Flexible Space คือเทรนด์ใหม่ของพื้นที่สำนักงาน?

ต่อทอง ทองหล่อ 07 July, 2020 at 16.56 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ทุกคนคงทราบดีว่า COVID-19 (โควิด 19) กระทบต่อตลาดสำนักงานไปทั้งเอเชียแปซิฟิก ทั้งมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่ทำให้คนต้องทำงานจากที่บ้าน ไปจนถึงการจัดการธุรกิจให้เช่าสำนักงานแบบใหม่ที่ต้องให้ความสำคัญในเรื่องสุขอนามัยและการมีมาตรการที่รัดกุมกว่าที่ผ่านมา

Flexible Space ที่หมายรวมถึงพื้นที่ให้บริการ Co-working space และสำนักงานให้เช่า ต่างก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 จนต้องพยายามหาทางลดค่าใช้จ่ายของตัวเองจากการที่มีผู้เข้าใช้บริการน้อยลง เช่น ธุรกิจ Co-working space ในจีนที่มียอดผู้ใช้งานลดลง 30-40% ในช่วง 8 สัปดาห์แรกของการระบาดหนัก

แต่เมื่อช่วงปลายพฤษภาคม 2020 ที่ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่น้อยลง ไม่ก็เป็นศูนย์ราย ยอดจอง Co-working space ในจีนและฮ่องกงก็ค่อยๆ กลับมาและคาดว่าตลาดอื่นๆ ก็จะมีแนวโน้มที่ดีแบบนี้เช่นกัน

จำนวนพื้นที่สำนักงานให้เช่าในเอเชียแปซิฟิกมีเพิ่มเป็น 3 เท่าในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาจากความเฟื่องฟูของยุค Sharing Economy หรือเศรษฐกิจแบบแบ่งปันบวกกับเงินที่หลั่งไหลจากนักลงทุน แม้ว่าอัตราการเติบโตต่อปีจะลดลงมาที่ 20% จากปี 2019 และลดลง 5% ในไตรมาสแรกของปี 2020 จำนวน Flexible Space ให้เช่าจาก 18 เมืองหลักในเอเชียแปซิฟิกรวมแล้วก็ยังมีถึง 71 ล้านตารางฟุตเลยทีเดียว

ท่ามกลางการเติบโตของธุรกิจ ผู้ประกอบการหลายเจ้าก็เริ่มเตรียมปรับโมเดลธุรกิจของตัวเองกันอยู่แล้วจากการแข่งขันในตลาดที่เข้มข้น แต่โควิด19 ก็เข้ามาทำให้ซับซ้อนขึ้น ผู้ประกอบการหลายแห่งไม่สามารถเปิดทำการได้ตามปกติ บ้างก็ต้องระงับแผนการขยายธุรกิจตัวเองไปชั่วคราว บ้างก็พักงานพนักงาน บ้างก็เลิกจ้างไปเลยเพื่อรับมือกับปัญหาด้านการเงิน

การปิดสาขาที่ไม่ทำกำไรเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่พื้นที่เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะถูกซื้อต่อจาก Co-working space เจ้าอื่นที่มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่งหรือไม่ก็ผู้เช่าที่กำลังมองหาพื้นที่เพิ่มเป็นของตัวเองอยู่พอดี

อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้ประกอบการที่เปิดให้บริการระหว่างช่วงของการแพร่ระบาด เว้นเสียแต่ว่าตึกทั้งตึกนั้นจะถูกสั่งปิดจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ตึกที่ยังเปิดให้บริการก็มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของตัวเอง ได้แก่

– จำกัดจำนวนผู้เข้าใช้บริการ

– จัดพื้นที่ใช้งานให้เว้นระยะระหว่างกัน

– เพิ่มความถี่ในการทำความสะอาด บริการหน้ากากอนามัยฟรี และเจลล้างมือ

– ติดตั้งป้ายย้ำเตือนผู้ใช้บริการถึงมาตรการเว้นระยะทางสังคม

– ยกเลิกงานอีเว้นท์และการรวมตัวคนจำนวนมาก

นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมุ่งไปที่การพยายามต่ออายุสมาชิกของลูกค้าเดิมให้ได้มากที่สุด บางที่ก็เสนอส่วนลดค่าสมาชิกมากถึง 30% ต่อเดือน หรือไม่ก็ยื่นข้อเสนอพิเศษสำหรับผู้ที่ทำสัญญาเช่าระยะยาว บางรายหันไปให้บริการใหม่ๆ เช่น ออฟฟิศเสมือนจริง(Virtual Office Service) ที่มีบริการรับโทรศัพท์ ระบบการสื่อสารและอื่นๆ เป็นต้น อีกทางก็ต้องเจรจาขอปรับโครงสร้างค่าเช่าพื้นที่กับเจ้าของที่ดิน ซึ่งส่วนใหญ่เซ็นสัญญากันในช่วงปี 2018-2019 ที่ธุรกิจกำลังอยู่ในจุดพีค

แต่ถึงแม้ว่าความวุ่นวายนี้จะยังคงอยู่ไปอีก 2-3 เดือนข้างหน้า บทสัมภาษณ์ของทีมวิจัยกับผู้ประกอบการในฟอร์จูน 100 ชี้ให้เห็นว่าภาคธุรกิจ Flexible Space ในระยะยาวยังคงไปต่อได้ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปแน่ๆ หลังจากจบเหตุการณ์แพร่ระบาดระดับโลก ความยืดหยุ่นในการเลือกใช้สถานที่ทำงานจะมีมากขึ้นกว่าแต่ก่อน

2. การเป็นทางเลือกของการขยายตัวทางธุรกิจให้แก่บริษัทหลักที่อาจต้องการใช้พื้นที่ชั่วคราวในการทดสอบการขยายขนาดทีม หรือความต้องการพื้นที่ที่มีบริการทุกอย่างพร้อมให้ดำเนินงานได้ทันที

3. องค์กรพยายามลดรายจ่ายในการติดตั้งอุปกรณ์ทำงานบางอย่างที่จำเป็นแต่อาจไม่ได้ใช้บ่อย จึงเลือกมาทำสัญญาระยะยาวกับ Co-working space แทน

4. เป็นที่ที่ลดความแออัดจากสำนักงานหลัก ซึ่งเห็นได้ชัดมากจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมที่จำกัดการรวมตัวในที่ใดที่หนึ่งมากเกินไป Flexible space ก็เป็นอีกทางเลือกให้ผู้ที่มองหาพื้นที่ในการทำงานมาใช้บริการได้

5. องค์กรใหญ่ๆ ใช้ Co-working space เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือ Business Continuity Planning (BPC) เช่น หากเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้พนักงานไปใช้งานที่สำนักงานไม่ได้ จะใช้ Co-working space เป็นสถานที่สำรองในการทำงานแทนเพื่อให้ธุรกิจไม่หยุดชะงัก

โดยสรุปแล้วแม้ว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างโควิด 19 จะทำให้ธุรกิจต้องหยุดชะงักและหาทางเอาตัวรอดกันไปบ้าง แต่ในระยะยาวแล้วความต้องการ Flexible Space ยังคงมีและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากบริบทของโลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งความต้องการจากบริษัทขนาดเล็กที่มองหาพื้นที่ทำงานที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันในราคาที่คุ้มค่า ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่มองหาความคล่องตัวในการทำงานของทีม

 

แหล่งข้อมูลและภาพ

COVID-19 Implications for Flexible Space: What’s Next? จาก CBRE

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

นาวว์ เมกา

หากจะพูดถึง NOWW MEGA (นาวว์ เมกา) ในพื้นที่ของ Maga...

14 November, 2023

แชปเตอร์ วัน สปาร์ค จรัญ

ย่านจรัญเป็นย่านที่มี transformation หรือมีการเปลี่ย...

13 November, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง