- ผมไม่มีทาง zoom in เข้าไปได้เลยว่า ทำเลนี้ตามดัชนี ที่บอกว่ามี supply + ราคา เท่าโน้น เท่านี้ มันประกอบด้วยโครงการอะไรบ้าง
- ยอดขายนับแค่เฉพาะตอนเริ่มต้น presale เท่านั้น
- ดัชนีราคาไม่ชัดเจนว่านับราคาเฉลี่ยจากตอนช่วงไหน ถ้านับแค่ช่วง presale ก็คงไม่ reflect ตลาดที่แท้จริง
- ไม่ได้มีการแยก segment ของคอนโดที่อยู่ใน area เดียวกัน

- การเช็คคะแนน score cardที่ได้มาจากกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เพื่อดูว่าคะแนนเฉลี่ยของแต่ละกลุ่มนั้น มันมีความเหมือนหรือแตกต่างกันหรือไม่–การเช็คสุขภาพของแบรนด์ในส่วนของข้อนี้จะแบ่งออกเป็น6 elementsที่เป็นองค์ประกอบของสุขภาพที่ดีของแต่ละแบรนด์ครับ โดยตำราของผมจะประกอบด้วยLoyalty/ Regard/ Energy/ Association/ Relevance/ Differentiation
- การให้กลุ่มเป้าหมายกรอกคะแนน เราจะต้องมีการทำแบบฟอร์ม questionnaire โดยให้กลุ่มเป้าหมายกรอกตามลำดับความสำคัญใน likert scale 5 ระดับครับ โดยแต่ละ element จะมีคำถามกี่ข้อก็ได้ แล้วแต่ว่า brand strategist คุณจะ “เก๋า” และรู้ลึกรู้จริงในธุรกิจนั้นๆมากแค่ไหนครับ ยกตัวอย่างเช่น ใน element ของ Loyalty คุณอาจจะมีเซตคำถามเช่น ลูกค้าของแบรนด์คุณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง/ ลูกค้าปัจจุบันมักจะแนะนำลูกค้าคนอื่นมาให้เสมอ/คนส่วนใหญ่นึกถึงแบรนด์ในทางที่ดีกว่าแบรนด์อื่นในธุรกิจ/ กิจกรรมที่แบรนด์จัดให้นั้นน่าประทับใจและอยากที่จะเป็นลูกค้าต่อไป
- นำคะแนนที่ได้จากทุกกลุ่มมาหาค่าเฉลี่ยทั้งหมดอีกครั้ง และนำมา Plot ลงในกราฟ Brand Power Indicator ครับ >> โดยในกราฟนี้จะแบ่งเป็น 2 แกนหลัก คือ Familiarity (คือผลคะแนนเฉลี่ยจาก element ของ Loyalty/Association/ Energy) และ Favorability (คือผลคะแนนเฉลี่ยจาก element ของ Regard/ Relevance/ Differentiation)
- เมื่อ Plot ลงไปแล้วก็มาดูกันครับว่า score มันตกลงที่ตำแหน่งไหนในกราฟ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันครับ Leading brand, Promising Brand, Challenged Brand และ Infamous Brand ครับ แน่นอนว่าหากขีดพลังของแบรนด์คุณอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 5 ในแกนในแกนหนึ่ง ก็แสดงว่าแบรนด์คุณเริ่มแสดงอาการป่วยให้เห็นแล้วครับ

- ตรวจสอบ Current Brand perception ผ่านทางการทำ Focus Group Interview
- ตัวอย่างคำถามที่จะนำมาใช้การการทำ interview ก็จะเป็นคำถามที่มุ่งเจาะถึงความคิดเห็นที่มีต่อแบรนด์ในแง่ต่างๆเช่น Product, Service, Visibility, Channel, Image, Customer และ Reputation
- ในตรงนี้มี Tips ในการตั้งคำถามนิดนึงครับ คือคำว่า Brand Perception เนี่ย ไม่ใช่ว่าเรา จะมุ่งเจาะตรงไปเฉพาะที่แบรนด์เราอย่างเดียว แต่ควรที่จะถามถึงตลาดโดยรวม ตามด้วย specific product และต่อด้วยแบรนด์เราครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าถามในวงการคอนโด ก็ควรจะมี set คำถามแรกที่ครอบคลุมไปถึง
- การรับรู้และความคิดเห็นที่มีต่อ developer คอนโดในกรุงเทพ
- เมื่อพูดถึงบริษัทที่ develop คอนโดในกรุงเทพคุณนึกถึงใคร?
- มีอะไรที่คุณชอบหรือไม่ชอบที่มีต่อ developer คอนโดในกรุงเทพบ้าง
- การรับรู้และความคิดเห็นที่มีต่อ developer คอนโดในกรุงเทพ
- ต่อมาจึงตามด้วย set คำถาม ที่เกี่ยวกับการรับรู้และความคิดเห็นที่มีต่อคอนโดในกรุงเทพ
- และตามด้วย set คำถาม ที่เกี่ยวกับ ความคาดหวังที่มีต่อ developer คอนโดในกรุงเทพ
- ปิดท้ายด้วย set คำถาม ที่เกี่ยวกับ การรับรู้และความคิดเห็นที่มีต่อ แบรนด์ของคุณ
- เมื่อได้รับคำตอบทั้งหมดแล้ว ก็ให้นำมา grouping เป็นหมวดหมู่ ทั้ง Pro และ Con เพื่อเอาไปจัดเรียงใน Brand Perceptual map อันประกอบด้วย Attribute/Benefit/Value/Personality ครับ
- การวาดภาพแบรนด์ของคุณ ณ ปัจจุบัน และอนาคตที่อยากจะให้เป็น