อยู่รวมกัน เจอปัญหาควันบุหรี่ แก้ไขยังไงดี

ต่อทอง ทองหล่อ 15 June, 2019 at 00.14 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ภัยร้ายจากควันบุหรี่มือสอง

“บุหรี่ตัวร้าย อันตรายที่ทำลายชีวิตคน” ในแต่ละปีมีคนเป็นจำนวนมากที่เสียชีวิตจากบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่นอกจากจะเสียชีวิตจากโรคปอดแล้ว อาการหลอดเลือดแดงโป่งพอง หลอดเลือดแดงตีบตัน จะส่งผลทำให้ผู้สูบบุหรี่กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือเกิดภาวะหัวใจวายกะทันหันด้วย บุหรี่ไม่เพียงแต่สร้างปัญหาให้กับตัวผู้สูบเอง ควันของมันยังก่อปัญหามากมายให้กับ ”เหยื่อ” ควันบุหรี่มือสอง Secondhand smoke (SHS) คนที่ไม่ได้สูบแต่ได้ควันบุหรี่จากผู้สูบพ่นลมหายใจออกมา เหยื่อเหล่านี้ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพไม่ต่างจากผู้สูบบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็น ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ,มะเร็งปอด,มะเร็งลำคอ รวมถึงมะเร็งอื่นๆ ยิ่งกลุ่มเด็กเล็กด้วยแล้ว ควันบุหรี่มือสองจะส่งผลให้เพิ่มโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม พัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ นอกจากนั้นยังมี “ควันบุหรี่มือสาม” อีกด้วยนะ ควันบุหรี่มือสามหมายถึงสารพิษจากควันบุหรี่ที่ตกค้างอยู่ตามสถานที่ที่คนสูบบุหรี่สูบไว้ เช่น พรม,โซฟา,ผ้าม่าน,ที่นอน รวมไปถึงช่องแอร์ หรือ สารพิษจากควันบุหรี่ติดตามตัวของผู้สูบ เช่นติดตามเส้นผม,เสื้อผ้าหรือผิวหนัง ลองสังเกตดูหากเราไปพักโรงแรมแล้วได้ห้องพักที่แขกที่เข้าพักก่อนหน้าสูบบุหรี่ทิ้งไว้ นั่นล่ะเราจะได้รับควันบุหรี่มือสามแบบเต็มๆ แต่ในปัจจุบันโรงแรมต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จึงแบ่งแยกห้องพักเป็นห้องสำหรับผู้สูบบุหรี่ (Smoking room) โดยเฉพาะ หากเราไม่ต้องการควันบุหรี่มือสาม ก่อนเข้าพักอย่าลืมแจ้งโรงแรมว่าเราต้องการห้องปลอดบุหรี่ (non-smoking room) ด้วยนะจะได้ไม่ต้องรับสารพิษจากควันบุหรี่มือสาม

ภาพจาก https://pixabay.com/photos/cigarette-smoking-smoke-ash-599485/

แล้วถ้าเป็นที่อยู่อาศัยแบบที่ต้องอยู่ร่วมกันไม่ว่าจะเป็น อาคารชุด คอนโดมิเนียม แฟลต หรือ หอพัก หากไปเจอข้างห้องที่สูบบุหรี่แล้วลมพัดมาทิศทางของห้องเราคงต้องระทม ทนกลิ่นบุหรี่มือสองไปตลอดหรือไม่ก็ต้องหาทางขยับขยาย ย้ายหนี

มีกฎระเบียบ มาตรการอะไรไหมเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในคอนโดมิเนียม

สถานที่ใดที่มีสติ๊กเกอร์ระบุว่าเป็น “เขตปลอดบุหรี่” สถานที่นั้นจะต้องได้รับการพิทักษ์ให้เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่และควันบุหรี่อย่างสิ้นเชิง ตาม พรบ. คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 เกี่ยวกับพื้นที่ปลอดบุหรี่ มี 5 สถานที่หลักได้แก่

1. พื้นที่ในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง

2. พื้นที่เปิดโล่งแต่มีหลังคา เช่น ส่วนให้บริการของร้านอาหารที่ไม่ติดเครื่องปรับอากาศ, จุดรอรถโดยสาร

3. พื้นที่เปิดโล่งไม่มีหลังคา เช่น สถานที่ออกกำลังกาย, สนามกีฬา, สวนสาธารณะ, สนามเด็กเล่น

4. ตลาดทั้งที่ตั้งประจำและชั่วคราวตามวันเวลาที่กำหนด

5. ยานพาหนะสาธารณะทุกประเภท เช่น รถเมล์ , รถไฟ, เรือ, แท็กซี่

 

จะเห็นได้ว่าพื้นที่ในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง เป็นสถานที่แรกที่ต้องปลอดบุหรี่ตาม พรบ.คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยเจ้าของสถานที่จะต้องติดเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ตามที่กฎหมายกำหนด และจะต้องดูแลไม่ให้มีการสูบบุหรี่ในพื้นที่ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่อีกด้วย กรณีที่มีการฝ่าฝืนก็จะมีการกำหนดบทลงโทษไว้ด้วยดังนี้

1. ผู้ฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในเขตปลอดบุหรี่มีโทษปรับไม่เกิน 2000 บาท

2. เจ้าของสถานที่ไม่ติดเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่หรือเขตสูบบุหรี่มีโทษปรับไม่เกิน 2000 บาท

3. เจ้าของสถานที่ไม่จัดสถานที่เป็นเขตปลอดบุหรี่หรือเขตสูบบุหรี่ มีโทษปรับไม่เกิน 20000 บาท

4. ฝ่าฝืนสูบในยายพาหนะสาธารณะ มีโทษปรับไม่เกิน 5000 บาท

กรณีของอาคารชุดนอกจาก พรบ.คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่แล้ว ภายในอาคารชุดเอง ส่วนใหญ่ก็จะมีกฎระเบียบของอาคารชุด ที่ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่ส่วนกลางและพื้นที่ระเบียงห้องพักอีกด้วย

 

อ้าว! แล้วสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่จะอยู่ที่ไหนได้ล่ะ

นอกจากเราจะดูแลห่วงใยสุขภาพตัวเองและคนรอบตัวแล้ว ผู้อยู่อาศัยที่ไม่สูบุหรี่ (Non Smoker) ควรจะต้องอย่าลืมนึกถึงสิทธิและเสรีภาพของผู้สูบบุหรี่อีกด้วย ไม่ใช่เราจะเห็นด้วยหรือสนับสนุนให้มีคนสูบบุหรี่มากขึ้น หากแต่คนที่สูบบุหรี่ก็ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ไม่ใช่คนไม่ดี ถึงขนาดต้องไปแอบซ่อน แอบสูบตามมุมตึก หรือ ตามห้องน้ำ ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้สูบบุหรี่โดยเฉพาะปัญหาควันบุหรี่มือสองก็ยังคงอยู่อยู่ดี

 

อย่างเช่นในประเทศญี่ปุ่นประเทศที่คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพเป็นอย่างมาก ไม่มีใครมาตัดสินว่าผู้สูบบุหรี่เป็นคนไม่ดีเพียงแต่ต้องสูบให้ถูกที่ไม่รบกวนคนอื่นเท่านั้น ในญี่ปุ่นมีการจัดโซนไว้สำหรับผู้สูบบุหรี่อย่างชัดเจน ทั้งสถานที่ทั่วไป แหล่งท่องเที่ยว และสถานีรถไฟ หรือแม้แต่ในห้างสรรพสินค้าเองนอกจากจะมีการจัดห้องสูบบุหรี่ไว้ด้านนอกอาคารแล้ว ยังมีห้องสูบบุหรี่ในตัวอาคารห้างสรรพสินค้าไว้ให้ผู้ที่จับจ่ายซื้อของได้แวะพักสูบบุหรี่ได้ในระหว่างการช้อปปิ้ง ซึ่งห้องนี้จะติดตั้งพัดลมไว้ด้านใน ช่วยพัดควันบุหรี่ขึ้นไปเหนือศีรษะและดูดควันบุหรี่ไปที่ท่อระบายอากาศด้านบน นอกจากนั้นยังมีการติดตั้งพัดลมอยู่ระหว่างช่องเขี่ยบุหรี่ ซึ่งจะช่วยดูดควันจากทั้งปากและมวนบุหรี่ขึ้นสู่ท่อระบายอากาศด้านบนอีกด้วยไม่เพียงแต่ญี่ปุ่น อีกหลายๆ ประเทศก็มีการออกแบบพื้นที่สูบบุหรี่ที่เป็นสัดส่วนรวมถึงเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้สูบบุหรี่ และยังเพิ่มการออกแบบให้โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อีกด้วย

ภาพจาก http://www.archiexpo.com/architecture-design-manufacturer/smoking-cabin-2560.html

 

ในประเทศไทยเราเองสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่และไม่สามารถเลิกได้จริงๆ อย่าเพิ่งตกใจไป นอกจากคอนโดมิเนียมจะจัดสถานที่เป็นเขตปลอดบุหรี่แล้ว ก็ยังจะต้องจัดสถานที่เป็นเขตสูบบุหรี่โดยเฉพาะอีกด้วย โดยแนวทางการจัดพื้นที่สูบบุหรี่ ต้องคำนึงถึง

1. ต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนรำคาญแก่ประชาชนบริเวณใกล้เคียง

2. ต้องไม่อยู่บริเวณเข้า-ออก สถานที่

3. ต้องไม่อยู่บริเวณที่เปิดเผย หรือเห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น

 

และสิ่งสำคัญ ผู้อาศัยที่สูบบุหรี่ (Smoker) ก็ควรที่มีวินัยไม่ออกไปสูบในพื้นที่สาธารณะ และต้องรักษาความสะอาด ไม่ไปรบกวนผู้อาศัยที่ไม่สูบเช่นเดียวกัน

จะดีหรือไม่หากบ้านเราจะมีการออกแบบอาคารชุดที่อยู่อาศัยให้กลุ่มคนที่สูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่อาศัยอยู่ร่วมกันได้แบบในญี่ปุ่น มีทั้ง “เขตปลอดบุหรี่” และ “พื้นที่สูบบุหรี่” ที่ออกแบบมาไม่ให้ควันบุหรี่ส่งผลกระทบกับบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ร่วมกัน เช่นในแต่ละชั้น (Floor) มีห้องสำหรับผู้สูบบุหรี่ที่ออกแบบมาให้มีพัดลมดูดอากาศเหมือนห้องสูบบุหรี่ในห้างของญี่ปุ่น รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางจัดมี smoking lounges สำหรับผู้สูบบุหรี่โดยเฉพาะ เพื่อที่เราจะได้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องขยับขยาย ย้ายหนี หรือทะเลาะเบาะแว้งกับเพื่อนบ้าน เพราะกว่าจะได้ที่อยู่อาศัยสักแห่งหนึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยจริงไหม

ภาพจาก http://www.archiexpo.com/prod/buratti-teknoforme/product-50627-527419.html

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง