้นประมาณ 98 ฟุต สำหรับรายละเอียดแบบแปลนของทีม BOMP ซึ่งมีข้อมูลโครงการแบบล้วงลึก สามารถเข้าไปชมผลงาน ที่พวกเขาส่งประกวดได้ที่ eVolo Source: justluxe

ทุ่ม 9,500ล้าน ผุดแลนด์มาร์คการท่องเที่ยวแห่งใหม่ใกล้พระราม9

Source: www.ddproperty.com Date: 17 กันยายน 2558 โชว์ ดีซี คอร์ปทุ่มงบ 9,500 ล้าน เตรียมเปิดฉากศูนย์การค้า-เอนเตอร์เทนเมนต์ครบวงจรและ K-Town ที่ใหญ่ที่สุดในโลกใกล้ย่านพระราม 9 หวังปั้นให้เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ คาดเปิดให้บริการมิถุนายน 2559 นายชยดิษฐ์ หุตานุวัชร์ ประธาน บริษัท โชว์ ดีซี คอร์ป จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมทุ่มงบลงทุนทั้งสิ้น 9,500 ล้านบาทในการพัฒนา ‘โชว์ ดีซี’ (SHOW DC) ศูนย์การค้าและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ครบวงจรแห่งแรกของไทยขนาด 150,000 ตารางเมตร บนพื้นที่ 27 ไร่ บนถนนจตุรทิศ ใกล้ถนนพระราม 9 โดยมุ่งหวังให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2559 โชว์ ดีซี ซึ่งย่อมาจาก Show Destination Center จะประกอบไปด้วยศูนย์การประชุมและการแสดงที่รองรับผู้ชมได้ 5,000 คน บนพื้นที่ 5,000 ตร.ม., สปอร์ต อารีนา สนามแข่งขันกีฬาเพื่อความบันเทิงแห่งเอเชียรองรับผู้ชมได้ 1,500 ที่นั่ง รวมถึงการแสดงพิเศษส่งเสริมวัฒนธรรม ‘หิมพานต์ อวตาร’ ในรูปแบบ 4D โดยใช้เทคโนโลยีแสง สี เสียงแบบโฮโลกราฟฟิคบนพื้นที่ 5,000 ตร.ม. นอกจากนี้ ยังมีการเนรมิตรพื้นที่ 10,000 ตร.ม. ให้เป็นเอเชียนฟู้ดสตรีท ซึ่งรวบรวมอาหารขึ้นชื่อของเอเชียมาไว้ในที่เดียว และการสร้าง K-Town หรือเมืองเกาหลีที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่รวบรวมสินค้าแฟชั่นความงาม รวมถึงบริการเพื่อความงามจากเกาหลีที่ครบครันมากที่สุดในประเทศไทย และร้านอาหารของศิลปินเกาหลีชื่อดัง มาเปิดบริการ อาทิ ‘Psy Ramen’ (ไซ ราเม็ง) ของไซ กังนัมสไตล์ และ ร้าน ‘After Rain’ ของ นักร้องหนุ่ม Rain “ปัจจุบันโครงการสามารถปล่อยพื้นที่เช่าได้ 60% แล้วโดยหนึ่งในบรรดาผู้เช่ารายใหญ่ ได้แก่ YG Entertainment ซึ่งเป็นค่ายบันเทิงยักษ์ใหญ่ของเกาหลี เพื่อเตรียมเปิดศูนย์วัฒนธรรมและความบันเทิงสไตล์ ‘K-Pop’ บริเวณชั้นดาดฟ้าเนื้อที่ 5,000 ตร.ม. ด้านนางประภาวัลย์ เวลาดีวงณ์ รองประธาน บริษัท โชว์ ดีซี คอร์ป จำกัด กล่าวว่าเมื่อโชว์ ดีซี เปิดให้บริการจะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ราว 50,000 คนต่อวัน และเพื่อเป็นการรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทางบริษัทได้ทุ่มทุนสร้างที่จอดรถบัสขนาดใหญ่ รวมไปถึงจัดการวางแผนเส้นทางการเดินชมของผู้มาใช้บริการภายในศูนย์การค้า อย่างเป็นระบบ “หนึ่งในความสะดวกสบายที่โชว์ ดีซี เตรียมไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ คือ VIP Traveller Lounge บริการฝากกระเป๋าเดินทาง อาบน้ำ หรือพักผ่อน หลักจากเช็คเอาท์จากโรงแรมที่พักและในขณะรอเครื่องบินไฟลท์ค่ำ นอกจากนี้ โชว์ ดีซี ยังได้เตรียมบริการรถรับส่งฟรีไปยังสนามบินในกรุงเทพฯ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย” นางประภาวัลย์ กล่าว

มีอะไรที่น่าตื่นเต้นใน “The EM District” บ้าง?

วันพรุ่งนี้แล้วครับ (27 มีนาคม 2558) จะเป็นวันที่กลุ่มเดอะมอลล์ฯได้สถาปนาอาณาจักร world class retail complex ใหม่ใจกลางถนนสุขุมวิท ที่เรียกกันว่า “The Em District” อย่างเป็นทางการครับ…การเปิดตัวของ The Em District ในครั้งนี้ จุดสนใจอยู่ที่ 1 ห้างใหม่ (The EmQuartier) และ 1 ห้าง renovated (The Emporium) ครับ โดยโครงการ The EmSphere จะถูกพัฒนาเป็นลำดับต่อไปโดยมีกำหนดการสร้างเสร็จครบทั้งโครงการในปี 2560… ทางผู้บริหารของเดอะมอลล์ ได้เคยให้คำจำกัดความของศูนย์การค้าทั้งสามภายใต้ “The Em District” เอาไว้ดังนี้ครับ aw board 9-4 The Emporium คือ ที่สุดแห่งความมีระดับ (The Ultimate Shopping Complex) The EmQuartier จะเป็นมิติใหม่ของรูปแบบชีวิตที่ไม่ธรรมดา (The Extraordinary Life) The Emsphere จะเป็นชีพจร เป็นความเร้าใจใหม่ของกรุงเทพฯ (The Vibe of Bangkok has never experienced before) Emquartier หากเราเดาจากคำจำกัดความดังกล่าว ก็จะพบว่า The EmQuartier (ที่หลายๆคนรอคอยที่จะเดินเข้าไปในวันเปิดตัวพรุ่งนี้นั้น) จะเป็นห้างที่ไม่ได้วาง Position ตัวเองอยู่ในกลุ่ม Super Hi-end ชนิดที่มีแต่ World class brand name shop เปิดอยู่ทั่วทุกอณูของพื้นที่ห้าง เพื่อให้ลูกค้าได้ดื่มด่ำเต็มที่กับประสบการณ์แบบ “Luxury lifestyle” ในแบบที่คู่รักคู่แค้นอย่าง Central Embassy เป็นครับ…แน่นอนครับว่าเจตนารมณ์ของผู้สร้าง The Em District นั้นคือการสร้าง “ย่านการค้า” ขึ้นมาใหม่ครับ หาใช่เพียงแค่การสร้างห้างสรรพสินค้าในแบบ stand alone แต่อย่างใด…การสร้าง Concept ของย่านการค้านั้นจะช่วยการันตีได้ว่า ไม่ว่าคุณจะเป็นใครหน้าไหน ใช้รถยี่ห้ออะไร หรือจะมา BTS…คุณก็สามารถที่จะเข้ามาเดินเล่น จับจ่าย ใช้สอยภายในโครงการ The Em District ได้ ตั้งแต่สินค้าประเภท Fast Fashion ไปจนถึงสินค้าระดับ World Class Collection (ก้แหงหละเพราะมีตั้ง 3 ห้างให้เลือกเดิน) ทั้งนี้ Concept ของการสร้าง District นั้นจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้ครับ ถ้าเพื่อนบ้านใกล้เคียง หรือ business partner ไม่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา locality ร่วมกัน (Co -Creation) และเอาคอนเซปท์มาโปรโมตพร้อมกันครับ…พันธมิตรหลักทั้ง 6 รายที่ช่วยกันเติมเต็มโมเดล District นี้ ประกอบด้วย บริษัท ภิรัชบุรี จำกัด developer โครงการภิรัชทาวเวอร์ แอท เอ็มควอเทียร์ สำนักงานให้เช่าเกรดเอ ความสูง 49 ชั้น พื้นที่รวม 70,000 ตารางเมตร, บริษัท พราว เรียล เอสเตท จำกัด ของกลุ่มตระกูลลิปตพัลลภ เปิดตัวคอนโดมิเนียม Park 24 (เปิดตัวเฟสสองแล้วน้า) เนื้อที่ 12 ไร่ เปรียบดั่งผืนป่ากลางซอยสุขุมวิท 24 Credit ภาพ: http://www.park24.co.th park กลุ่มทีซีซีแลนด์ พัฒนาโรงแรมในย่านสุขุมวิท 24 และ 26 จำนวน 3 แห่ง เงินลงทุนประมาณ 7,500 ล้านบาท แบ่งเป็นโรงแรมก่อสร้างใหม่ 2 แห่ง คือ Hilton Sukhumvit Bangkok ขนาด 305 ห้อง และ DoubleTree by Hilton Sukhumvit Bangkok เป็นบูติกโฮเต็ลขนาด 177 ห้อง และปรับปรุงโรงแรมอิมพีเรียลควีนส์ปาร์คครั้งใหญ่ ภายใต้มาตรฐานเชน “แมริออท อินเตอร์เนชั่นแนล” โดยถือเป็นโรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ จำนวนห้องพัก 1,260 ห้อง คาดว่าปรับปรุงเสร็จปลายปี 2558 และเปลี่ยนชื่อเป็น Bangkok Marriott Hotel Queen’s Park เพื่อขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มประชุมสัมมนา ทั้งด้านธุรกิจ และ ท่องเที่ยว ส่วนพันธมิตรอีก 3 ราย เป็นกลุ่มเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ได้แก่ “เอสเอฟซีนีม่า ซิตี้” ซึ่งเร่งปรับปรุงโรงภาพยนตร์ SFX Cinema โฉมใหม่ ให้เป็น EMPRIVÉ CINECLUB โคตรโรงภาพยนตร์ Hi End แต่ราคาจับต้องได้ ที่ The Emporium Credit ภาพ: https://www.facebook.com/EmpriveCineclub cine cine2 cine3 cine4 รวมไปถึงกลุ่มเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป เปิดตัวโรงภาพยนตร์คอนเซ็ปต์ใหม่ “ควอเทียร์ ซีเนอาร์ท” เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่สไตล์ฮิป จำนวน 8 โรง cineart   และสุดท้ายเจรจาดึง “Virgin Active Health Clubs” เข้ามาเปิดแฟล็กชิปคลับ ระดับพรีเมียม ขนาด 4,000 ตารางเมตร ในด้านการออกแบบนั้น The EmQuartier จะเป็นสถาปัตยกรรมยุคใหม่ที่ล้ำนำสมัยรวม 3 อาคาร ชื่อ The Helix Quartier, The Waterfall Quartier และ The Glass Quartier ซึ่งเชื่อมต่อกับ Bhiraj Tower เป็นอาคารสูงโดยมีจุดชมวิว Sky Cliff อยู่บนยอดตึก โดยนำเส้นสายพลิ้วไหวมาประกอบการออกแบบ ต่างจากศูนย์การค้ายุคเก่าที่เป็นบล็อก เชื่อมโยงพื้นที่ระหว่างเอ็มโพเรียม 1 และ 2 ด้วยลานลอยฟ้าขนาดใหญ่ em1   โดยทีมงานนักออกแบบผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ได้ผสานการรังสรรค์การตกแต่ง ภายใต้แนวคิด Organic Form และ Embracing with Nature ที่นำศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบ ผนวกเข้ากับรูปแบบความงามที่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ เพื่อสร้างสุดยอดสุนทรียภาพแปลกใหม่ในการช้อปปิ้ง พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และเทคโนโลยีล้ำยุค (ล่าสุดปีที่แล้ว คว้ารางวัลชนะเลิศสาขา โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีการออกแบบสถาปัตยกรรมยอดเยี่ยมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Best Commercial Architectural Design – South East Asia) จาก South East Asia Property Awards 2014 ณ ประเทศสิงคโปร์) em3 ภายใต้การออกแบบดังกล่าว The Em district จะเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อมโดยรวม โดยภายในมีพื้นที่สีเขียวกระจายทุกจุด รวมทั้งสวนแนวตั้งขนาดใหญ่ โดยใช้ดีไซเนอร์ระดับโลก แสงและบรรยากาศต้องสร้างความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน…ทั้งหมดทั้งมวลนี้ถูกออกแบบมาเพื่อสะท้อน lifestyle ของ “epicentre” ของสุขุมวิท ที่ซึ่งเป็น melting pot ของกรุงเทพฯอย่างแท้จริง aw board 8-3 แล้วมันมีอะไรน่าตื่นเต้นในห้างนี้ล่ะ? ผมว่า Hi Light สำคัญจะไปอยู่ที่ตึก The Waterfall Quartier ครับ เป็นอาคารด้านหลังสุดและเป็นที่ตั้งของลานจอดรถตั้งแต่ชั้น G ถึงชั้น 3 โดยเอ็มควอเทียร์จะเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกในประเทศไทยที่นำระบบจอดรถอัตโนมัติมาใช้งาน โดยมีพื้นที่รองรับถึง 300 คัน ณ ชั้น B และ BM นอกจากนี้ยังเป็นสารพัดศูนย์รวมความบันเทิงทั้งโรงหนังตกแต่งสไตล์อาร์ตตัวพ่อ (QUARTIER CINEART by Major Cineplex)  และสวนสนุก สวนน้ำในร่ม และเป็นที่ตั้งของ Quartier Falls น้ำตกประดิษฐ์ที่สูงที่สุดในเอเชีย ที่จะเริ่มต้นน้ำจากชั้น 4 ของอาคารนี้ และไหลมาจนถึงทางเดินชั้น G ระหว่างสองอาคารที่เหลือ waterfall ยังไม่หมดครับตึกนี้ยังมีแท่งหรรษาที่มาพร้อมแสงสีเสียง เป็นจอโฆษณา LED ขนาดยักษ์ครับ!! (ไม่รู้กี่สิบล้าน) LED column ตึก The Helix Quartier (คล้ายกับสะพาน Helix ที่สิงค์โปร์เนอะ แถมคอนเซปท์บิดเกลียวเป็น DNA เหมือนกันอีก) ด้านหน้าฝั่งซอยสุขุมวิท 37 มีความพิเศษที่มีสวนลอยฟ้าที่ชั้น 5 และตั้งแต่ชั้นนี้เป็นต้นไป ลักษณะทางเดินของอาคารจะเป็นแบบเกลียว โดยที่ผู้มาใช้บริการสามารถเดินขึ้นจากชั้นสวนลอยฟ้าไปจนถึงชั้นบนสุดได้โดยการเดินวนรอบไปตามทางลาด ซึ่งตลอดทางลาดจะเป็นร้านอาหารนานาชาติมากกว่า 50 ร้านตลอดเส้นทาง ไม่ว่าจะเป็น DEAN & DELUCA, HARRODS, COVA, JONES THE GROCER , PIERRE HERME French macaron,  CHEF MAN , MUGENDAI PENTHOUSE , ANOTHER HOUND & GREYHOUND CAFÉ, VANILLA, ROAST, SODA โอ้ย เยอะมาก… จนถึงขึ้นตั้งนิยามของทางเดินนี้ว่า  “THE HELIX THE DINING EXTRAORDINAIRE” The Helix ใครที่ชอบการออกกำลังกาย ขอให้เดินตรงดิ่งไปที่อาคาร The Glass Quartier เลยครับ เพราะที่นี่มีฟิตเนสคลับ ที่ใหญ่ที่สุดติดอันดับโลก ด้วยขนาดถึง 4,000 ตารางเมตร!!!! ที่ชื่อว่า Virgin Active ครับ…ส่วนที่มันใหญ่ขนาดนี้ก็เพราะมันมีหลายอย่างให้เลือกใช้ชีวิตแบบ living fit ในนี้เลยอ่ะครับ ทั้งว่ายน้ำ จนถึงเตียงที่จะช่วยให้คุณนอนหลับแบบสุขภาพดีภายใน 20 นาที!! Credit รูป: http://www.virginactive.co.th powerplate sleeppod pool TheGrid สำหรับใครที่เป็นขาช้อปของแบรนด์เนม…ที่นี่จะเป็นศูนย์รวม Flagship Stores ของแบรนด์ World Class ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น TIFFANY & CO, VAN CLEEF & ARPELS Haute Joailler, ROGER VIVIER, CHARLOTTE OLYMPIA, SAINT LAURENT, TORY BURCH (เค้าบอกว่า Shop ที่นี่คอนเซปท์ต่างกับที่ Central Embassy นะ), LOUIS VUITTON, CHANEL, DIOR, PRADA, CARTIER, DOLCE & GABBANA, CELINE, FENDI, GUCCI, TOD’S, VALENTINO, CHOLE’, LOEWE’, MIU MIU, SALVATORE FERRAGAMO, BALENCIAGA, ERMENEGILDO ZEGNA, JIMMY CHOO, BURBERRY, EMPORIO ARMANI, HUGO BOSS, DUNHILL, ISSEY MIYAKE, CLUB 21 รวมถึงแบรนด์กระเป๋าสัญชาติเยอรมัน แต่ดันไปดังที่เกาหลีอย่าง MCM ก็มาแบบ Shop ใหญ่มากครับ… mcm ใครที่ชอบสารพัดแบรนด์ Urban Fashion & High Street Fashion อย่างเช่น BANANA REPUBLIC, A BATHING APE, ZARA, MASSIMO DUTTI, H&M, UNIQLO, GAP, MNG, SUPER DRY, BEAMS, STYLENANDA and UNCENSORED, ,FLY NOW, GREYHOUND, SODA, SOMETHING BOUDOIR, SENADA, ASAVA, KLOSET, SRETSIS, ISSUE, IT’S HAPPENED, DISAYA, SANSHAI, TUBE GALLERY , VICKTEERUT ก็เดินไปที่ตึก The Waterfall Quartier โซน Q Stadium ได้เลย… Q สำหรับใครที่อยากไปในวันพรุ่งนี้นะครับ (ผมเองก็ว่าจะไปเดินเล่นเหมือนกันครับ เพื่อจะ lucky draw ได้คอนโด Park 24 หรือ Porch กับเค้าบ้างครับ) ต้องบอกว่าไป BTS เถอะครับ เพราะผมว่าพรุ่งนี้ต้องมีแขก VIP หลายๆคนมาลองระบบ automatic parking ที่ทางโครงการลงทุนไปกว่า 300 ล้านบาทแหงๆครับ อ่ะว่าแล้วก็เอาบัตรเชิญไปเลยครับ แล้วเจอกันครับ!!!! price 20150326174817 ขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก Marketing Division Manager ของ The Mall Group และ Facebook ของ The Em District นะครับ      

ทางลัด สู่การเป็น Global Brand

DSC_0049 Credit: Dean & Deluca สาขา Park Venture ผมเชื่อว่าข่าวการเข้าซื้อกิจการของ Dean & Deluca (ดีน แอนด์ เดลูก้า) แบรนด์ Gourmet Market ชั้นนำของโลก โดยบริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน นั้น ย่อมเป็นข่าวดังติดอันดับหมวดอสังหาริมทรัพย์ส่งท้ายปีนี้แน่นอนครับ….ดีลการเข้าซื้อนี้ ประเด็นไม่ใช่อยู่แค่การใช้เม็ดเงินมหาศาลมากถึง 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือประมาณ 4.55 พันล้านบาท) ในการเซ็นสัญญาซื้อกิจการ ที่ผมเชื่อว่า developer หลายๆเจ้า ก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมต้องซื้อกิจการที่มันแทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ภายในห่วง supply chain ตั้งแต่ต้นน้ำตนถึงปลายน้ำ ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เลย ? แต่แน่นอนว่า คุณสรพจน์ เตชะไกรศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น ย่อมไม่มีวันคิดเช่นนั้นแน่นอนครับ Credit: http://pacedev.com/news/full/ Pace หากพิจารณาจากตัวข่าว จะเห็นได้ว่าเป้าหมายหลักในการซื้อนั้นค่อนข้างชัดเจน ตั้งแต่ย่อหน้าแรก นั่นคือ เพื่อเพิ่มศักยภาพของเพซ ให้รักษาความเป็นผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสาน (mixed-use) ในระดับไฮเอนด์ อีกทั้ง ดีน แอนด์ เดลูก้า ก็ยังมีโอกาสอีกมากในการที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็วในตลาดโลกดังที่เห็นจากบทสัมภาษณ์ว่า   “เพซตั้งเป้าที่จะหลอมรวมธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบ mixed-use ระดับไฮเอนด์เข้ากับแบรนด์ไลฟ์สไตล์ระดับพรีเมี่ยม เพื่อให้สอดรับกับเทรนด์ตลาดโลก โดยเห็นว่าความสำเร็จในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับไฮเอนด์ในอนาคตคือ การมอบไลฟ์สไตล์แบบครบวงจรให้แก่ลูกค้า มิใช่แค่การนำเสนอเพียงที่พักอาศัยหรือสิ่งปลูกสร้าง เพราะเราเข้าใจดีว่าลูกค้าต้องการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่ดีเยี่ยม นั่นคือเหตุผลที่เราต้องนำแบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่ดีที่สุดในโลกมาสู่โครงการอสังหาริมทรัพย์ของเรา ซึ่งรูปแบบการหลอมรวมธุรกิจดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วถึงผลสำเร็จ จากบริษัทที่เปี่ยมด้วยวิสัยทัศน์ในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย และการค้าปลีกระดับโลกหลากหลายบริษัท” นายสรพจน์ กล่าวว่า “แบรนด์ระดับไอคอนอย่างดีน แอนด์ เดลูก้า มีโอกาสสูงมากในการเติบโตอย่างรวดเร็วในตลาดระดับโลก เราคาดว่าภายใต้นโยบายการขายลิขสิทธิ์เพิ่มให้กับผู้ประกอบการเดิมและผู้ประกอบการรายใหม่ในแต่ละประเทศ รวมถึงการลงทุนในร้านใหม่ๆ จากทางเพซเอง จะสามารถขยายดีน แอนด์ เดลูก้าได้อีกหลายร้อยสาขาภายใน 2 ปี จากปัจจุบันที่มีทั้งหมด 42 สาขาและจะขยายจาก 8 ประเทศไปสู่ 15 ประเทศภายใน 2 ปีด้วยเช่นกัน”   จากย่อหน้าข้างบนผมขอขยายความสาระสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาคือ • “เทรนด์ตลาดโลกของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบ mixed use ระดับไฮเอนด์” ครับ อย่างที่ผมเคยบอกในบทความของผมคราวที่แล้ว เกี่ยวกับแนวโน้มในการพัฒนารูปแบบ Residential project ในอนาคตอันใกล้ ว่ามันจะมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการสร้าง value added ในเชิงของ lifestyle นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งครับ บางเจ้าอาจจะเน้นแค่สร้างใกล้ห้าง บางเจ้าอาจจะเน้นแค่เปิด shop ร้านกาแฟ true coffee หรือ super market อยู่ภายในโครงการ หรือบางเจ้าก็เลือกที่จะสร้าง lifestyle mall ขึ้นมาเอง แล้วแต่ความถนัดครับ…. ตลอดเวลาตั้งแต่เราเห็นข่าวโครงการมหานคร เราก็จะได้เห็นข่าวของ Luxury lifestyle retail Center อย่างตึก Cube เข้ามาร่วมแจมด้วยเสมอครับ….Position ของ Cube นั้นมีความฉีกหนีจากคู่แข่งค่อนข้างชัดเจนในแง่ของความเป็น luxury lifestyle ที่ไม่สามารถหาได้ที่ไหนในเมืองไทยครับ เพราะว่าเราคงไม่ได้เห็น World class brand อย่าง Voque Lounge หรือ L’Atelier de Joel Robuchon จากฝีมือของสุดยอดเชฟที่ได้รับรางวัล Michelin Star มากที่สุดในโลก มาเปิดที่ ห้างไหน หรือคอนโดไหนอีกแล้วในเมืองไทยครับ…นี่ถ้านับรวมแบรนด์ The Ritz Carlton ไปด้วย นี่ผมว่า Pace คงจะเป็น developer รายเดียวที่เป็นมือ อาชีพที่สุดในด้าน Holistic luxury brand management ครับ…และแน่นอนว่าในอนาคตจะมีเจ้าอื่นๆมาทำตามแหงๆครับ เพราะว่านี่คือเทรนด์ครับ   ผลประโยชน์อื่นๆที่ได้คืนมามากกว่าเม็ดเงิน 140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ • รุกเข้าสู่ธุรกิจ Food retail เต็มตัวในแบบมีแต้มต่อ เมื่อประมาณสี่ปีที่แล้ว ทาง Pace ใช้งบประมาณในการลงทุนร้าน Dean & Deluca สาขาแรกที่มหานคร พาวิลเลี่ยน ประมาณ 100 ล้านบาทครับ…ถ้าเราคิดอย่างบ้านๆไปเลยว่า หนนี้ซื้อเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หมดทุกสาขาทั่วโลกด้วยเงิน 4,550 ล้านบาท >> ปัจจุบันนี้มีอยู่ 42 สาขา เฉลี่ยแล้วใช้เงินต่อสาขาเพียงแค่ 108 ล้านบาทเองครับ แถมยังเป็นสาขาที่ครอบคลุมอยู่ถึง 8 ประเทศ!!! ผมไม่รู้หรอกครับว่าผลประกอบการของกลุ่มบริษัท Dean & Deluca นั้นเป็นเท่าไหร่ในปีที่ผ่านมา…แต่ที่ผมรู้แน่ๆคือในปัจจุบันนี้ธุรกิจ Food Retail ของไทย ยังไม่มีเจ้าไหนที่ดังมากๆเมื่อออกไปนอกประเทศเลยครับ!! ยกตัวอย่างเครือ CPN หรือแม้กระทั่งเครือ CP ก็ได้ครับ เคยเห็นแบรนด์ Gourmet Market ของ Central หรือแบรนด์ CP Fresh mart ไปได้ดิบได้ดีที่ต่างประเทศไหมครับ? ผมเห็นแต่มีความพยายามจะไปซื้อแฟรนไชส์ดังๆจากเมืองนอกมาเจาะตลาดคนไทย (ล่าสุด CP ก็ไปเอาสุดยอดร้านเบเกอรีสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง Paul มาเปิดที่ Central Embassy) อย่าลืมนะครับว่า brand story และ DNA ของ Dean & Deluca มันไม่ใช่แค่ร้านกาแฟ แบบที่เรา หลายๆคนคิดกัน หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็ต้องลองนึกถึง supermarket ของไทย ที่ฝรั่งติดใจ อย่าง Villa Market ครับ เมื่อเราเข้าไปเราจะรู้สึกถึงความแตกต่างกันระหว่างของที่วางขายใน Villa Market และ Tops Market ครับ…Dean & Deluca คือ specialty food retail ที่ค่อนข้างพิถีพิถันในการคัดเลือกวัตถุดิบ และอุปกรณ์ประกอบอาหาร รวมถึงไวน์ชั้นยอดจากทั่วทุกมุมโลกมาไว้ด้วยกัน ภายใต้ร้านเดียวครับ…ทีนี้แหละครับไม่แน่เราอาจจะได้เห็นร้าน Dean & Deluca ที่รูปแบบที่หลายหลายมากขึ้น และมีสาขามากขึ้นในเมืองไทย เพื่อแข่งกับทั้งตลาดร้านกาแฟพรีเมียม และ local food retail ครับ Credit: www.deandeluca.com georgetownhero1 hp_welcomebasket เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นผมขอให้อ่านบทความแนบท้ายที่ผมไปเอามาจากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม 2010 ครับ • สร้างช่องทางรายได้ที่มั่นคงและต่อเนื่อง เพื่อเติมเต็มช่องว่างของธุรกิจอสังหาฯ ธุรกิจอสังหาฯนับว่าเป็นธุรกิจที่มีความผันผวนเยอะครับ เราไม่มีวันแน่ใจได้เลยว่า ถึงโครงการเราจะขายหมด แล้วในที่สุดแล้วห้องทุกห้องจะโอนได้หมด การรับรู้รายได้ของอสังหาริมทรัพย์นั้นถ้าเป็นคอนโดก็เกินหลักสองปีขึ้น แล้วถ้าบริษัทฯไหนเน้นแค่ทำคอนโดอย่างเดียว มันก็ไม่ต้องมีรายได้พอดีสิครับ? บริษัท ใหญ่ๆอย่าง Land & House ก็มีธุรกิจที่ช่วยประกันรายได้ กระจายความเสี่ยงอย่าง Homepro หรือ LH Bank แล้วการมีธุรกิจที่มี well known brand สำเร็จรูป อยู่ในมือ แต่สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายมากมายอย่างธุรกิจ retail store จะช่วยสร้างรายได้ให้กับ Pace อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอแน่นอนครับ (แต่ต้องทำจริงจังนะ) ยิ่งทาง Pace เองมีแผนที่จะขยายให้ได้ถึงหลักร้อยสาขาภายในสองปีข้างหน้า โอ้ว แบบนี้แทบจะทำแทนธุรกิจหลักได้เลยนะครับ   • Tie in โครงการลงในสินค้า House Brand และเจาะกลุ่มลูกค้า premium hospitality ถ้าใครเคยได้เข้าไปในร้าน Dean & Deluca ก้จะพบกับมุมๆหนึ่ง ที่ดูแล้วมันเหมือนกับโซนขายของที่ระลึก จิปาถะตั้งแต่แก้วน้ำ แยม ไวน์ ช๊อคโกแลต ยันเมล็ดกาแฟ อย่างที่เราเห็นได้ในร้านอย่าง The Mandarin Oriental หรือ Eathai ครับ…มุมนี้ทางร้านเค้าเรียกว่า House brand zone ครับ ซึ่งลักษณะก็คือเค้าจะเอาพวกอาหาร และวัตถุดิบที่หายาก มีเอกลักษณ์จากทั่วโลกมาวางขายในนี้ครับ บางอย่างก็เป็นแบรนด์ต้นฉบับเอง ละหลายอย่างก็มาปั้มเป็นแบรนด์ Dean & Deluca เลยครับ >>คล้ายๆแบบร้าน MUJI อ่ะ << ที่นี้เนี่ยไอ้ของพวกนี้เค้าไม่ได้เอาไว้แค่ขายหน้าร้านนะครับ ส่วนหนึ่งของ snack bar ที่ปั้มชื่อแบรนด์ Dean & Deluca เค้าได้มีการเป็นพันธมิตรกับโรงแรมดังๆ เพื่อเอาสินค้าเหล่านี้ไปจำหน่ายใน minibar ของแต่ละโรงแรม รวมถึงมีการจัดกระเช้าของขวัญเกรดพรีเมียมในช่วงหน้าเทศกาลด้วยครับ…ลองคิดดูนะครับ ถ้าวันหนึ่งเราเกิดไปนอนที่โรงแรม Ritz Carlton ที่ฮ่องกง แล้วเปิด minibar ดูก็อาจจะเจอกับโฆษณาของโครงการ Mahanakorn ติดอยู่ที่สลากก็ได้นะครับ!! ข้อนี้ยังอาจกล่าวรวมถึง กลยุทธ์หนึ่งที่ผมมองว่า Dean & Deluca ยังขาดไปในการทำธุรกิจที่เมืองไทยครับ นั่นคือการทำ localization ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆในการทำตลาดเมืองไทยครับ Global Food brand อย่าง McDonald ยังต้องทำสารพัดเมนูข้าวกระเพราออกมาเลยครับ เพราะลำพังเมนูฝรั่งอย่างเดียวคงจะถูกจริตคนไทยแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ Credit: www.deandeluca.com dandd-coffee-sampler-set-6-2013dean-and-deluca-snack-boxclassic-macarons movie-night-gift sweet-and-savory-tote-14 snacks-for-the-shore-gourmet-gift   • Magnet Brand for all Hi-end residential project สมัยนี้คนทำคอนโดมักจะไม่ค่อยพิถีพิถันในการหา shop เข้ามาลงในคอนโดครับ ด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง มันไม่ใช่ว่าเราอยากได้อะไรแล้วเค้าก็จะมานะครับ แบรนด์อย่าง Starbucks Coffee ผมกล้าพูดได้เลยครับ ว่ามีหลายสาขาพอสมควรที่เจ้าของพื้นที่ให้เช่าได้ฟรี หรือในราคาที่ถูกมากถึงมากที่สุด (บางที่สร้าง shop ให้ด้วยนะ) และที่สำคัญ Starbucks Coffee เค้าก็ไม่ค่อยชอบที่จะมาลงสาขาใน condo สักเท่าไหร่….ที่นี้พอจีบยากเหลือเกิน ก็ต้องทองหาทางเลือกที่มันง่ายกว่านี้ครับ สูตรสำเร็จก็คือหาร้านที่เราลงทุนเองได้ เช่น True Coffee (ซื้อแฟรนไชส์มาทำเองเลย) หรือ retail shop ที่มีแผนการลงทุนในคอนโดที่ชัดเจนอยู่แล้ว เช่น Max Valu, Family Mart, 7 Eleven, Lawson แต่ที่สำคัญคือร้านเหล่านี้ก็ขาดซึ่งความเป็น exclusivity น่ะครับ เราสามารถหาจากที่ไหนก็ได้ และเค้าก็ไม่ได้มาเปิดกับเราเจ้าเดียว….ในเบื้องต้น ผมว่า Dean & Deluca ก็คงจะเกาะไปตาม project ต่างๆของ Pace และตาม Luxury Shopping Mall น่ะครับ…แต่หลังจากที่แบรนด์ได้ settle ในเมืองไทยสักระยะ และพิสูจน์ได้ว่านี่คือส่วนหนึ่งของ premium lifestyle จริงๆ…ก็ไม่น่าจะแปลกอะไรนะครับ ที่เราจะได้เห็นแบรนด์คอนโด Hi end ของ developer รายอื่นๆ พุ่งตรงเข้ามาเจรจาขอให้มาเปิด shop ใต้คอนโดของตัวเองบ้างนะครับ   สุดท้ายแล้วผมว่าประเด็นที่สำคัญที่สุดที่จะช่วยตัดสินว่าเงินมหาศาลที่จ่ายไปนั้น คุ้มหรือไม่คุ้มก็น่าจะเป็นความสามารถในการ escalate แบรนด์ Pace Development ของตัวเองให้เป็น Global brand ได้ในระยะเวลาเพียงแค่ชั่วข้ามคืน โดยไม่ต้องไปเปิดโครงการของตัวเอง หรือไปตั้งหน้าตั้งตา roadshow โครงการรอบโลก แบบที่เคยทำมานะครับนะครับ…แต่ความสำเร็จในระยะยาวนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของ 2 กลยุทธ์หลัก นั่นก็คือ synergy และ utility ครับ   พบกันใหม่หนหน้าครับ หากใครมีข้อเสนอแนะคือคำถามอะไรก็ส่งเข้ามาได้ที่ kirk.bu@gmail.com หรือไม่ก็ติดตามที่ website www.propholic.com นะครับ บทความโดย เกริก บุณยโยธิน ปิดท้ายด้วยเนื้อหาข่าวเกี่ยวกับแบรนด์ Dean & Deluca จาก หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 30 ตุลาคม 2010 ครับ สัญลักษณ์แห่งรสนิยมเรื่องอาหารการกินในแบบฉบับชาวนิวยอร์ก Dean & Deluca (ดีน แอนด์ เดลูก้า) เดินทางมาเปิดสาขาแรกในเมืองไทยแล้ว และถือว่าเป็นสาขาแรกของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์อีกด้วยเปิดได้ไม่เพียงกี่สัปดาห์ก็กลายเป็นทอล์ค ออฟ เดอะ ทาวน์ นักชิมขาวไทยที่รู้จักชื่อนี้ คนไทยที่เคยอยู่นิวยอร์ก นักท่องเที่ยวที่เคยไปเยี่ยมเยือนเมืองใหญ่ๆ ในสหรัฐอเมริกา คนทำงานในแวดวงโฆษณา แม้กระทั่งนิสิตนักศึกษา ก็ทำให้ดีน แอนด์ เดลูก้าในกรุงเทพฯ เก้าอี้แทบไม่ว่าง นอกจาก “มาตรฐานชั้นดี” ทำให้ ดีน แอนด์ เดลูก้า ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว แต่ด้วยรูปลักษณ์อันโก้หรู ยังทำให้ร้านกาแฟแบรนด์นี้ได้รับการตัดเลือกให้ปรากฏอยู่ในหลายฉากของซีรีส์และภาพยนตร์ดังหลายเรื่องของฮอลลีวูด เช่น The Gossip Girls, Julie & Julia, The Devil Wears Prada รวมทั้งใครที่เคยเดินหาร้านกาแฟน่านั่งร้านนี้ในสนามบินเจเอฟเคจากที่เห็นในภาพยนตร์เรื่อง The Terminal แล้วหาไม่เจอ นั่นเป็นเพราะผู้สร้างหนังได้ขอให้ ดีน แอนด์ เดลูก้า สร้างร้านกาแฟร้านนั้นขึ้นชั่วคราวเพื่อถ่ายทำ เดอะ เทอร์มินัล โดยเฉพาะ ดีน แอนด์ เดลูก้า สร้างชื่อเสียงให้ตัวเองได้อย่างไร ย้อนกลับไปในปี พ.ศ.2520 เพื่อคลายความคับข้องใจกรณีที่ไม่สามารถหาวัตถุดิบเกี่ยวกับอาหารคุณภาพชั้นเลิศได้ในนิวยอร์ก โจล ดีน (Joel Dean) ผู้จัดการสำนักพิมพ์ และ จิออร์จิโอ เดลูก้า (Giorgio Deluca) อดีตครูโรงเรียน พร้อมด้วยศิลปินชื่อ แจ็ค เซ็กลิค (Jack Ceglic) ได้ร่วมกันก่อตั้ง ดีน แอนด์ เดลูก้า ขึ้นในย่านโซโห ซึ่งเป็นย่านชอปปิงที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาแห่งหนึ่งในเขตแมนฮัตตัน ของมหานครนิวยอร์ก องค์ประกอบที่ทำให้ ดีน แอนด์ เดลูก้า มีชื่อเสียงในฐานะแบนด์อาหารระดับพรีเมียมชั้นนำ คือความละเอียดลออและการทุ่มเทในการคัดสรรเฉพาะวัตถุดิบที่ดีที่สุดจากนานประเทศมาสร้างสรรค์เป็นเมนูต่างๆ โดยในช่วงห้าปีแรกของการก่อตั้งธุรกิจ หุ้นส่วนทั้งสามคนได้เดินทางท่องไปทั่วยุโรป เพื่อเสาะแสวงหาอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปที่ล้ำเลิศที่สุดจากฝีมือของผู้ที่ลึกล้ำในศาสตร์และศิลป์ของตนอย่างแท้จริง และนำมารวบรวมไว้ในร้านของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ ดีน แอนด์ เดลูก้า จึงไม่เพียงแต่เป็นร้านกาแฟที่ขายเครื่องดื่มและเบเกอรี่ แต่มีความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ในระดับ กูร์เม่ต์ มาร์เก็ต แหล่งรวมอาหารการกินพรีเมียมระดับโลก ไวน์ชั้นเลิศและเครื่อใช้ในครัวฝีมือประณีต มร.จอห์น บาร์ตัน (John Barton) ผู้จัดการทั่วไป ดีน แอนด์ เดลูก้า ประเทศไทย กล่าวว่า นอกจากเมนูที่เป็นซิกเนเจอร์ของ ดีน แอนด์ เดลูก้า ความพรีเมียมของสินค้าเกี่ยวกับอาหารในร้าน 95% คุณจะไม่พบในท้องตลาดทั่วไป เช่น เส้นพาสต้า ถือเป็นซิกเนเจอร์พาสต้าขึ้นชื่อของร้านเนื่องจากเส้นพาสต้าของ ดีน แอนด์ เดลูก้า ใช้ส่วนผสมของโฮลวีตและวินเทอร์วีต ผสมน้ำแร่ในภูเขาในการนวดแป้ง และด้วยกรรมวิธีการผลิตเฉพาะ ทำให้เส้นพาสต้ามีรูพรุน เมื่อนำไปผัดกับซอสชนิดต่างๆ จะทำให้ซอสซึมเข้าสู่ตัวเส้นพาสต้าได้ยิ่งขึ้น นั่นคือหนึ่งตัวอย่างในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารกว่า 20,000 รายการที่มีจำหน่ายใน ดีน แอนด์ เดลูก้า กูร์เม่ต์ มาร์เก็ตพรีเมียมแห่งนี้สุดยอดอาหารของโลกอีกมากมาย สุดยอดเพสตรี้สไตล์เวียนนา เพรสตี้ชื่อก้องโลก Bridor Pastries (บรีโน เพสตรี้) เพรสตี้นี้เป็นสูตรของ เชฟ หลุยส์ เลอ ดัฟฟ์ เชฟชาวฝรั่งเศสโดยกำเนิด อพยพไปอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษที่ 70 ได้ทุ่มเทตนเองเพื่อศิลปะในการสร้างสรรค์ขนมเพรสตี้สไตล์เวียนนาที่ได้ชื่อว่าอร่อยที่สุดในโลกเขาเจาะตลาดอเมริกาผ่านร้านเบเกอรี่ของเขาในกรุงมอนทรีออล และสามารถลพิกฝันตนเองให้กลายเป็นผู้ผลิตชื่อดัง ทำเพรสตี้ส่งโรงแรมหรูหราตามแนวชายฝั่งตะวันออกและตะวันตกได้ในเวลาอันรวดเร็ว ข่าวความสำเร็จเลื่องลือไปถึงฝรั่งเศส ทำให้เขากลายเป็นคนแรกที่สามารถส่งขนมเพรสตี้สไตล์เวียนนาจากสหรัฐอเมริกาข้ามกลับไปขายในยุโรปได้ บรีโน เพรสตี้ของเชฟหลุยส์ ได้รับความนิยมไปทั่วประเทศบ้านเกิดของเขา จนเขาต้องเปิดร้านเบเกอรี่ขึ้นแห่งหนึ่งที่เมืองแรนในฝรั่งเศส ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ที่เขาใช้ผลิตบรีโน เพรสตี้ เพื่อส่งออกสู่โรงแรมระดับโลกในประเทศต่างๆ กว่า 50 ประเทศ นับจนถึงวันนี้ บรีโน เพรสตี้ ยังไม่มีจำหน่ายในร้านอื่นใดในเอเชีย ยกเว้นที่ ดีน แอนด์ เดลูก้า กรุงเทพฯ คัพเค้ก เอิร์ลแห่งพลีมัธ ขนมหน้าตาน่ารับประทานชื่อ Aristocake (อริสโตเค้ก) เป็นขนมที่อบเป็นพิเศษเฉพาะสำหรับ ดีน แอนด์ เดลูก้า พิเศษตรงที่เป็นขนมที่อบโดยภริยาของ ไซมอน วินด์ เซอร์-คลีฟ ผู้ทรงเกียรติ ซึ่งเป็นบุตรชายของท่านเอิร์ลแห่งพรีมัธ เป็นสูตรลับเฉพาะประจำตระกูล และวัตถุดิบบางส่วนนำมาจากไร่ของตระกูลในประเทศอังกฤษ มีลักษณะคล้ายคัพเค้ก แต่ด้วยส่วนผสมที่ใช้ “ไอซิ่ง” สูตรพิเศษ (ไม่สามารถเก็บไว้ได้ข้ามคืน) ทำให้เนื้อขนมมีสัมผัสนุ่มลิ้น ชาเคอร์แห่งออสเตรีย ตำนานขนมระดับโลกอีกชนิดก็อยู่ที่นี่ The Original Sacher Torte (ดิ ออริจินัล ซาเคอร์ ทอร์ท) เรื่องราวดั้งเดิมระบุไว้ว่า เด็กฝึกงานวัย 16 ปีที่ชื่อ ฟรานซ์ ซาเคอร์ มีเหตุต้องช่วยทำหน้าที่แทนหัวหน้าพ่อครัวของเขาซึ่งล้มป่วยลง ด้วยการลงมือสร้างสรรค์ขนมเค้กขึ้นชิ้นหนึ่งด้วยตัวเอง เป็นเค้กช็อกโกแลตเนื้อเบานุ่ม มีชั้นแยมแอปริคอทอยู่ชั้นข้างใต้ไอซิ่งช็อกโกแลตดำ ประสบความสำเร็จจนเป้นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมาก เพียงชั่วข้ามคืน ผู้คนทั่วออสเตรียต่างเรียกร้องที่จะได้ลิ้มลอง “เค้กจากฝีมือของผู้ชายที่มีนามว่า ซาเคอร์” จนกลายเป็นตำนานเมื่อเขาได้ทำขนมเค้กนี้ถวายเจ้าชายคลีมองส์ ฟอน เมทเทอร์นิช ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในปี ค.ศ.1832 ต่อมา เอดูอาร์ด บุตรชายของซาเคอร์ ได้พัฒนาและต่อยอดสูตรคัพเค้กพ่อของเขา โดยสร้างสรรค์ “ทอร์ท” ในแบบที่แพร่หลายอยู่ในปัจจุบัน ทอร์ทสูตรปรับปรุงนี้มีไว้บริการแขกของโรงแรม โฮเทล ซาเคอร์ ซึ่งเอดูอาร์ดก่อตั้งขึ้น และได้กลายเป็นเค้กที่ขึ้นชื่อที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ส่วน “ซาเคอร์ ทอร์ท สูตรดั้งเดิม” ยังคงมีไว้บริการแขกเฉพาะโรงแรม เดอะ ซาร์เคอร์ โฮเทล ในกรุงเวียนนาและเมืองซาลซ์บรูก สูตรนี้ได้รับการเก็บไว้เป็นความลับมิดชิด แต่ใครที่มากรุงเทพฯ จะได้ลิ้มลอง ดิ ออริจินัล ซาเคอร์ ทอร์ท สูตรดั้งเดิมได้ที่นี่ สุดยอดแห่งบัลซามิก นักทำ-นักชิมอาหารส่วนใหญ่รู้จักน้ำส้มสายชูบัลซามิกเป็นอย่างดี แต่ทราบหรือไม่ว่าผู้ผลิตน้ำส้มสายชูบัลซามิกที่เก่าแก่ที่สุด มีชื่อเสียงที่สุด และได้รับรางวัลที่สุด ผลิตจากแหล่งใด คำตอบคือเมืองมอเดน่า ประเทศอิตาลี โดยในปี ค.ศ.1605 ครอบครัว Giuseppe Giusti (กิอุสเซปเป กิอุสติ) นำน้ำส้มสายชูบัลซามิกคุณภาพเลิศของพวกเขานำเสนอในงานแสดงสินค้าต่างๆ ในยุโรปจนประสบความสำเร็จอย่างเกรียวกราว ช่วงเวลาเพียงไม่กี่ทศวรรษ พวกเขาทำให้ผู้คนพากันทึ่งกับน้ำส้มสายชูอายุ 30 ปี 50 ปี และ 100 ปี พร้อมกับคว้ารางวัลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง กิตติศัพท์น้ำส้มสายชูเหล่านี้เป็นที่เลื่องลือจนทราบถึงคนชราในราชวงศ์ และในปี ค.ศ.1929 กษัตริย์ วิตโตริโอ เอมานูเอล ที่ 3 แห่งอิตาลี ได้แต่งตั้งให้ กิอุสเซปเป กิอุสติ เป็นผู้ผลิตน้ำส้มสายชูบัลซามิกให้กับพระองค์อย่างเป็นทางการ สูตรดั้งเดิมของกิอุสติเคยได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1863 และเป็นสูตรที่แสนจะเรียบง่ายดังนี้ “องุ่นคุณภาพล้ำเลิศ เนื้อไม้ที่หลากหลาย เวลา และความอดทน” สูตรลัยดังกล่าวเป็นสิ่งที่ครอบครัวนี้สืบทอดกันต่อมาจนถึงทุกวันนี้ บัลซามิกรุ่น กิอุสติ แบนด้า รอสซา (Giusti Banda Rossa) เป็นความภาคภูมิใจของน้ำส้มสายชูกิอุสติ เป็นผลิตภัณฑ์ที่รักษาไว้เป็นพิเศษของครอบครัวนี้ นำออกจำหน่ายในปริมาณจำกัดหลังหมักไว้จนได้อายุอันยาวนานภายใน “ถังหวัก” ที่เก่าแก่และล้ำค่าที่สุดในวงการน้ำส้มสายชูมีอายุย้อนกลับไปถึงยุคศตวรรษ 1600 ผลที่ได้จากการหมักเช่นนี้ คือน้ำส้มสายชูที่มีรสชาติกลมกล่อมเกินห้ามใจ พร้อมกลิ่มหอมคล้ายผลไม้ ความพิเศษเฉพาะตัวของ กิอุสติ แบนด้า รอสซา หาซื้อได้ที่ ดีน แอนด์ เดลูก้า กรุงเทพฯ ช็อกโกแลตระดับ Noble Ingredients ช็อกโกแลตที่วางจำหน่ายในร้านเป็นช็อกโกแลตที่ผลิตโดย Michel Cluizel (มิเชล คลูเซล) ครอบคับคลูเซลผลิตช็อกโกแลตมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งปต่ปี ค.ศ.1984 ที่โรงงานของพวกเขาในเมืองนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส และได้รับรางวัลมากมายจากช็อกโกแลตที่พวกเขาผลิตขึ้น ทุกวันนี้ มิเชล คลูเซล เป็นผู้ผลิตช็อกโกแลตส่งให้กับเพรสตี้และธุรกิจเกี่ยวกับช็อกโกแลตรวมกว่า 6,000 รายทั่วโลกที่ต่างใช้ช็อกโกแลตแสนพิเศษของเขา ด้วยสภาวะแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนไป เพื่อรักษาพคุณภาพการผลิตช็อกโกแลต คลูเซลปรับแนวทางการทำงานของเขาใหม่ในปี ค.ศ.1997 ด้วยการร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับผู้ผลิตโกโก้ ความสัมพันธ์ของเขากับผู้ปลูกโกโก้ทำให้แน่ใจได้ถึงที่มาของผลผลิตและแบบแผนการเพาะปลูกที่ยั่งยืนรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่เต็มไปด้วยความยุติธรรม และความรับผิดชอบต่อผู้จัดส่งวัตถุดิบให้กับเขา วิสัยทัศน์เช่นนี้ทำให้เขารู้แหล่งและสามารถซื้อหาเมล็ดโกโก้คุณภาพดีที่สุดในโลกได้ กระบวนการผลิตที่พิเศษเฉพาะตัวของเขามีขั้นตอน 17 ขั้นตอน กระทั่งได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่ให้ความรู้สึกเสมือนเป็นผลจากสร้างสรรค์มากกว่าเพียงแค่การผลิต มิเชล คลูเซล คอยควบการผลิตให้อยู่ในปริมาณน้อย ไม่ใช่ผู้ผลิตรายใหญ่ในระดับโลก แนวทางนี้ทำให้เขารักษาแนวปฏิบัติทางธุรกิจที่เน้น “คุณภาพ” มากกว่า “ปริมาณ” ไว้ได้เป็นอย่างดี และไวท์ช็อกโกแลต ได้รับการรับรองคุณภาพโดยเครื่องหมาย Noble Ingredients โกปี ลวค กาแฟรสนิยมวิไล นอกจากเอสเพรสโซ คาปูชิโน ลาเต้ ฯลฯ ดี แอนด์ เดลูก้า ย่อมต้องมีกาแฟสุดพิเศษ Kopi Luwak (โกปี ลวค) หรือ Civet Coffee ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นกาแฟที่มีความพิเศษเฉพาะตัวที่สุดในโลก กาแฟชนิดนี้เริ่มเป็นที่รู้จักฝ่านตัวละครทที่รับบทโดย แจ๊ค นิโคลสัน ในภาพยนตร์เรื่อง The Bucket List เป็นกาแฟเพียงชนิดเดียวที่อภิมหาเศรษฐีผู้ประสบความสำเร็จอย่างสูงในเรื่องเลือกดื่ม มีตัวเลขซื้อขายกันที่ 6,600 เหรียญสหรัฐ/กิโลกรัม หรือราคาเฉลี่ยแกด้วละ 50 เหรียญ โกปี ลวค ผลิตจากเมล็ดของผลกาแฟที่ตัวชะมดอินโดนีเซีย (Indonesia Luwak หรือ Civet) กินเข้าไประหว่างที่เมล็ดกาแฟอยู่ในระบบทางเดินอาหารของชะมดเอนไซม์ย่อยโปรตีนจะซึมเข้าสู่เมล็ดกาแฟ หลังจากเก็บเมล็ดกาแฟเหล่านี้มาล้างทำความสะอาด ตากแห้งและคั่วที่อุณหภูมิสู่งกว่าปกติ จะได้กาแฟที่มีกลิ่นหอมหวนและมีรสชาติพิเศษเฉพาะตัวและมีราคาสูงที่สุดในโลก เมนูแห่งกรุงเทพฯ มร.จอห์น บาร์ตัน กล่าวว่า ดีน แอนด์ เดลูก้า มีสินค้ารวมกว่า 20,000 รายการ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์กลุ่มหลักๆ 25 ประเภท สำหรับดีน แอนด์ เดลูก้า กรุงเทพฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่ โครงการมหานคร ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ ขณะนี้มีผลิตภัณฑ์ต่างๆ วางจำหน่าย 500 รายการ และให้บริการอาหารด้วยเมนูกว่า 100 รายการ เป็นร้านชั่วคราว หลังจากโครงการมหานครเสร็จสมบูรณ์ จะขยายพื้นที่ร้านให้มากกว่านี้และมีสินค้าให้เลือกเพิ่มขึ้น ในช่วงเปิดบริการอย่างไม่เป็นทางการ (4 สัปดาห์แรก) มร.จอห์น กล่าวว่า อาหารซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้ามากที่สุดได้แก่ สลัดเนื้อแกะ พีชและผักโขม (Lamb, Peach & Spinach Salad) เป็นสลัดที่ขายดีที่สุด เนื้อลูกแกะนุ่มๆ กับรสเปรี้ยวอมหวานจากผลพีช, แซนด์วิชชีสนมแพะและอโวคาโด (Gaot Cheese & Avocado Sandwich) เป็นแซนด์วิชอันดับหนึ่งอีกเช่นกัน ใช้ปริมาณชีสและอโวคาโดในสัดส่วนห้าสิบต่อห้าสิบและขนมปังโฮลวีต มร.จอห์นและทีมเชฟประจำปี ดีน แอนด์ เดลูก้า กรุงเทพฯ ไม่ลืมที่จะเสาะหาวัตถุดิบคุณภาพเยี่ยมในเมืองไทยเพื่อสร้างสรรค์เมนูพิเศษเฉพาะของที่นี่ ด้วยรสชาติที่คุ้นลิ้นลูกค้าชาวไทยเป็นพิเศษ นั่นก็คือกาแฟสูตรผสมพิเศษ แบงค็อกเบลนด์ (Bangkok Blend) ใช้กาแฟอาราบีก้าจากทางภาคเหนือของไทยเบลนด์กับเมล็ดกาแฟคุณภาพจากอินโดนีเซีย และวางแผนส่งไปจำหน่ายยังร้านสาขาทั่วโลก ด้วยความติดใจรสชาติข้าวเหนียวมะม่วงของไทย มร.จอห์นจึงคิดสูตรข้าวเหนียวมะม่วงให้เป็นของหวานในแบบฉบับดีน แอนด์ เดลูก้า เรียกว่า ข้าวเหนียวมะม่วงปั่น (Mango Sticky Rice Shake) ของหวานเนื้อนุ่ม รสชาติชวนหลงใหล เข้ากับสภาพอากาศเมืองร้อนของไทย รวมทั้งเมนูพิเศษระดับเวิลด์คลาสเฉพาะกรุงเทพฯ แซนด์วิชมหานคร (MahaNakhon Sandwich) คัดสรรวัตถุดิบระดับพรีเมียมรวมไว้ในจานเดียว ทั้งเมนล็อบสเตอร์ตุ๋น ขาปูอลาสกา ซอสครีมเลมอนผสมเซเลอรีและอาคีแทน คาเวียร์จากฝรั่งเศส เห็ดดำ และขนมปังหมักเปรี้ยวปัวลาน

อะไรคือก้าวต่อไปของธุรกิจ Shopping mall

สวัสดี ปีใหม่ครับคุณผู้อ่านทุกคน ขอให้มีความสุขสมหวัง เฮงๆ รวยๆ ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ตลอดทั้งปีนะครับ…ช่วงนี้ผมสังเกตเห็นว่า กลุ่มธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะในส่วนของ shopping mall, convenience store และ lifestyle mall มีคนเดินเยอะขึ้น (ชาวต่างชาติ ยิ่งโดยเฉพาะชาวจีนก็ปาเข้าไปครึ่งนึงแล้ว) และยอดขายเพิ่มขึ้นมากกกกกจริงๆนะครับ ถ้าประมาณการณ์ด้วยสายตาของผม ผมว่าลูกค้าเยอะกว่าปีที่แล้วบานเลยอ่ะครับ…แต่ร้าน retail นานาชนิดก็ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดเหมือนกันครับ ว่าแล้ววันนี้ผมก็เลยเขียนเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มตลาด shopping Mall เลยแล้วกันครับ ก่อน อื่นผมคงต้องขอเกริ่นถึง สัญญาณบางอย่างเกี่ยวกับการ over supply ของกลุ่มธุรกิจค้าปลีก กัน ก่อนครับ (อันนี้ขอจำกัดแค่ในกลุ่มตลาด shopping mall รวมถึง community mall นะครับ) ข้อมูลนี้นำมาจากหนังสือพิมพ์ โพสท์ ทูเดย์ ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 2555 ซึ่งเค้ามีการไปสัมภาษณ์ผู้บริหารที่คร่ำหวอดมายาวนานในวงการค้าปลีก จากทางฝั่ง CPN และ K Village มาครับ น่าสนใจทีเดียว   “คอม มูนิตี มอลล์ (Community Mall) หรือพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่ใกล้แหล่งชุมชน ซึ่งเกิดขึ้นราวดอกเห็ดช่วง2-3 ปีที่ผ่านมา นับเป็นร้านค้าปลีกประเภทหนึ่งที่มาแรง ซึ่งคนที่อยู่นอกวงการแห่เข้ามาเปิดกันมากจนปัจจุบันเริ่มมีการกังขากันแล้ว ว่าปริมาณที่เกิดขึ้นถึงขั้นล้นความต้องการตลาด หรือโอเวอร์ซัพพลายหรือยัง เพื่อ ให้เห็นภาพดังกล่าวชัดทศ จิราธิวัฒน์กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น(ซีอาร์ซี) ผู้บริหารค้าปลีกเซ็นทรัลกล่าวว่า ร้านค้าปลีกประเภทศูนย์การค้าที่จะเติบโตน้อยต่อจากนี้ จะเป็นคอมมูนิตี มอลล์ ที่มีโอกาสถึง 50% จะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีจำนวนมากในตลาด และกลุ่มที่เข้ามาลงทุนจะเป็นเจ้าของที่ดินพัฒนาโครงการเอง ซึ่งอาจไม่มีความเชี่ยวชาญทำศูนย์การค้า ส่วนภาพรวมธุรกิจศูนย์การค้าในกรุงเทพมหานคร (กทม.)ยังไม่ถึงจุดอิ่มตัวใน 1-2 ปีข้างหน้าตามที่หลายฝ่ายระบุไว้ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่องทุกปีและมีนักท่องเที่ยว ต่างชาติเข้ามาในไทยจำนวนมาก ประกอบกับกำลังซื้อในประเทศขยายตัวดีอยู่   “คอม มูนิตี มอลล์ที่เกิดขึ้นในตลาดปัจจุบันมีโอกาสล้มเหลวได้ 50%เพราะธุรกิจศูนย์การค้าทำยาก และประสบความสำเร็จยาก เห็นได้จากในปัจจุบันมีคอมมูนิตี มอลล์หลายแห่งที่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะส่วนใหญ่เป็นเจ้าของที่ดิน ที่มีที่ดินของตัวเองก็เข้ามาพัฒนาโครงการเอง แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญพัฒนาศูนย์การค้าประกอบกับคอมมูนิตี มอลล์ในไทย จะเป็นแบบเปิดโล่ง เมื่อเกิดปัญหาฝนตกบ่อยครั้งก็กระทบให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการน้อยลง และร้านค้าก็ได้รับผลกระทบด้วย” ทศ ให้ความเห็น ทั้ง นี้ ซีอาร์ซีมีศูนย์การค้าในรูปแบบคอมมูนิตี มอลล์ โดยทำมานาน 20 ปีแล้ว คือ โฮมเวิร์ค ราชพฤกษ์ มีขนาดเล็ก เพื่อจับกลุ่มลูกค้าในชุมชนและอีกแห่งโมเดลใกล้เคียงคอมมูนิตี มอลล์คือ บิ๊กซี วงศ์สว่าง ที่จะหมดสัญญากับบิ๊กซีในอีก 3 ปีข้างหน้า และอยู่ระหว่างพิจารณาจะปรับปรุงเป็นโครงการแบบใด เพราะบริเวณดังกล่าวจะมีรถไฟฟ้าเกิดขึ้น ด้าน ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่เข้ามาทำคอมมูนิตี มอลล์ ร.อ.อติชาติ อรรถกระวีสุนทรผู้ร่วมบริหารโครงการ เอ สแควร์ ภายใต้บริษัทอรรถกระวี กล่าวว่า แนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกรูปแบบศูนย์การค้าชุมชน (คอมมูนิตี มอลล์) ในเขต กทม.โดยรอบ มีอัตราการขยายตัวสูงมากโดยเฉพาะการขยายพื้นที่ค้าปลีกไปยังซูเปอร์มอลล์ ขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาและมีความน่าเป็นห่วงว่าในอนาคตจะเกิดขึ้นเกินความต้องการของ ตลาด(โอเวอร์ซัพพลาย) ในอนาคตหาก มีนักลงทุนสนใจเข้ามาดำเนินธุรกิจคอมมูนิตี มอลล์ในขณะนี้ จำเป็นต้องปรับรูปแบบ (ฟอร์แมต) การให้เช่าพื้นที่ค้าปลีกสำหรับร้านค้าให้มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมกลุ่ม เป้าหมายผู้อยู่อาศัยโดยรอบโครงการใหม่ๆ ขณะ ที่โครงการอสังหาริมทรัพย์ค้าปลีกภายใต้ชื่อ”เอ สแควร์” ของกลุ่มอรรถกระวี ถือเป็นโครงการค้าปลีกรูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิดศูนย์รวมร้านค้า ที่รวบรวมร้านอาหารและธุรกิจบริการประเภทต่างๆ 10 แบรนด์หลัก ภายใต้งบลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า1,200 ล้านบาท บนพื้นที่ 16 ไร่ ในซอยสุขุมวิท 26 โดยปรับรูปแบบการให้บริการในลักษณะการให้สิทธิการเช่าพื้นที่กับผู้ประกอบ การร้านค้าเป็นระยะเวลา 10-15 ปี แนวคิดดังกล่าวเพื่อให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจสามารถพัฒนาโครงการและออก แบบร้านค้าได้ด้วยตัวเอง ซึ่งแตกต่างไปจากค้าปลีกประเภทอื่นที่ผู้เช่าร้านค้าต้องเช่าพื้นที่ภายใน แต่ละโครงการ และต้องปฏิบัติหรือดำเนินการออกแบบร้านค้าตามรูปแบบที่เจ้าของโครงการค้า ปลีกกำหนดไว้ เป็นต้น   ร.อ.อติ ชาติ กล่าวว่า ช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้กลุ่มบริษัท อรรถกระวีได้พัฒนาโครงการคอมมูนิตี มอลล์ภายใต้ชื่อเค วิลเลจ ตั้งอยู่บนทำเลถนนสุขุมวิท 26 ติดกับถนนพระราม 4 ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีจำนวนปริมาณลูกค้าหมุนเวียน (ทราฟฟิก) ลดลงราว 5%เมื่อเทียบกับช่วงแรกๆที่เปิดให้บริการซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีคอมมูนิตี มอลล์เกิดขึ้นมากนักในปัจจุบัน   “ไม่ ใช่แค่เฉพาะการเกิดขึ้นจำนวนมากของคอมมูนิตี มอลล์ในขณะนี้ แต่พบว่าในช่วง 1-2 ปีนี้ที่ผ่านมายังมีการขยายตัวของศูนย์การค้าแห่งใหม่ๆ เปิดให้บริการเป็นจำนวนมากในทำเลต่างๆทั่ว กทม.ด้วยเช่นกัน ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าในอนาคตอาจเกิดโอเวอร์ซัพพลายด้านค้าปลีกได้เช่นกัน” ร.อ.อติชาติกล่าว” …เป็น ไงครับ จากความเห็นของทั้งสองท่านดังกล่าวก็จะเห็นได้ว่า การทำ community mall นั้นไม่ใช่แค่มีที่ดิน ก็สามารถทำได้นะครับ มันต้องดูทั้ง consumer insight ของทั้งแถบ neighborhood ด้วยกันเอง และดูถึงขีดความสามารถในการแข่งขันกันกับ คู่แข่งแถวนั้นด้วยนะครับ ซึ่งปัจจุบันนี้ developer ส่วนใหญ่ที่คิดทำ community mall มักจะมีความคิดยึดติดอยู่ในหัว หรือมองแค่ปัจจัย 4 – 5 อย่างต่อไปนี้ในการ เริ่มต้นพัฒนาโครงการครับ   1. พื้นที่แค่นิดเดียว ไม่ถึง 10,000 ตารางเมตร ก็ทำได้แล้ว 2. อยู่ใกล้แหล่งชุมชน หรืออยู่ในแหล่งท่องเที่ยวก็ทำได้แล้ว (เพราะอย่างงี้ตามหัวเมืองต่างๆ หรือระหว่างทางเข้าเมืองท่องเที่ยว ยิ่งมีเพียบ) 3. สร้างแบบ open space ไม่ต้องทำโครงสร้างมิดชิด มากนักก็ทำได้ ประหยัด 4. เน้นแค่คนละแวกนี้ แวะมากินข้าวก็พอ ก็เลยไม่ต้องใช้สื่ออะไรในการโปรโมตมาก 5. รายได้หลักก็เก็บเอาจากค่าเช่าของร้านค้า หรืออาจจะเป็นการเซ้งระยะยาว 6. ทำ Landscape สวยๆหน่อย ให้คนมาถ่ายรูป เดี๋ยวก็มีคนพากันมาเองแหละ ถ้า คุณผู้อ่านคนไหนเริ่มต้นที่จะทำ community mall แล้วคิดแบบนี้เหมือนกัน… ผมว่าอันตรายมากนะครับ เพราะว่าไอ้ที่คิดแบบนี้มันมีหลายสิบที่เลยแหละครับ ซึ่งมันก็ยากมาก หากต้องการให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามที่ฝันเอาไว้ แนวทางปฏิบัติ ที่ทางผมอยากจะขอแนะนำให้กับผู้ประกอบการทุกท่านก็มีดังนี้ครับ
  • อย่ามองเห็นกลุ่มเป้าหมายเป็นเพียงแค่ neighborhood  >> อันนี้ผมเคยกล่าวเอาไว้ส่วนหนึ่งในบทความ Nostragic Marketing ว่า สิ่งที่ชี้วัดถึงความสำเร็จของธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์การตลาดถวิลหาอดีต อย่างเช่น Asiatique The River Front ไม่ใช่เพียงแค่การมีกลุ่มคนสูงวัย + คนละแวกนั้น มาเที่ยวเท่านั้น แต่ต้องมาจากการบอกต่อปากต่อปาก และแวะมาเยี่ยมชมด้วยตาตัวเอง ของกลุ่มคนจากละแวกอื่นๆครับ
  เพราะ ฉะนั้น เราก็ไม่ควรที่จะทำธุรกิจอย่างง่ายๆ เช่น ทำที่จอดรถน้อยๆ ไม่มีที่ให้รถทัวร์ลง ไม่มีรถ รับส่ง จากภายนอก มาภายในโครงการ หรือมองหาร้านค้าเพียงแค่ร้านอาหารเท่านั้นก็พอครับ  
  • การสร้าง landscape ควรที่จะสร้างให้ครบตามหลักการทำ Holistic Branding ไม่ใช่ว่าสัก แต่การสร้างสัญลักษณ์ จุดถ่ายภาพ หรือชื่อคอนเซฟท์ของโครงการ
  หลายๆ โครงการมักจะตกม้าตายตรงจุดนี้น่ะครับ ผมยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ ถึง shopping mall สองห้างนะครับ ห้างหนึ่งวาง positioning เป็น Japanese Shopping Mall แถวๆเอกมัย (แหม พูดแบบนี้ใครๆก็รู้ว่าเป็น Gateway) อีกห้างหนึ่งวาง positioning ว่าเป็น Worldwide Market Street แถวๆแยกอโศก (ใครๆก้รู้อีกว่าเป็น Terminal 21) 643602caf SONY DSC     ในแง่การวาง Positioning > อันนี้ผมว่า Gateway ดูเผินๆจะได้เปรียบมากนะครับ เพราะว่าทำเลแถวนั้น มันช่างถูกใจคนญี่ปุ่นซะเหลือเกิน และกำหนด Positioning ในแบบที่หาคู่แข่งยากมากครับ เรียกได้ว่าห้างญี่ปุ่นในเมืองไทย มีแค่ Isetan และ Tokyu เท่านั้น แถมทั้งสองห้างก็ไม่ได้เป็นรูปแบบ stand alone ซะด้วย…ส่วน Terminal 21 ตอนแรกที่ผมคิด ผมคิดว่ามันจะเป็นออกแนว Union Mall ซะมากกว่าน่ะครับ แต่ปรากฎว่าผลที่ออกมามันไม่ใช่ครับ >>> หากใครได้มีโอกาส ไปเดินดูทั้งสองห้าง จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยครับ ว่าทั้งในแง่การสร้าง Brand experience และในแง่ทราฟฟิค Terminal 21 กินขาดเลยอ่ะครับ??? จริงอยู่ที่ทำเลที่เป็นจุดเชื่อมต่อ BTS & MRT อาจจะดูได้ เปรียบมากกว่า แต่อย่าลืมว่านั่นคือแยกอโศก สุขุมวิท แยกที่หลายๆคนรู้ดีว่านั่นไม่ใช่ Shopping area แต่เป็น Working area ครับ >> คุณผู้อ่านลองคิดตามนะครับ Gateway มีอะไรที่เป็นญี่ปุ่นมั่งอ่ะครับ ผมเห็นแค่ชั้น 1 ชั้นเดียวที่มีร้านอาหารญี่ปุ่น ยิ่งชั้นใต้ดิน แทนที่จะเอาร้านเครื่องเขียนเจ๋งๆจากประเทศญี่ปุ่นมา ดันเอา Office Depot มาซะอีก และยิ่งเป็นชั้นบนๆ ไหงกลายเป็นพันธ์ทิพไปซะหยั่งงั้นอ่ะครับ มีแผนโปรแกรมขายอีกต่างหาก!?! ในทางตรงกันข้ามคนที่เดิน Terminal 21 กลับรู้สึกถึงความเพลินในการเดิน สนุกกับการถ่ายภาพ landscape ที่เป็นสัญลักษณ์ market street จากประเทศต่างๆ ทั้งๆที่ในทาง Operation แล้ว Terminal 21 นั้นมีการทำงานที่ยากกว่าด้วยซ้ำ เพราะจำนวนร้าน retail มากกว่าเยอะ  แต่ร้านเหล่านั้น แบรนด์เหล่านั้น กลับสามารถถูกวางครอบเอาไว้โดย master brand ที่เป็น market street ของแต่ละชั้น ได้อย่างเนียนตา และสัมผัสได้ถึงประสบการณ์การช้อป ในประเทศต่างๆที่ทางเจ้าของห้างอยากให้เป็นได้อย่างดีเยี่ยม!!!
  • ควรมี Magnet เป็น well known specialty stores มากกว่า 1 อย่าง เช่น เสนาเฟสท์มี Villa market, Terminal 21 มี Gourmet Market และ SF รวมถึง Service Hotel อย่าง Centerpoint และจามจุรีสแควร์มี Banking Zone
  อัน นี้หลายคนอาจจะบอกว่า อ้าวก็ฉันมีพื้นที่น้อยนี่หน่า ลำพังแค่ร้าน retail + ร้านอาหารอย่างเดียวก็แทบจะไม่มีที่เหลือแล้ว จะไปเอาร้านพวกนี้มาได้ยังไงอ่ะครับ >> หากเป็นเช่นนี้ผมขอให้กำหนด Positioning ของคุณให้ชัดเจนนะครับ ว่าคุณสร้างห้างนี้มาเพื่อ Who What Where Why Where? >> ผมขอยกตัวอย่าง Neighborhood Mall แห่งหนึ่งที่กรุงโซล เกาหลีใต้ ที่ชื่อว่า Ssamzigil ครับ ห้างเล็กนี้ตั้งอยู่ในเขต Insadong ซึ่งเป็นเขตศิลปะวัฒนธรรม (ย่านนี้ Museum + Art Gallery เยอะมากครับ) รวมถึงเป็นย่าน พระพุทธศาสนาที่สำคัญแห่งหนึ่งในกรุงโซล รูปแบบการวาง Position ของเค้า มันช่างเหมาะสมกันกับย่านนั้นเหลือเกินครับ นั่นคือเค้าทำเป็น Open space ลานกว้างเป็นไข่ดาวตรงกลางเพื่อเป็นลานแสดงศิลปะ ของศิลปินที่อยากจะมาอวดผลงาน ส่วน retail shop โดยรอบก็เป็นร้านที่ขายของแนวอาร์ตๆ สวย เก๋ แต่แบรนด์ไม่ดัง โดยที่ไม่มี retail chain ที่เป็น magnet store ใดๆอยู่ในนั้นเลยครับ   64360c177 64360d32e เมื่อ ไม่นานมานี้มี case study เก๋ๆจาก landloard ชื่อดังของเมืองไทยอย่างสำนักงานทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการเปิดตัว Neighborhood commercial space ที่ชื่อว่า ZY Walk บนทำเลจุฬา ซอย 5 ภายใต้แนวคิดชิโนโปรตุกีส หรือสถาปัตยกรรมลูกครึ่งจีน-โปรตุเกส เพื่อหวังให้เป็นไชน่าทาวน์แห่งที่ 2 ของกรุงเทพฯ ด้านโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย อาคารพาณิชย์สูง 4 ชั้น จำนวน 7 อาคาร มีพื้นที่ใช้สอยกว่า 200 ตร.ม. จำนวนทั้งสิ้น 124 ยูนิต แบ่งเป็น โซนแฟชั่น สุขภาพและความงาม ธนาคาร สถานกวดวิชา อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น >> โครงการนี้มีพื้นที่ทั้งโครงการขว้างขวางพอสมควรครับ (ประมาณ 10 ไร่) จุดเด่นของเค้านอกจากในแง่ทำเล และ landscape แล้ว ก็น่าจะเป็นการคัดเลือกผู้ทำการค้าพอสมควรนะครับ เนื่องจากเป็นรูปแบบการเซ้งระยะเวลา 20 ปีด้วยจำนวนเงิน 12 ล้านบาท…ซึ่งก็น่าติดตามกันต่อไป มากๆครับ ว่าเมื่อโครงการสร้างเสร็จแล้วจะ ‘โดนใจ’ กลุ่มลูกค้า มากน้อยแค่ไหน   64360cbd9 643606a81 64360339b 643601248  
  • ควรปรับเปลี่ยน revenue model ซะใหม่ ให้มันแตกต่างจากตลาดส่วนใหญ่
  โดย ปกติแล้วรายได้ของ mall ต่างๆมักจะมาจากการเก็บค่าเช่าของร้านค้าต่างๆครับ ยิ่งร้านใหญ่ก็จะได้ค่าเช่ามาก หรือร้าน chain magnet บางแบรนด์ที่ใหญ่มากๆ ก็มักจะได้อัตราค่าเช่าที่ถูกครับ ซึ่ง landlord ก็มักจะได้รายได้ที่ค่อนข้าง fix ในแต่ละเดือน >> ในจุดนี้ผมขอแนะนำ revenue model ในแบบ hybrid ครับ โดยแบ่งเป็นเทศกาล หากว่าเป็นช่วง low season ก็ควรที่จะเปลี่ยนแปลง package ค่าเช่า เช่น คิดเป็น revenue sharing แทนค่าเช่าแบบ fix รายเดือน…ผมลองมานั่งคิดเล่นๆนะครับ ว่าย่านประตูน้ำของเราเนี่ย ในแง่สินค้าและ traffic นี้ไม่ได้ด้อยไปกว่าฮ่องกง หรือโซล เลยนะครับ นักท่องเที่ยวเยอะแยะทั้งไทยและเทศ มาช้อปที่นี่ผมว่าวันนึงมี billing รวมกันหลายร้อยล้านบาท แต่ไหงปิดกันหมดตั้งแต่หกโมงเย็น…คนต่างชาติส่วนใหญ่มาแล้วก้งงกันหมดครับ ซื้อของไม่ทัน >> ฮ่องกงร้านค้าปิด เที่ยงคืน โซลบางย่านปิดตีห้า…อันนี้ผมก็ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเจ้าของร้านมองว่าไม่คุ้ม หรือว่าคนไทยขี้เกียจขายของ หรือว่าเอารายได้กันแค่พอเพียง กันแน่ครับ? ถ้าผมเป็นเจ้าของห้างใหญ่แถวนั้น ผมจะรวบรวมกำลังพลไปต่อรองกับรัฐบาลเลยครับ ว่าขอลดภาษี + ค่าไฟ ให้กับทุกร้านค้าที่เปิดตลอด 24 ชม. แล้วเจ้าของห้างก็เก็บเงินค่าเช่าเพิ่มเป็นชั่วโมงที่เปิดเกินกว่า 2 ทุ่มตามจริง มันจะแฟร์กับเจ้าของร้าน และมันจะดีกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวมากกว่าที่เป็นอยู่ไหมครับ?    
  • อย่าให้ retail space ของคุณอยู่นิ่งๆว่างๆ ตลอดเวล
  ใคร มันจะอยากมาเดินห้างที่ไม่มีอีเวนท์ หรือกิจกรรมลดแลก แจกแถม อะไรเลยอ่ะครับ? ในฐานะที่เป็นเจ้าของพื้นที่ แล้วยังอยากที่จะให้ลูกค้ามาเช่าพื้นที่คุณให้นานๆ คุณก็อย่าลืมที่จะจัดกิจกรรมที่จะ draw คนเข้ามาในห้างของคุณด้วยนะครับ ตัวอย่างกิจกรรมการตลาดที่ควรจะจัดอย่างสม่ำเสมอก็มีอย่างเช่น (ผมขออนุญาติ quote จากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีกดังนี้ครับ)   o   เพิ่มการจัดอีเวนท์หรือกิจกรรมต่างๆให้ถี่ขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเฉพาะช่วงเทศกาล โดยมีการหมุนเวียนสินค้าและบริการให้หลากหลาย และน่าสนใจมากขึ้น พร้อมทั้งใช้กลยุทธ์ลด แลก แจก แถม ควบคู่ไปด้วย   o   ดึงองค์กรธุรกิจต่างๆ ให้เข้ามาจัดกิจกรรมภายในห้างสรรพสินค้าบ่อยครั้งขึ้น เพื่อให้มีการใช้พื้นที่แสดงสินค้าภายในศูนย์การค้าอยู่ตลอด แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการอาจจะต้องปรับลดค่าเช่าพื้นที่ และต้องประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆให้ลูกค้าได้รับรู้   o   เนรมิตพื้นที่ในห้างสรรพสินค้าและบริเวณโดยรอบให้เข้ากับบรรยากาศ Themes งานมากขึ้น เช่น มีการจัด Window display เป็นต้น   o   การปรับปรุงพื้นที่ (Renovate) เพื่อสร้างบรรยากาศ และภาพลักษณ์ของธุรกิจให้ทันสมัย และสดใสอยู่เสมอ   o   การเป็นพันธมิตรร่วมกับบัตรเครดิต นอกจากจะให้สิทธิผ่อน 0% นานขึ้นแล้ว ยังสามารถใช้คะแนนสะสมภายในบัตรแลกรับโปรโมชั่นพิเศษเพิ่มขึ้น อาทิ ส่วนลดเพิ่มขึ้น แพคเกจท่องเที่ยว เช็คของขวัญเงินสด   o   การประชาสัมพันธ์และทำการตลาดผ่านทางอินเทอร์เน็ตและโซเชียลเน็ตเวิร์ค และร่วมสนุกเพื่อรับบัตรกำนัล หรือคูปองส่วนลด   เจอ กันใหม่เดือนหน้านะครับ หากเพื่อนๆหรือคุณผู้อ่านคนไหนอยากให้ผมเขียนเรื่องอะไร และจะแนะนำติชมอะไรขอให้ส่งเมลมาได้ที่ kirk.bu@gmail.com นะครับ อะไรที่หามาได้ ก็จะเอามาเขียนตอบแน่นอนครับ ส่วนอะไรที่ตอบไม่ได้ก็รอไปก่อนนะครับ แต่สัญญาว่าจะหามาให้ได้ครับ   บทความโดย เกริก บุณยโยธิน