สวนเพลินจิต สวนสาธารณะแนวยาวที่เกิดจากแนวคิดการนำพื้นที่รกร้างของเมือง มาพัฒนาเป็นพื้นที่สวนสาธารณะให้คนใช้งาน

ชยางกูร กิตติธีรธำรง 21 March, 2023 at 12.23 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ถ้าใครได้เคยขับรถผ่านทางพิเศษเฉลิมมหานคร ช่วงคลองเตย-เพลินจิต ซึ่งเป็นช่วงถนนที่เรียบกับระดับดินไม่ได้เป็นทางยกระดับ คงต้องเคยเห็นป้ายโฆษณาที่ตั้งอยู่เรียงรายต่อกันยาวหลาย 10 ป้ายกันมาบ้าง ซึ่งแต่เดิมก็เป็นพื้นที่ที่รกร้างไม่ได้ถูกใช้งานนอกจากจะเป็นแค่ที่ตั้งของป้ายโฆษณา เนื่องจากเป็นพื้นที่แปลงแคบยาวอยู่ตรงกลางระหว่าง ทางพิเศษเฉลิมมหานคร ทางรถไฟ กับ ถนนดวงพิทักษ์ ซึ่งเข้าถึงได้ลำบาก โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยภายใต้กำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม จึงได้ทำการปรับปรุงที่ดินที่ปล่อยรกร้างเปลี่ยนเป็นพื้นที่สวนสาธารณะที่มีความยาวทั้งหมด 2.5 กม. วางตัวตามแนวแกนเหนือใต้ เริ่มต้นตั้งแต่ในฝั่งถนนสุขุมวิท หรือ บริเวณอาคารกรุงไทยสำนักงานใหญ่ ลากยาวจนไปถึงทิศใต้ บริเวณถนน พระราม 4 ซึ่งตลอดทางเดินก็จะมีการจัดพื้นที่ลู่วิ่ง สลับกับ พื้นที่สวนและต้นไม้ มีทางยกระดับอยู่บริเวณกึ่งกลางสวน ที่จะยกระดับเพื่อหลบทางรถยนต์ที่ต้องใช้สัญจรไปมา โดยในบริเวณทางยกระดับดังกล่าวจะมาพร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้บริการอยู่ในนั้น เช่น จุดพัก จุดดื่มน้ำ ห้องน้ำ รวมถึงมีห้องฟิตเนสให้ บริการด้วย ซึ่งการเข้าออกของ สวนจะมีอยู่ 2 ตำแหน่งหลัก คือ บริเวณถนนสุขุมวิทกับในบริเวณตำแหน่งของทางยกระดับจุดนี้ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมโยงไปกับพื้นที่สะพานเขียวที่วางแนวตะวันตก ตะวันออก โดยสามารถเชื่อมโยงไปยังพื้นที่สวนขนาดใหญ่ อีก 3 สวนของกรุงเทพฯได้ คือ สวนลุมพินี สวนป่าเบญจกิติ และ สวนเบญจกิติ ซึ่งจะทำให้กลายเป็นการเชื่อมโยงเนื้อพื้นที่เขียวสวนของกรุงเทพมหานครที่ใหญ่ที่สุด

ที่มา: https://www.facebook.com/photo?fbid=586502646857742&set=a.554794396695234

 

และถ้าถามว่าการพัฒนาแบบนี้เคยเกิดขึ้นมาก่อนหรือไม่? ก็ต้องตอบว่าเคยมีการพัฒนาหลายโครงการ ไม่ว่าจะทั้งในไทยเองหรือในต่างประเทศ สำหรับในประเทศไทยที่เห็นเป็นรูปธรรม เช่น โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ซึ่งเป็นการนำโครงสร้างสะพานรถไฟฟ้าสายแรก “รถไฟฟ้าลาวาลิน” ที่ไม่ได้ถูกใช้งานมากกว่า 30 ปี ปรับมาเป็นพื้นที่สวนลอยฟ้า ซึ่งโครงการนี้ผ่านกระบวนการร่วมหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้ได้การออกแบบที่ผ่านความเห็นชอบของทุกฝ่าย

 

ที่มา : ‘สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา’ : ความหวังและความเป็นไปได้ใหม่ ในการเติมสีเขียวให้เมือง เชื่อมเมือง เชื่อมชุมชน ให้ผู้คนเดินได้ (theurbanis.com) / UD-project 01 | UddC

 

หรือโครงการที่กำลังจะเกิดขึ้นที่กำลังอยู่ในกระบวนการพัฒนา คือ โครงการสะพานเขียว ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมต่อตั้งแต่สวนลุมพินี จนมาถึง ถนนรัชดาภิเษก โดยในปัจจุบันคนส่วนส่วนใหญ่ใช้งานจะเป็นคนในชุมชน แต่สภาพแวดล้อมไม่เอื้อต่อการเดินสัญจร หรือ การออกกำลังกาย รวมถึงมีสภาพทรุดโทรมอาจจะก่อให้เกิดเหตุอาชญากรรมได้ โดยกระบวนการของโครงการผ่านการรับฟังความเห็นจากชาวชุมชนโปโลและชาวชุมชนร่วมฤดี ซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้น

ที่มา : 8 โจทย์การฟื้นฟูสะพานเขียว สู่แนวคิดการออกแบบโครงสร้างเชื่อมต่อ 3 มิติ: เชื่อมการสัญจร เชื่อมระบบนิเวศ เชื่อมสังคมเศรษฐกิจ (theurbanis.com)

 

สำหรับโครงการในต่างประเทศที่ผู้เขียนมองว่ามีความน่าสนใจ และ เป็นการพัฒนาที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเมืองได้ คือ โครงการ Highline, New York ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยนำโครงสร้างทางรถไฟเดิมที่เลิกใช้งานไปแล้วกว่า 20 ปี ปรับกลับมาใช้งานเป็นพื้นที่ทางเดิน นั่งพักผ่อนและสวน โดยมีการเสนอให้ภาครัฐพิจารณา และผลสุดท้ายโครงการนี้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับอาคาร 2 ฝั่ง มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้ ซึ่งกว่าจะเป็น Highline, New York ที่ประสบความสำเร็จต้องผ่านกระบวนการ การมีส่วนร่วม การทำงาน workshop กับ ชุมชนกว่า 1000 ครั้ง

ที่มา : At a Glance | The High Line / ครบรอบ 10 ปี The High Line ทางรถไฟเก่าที่สร้างแรงกระเพื่อมในการพัฒนาเมืองให้ New York – The Cloud (readthecloud.co)

 

โดยจาก Case study ที่กล่าวมาข้างต้นไม่ว่าจะเป็นโครงการของประเทศไทยเอง อย่าง โครงการสวนลอยฟ้าเจ้าพระยา หรือ โครงการสะพานเขียว รวมถึง โครงการในต่างประเทศ High line ใน New York การพัฒนาย่อมต้องผ่านการ สอบถาม หารือ ประชาวิจารณ์ต่างๆ เพื่อให้ได้ คำตอบ หรือ solution ที่ตอบโจทย์กับคนอยู่อาศัยในบริเวณนั้น ในกรณีของ โครงการสวนเพลินจิต ถือเป็นโครงการที่ดีในแง่ของการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับกรุงเทพฯ แต่ในแง่ของการใช้งานจริง รวมถึงผลตอบรับที่คนในบริเวณนั่นจะได้ จะสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะเป็นสวนสาธารณะที่อยู่ระหว่างเส้นทางการจราจรที่หนาแน่นแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ การวิ่งออกกำลังกายจะคุ้มค่ากับการที่ต้องสูดรับมลพิษทางกลิ่นหรือเสียงหรือไม่ ประกอบกับยังไม่เชื่อมโยงกับพื้นชุมชนใดๆในบริเวณนั้นโดยตรง รวมถึงการเข้าออกของสวนมีเพียง 2 ทางหลักเท่านั้นคือฝั่งสุขุมวิทและบริเวณสะพานเขียว ประเด็นนี้คงต้องรอดูกันต่อไปในระยะยาว ว่าการพัฒนาในครั้งนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับพื้นที่โดยรอบได้มากน้อยแค่ไหน หรือ ควรจะมีการพัฒนาในรูปแบบใหม่ๆอย่าง Gregory Project ที่นำพื้นที่หลังป้ายโฆษณามาพัฒนาให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยสำหรับคนไร้บ้านซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเมืองใหญ่ๆทั่วโลกรวมถึงกรุงเทพฯ เป็นต้น

 

ที่มา :

“Project Gregory” Hopes to Help Solve the World’s Homelessness Problem with Kickstarter Campaign | ArchDaily / Gregory | Architect Magazine / ใช้ประโยชน์จากป้ายโฆษณา เป็นที่พักพิงสำหรับคนไร้บ้าน (iurban.in.th)

 

Sources:

PlanB Media

เปิดตัว “สวนเพลินจิต” สวนสาธารณะแห่งใหม่ จากพื้นที่รกร้างสู่ปอดแห่งใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

ชยางกูร กิตติธีรธำรง

สถาปนิกจบใหม่ กำลังศึกษาต่อในระดับปริญญาโท มีความสนใจด้านอสังหาริมทรัพย์หลากหลายประเภทตั้งแต่ที่อยู่อาศัย ออฟฟิศ คอนโด โรงแรม และชอบไปดูโครงการและงานออกแบบอยู่เสมอ เพื่อเก็บเกี่ยวองค์ความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง