เหมือนโดนมีดเสียบกลางหัวใจ! อนันดาชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีคำพิพากษาศาลปกครองกลางโครงการแอชตันอโศก.. โอด ผ่านการอนมุติทั้งหมด ทำตามหลักเกณฑ์ถูกต้อง แต่ยืนยันจะผ่านวิกฤตินี้ไปได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

เกริก บุณยโยธิน 02 August, 2021 at 13.53 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


จากกรณีเรื่องราวสุดสะเทือนวงการอสังหาฯที่เกิดขึ้นกับโครงการคอนโดหรูของค่ายอนันดา อย่าง แอชตัน อโศก ที่หากเปรียบเป็นซีรีส์ก็เหมือนผ่านไปแล้วถึง 2 ซีซั่น ตั้งแต่ครั้งก่อนก่อสร้าง จนถึงการต่อสู้เพื่อให้ได้รับอ.6 >> อ่านเรื่องราวทั้งหมดในแบบไล่ไทม์ไลน์ได้ที่นี่ครับ ย้อนไทม์ไลน์ วิบากกรรม แอชตัน อโศก เคยขายหมด แต่ก็ไม่จบง่ายๆ มาถึงวันนี้ดูท่าทางแล้วจะไม่ใช่แค่ซีรีส์ที่ต้องติดตามกันไปอีกยาว เพราะหลายฝ่ายได้มองเรื่องราวดังกล่าวว่าเป็นวาระแห่งชาติไปแล้ว เนื่องจากเป็นเรื่องราวที่กระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของระบบเศรษฐกิจไทย เพราะโครงการนี้มีชาวต่างชาติที่โอนไปแล้วถึง 20 ประเทศ จำนวน 140 ครอบครัว อีกทั้งยังเป็นการร่วมทุนพัฒนากับมิตซุย ฟุโดซัง ซึ่งทั้งหมดนี้ได้สร้างความงุนงงให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าในไทยมีเรื่องแบบนี้ได้ด้วยหรือ ทั้งๆที่ได้รับการอนุญาต และฝ่าด่านทุกอย่างมาอย่างถูกต้องตามกระบวนการ วันนี้ทีมงานอนันดา นำโดยคุณโก้ ชานนท์ เรืองกฤตยา CEO และพี่ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ได้มีการแถลงข่าวเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมดภายใต้ธีม #SaveAshtonAsoke ส่วนประเด็นสำคัญนั้นจะเป็นอย่างไร ขอเชิญไปเจาะกันแบบคำต่อคำได้เลยครับ

“อนันดามีแนวคิดในการพัฒนาโครงการรูปแบบ Transit Oriented Development อยากจะสร้างโครงการที่ให้ประโยชน์สูงสุดทั้งประชาชนโดยรอบ และตัวลูกบ้านโครงการเองให้ได้อยู่ใกล้รถไฟฟ้ามากที่สุด ทางรฟม.ก็เห็นว่าการสร้างตึกให้เค้า ให้ค่าตอบแทนเค้า โดยเปิดทางเพิ่มอีกราวๆ 7 เมตรมันก็เทียบเท่ากับการใช้เป็นทางสาธารณะ มันก็ Make Sense โดยที่มีการสอบถามเขตทาง และหารือเกี่ยวกับใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมากกว่า 20 ครั้ง โดยในการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรฟม.ก็ได้รับอนุญาตให้บริษัทใช้ประโยชน์ในที่ดินของรฟม.เป็นทางผ่าน และในส่วนประเด็นในเรื่องของการใช้ที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืน ก็ได้มีความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าสามารถนำที่ดินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นโดยไม่กระทบต่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ซึ่งถนนทางเข้าออกดังกล่าว ปัจจุบันก็ใช้เสมือนเป็นทางสาธารณะใครก็เข้ามาใช้ได้ เข้าไปจอดรถบนติดสถานี MRT ได้ ไม่ใช่เป็นถนนของทางโครงการ…อย่าลืมนะครับ เราทำงานกับมิตซุย เค้าเข้มงวดเรื่องพวกนี้มาตลอด เราผ่านอนุมัติจาก 8 หน่วยงาน ได้ใบอนุญาต 9 ฉบับ ขอความเห็นก่อนการดำเนินงาน 7 หน่วยงาน ผ่านคณะกรรมการ 5 คณะกรรมการ ทุกคนตรวจผมเต็มที่หมด จะเห็นว่าเรื่องประเพณีปฎิบัติเราไม่ได้คิดว่าเป็นอะไรที่แปลกประหลาด ครบถ้วน หน่วยงานราชการ ผู้บริหารฝั่งรัฐเช็คเราทั้งหมดและในปัจจุบันก็มีโครงการในลักษณะคล้ายกับเรากว่า 13 โครงการ เฉพาะรฟม. กว่า 6 โครงการ โครงการนี้เป็นโครงการเรือธงของอนันดาเลย เหมือนเราโดนเสียบหัวใจอยากให้เราตายเลย นักลงทุนเราจะคิดยังไง ผมนอนไม่หลับ คิดว่าเราจะเทคแคร์ลูกค้ายังไง อันนี้เราขอความเมตตาหน่อย มันสุดวิสัยของผมจริงๆ เมื่อวานที่ไปเจอลูกค้า เค้าก็เศร้าใจ ตัดพ้อกับผมหลายเรื่อง จะต้องทุบตึกไหม ผมตอบไม่ถูกจริงๆ การไปอุทธรณ์ที่ศาลสูงสุดแบบเดียว ลูกค้าจะอยู่ยังไง เค้าต้องอยู่ในสภาพแบบนี้อีกหลายปีหรือ โอนไปหลายปีแล้ว อยู่แล้ว แบงค์ปล่อยสินค้ารายย่อยไปแล้ว แล้วยังไงต่อ”  คุณโก้ ชานนท์ เรืองกฤตยา ตัดพ้อถึงเรื่องราวที่ต้องประสบพบเจอพร้อมร่ายยาวถึงกระบวนการในการพัฒนาโครงการ เช่นเดียวกับการไล่เรียงเอกสารการขอในอนุญาต และ Process ต่างๆ

ขั้นตอนในการศึกษาพัฒนาโครงการ

ขั้นตอนการขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินของรฟม. และ EIA

ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืน

รวมขั้นตอนการขออนุญาตทั้งหมด

ซึ่งลูกค้าที่ซื้อโครงการแอชตัน อโศก ในระหว่างที่คดียังไม่ไดถูกพิพากษาจากศาลปกครอง ก็ได้รับรู้ในเรื่องของคดีความผ่านบันทึกข้อตกลงแนบท้าย

ปัจจุบันทางเข้าออกที่เป็นประเด็นก็ยังก็ใช้เสมือนเป็นทางสาธารณะ ใครมาใช้ก้ได้ และทางรฟม.ก็ได้ใช้ประโยชน์ตรงนี้อย่างเต็มที่

เมื่อชี้แจงข้อเท็จจริงดังกล่าว ทางคุณโก้เลยทิ้งท้ายก่อนที่จะส่งไม้ต่อไปยังพี่ประเสริฐว่า…How do we go beyond? เราจัดการบ้านของเรายังไง เราเลือกคิดที่จะพัฒนาประเทศกันต่อหรือเปล่า มันไม่ใช้เป็นเรื่องที่มาฟ้องร้องกัน เจตนาของ TOD ขอรฟม.ก็เห็นอยู่แล้ว Spirit ของมันก็อยู่คนอยากอยู่ใกล้รฟฟ การตีความมันสีเทาเยอะ กฎระเบียบมันซับซ้อน แล้วยังไงกันต่อมันต้อง Streamline กันหมดไหม เคสนี่คืออุกกาบาตที่จะสร้างสึนามิของเศรษฐกิจมหาศาล พรุ่งนี้สื่อต่างชาติก็คงจะลงข่าวถึงเรื่องราวแบบนี้ เช่นเดียวกับที่เราไป Zoom คุยกับลูกบ้านก็ได้รับคำถามมาแบบนี้ ซึ่งต้องบอกว่าผมเองก็ยังตอบเค้าได้ไม่เคลียร์เลย การไปรอกระบวนการอุทธรณ์ที่ต้องใช้เวลาสามปี มันนานมากเกินไป การอุทธรณ์ของอนันดา เราเป็นผู้ร้องสอดเราต้องยืนอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ซึ่งผมเองก็อยากให้ลูกบ้านมายื่นด้วย แต่เนื่องจากลูกบ้านไม่ได้เป็นผู้ร้องสอดแต่แรกในทางกม.เราก็ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรเหมือนกัน อยากให้ใครที่มีความรู้มาช่วยแนะแนวหาหนทางที่น่าจะเร็วกว่านี้ได้

ในมุมมองของพี่ประเสริฐ การ #SaveAshtonAsoke จริงๆคือการ Save ธุรกิจอสังหาฯทั้งหมด ที่ต้องเชื่อมทางกับภาครัฐบนความถูกต้องและสุจริต โต๊ะในการขอใบอนุญาตทั้งหมด พี่พูดเลยว่าประเทศไทยมีขั้นตอนในการขอใบอนุญาตมากที่สุดในโลก เราขายไป 578 ครอบครัว ซึ่งมีลูกค้าต่างชาติมากถึง 20 ประเทศ จำนวน 140 ครอบครัว ลองคิดดูว่าเค้าจะไปคุยกับสถานฑูต กับคนในประเทศเค้าอย่างไร แบบนี้มันกระทบกับเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของประเทศอย่างชัดเจน แต่ก็ยืนยันว่าเราจะผ่านวิกฤตินี้ไปได้โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

จำนวนลูกค้าต่างชาติทั้งหมดที่ซื้อและโอนโครงการไปแล้ว

สำหรับประเด็นสำคัญอื่นๆมีดังนี้ครับ

1. รฟม. ไม่ได้สูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่เสียผลประโยชน์ ทางตรงนั้นเดิมทีเป็นที่ดินของเจ้าของที่ถูกเวนคืนที่เมื่อก่อนเจ้าของเค้าสร้างตึกสูงได้ แต่พอถูกเวนคืนเค้าก็สร้างไม่ได้ และที่นั้นก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของรฟม. และรฟม.ก็ได้ค่าตอบแทนที่จะเอาไปสร้างเป็นอาคารเพิ่มเติมใช้ประโยชน์ได้ในภายภาคหน้าที่สร้างเสร็จ ก็เลยเป็นเรื่องที่จะแปลความกันอย่างไร แต่เรื่องแบบนี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานในการนำไปใช้กับโครงการอื่นๆอีกหลายโครงการ มิตซุยฟุโดซังมาคุยกับเรา เราก็ตอบยากว่ากรณีนี้มันเกิดขึ้นได้อย่างไร

 

2. แผนในการดูแลลูกบ้าน ในระยะสั้นก็คือการสื่อสารกับลุกบ้านทั้งหมดผ่านทาง Zoom เพื่อชี้แจงว่า What actually happens โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ซึ่งโดยส่วนมากเค้าเข้าใจ แต่ให้อนันดาช่วยแจ้งมาหน่อยว่าในทางกม.ทางลูกบ้านจะมาช่วยยื่นอุทธรณ์ได้อย่างไร แต่ในทางกม.ปัจจุบันถ้าไม่ใช่ผู้ร้องสอดแต่แรกแล้ว ก็ยังยื่นไม่ได้ เช่นเดียวกับการให้ข้อมูลอธิบายกับสถาบันการเงินเรื่องการกู้ของลูกบ้าน สำหรับ Long Term ด้วยสปิริตของ CEO ยังไงก็ต้องสู้ให้ถึงที่สุด แต่ผมต้องขอความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ผมอยากจะขอคำแนะนำช่วยบอกทีว่ามีศาลอื่น ช่องทางอื่นที่มันเร็วกว่านี้ไหม

 

3. หากกรณีที่คดีถึงที่สุด เป็น Worst Case Scenario ถ้าคำพิพากษายืนยันตามเดิม อนันดามองว่าภาครัฐควรที่จะมาหันหน้าคุยกับเราว่าจะทำอย่างไรกับผู้ที่ได้ผลกระทบบ้าง เพราะมันเป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องดูแลประชาชนด้วย ส่วนบริษัทเองยังไงก็หนีลูกค้าไม่ได้ เราต้องดูแลลูกค้าให้ดีที่สุดบนความยุติธรรม

 

4. เรื่องการขายหุ้นกู้คงต้องให้เวลานักลงทุนในการย่อยข่าว และชี้แจงเพิ่มเติม สำหรับส่วนสถาบันการเงินก็ได้รับฟังการชี้แจงแล้ว คิดว่าอยู่ในวิสัยที่น่าจะออกหุ้นกู้ต่อได้ ในส่วนของสต๊อคเหลือประมาณ 800 กว่าล้านบาท คิดว่าน่ากระทบในเชิงตัวเลขมากนัก อาจเป็นผลกระทบช่วงสั้น แต่ระยะยาว หากผ่านไปได้น่าจะเป็นการช่วยสร้างแรงเชื่อมั่น และเป็นเสาหลักของอุตสาหกรรมในการขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้

 

5. TOD สร้างรถไฟ มันก็มีเจตนารมณ์อยู่แล้ว กม.ต้องดูประโยชน์สูงสุดของเผ่าพันธุ์ในที่นี้คือคนไทยให้ได้ ถ้าเวนคืนที่มาทำรฟฟ. แต่เป็นที่ตาบอดทั้งหมดสร้างอะไรไม่ได้ มันจะเสียทรัพยากรไปอย่างเปล่าประโยชน์ เราต้องหลุดจากวงจรนี้ไปให้ได้ ถ้าเราอยู่ในวงจรนี้เราไม่มีทางเจริญ เราอยู่ในกรอบที่ไม่สามารถหลุดออกไปได้ ทำไมต้องใช้เวลาในการอุทธรณ์ถึง 3 ปี เราอยากหาทางออกให้เร็วกว่านั้น

 

6. ต่อกรณีที่ว่าโครงการมีเรื่องราวฟ้องร้องเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงระหว่างก่อสร้าง ทำไมไม่หยุดก่อน ทางทีมคุณโก้ชี้แจงว่าถ้าเรามีจุดยืนในความถูกต้องเราก็ต้องทำต่อไป เราเป็นแม่ทัพออกรบ จะมากลัวๆถอยๆไม่ได้ การร้องการฟ้องศาลปกครองมีหลายคดีที่ถูกฟ้องได้ง่ายๆ มีถูกเพิกถอนไปก็จำนวนมาก ในส่วนของบริษัท โครงการลงทุนเป็นหลายพันล้าน ถ้าจะไปหยุดกลางคัน การไปตอบนักลงทุน ตอบสถาบันการเงินคงยาก และตามข้อเท็จจริงทุกอย่างก็ทำให้เราเชื่อมั่นว่าไม่ผิด และต้องเดินหน้าต่อไป

 

**สำหรับความคิดเห็นส่วนตัวของผม ก็ได้เคยให้ไปแล้วตามนี้ครับ

ผมจะไม่พูดความเห็นเกี่ยวกับข้อกม.ครับ การตัดสินว่าถูกหรือผิดเป็นเรื่องของศาลครับ ที่ผมทำได้คือบอกข้อเท็จจริงว่าบรรทัดฐานในการพัฒนาโครงการในรูปแบบคล้ายคลึงกันมันมีอยู่หลายที่ครับ
1. การสร้างโครงการสูงไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ติดกับถนนใหญ่เพียงอย่างเดียวหากแต่ว่าสามารถเปิดทำทางสาธารณะเข้าสู่โครงการทางกม.ก็เอื้อให้ทำได้ เราจึงเห็นโครงการหลายโครงการไปซื้อที่ดินข้างๆเพื่อขยายถนน ซึ่งข้อนี้เอพีถนัดมากที่สุดในมุมมองผมนะ 2. การเช่าที่ดินที่เกิดจากการเวนคืนมาจากรฟม.เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการขออนุญาตก่อสร้าง ก็สามารถทำได้และมีการตีความตามกฤษฎีกาแล้ว อีกทั้งที่ดินของรฟม.ที่ติดรฟฟก็กำลังหาวิธีในการเพิ่มรายได้ด้วยการปล่อยเช่าภายใต้ Condition ที่แตกต่างกันไปครับ
ในมุมมองของผมสิ่งที่ทำให้ Perception ของคนส่วนใหญ่มองว่าเคสนี้อนันดาผิดก็น่าจะเป็นเพราะมันดันมีสองเรื่องควบกันเลย และในเรื่องของถนนเข้าออกที่คนทั่วไปไม่ได้ Perceive ว่านี่คือถนนสาธารณะ ซึ่งตรงนี้อนันดาก็น่าจะไปปักป้ายว่าเป็นทางสาธารณะ และก็เพิ่ม utilities อะไรบางอย่างเข้าไป และอีกเรื่องนึงก็คือการจงใจที่จะ maximize profit โดยการที่ขอเช่าทางออกเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่ 6 เมตรกว่าๆ ซึ่งไม่พอในการสร้างตึกสูง ย้ายไปอีกฝั่งนึ่งและเพิ่มความกว้างไปเป็น 13 เมตรเพื่อให้สร้างได้ครับ (ตรงนี้ล่ะที่ดีเวลลอปเปอร์รายอื่นๆก็คิดว่ายาก) โดยผมก็คิดว่าตอนนั้นอนันดาก็ bet เหมือนกันว่ามันจะสร้างได้ หรือไม่ได้ แต่บังเอิญ หรือยังไงก็แล้วแต่ เรื่องดังกล่าวก็ดันผ่านการอนุมัติจากทุกโต๊ะ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเลย อนันดาก็เลยคิดว่าไม่น่ามีปัญหาสร้างต่อไป ซึ่งตรงนี้ผมมองว่าอนันดาเค้าก็น่าจะรอให้จบกระบวนการนะ แต่ด้วยการที่เป็นบ.มหาชนเลยต้องทำต่อ
ส่วนแนวทางการแก้ปัญหาของอนันดาใจผมก็คิดว่า 1 ยังไงห้องที่เหลือกว่า 800 ลบ.ก็ขายไม่ได้แล้วก็ควร hold ไว้ก่อน ส่วนห้องที่โอนไปแล้วตรงนี้อนันดาควรที่จะต้องคุยกับแบงค์ให้ว่าควร hold เช่นกัน และใช้ financial tool อื่นๆในการแปลงกลับให้โครงการนี้มาอยู่ในมืออนันดาเพื่อไปฟ้องศาลอื่นๆต่อไป ลูกบ้านจะไม่ได้ต้องมาวิตกกังวลครับ
สรุปว่าผมไม่ได้สรุปอะไรทั้งนั้นนะครับว่าใครผิดใครถูกแค่บอกกล่าวตามข้อเท็จจริงน่ะครับ และตอนนี้เรื่องราวมันก็เลยว่าการเป้นภาคธุรกิจของอนันดา ไปแล้วเพราะกรรมสิทธิ์ของที่แปลงนี้มันเป็นของเจ้าของร่วมน่ะครับ ก็ต้องหาทางออกให้มันแฟร์กับทุกฝ่าย

 

ความคืบหน้าจะเป็นอย่างไรต่อไป ขอเชิญติดตามได้ในอนาคตใกล้ๆนี้ครับ

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง