สรุปประเด็นเด็ด: การเรียนรู้และทักษะแห่งอนาคตสำคัญแค่ไหนในโลกยุคปัจจุบัน ร่วมเปิดมุมมองโดยคุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน

เกริก บุณยโยธิน 01 June, 2020 at 13.47 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ในห้วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ต้องบอกว่าธุรกิจอสังหาฯในเมืองไทยค่อยๆเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านในด้านขนบการทำธุรกิจอย่างช้าๆ หลายๆบริษัทเริ่มที่จะคิดค้น พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยในบริบทเมือง เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ๆของผู้บริโภค ตามเทรนด์ Disruptive Technology แทนที่การสร้างตึก สร้างอาคาร เพื่อขายให้จบๆเป็นโครงการไปเหมือนเช่นเมื่อก่อน หลายบริษัทเริ่มจะคุ้นเคยกับการปรับตัว มีการพัฒนาโครงการโดยใช้กลยุทธ์ Design Thinking เป็นแกนกลาง ในขณะที่อีกหลายบริษัทยังคงเดินวนอยู่ในโลกของ Old Economy… แต่แล้ว COVID-19 ก็นำพาทั้งโลกมาสู่จุดเปลี่ยน สำหรับธุรกิจอสังหาฯ นี่ไม่ใช่การบังคับให้เปลี่ยนธรรมดา แต่ต้องปรับเปลี่ยนอย่างทันที หากว่ายังอยากที่จะอยู่รอดต่อไปได้

เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) โดยคุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นับว่าเป็นอีกหนึ่งผู้นำของวงการอสังหาฯที่มองภาพอนาคตของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนที่สุด เริ่มจากความร่วมมือกันในระยะยาวกับทาง Stanford University ในการควานหา Brand Promise ขององค์กร เพื่อให้รู้ชัดเจนว่านับจากนี้ต่อไปบริษัทฯควรจะส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกค้าได้อย่างไร จนตกผลึกออกมาเป็นสโลแกน Empower Living ที่เป็นทั้ง Brand DNA และ Corporate Culture Code ใหม่ขององค์กร ควบคู่ไปกับการนำเอาแนวคิด Outward Mindset และ Design Thinking มาถ่ายทอดให้พนักงานทุกคนได้พัฒนาตัวเอง เข้าใจในพันธกิจขององค์กร ก่อนที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับดีมานท์ที่ซ่อนอยู่ในใจลูกค้า

ผลลัพธ์จากการ Disrupt องค์กร นำมาซึ่งหน่วยธุรกิจใหม่ๆหลายอย่าง สวนทางกับดีเวลลอปเปอร์รายอื่นๆที่ไปพากันไปเน้นหนักในเรื่องของการสร้าง Recurring Income ผ่านการพัฒนาโรงแรม อพาร์ทเมนท์ อาคารสำนักงาน หรือดิจิทัล แพลตฟอร์มต่างๆ ในมุมมองของผม ไม่ว่าคุณอนุพงษ์ จะเปิดธุรกิจชื่อเท่ห์ๆอะไร อย่าง VAARI, CLAYMORE, KATSAN ก็ดูไม่น่าสนใจจนชวนตั้งคำถามเหมือนกับการเข้าไปลงทุนในธุรกิจเพื่อการศึกษาอย่าง สถาบัน SEAC ครับ…ทำไมคนระดับ CEO ขององค์กรอสังหาฯถึงต้องมาให้ความสนใจในเรื่องที่เป็นวิชาการมากๆ เป็นเรื่องที่ดูจะเหมาะกับหน่วยงานรัฐบาลอย่างกระทรวงศึกษาธิการ หรือพม.ด้วยซ้ำ…เอพี ไม่มีพนักงานที่มี Skill เพียงพอ? หรือว่าทั้งประเทศไทยกำลังขาดแรงงานที่มี Skill และ Mindset ดีพอที่จะ Fit ในองค์กรยุค Digital ได้กันแน่ คำถามสองข้อนี้ผุดขึ้นมาในความคิดของผมแวปแรก พร้อมกับบทสรุปที่คิดเอาเองว่ายังไงซะทรัพยากรบุคคลก็เป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดขององค์กร บริษัทฯจะกำไรมากหรือน้อยก็อยู่ที่มันสมอง กระบวนการผลิตที่มากจากตัวบุคคลล้วนๆหาใช่เครื่องจักรไม่… มาในวันนี้ผมได้รับฟังคำตอบที่ชัดเจนขึ้นจากการร่วมรับชมถ่ายทอดสด Virtual Conference โดย The Standard Economic Forum ภายใต้ธีม The World After Covid-19 โลกหลังโควิด -19 ประเทศไทยอยู่ตรงไหนในความปกติใหม่

ซึ่งทางคุณอนุพงษ์ เองก็รับหน้าที่บรรยายในหัวข้อ Skills for the Future การเรียนรู้และทักษะแห่งอนาคต ครับ นับว่าเป็นหัวข้อที่สะท้อนถึงความต้องการที่จะพัฒนาทักษะของบุคคลกรให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันจริงๆ ซึ่งดูแล้วค่อนข้างแตกต่างจากผู้บริหารองค์กรอสังหาฯอื่นๆอย่าง SC Asset หรือ Sansiri ที่ยังคงมีเน้นหาที่เกี่ยวพันกับธุรกิจอสังหาฯอยู่พอสมควรครับ

 

โดยใน Session นี้ทางคุณอนุพงษ์ ก็ได้ร่วมบรรยายกับคุณเกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มาร่วมถกกันถึงปัญหาการศึกษาไทย โดยในมุมมองของอาจารย์มหาวิทยาลัยก็มองว่าปัญหาส่วนใหญ่นั้นเป็น Classic Case ที่รับรู้กันมาตั้งแต่อดีตว่า เรามักให้คุณค่าไปกับการท่องจำแทนที่จะเน้นความเข้าใจ รวมไปถึงการตีค่าปริญญามากกว่าการนำไปใช้ในชีวิตจริง ในขณะที่พ่อแม่เองก็มีอิทธิพลต่อการเลือกเรียนของลูกๆ ทั้งๆที่ไม่ใช่สิ่งที่ลูกชอบอย่างแท้จริง สุดท้ายแล้วก็กลายเป็นการเลือกทางเดินที่ผิด ในขณะที่คุณอนุพงษ์เองก็ให้ความเห็นในฐานะของผู้ประกอบการที่ต้องรับผิดชอบในชีวิตของพนักงานเป็นพันๆคนในประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ครับ

รู้แค่ Academic ไม่พอ ต้อง Update Skill ให้ Ready to Work

คุณอนุพงษ์ได้ให้มุมมองในฐานะของผู้ประกอบการว่า เด็กรุ่นใหม่เปลี่ยนงานเร็วมาก ดังนั้นในหลายๆบริษัทก็ล้วนแต่ต้องการเด็กที่พร้อมทำงานได้เลย แต่ในความเป็นจริงก็มักจะประสบปัญหาเช่น รู้ Academic แต่ Apply หรือ ยังไม่พร้อมที่จะลงสนามทำงานจริงๆ ไม่ได้ ยกตัวอย่างกระบวนการก่อสร้างในรูปแบบใหม่อย่าง BIM (Building Information Management) ที่จำเป็นมากๆ ในการออกแบบก่อสร้างสมัยนี้ แต่ในมหาวิทยาลัยกลับไม่มีวิชา BIM เป็นวิชาหลัก ดังนั้นเอพีต้องเสียเงินหลายสิบล้านในการสอนกระบวนการก่อสร้างด้วย BIM ให้กับพนักงาน และพอเป็นแล้วก็กลับลาออกไป ทำให้เราต้องขึ้นเงินเดือนให้!

 

โลก Dynamic เร็วมาก ในอีก 10 ปี อาชีพที่เราเห็นในปัจจุบันนี้ 40% จะหายหมด นั่นแปลว่าเราต้อง Update Skill ตลอดเวลา

บทบาทของมหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ในเรื่องนี้คือต้องมีการประเมินและปรับให้ทัน และจะต้องร่วมมือกับภาคเอกชนในการปรับหลักสูตร เช่น ไปฝึกงาน มี Workshop หรือเรียนในมหาวิทยาลัย สลับกับเรียนในภาคเอกชน เพื่อรับ Value ในประสบการณ์การทำงานกลับคืนมา เมื่อจบไปก็จะ Ready to Work มากขึ้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็ต้องปรับ Positioning ให้เป็น Platform แห่งการเรียนรู้ออนไลน์ 24 ชั่วโมงด้วยเช่นกัน เพื่อให้เกิด Life Long Learning เรียนรู้ตลอดชีวิต เกิดการ Re Skill ตลอดเวลา

 

ลงทุนใน SEAC เพื่อฝึก Skill ให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น หรือต้องการ Skill Set อะไรจากพนักงานใหม่สักคน

Soft Skill, Problem Solving, Creativity, Decision Making, Communication ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำงาน แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง เด็กที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่ๆไม่ค่อยจะมี Skill ในด้านนี้เท่าไหร่ แตกต่างกับทางฝั่งอเมริกาที่นักศึกษาเรียนรู้แบบ Practical มากกว่า ซึ่งจาก Research สถาบันการศึกษามองว่าตนเองสามารถพัฒนาแรงงานที่ตอบโจทย์ตลาดได้มากถึง 96% ในขณะที่เจ้าของบริษัทมองว่า แรงงานจบใหม่นั้นมีความพร้อมในการทำงานเพียงแค่ 11% เท่านั้น ในความคิดของคุณอนุพงษ์ หากจะรับใครสักคนเข้ามาทำงาน Skill พื้นฐานที่ยังไงก็ต้องมีคือ Academic Given หรือความรู้เฉพาะอาชีพ เช่นรับ Engineer ยังไงก็ต้องจบ Engineer แต่ที่มีเพิ่มมาก็คือในเรื่องของ Mindset คนที่ Fit กับเอพีต้องมี Open Mindset รู้จัก Un-learn และ Re-learn มี Communication Skill สามารถ Collaboration งานเป็นทีมได้ เราใช้ Attitude Test ในการรับคน ที่ซึ่งสามารถเอามานั่งดูได้ว่าหากคนๆ นั้นเครียดแล้วจะมีการเปิดรับต่อความรู้ใหม่มากแค่ไหน ถ้าคนที่ไม่มี Mindset ที่ดีจะไม่สามารถ Re-skill ตัวเองได้ ยกตัวอย่างคนทำ Marketing ถ้าเราถามเค้าเรื่อง Digital Marketing คืออะไร หากเค้าไม่รู้เลย ในอนาคตคนๆ นั้นก็จะมีสิทธิ์ที่จะถูกเลย์ออฟได้ คนที่ทำงานต้องรู้ในสิ่งที่ตัวเองทำ แต่หากไม่รู้ในสิ่งนั้นๆ ต้องมี Open Mindset ในการเรียนรู้ใหม่เติมเต็มในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้

 

Entrepreneur Mindset คือสิ่งที่จำเป็นมากๆ สำหรับพนักงานเอพี

โดยในส่วนวิธีคิดของผู้ประกอบการนั้น (Entrepreneur Mindset) คุณอนุพงษ์เชื่อว่าทุกบริษัทต้องการคนที่มี Entrepreneur Mindset ซึ่งหมายถึง Mindset ที่มองไปที่เป้าหมายและหาวิธี Drive ไปให้ถึงให้ได้ ต้องดิ้นรนหาวิธีการไปที่ Goal ให้ได้ แต่หากว่าพนักงานของเราทำไปแล้วและ Fail แล้วดันไปคิดว่าทำไมถึงไม่ได้ Bonus ถ้าคิดแบบนั้นไม่ใช่ Entrepreneur Mindset นั้นเป็น Employee Mindset คุณต้องทำให้ได้ในสิ่งที่คุณอยากทำ ต้องรับผลของการกระทำที่ล้มเหลวและเรียนรู้จากมัน ถือเป้าหมายสำคัญกว่าวิธีการที่จะไปถึง เด็กหลายคนโฟกัสแต่วิธีการ นายสั่งอย่างไรก็ทำอย่างนั้น วิธีการทำงานให้ประสบความสำเร็จมีหลายวิธี อย่าเดินเวย์เดียวและ ถ้า Fail ก็แย้งว่าเป็นความผิดนาย…การมองที่ผลลัพธ์ของงานคือสิ่งสำคัญ มากกว่าเส้นทางที่เราเลือกเดิน

 

Outward Mindset คืออะไร คุณอนุพงษ์ มองว่าสำคัญอย่างไร

Outward Mindset คือสิ่งที่ใช้ในเอพีมาสัก 3 ปีแล้ว เราสอนเด็กให้เข้าใจในเรื่องของ Outward Mindset ควบคู่กับ Design Thinking คำว่า Outward Mindset นี้จริงๆไม่มีอะไรเลย แต่คือคำว่า เอาใจเขาใส่ใจเรา เวลาเราคุยกับใครเราต้องรู้ว่า 1. Objective คืออะไร 2. ต้องการอะไรถึงบรรลุวัตถุประสงค์ และ3. ต้องการอะไรในการแก้ปัญหานั้น หากเราไม่ Practice Outward Mindset ก็จะทำงานร่วมกันไม่ได้ เหมือนเดินกันคนละทาง เรารู้ว่าในการพัฒนาอะไรเราต้องรู้จัก Empathy ลูกค้า แต่คำว่า Empathy นี่ล่ะต้องมาจาก Outward Mindset ทุกคนต้องพยายามมองในมุมของคนอื่นด้วยสมองของเค้า ไม่ใช่ของเรา คนที่ Practice Outward Mindset จะสามารถวางอีโก้เอาไว้ได้ ทำให้อีโก้มันหายไปได้ สิ่งเหล่านี้เราต้องฝึกทุกวันด้วยสติ ใจเย็น และคิดถึงประเด็นทั้ง 3 ข้อดังกล่าว สิ่งเรานี่ทำให้ทุกวันนี้ผมฟังลูกน้องมากขึ้น เพื่อให้เข้าใจ Objective ของแต่ละประเด็นมากยิ่งขึ้น

 

รู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ เป้าหมายคืออะไร เพื่อเรียนรู้ให้ตรงกับทักษะแห่งอนาคต

โดยสรุปแล้ว การเรียนรู้และทักษะแห่งอนาคต ที่เด็กจบใหม่ควรจะมีตั้งแต่นี้ต่อไปก็จะเป็นในเรื่องของ Mindset และ Skill ที่ต้องหมั่น Re-Skill ตลอดเวลา โดยในมุมมองของเจ้าของกิจการอย่างคุณอนุพงษ์ก็มองว่า คนทุกคนต้องเริ่มจากการหาเป้าหมายของชีวิตก่อนว่าเราอยากจะทำอะไร Goal คืออะไร ต้องมี Up to Date ของความรู้ (Knowledge) ในสายงานที่ทำ ต่อมาที่สำคัญมากในยุคนี้คือต้องมี Digital Literacy ทั้ง Deep Skill และ การนำไปใช้ในเชิง User ต้องรู้จัก Tool ของแต่ละสายงาน Digital และวิธีการในการนำไปใช้ซึ่งสำคัญมาก และอย่างที่สามต้องเป็น Soft Skill อย่าง Leadership, Decision Making Skill, Communication อย่าง Outward Mindset เช่นเดียวกับ Passion ในการที่จะ Relearn เพื่อที่จะ Update Skill คนบางคนเรียนรู้จบเลยจบเลย ไม่มี Passion ในการเรียนรู้ใหม่ ซึ่งมองว่าใช้ไม่ได้ การเรียนรู้ต้องป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

คุณอนุพงษ์ทิ้งท้ายด้วยประเด็นอันน่าสนใจที่ว่า ความซื่อสัตย์ ขยัน ตรงต่อเวลา และมีวินัยไม่ใช่ทักษะที่จะพาคุณให้รอดไปได้ในอนาคตแล้ว หากคุณมีแค่นี้ ยังไงคุณก็ไม่รอดถ้าคุณไม่มี Open Mindset คุณขยันแต่ Unlearn ไม่ได้แล้ว หรือขยันแต่ดื้นที่จะทำแต่ในเวย์เดิมๆ ไม่เปลี่ยนไปตามโลก ไม่พัฒนาทักษะใหม่ๆ คุณจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร…ได้ฟังแบบนี้แล้ว เห็นทีว่าเพื่อนๆ ในวงการอสังหาฯ ทุกคนควรหันกลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะในด้าน Soft Skill กันบ้างแล้วล่ะครับ หากว่ายังอยากที่จะอยู่รอดปลอดภัยได้ในองค์กร ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจระลอกใหม่ที่จะตามมาหลังจาก Covid-19 ครับ

 

Photo courtesy of The Standard

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง