แนวทางการพัฒนาที่ดินทำเลสถานีวัดเสมียนนารีให้เป็นโซน Senior Living Urban District สำหรับกลุ่ม Young Old

ต่อทอง ทองหล่อ 21 April, 2021 at 10.04 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Senior Living)

 

สังคมไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ความต้องการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะหรือ Senior Living นั้นมีเพิ่มขึ้น เมื่อปี 2019 ทาง DDproperty Consumer Sentiment Survey สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 1000 คน ในประเด็นเรื่องประเภทที่อยู่อาศัยที่ผู้สูงอายุสนใจ พบว่าความสนใจอันดับหนึ่งคือ บ้านเดี่ยว 35% อันดับสองคือ Senior Living ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ 32% อันดับสามคือทาวน์เฮาส์ 11% อันดับสี่คือยังไม่ได้คิด 19% อันดับ 5-6 คือ คอนโดตึกเตี้ย Low-rise 8% และ คอนโดตึกสูง High-rise 4% 

 

แม้สัดส่วนของความสนใจพักอาศัยในบ้านเดี่ยวและ Senior Living นั้นมีค่อนข้างสูง แต่ว่าอาจจะสวนทางกับกำลังซื้อจริงของผู้สูงอายุที่พบว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มผู้สูงอายุในไทยนั้นยังคงมีรายได้ระดับยากจนเพราะไม่มีเงินออม ไม่มีรายได้และยังต้องพึ่งพาเงินทองจากลูกหลาน ดังนั้นปัจจุบันการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนว Senior Living ในไทยส่วนใหญ่จึงยังจับกลุ่มแค่ผู้สูงอายุที่มีรายได้สูงเท่านั้น เช่น โครงการ Thonburi Health Village ประชาอุทิศ จับกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องมีคนดูแล ค่าเช่ารายเดือนเริ่มต้นเดือนละ 30,000 บาท มีที่พัก ผู้ดูแล แพทย์ตรวจเยี่ยม ดูแลอาหาร และมีกิจกรรมฟื้นฟู , โครงการ Jin Wellbeing County ย่านรังสิต ปทุมธานี เป็นคอนโดมิเนียมที่ออกแบบสำหรับผู้สูงอายุที่ยังดูแลตัวเองได้ มีบริการอาหาร ทำความสะอาดห้องพัก ซักรีด มี facility ด้านการแพทย์ กิจกรรมรายสัปดาห์ ฟิตเนสสำหรับผู้สูงอายุ ราคาเริ่มต้นที่ 33,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น

 

โครงการ Jin Wellbeing County

ภาพจาก https://www.jinwellbeing.com/gallery/ 

 

คนสูงอายุอาจไม่ต้องไปพักอยู่ในทำเลไกลผู้คน

 

ในปัจจุบันเราอาจจะเคยเห็นโครงการ Senior Living ที่สร้างเป็นคอนโดมิเนียมหลายรูปแบบ หลายทำเล บางแห่งสร้างอยู่ต่างจังหวัดในเขตเงียบสงบพักตากอากาศ บางแห่งสร้างบนทำเลที่ไกลจากแหล่งชุมชนเพื่อความเงียบสงบ บางแห่งสร้างโดยความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐโดยพัฒนาบนที่ดินที่อยู่ไกลจากเขตเมืองออกไป แต่ละรูปแบบก็มีกลุ่มลูกค้าเป็นของตัวเอง แต่จริงๆ แล้วผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อจับกลุ่มผู้สูงอายุอาจจะมองข้ามกลุ่มผู้สูงอายุที่ยังคงอยากอาศัยในย่านชุมชนที่มีความสะดวกสบายสูง ไม่ได้อยากย้ายออกไปอยู่ในสถานที่สงบเงียบเกินไป หนึ่งในลูกค้าเหล่านี้คือกลุ่มที่เรียกว่า Young Old

 

เทรนด์การอยู่อาศัยของ Young Old

ในปัจจุบันกลุ่มคน Young Old หรือ “แก่แค่กายแต่ใจวัยรุ่น” นั้นมีในประเทศไทยเยอะมากขึ้น ถ้าดูจากข้อมูลสำนักงาน ก.พ. จะทำให้เห็นว่าช่วงปีพ.ศ. 2560-2564 จะมีข้าราชการเกษียณอายุราชการประมาณ 50,000 คน ซึ่งกลุ่มนี้ถือว่าเป็นหนึ่งในกลุ่ม Young Old มีอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป เพิ่งเกษียณการทำงานและเป็นกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงสูง มีเงินเก็บออมมาพอสมควร บางคนมีเงินบำนาญ มีเงินก้อนที่มากพอที่จะนำไปใช้จ่าย นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่ทำงานภาคเอกชนที่เกษียณอายุงาน บางคนมีรายได้เงินก้อนจากการสมัครใจออกจากงานก่อนกำหนด บางคนก็ทำอาชีพค้าขาย ทำธุรกิจ มีความสามารถและยังมีไฟที่จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อยู่ คนสูงอายุแบบนี้เรียกรวมกันทั้งหมดว่า Young Old 

 

Young Old ที่กระฉับกระเฉงนั้นมีแนวโน้มที่จะเลือกพักอาศัยในคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น ยิ่งเฉพาะกลุ่ม Young Old ที่ยังโสด  นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้เทรนด์ความต้องการการพักอาศัยในคอนโดมิเนียมของผู้สูงอายุในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพนั้นมีเพิ่มสูงขึ้นด้วยเหตุผลในชีวิตต่างๆ เช่น อยู่บ้านคนเดียวไม่มีกำลังกายจะดูแลบ้านหลังใหญ่, ไม่มีเงินมากพอจะซ่อมบ้านหรือจ้างคนมารีโนเวทบ้าน, บ้านใหญ่เกินไปสำหรับการอยู่สองกันแค่ตายาย, ชุมชนที่อยู่ไม่มีคนวัยเดียวกันอาศัยอยู่แล้ว, ปู่เพิ่งตายแต่ย่ายังมีชีวิตอยู่แต่จะอยู่บ้านคนเดียวที่ต่างจังหวัดลูกหลานที่ทำงานกรุงเทพก็เป็นห่วงเลยย้ายย่ามาอยู่กรุงเทพด้วยกัน, สุขภาพไม่ค่อยดี ต้องย้ายมาอยู่ใกล้หมอเก่งๆ ในกรุงเทพ, เป็นคนสูงอายุโสดตัวคนเดียวไม่มีคนดูแล,  เป็นต้น 

 

ในอนาคตเราจะได้เห็นโครงการที่พักอาศัย Senior Living ในกรุงเทพเยอะขึ้น สำหรับกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางถึงสูงที่ยังดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ดูแล 

 

ทำเลในกรุงเทพที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นย่านเมืองน่าอยู่สำหรับผู้สูงอายุ (Senior Living Urban District) ที่จะแนะนำในวันนี้คือย่านสถานีวัดเสมียนนารี 

 

ทำเลสถานีวัดเสมียนนารีอยู่ตรงไหน

 

ทำเลวัดเสมียนนารี มี 2 ฝั่ง คือฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต แต่จะย่านที่พร้อมกับการสร้างเป็น Senior Living Urban District มากกว่าคือฝั่งถนนเทศบาลสงเคราะห์หรือที่นิยมเรียกว่าย่านตลาดประชานิเวศน์1 ครับ คลิกดูแผนที่ย่านตรงนี้ https://goo.gl/maps/ccfHs8jR7DF3XkB7A 

 

จากในรูปจุดสีแดงตรงกลางคือสถานีวัดเสมียนนารีของรถไฟฟ้าสายสีแดง ฝั่งซ้ายคือย่านประชานิเวศน์ครับ 

มีวัดเสมียนนารี พระอารามหลวงเป็น Landmark ใหญ่ของย่านนี้

ภาพโดย Auttapon Rungchaya  จาก https://goo.gl/maps/ErRUKu6Lo5Pcys2y7 

เหตุผลที่ทำเลสถานีวัดเสมียนนารีมีศักยภาพพัฒนาเป็น Senior LivingUrban District 

 

เหตุผลที่ 1 ย่านวัดเสมียนนารีเป็นทำเลเงียบสงบและเป็นชุมชนผู้สูงอายุอยู่แล้ว

 

ย่านวัดเสมียนนารีหรือย่านตลาดประชานิเวศน์ 1 นั้นเป็นทำเล Residential area มานานมากแล้ว เป็นย่านที่เต็มไปด้วยหมู่บ้านในซอยย่อยต่างๆ และบนถนนเมนหลักอย่างถนนเทศบาลสงเคราะห์ก็เต็มไปด้วยตึกแถวร้านค้าแนวราบมากมาย เป็นย่านคนทำงานรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงพักอยู่ในอดีตและปัจจุบันพวกเขาเหล่านั้นก็มีอายุมากขึ้น จึงทำให้ปัจจุบันย่านเป็นที่มีผู้สูงอายุเยอะ นอกจากนี้ยังเป็นย่านที่มีโครงการหมู่บ้านการเคหะประชานิเวศน์ 1 พัฒนาโดยการเคหะแห่งชาติอยู่ด้วย

 

และที่สำคัญย่านนี้ยังไม่มีโครงการอาคารสำนักงานขนาดใหญ่หรือแหล่งการค้าขนาดใหญ่ๆ มาเปิดให้บริการจึงทำให้ภาพรวมของย่านนี้เป็นย่านที่ค่อนข้างเงียบสงบและมีคาแรกเตอร์เป็นย่านพักอาศัยที่สงบเรียบร้อย ปลอดภัย และอบอุ่น

 

เหตุผลที่ 2 ย่านวัดเสมียนนารีมีสิ่งอำนวยสะดวกด้านการแพทย์ในชุมชน

มีคลินิกมากมายในย่านวัดเสมียนนารี-ประชานิเวศน์ ให้บริการกับคนในชุมชนโดยไม่ต้องเดินทางออกไปไกลที่โรงพยาบาลในย่านอื่น เช่น คลินิกทันตแพทย์พจน์, คลีนิคทันตแพทย์ ประเสริฐ, นารีคลินิค ด้านสูตินารีเวช, Le Bangkok คลินิกด้านความงาม, Neuro Clinic คลินิกสมองและระบบประสาทแพทย์อิทธิกร,ธานิศาคลินิก เลเซอร์ ผิวพรรณ เส้นผม, ศูนย์รักษาผู้บุตรยาก BORN IVF นอกจากนี้ก็มีคลินิกสำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น คลินิกอุ่นรักสัตว์เลี้ยง, วิภาวดีสัตว์แพทย์, หมอเดียวใจดีสัตว์แพทย์ และยังมี ประชาชื่น MRI ศูนย์ตรวจสุขภาพร่างกายด้วยการทำ MRI เพื่อหาความผิดปกติของเส้นเลือด ตับ หลัง เอ็นข้อเข่า มะเร็งเต้านม และอื่นๆ เป็นการแพทย์เชิงป้องกันก่อนที่จะเป็นโรคร้ายแรง

http://www.mrithailand.com/ 

 

เหตุผลที่ 3 ย่านวัดเสมียนนารีมีร้านอาหารจำนวนมากที่ถูกใจกลุ่มครอบครัวและผู้สูงอายุ

 

เรื่องกินคือเรื่องสำคัญของคนไทย ดังนั้นย่านใดมีแหล่งของกินดีๆ ย่อมเป็นที่นิยมย่านวัดเสมียนนารีนั้นก็มีร้านอาหารที่ถูกใจกลุ่มครอบครัว ผู้สูงอายุอยู่มากมาย เรียกได้ว่าเป็นสวรรค์ของผู้สูงอายุเลยครับ มีร้านอาหารไทย ร้านอาหารทั้งเช้า กลางวัน หรือกินเย็นถึงค่ำก็มี ใครอยากจะจัดมีตติ้งเลี้ยงรุ่นก็นัดเจอที่ร้านอาหารกันได้ หรืออยากกินแบบส่งถึงที่ก็มีร้านอาหารมากมายให้เลือก

 

จากในภาพกรอบสีแดงๆ คือร้านอาหารในย่านวัดเสมียนนารีครับ

ร้านจันทร์เจ้าขา ขายอาหารไทย มีเมนูที่หาทานยาก จอดรถสะดวกสบาย

ภาพโดย sarawut polsen จาก https://goo.gl/maps/PrLmhyrkphTGo6Zv7 

 

ร้านอาหารบ้านจิตประภัสสร เมนูแกงส้มไหลบัวกุ้ง ยำตะไคร้ ซี่โครงหมูอบ ทอดมันปลากราย

ภาพโดย anontapat tieansuwan จาก https://goo.gl/maps/FNvatmVYSVvBPeWD9 

 

ร้านพริกหอม ประชานิเวศน์ ร้านรวมฟาสต์ฟู๊ดรสเด็ด อาหารใต้ไม่ใส่ผงชูรส มีบริการเดลิเวอรี่ด้วย

ภาพจาก https://www.facebook.com/prikhormbkk 

 

เหตุผลที่ 4 ย่านวัดเสมียนนารีมีแหล่งช้อปปิงแนวราบ เดินง่าย เข้าถึงง่าย

จุดเด่นของย่านนี้คือมีตลาดแนวราบที่ช่วยให้ประสบการณ์การเดินชอปปิ้งสะดวกสบาย ไม่ต้องขับรถวนหาที่จอดไม่ต้องเดินเท้าไกลๆ กว่าจะจะได้ของที่ต้องการเหมือนห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เหตุผลนี้เองทำให้ย่านนี้เป็นที่นิยมของผู้สูงอายุที่ไม่อยากเดินไกลๆ

 

มีตลาดบองมาร์เช่ มาร์เก็ตพาร์ค (Bon Marché Market Park) เป็นศูนย์รวมของทุกคนในครอบครัว เป็นตลาดที่ผู้สูงอายุชื่นชอบมาก มีทั้งอาหารการกินที่ถูกปาก จุดเด่นอยู่ที่ Foodcourt ริมสระน้ำนั่งสบาย มีตลาดขายของน่าซื้อ มีร้านเสื้อผ้า ดูดวง คลินิก รวมทุกความสนใจของวัยเกษียณไว้ที่นี่

ภาพจาก www.facebook.com/bonmarche.marketpark

ภาพจาก https://bonmarche.co.th/ 

 

มีตลาดประชานิเวศน์

เนื่องจากเมื่อปี 2016 มีเหตุการณ์บางส่วนของอาคารพาณิชย์ 12 คูหาในย่านตลาดประชานิเวศน์ถล่มลงมา ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ทางสำนักงานตลาดกทม. จึงมีแผนพัฒนาตลาดประชานิเวศน์ 1 โดยจะใช้งบประมาณ 800 ล้านบาท เพื่อรื้อตลาดเดิมบนพื้นที่ 15 ไร่กว่า แล้วสร้างใหม่ทำเป็น Community Mall ที่ทันสมัย มีตลาดสดปรับปรุงใหม่ 337 แผง ,ตึกแถว 68 คูหา, มีอาคารจอดรภสูง 10 ชั้น, มีอาคารพลาซ่าและสำนักงาน 6 ชั้น  เพื่อรองรับลูกค้าที่จะเข้ามาใช้บริการ แต่ปัจจุบันปี 2021 ยังไม่ได้เริ่มสร้างโครงการใหม่ แต่มีการปรับพื้นที่ให้เป็นลานกว้างสำหรับตลาดนัดไปก่อน  

ภาพเหตุการณ์ตึกแถว 12 คูหาที่มีส่วนกันสาดและระเบียงถล่มลงมาเมื่อปี 2016

ภาพข่าวจาก https://youtu.be/8Ta1QjGRUSQ 

 

มีซูเปอร์มาเก็ต TOPS Market ประชานิเวศน์ อยู่ชั้นล่างของประชานิเวศน์ 1 สแควร์ ข้างบนเป็นตึกคอนโดประชานิเวศน์

เหตุผลที่ 5 ย่านวัดเสมียนนารีอยู่ไม่ไกลและเดินทางไปยังโรงพยาบาลหลักๆ ได้สะดวกมาก

 

โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้กับย่านวัดเสมียนนารีที่สุดคือ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ประชาชื่น และโรงพยาบาลวิภาวดี

 

ภาพโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ ประชาชื่น บริหารโดย บริษัท บางกอก เชน ฮอสปิทอล จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ที่แยกประชานุกูล

ภาพจาก www.kasemrad.co.th 

 

โรงพยาบาลวิภาวดี

ภาพจาก https://www.vibhavadi.com/ 

 

สำหรับผู้สูงอายุที่อยากเดินทางไปยังโรงพยาบาลใหญ่ๆ ก็สามารถนั่งรถเมล์สาย 67 นั่งต่อเดียวจากย่านวัดเสมียนนารีไปถึงโรงพยาบาลสำคัญได้เลย รถประจำทางสาย 67 จะผ่านโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โรงพยาบาลรามาธิบดี ถนนพระราม6 และวิ่งไปถึงโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ถนนพระราม4ได้เลยครับ 

เส้นทางรถเมล์สาย 67 วัดเสมียนนารี – เซ็นทรัลพระราม 3
วัดเสมียนนารี – ประชานิเวศน์ 1 – ถ.ประชาชื่น (ผ่านรพ.เกษมราษฎร์) – สะพานบางซื่อ – ถ.เตชะวณิชย์ – สะพานแดง – ถ.ประดิพัทธ์ – แยกประดิพัทธ์ – ถ.พระราม 6 – รพ.วิชัยยุทธ – ร.ร.สามเสนวิทยาลัย – โรงกรองน้ำ – แยกตึกชัย – รพ.รามา – แยกอุรุพงษ์ – ถ.เพชรบุรี – แยกเพชรพระราม – ถ.บรรทัดทอง – แยกเจริญผล – แยกสะพานเหลือง – ถ.พระราม 4 – สามย่าน – รพ.จุฬา – สวนลุมพินี – แยกวิทยุ – ถ.สาทร – ซ.สวนพลู – สน.ทุ่งมหาเมฆ – ถ.นางลิ้นจี่ – เทคนิคกรุงเทพ – แยกนางลิ้นจี่ – ช่องนนทรี – ถ.นราธิวาสฯ – เซ็นทรัลพระราม 3

 

เหตุผลที่ 6 ย่านวัดเสมียนนารีมีศักยภาพในการพัฒนาที่ดิน

 

ผังเมืองกรุงเทพฉบับเก่าปี 2556 กำหนดให้พื้นที่ย่านวัดเสมียนนารีเป็นพื้นที่สีเหลือง ย.5 แต่ในผังเมืองกทม.ฉบับใหม่ที่กำลังจะประกาศใช้ในอนาคตนั้นจะเพิ่มศักยภาพมาเป็นผังสีเหลือง ย.9 ซึ่งจะมีศักยภาพในการพัฒนาที่เพิ่มมากกว่าเดิม เช่น สามารถสร้างคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า หรือตึกออฟฟิศที่มีพื้นที่เกิน 10,000 ตารางเมตรได้ตามเงื่อนไขถ้าตั้งอยู่ริมถนนที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร /หรืออยู่ในระยะ 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เหตุผลข้อนี้ทำให้ย่านวัดเสมียนนารีเป็นอีกหนึ่งทำเลที่น่าสนใจในการลงทุนทำโครงการใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้พักอาศัยในวัย Young Old 

 

ภาพผังเมืองของย่านวัดเสมียนนารี (ที่วงกลมสีแดงเอาไว้) 

ตารางข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน 

แนวทางการพัฒนาที่ดินย่านวัดเสมียนนารีเป็นอย่างไรได้บ้าง

 

แปลงที่ดินเล็กๆยิบย่อยในย่านวัดเสมียนนารี

ในย่านวัดเสมียนนารีส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยว ปัจจุบันรูปแปลงที่ดินในย่านวัดเสมียนนารีนั้นจึงเป็นแปลงเล็กๆ ขนาดประมาณ 100 ตารางวา ที่ดินแปลงเล็กแบบนี้ทำให้พัฒนาเป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ไม่ได้ จากที่สังเกตในย่านวัดเสมียนนารีเจ้าของที่ดินบางท่านก็เปลี่ยนจากบ้านเดี่ยวให้กลายเป็นตึกสูงประมาณ 5 ชั้นเท่านั้น ทั้งๆ ที่ศักยภาพของที่ดินในย่านนี้สามารถสร้างได้มากกว่าตึก Low-rise

มีวิธีแนวทางใดที่จะพัฒนาให้ย่านวัดเสมียนนารีพัฒนาเป็นโครงการใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์คนในชุมชนและดีมานด์สำหรับทุกคนและผู้สูงอายุได้บ้าง

 

แนวทางที่ 1 พัฒนาเป็นแปลงๆ ไป เช่น เจ้าของที่ดินบ้านเดี่ยวขายที่ดินแปลงเล็กนั้นให้กับบริษัทพัฒนาอสังหาเพื่อพัฒนาเป็นอาคารสูง 5 ชั้น

 

แต่แนวทางที่อาจจะดูน่าสนใจและสร้างมูลค่าให้กับที่ดินในย่านวัดเสมียนนารีได้มากกว่าหลายเท่าตัวก็คือ แนวทางที่ 2 

 

แนวทางที่ 2 การทำ Land Readjustment หรือการจัดรูปที่ดิน คือ การนำเเปลงที่ดินหลายๆ เเปลงมารวมกัน จัดรูปเเปลงที่ดินใหม่ให้เป็นระเบียบเเละสวยงาม พร้อมทั้งจัดระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการเเละบริการสาธารณะต่างๆ ที่ได้มาตรฐานอย่างครบถ้วนเเละเพียงพอ

 

โดยให้เจ้าของที่ดินร่วมกันจัดตั้งสมาคมจัดรูปที่ดินตาม “พระราชบัญญัติการจัดรูปที่ดินเพื่อการพัฒนา” โดยกรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของเจ้าของที่ดินตามเดิมและนำแปลงที่ดินมาผนวกเข้ากันแล้วทำ replotting เพื่อจัดรูปแปลงที่ดินใหม่ ตัดถนนเส้นใหม่และสร้างระบบสาธารณูปโภคใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพและมูลค่าของที่ดินซึ่งทั้งหมดนี้เจ้าของที่ดินทุกคนสามารถมีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์ใหม่เพิ่มขึ้นที่ลงตัวและมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน

วิธีการคร่าวๆ ในการทำ Land Readjusment ได้แก่ การมีส่วนร่วมของเจ้าของที่ดิน, จัดระเบียบแปลงที่ดินใหม่, จัดสภาพแวดล้อมและสาธารณูปโภค, รวมรวมสำรวจแปลงที่ดินและรายละเอียดแปลงที่ดิน, ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Feasibility study) ก่อนลงทุน, การทำผังทางเลือก, การทำทำแผนดำเนินงาน, ทำแผนการเงินเพื่อการแบ่งผลประโยชน์  

 

หากกลุ่มเจ้าของที่ดินสนใจการทำ Land readjustment กรุณาติดต่อ กรมโยธาธิการและผังเมือง https://www.dpt.go.th/th/ เพื่อรับการปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการจัดรูปที่ดิน 

 

คลิกดูคลิปตัวอย่างกรณีที่ประสบความสำเร็จในการจัดรูปที่ดินที่จังหวัดสมุทรสาคร https://youtu.be/eemIsaAjxhc 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการจัดรูปที่ดินที่นี่

https://onedptportal.dpt.go.th/portal/apps/Cascade/index.html?appid=6fb64b77c7f3473f868bbf46e958f1cf 

 

แหล่งข้อมูล

https://www.marketingoops.com/reports/behaviors/thai-senior-living/ 

https://onedptportal.dpt.go.th/portal/apps/Cascade/index.html?appid=6fb64b77c7f3473f868bbf46e958f1cf 

https://www.hfocus.org/content/2017/10/14647

– http://prbangkok.com/th/bmanews/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRy OTQzcjQ5NDIzMQ==

http://www.bangkok.go.th/market/page/sub/13894/%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B9%91

https://www.facebook.com/RotMaeThai/photos/euro-samsen-posted-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-67/1016690865068538/

http://dolwms.dol.go.th/tvwebp/

http://plan4bangkok.com/pr.html#downloadpdf 

https://youtu.be/nFY7gRCcKgo 

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง