ทำ EIA ถึงจะดีแต่ก็มีจุดอ่อน

ต่อทอง ทองหล่อ 10 September, 2019 at 14.09 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


EIA คืออะไร

 

EIA หรือ Environmental Impact Assessment คือ การประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบจากการพัฒนาโครงการ เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและใช้ในการประกอบการตัดสินใจพัฒนาโครงการ ดังที่เราพอเห็นคุ้นตาจากโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆ ที่ต้องมีการทำ EIA หากโครงการใดไม่ผ่านก็ต้องปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากับข้อกำหนดจึงจะดำเนินโครงการต่อไปได้

 

ปัญหาเกี่ยวข้องกับ EIA เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

ปัญหาต่างๆ ในการทำโครงการที่มีความเกี่ยวข้องกับ EIA นั้นเกิดขึ้นได้หลายช่วง ยกตัวอย่างเช่น

ช่วงก่อนที่ EIA จะผ่าน มีการทำแบบสำรวจสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอบๆ ที่ดินโครงการที่กำลังจะก่อสร้าง บางครั้งเพื่อนบ้านก็ไม่ค่อยจะยินดีเท่าไหร่ที่จะให้สร้างก็จะให้เหตุผลต่างๆ นานา ถ้าทำความตกลงกันได้หรือมีการแก้ไขป้องกันปัญหาตามที่ร้องขอให้ก็ดำเนินการได้ต่อไป แต่บางกรณีถึงขนาดมีเรื่องมีราวจนทำให้ developer เสียโอกาสที่จะสร้างโครงการ เช่นกรณีที่ developer ซื้อที่ดินไปแล้วแต่สร้างไม่ได้สักทีเพราะเพื่อนบ้านที่อยู่มาก่อนไม่ยินดีให้สร้างจนต้องเลิกโครงการไปและปล่อยที่ดินไว้เปล่าๆ โล่งๆ ไปก่อน

อีกช่วงที่มักจะมีปัญหาคือช่วงระหว่างก่อสร้าง บริษัทก่อสร้างและ developer ก็มักจะไม่ค่อยทำตามที่บอกไว้ใน EIA  เช่น มีโครงการใหม่แห่งหนึ่งในย่านซอยสุขุมวิท 42 ที่บริษัทก่อสร้างต้องเร่งงานเพื่อให้เสร็จทันกำหนด ทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีเยี่ยมแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้าน ทำให้เพื่อนบ้านต้องร้องเรียนไปที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าผู้ที่ทำงานหน้างานทำตามที่เขียนไว้ใน EIA ได้จริงก็ย่อมไม่เกิดปัญหา

หรือแม้กระทั่งช่วงที่ EIA ผ่านแล้วเรียบร้อยและกำลังก่อสร้างก็ยังมีปัญหาได้เหมือนกรณีคอนโดมิเนียมโครงการดังย่านสถานีสุรศักดิ์ที่เกิดกรณีรายงาน EIA เท็จจนต้องระงับการก่อสร้างและอยู่ระหว่างการหาข้อสรุปร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาเกี่ยวข้องกับ EIA ฟังดูแล้วเป็นเรื่องใหญ่?

ใช่แล้ว เพราะ EIA นั้นอยู่ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ รวมถึงมีประกาศจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยเรื่องของการกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนที่ต้องจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA Report) ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ อันเป็นผลพวงมาจากการริเริ่มตระหนักถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกาจนออกเป็นกฎ The National Environmental Policy Act หรือ NEPA มาเป็นเวลากว่า 40 ปี มีการพัฒนา เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดมาโดยตลอด จนแนวคิดนี้แพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยด้วย

 

สำหรับ EIA ในประเทศไทย มีหน่วยงานชื่อว่า สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เป็นผู้รับผิดชอบเรื่อง EIA ถ้าเราเป็นลูกค้าของโครงการใดๆ ลองเข้าไปอ่าน EIA ฉบับเต็มของโครงการได้ที่เว็บไซต์นี้ http://eia.onep.go.th/index.php

EIA ถึงแม้จะดี แต่ก็ย่อมมีจุดอ่อนด้วย

Richard K. Morgan วิเคราะห์ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของ EIA กับการนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบันรวมถึงในประเทศไทย เขาแบ่งออกเป็น 4 แง่มุม ในรูปแบบ SWOT Analysis ให้เราได้เห็นภาพกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น

 

S-Strengths จุดแข็งของ EIA

จากที่กล่าวไปข้างต้น แนวคิดของ EIA ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีและแพร่ไปในหลายประเทศทั่วโลก ทั้งการนำไปใช้ในกฎหมายควบคุมการพัฒนาโครงการและข้อบังคับอื่นที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม ได้รับการสนับสนุนและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากองค์กรต่างๆ เช่น โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP), ธนาคารโลก (World Bank) ในแง่ของการให้เงินระดมทุนโครงการที่ต้องบังคับใช้การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม, องค์การอนามัยโลก เป็นต้น จึงมั่นใจได้ว่าแนวคิดและจุดประสงค์แรกเริ่มของ EIA นี้จะยังคงอยู่สืบทอดต่อไป ควบคู่กับโครงการพัฒนาต่างๆ ในอนาคตข้างหน้า

 

W-Weakness จุดอ่อนของ EIA

ถึงแม้ว่าหัวใจหลักของการทำ EIA จะเป็นไปเพื่อปกป้องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาโครงการใหม่ๆ และได้รับการนำไปปรับใช้ในหลายประเทศทั่วโลก แต่ปัญหาที่พบ คือ การรับรู้ข้อมูลและความถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมยังมีคุณภาพต่ำ อาจเกิดจากปัญหาการจัดการภายในของแต่ละหน่วยงาน ระดับความจริงจังของผู้นำไปใช้ยังไม่เข้มงวดเท่าที่ควร หรือเกิดจากขอบเขตและคุณภาพของการอบรมความรู้ความเข้าใจในการสร้างการประเมินผลกระทบ เป็นการยากที่จะปรับปรุง EIA ให้มีคุณภาพหากปราศจากการยกเครื่องทั้งระบบการบริหารจัดการภายในของแต่ละประเทศหรือการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน เพราะการบังคับใช้มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับนโยบายและสถานการณ์เฉพาะของแต่ละที่ ยกตัวอย่างง่ายๆ ถึงเหตุการณ์ชาวบ้านในพื้นที่ออกมาต่อต้านโครงการสร้างโรงงานและโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่มีความคลุมเครือระหว่างการอนุญาตให้ดำเนินโครงการกับมาตราฐานการประเมินผลกระทบทางสภาพแวดล้อม

O-Opportunities โอกาสของ EIA

จากที่ EIA ได้รับการยอมรับจากหลายๆ ภาคส่วน ควรทำให้ EIA มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงไม่ใช่มีไว้เป็นเพียงฉากบังหน้าว่าทุกการพัฒนาโครงการผ่านการตระหนักถึงผลกระทบทางสภาพแวดล้อมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ทำแค่พอผ่าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องยกระดับแนวคิดของ EIA เข้าไปใกล้กับกระบวนการตัดสินใจในองค์กรมากยิ่งขึ้น โดยผลักดันให้ EIA เข้าไปมีบทบาทตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มพัฒนาโครงการและออกแบบแผนการดำเนินงาน ไม่ใช่ใส่ EIA ไว้ในขั้นตอนสุดท้ายที่โครงการกำลังจะดำเนินการสร้างจริง เพื่อลดความเสียหายของทั้งทางฝั่งผู้พัฒนาโครงการในการแก้แผนหากตรวจพบว่าโครงการของตนไม่ผ่านการประเมิน ประหยัดเวลา และลดโอกาสในการเกิดกรณีพิพาทกับผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยรอบ

 

T-Threats อุปสรรคของ EIA

อุปสรรคที่จะเป็นตัวขัดขวางไม่ให้ EIA เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คือ ความต้องการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงานของรัฐบาลจากสถานการณ์วิกฤติทางการเงินในปัจจุบัน ทำให้มีการสนับสนุนและเร่งดำเนินการในหลายโครงการจนอาจละเลยความสำคัญทางสิ่งแวดล้อมไป เช่น อังกฤษและเวลส์ที่เสนอการปรับเปลี่ยนแผนนโยบายแห่งชาติเพื่อเร่งการตัดสินใจในโครงการพัฒนาชาติหลายจุด ข้อเสนอนี้ได้สร้างความกดดันไปยังผู้มีอำนาจท้องถิ่นให้ต้องตอบรับรับสนับสนุนการเติบโต ไม่ทำตัวเป็นผู้ขัดขวางความเจริญของประเทศและอนุมัติโครงการให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมนั้นกินระยะเวลานานพอสมควร

 

EIA เป็นสิ่งที่ดี ทำดีกว่าไม่ทำ EIA มีประโยชน์ต่อทุกคนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ทั้งนี้ก็เหมือนกับทุกอย่างในโลกที่ในดีก็มีร้ายและในร้ายก็ยังมีดี แต่อย่างไรก็ตาม EIA ก็ควรจะพัฒนาต่อยอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจจะต้องทำให้เข้าใจง่ายมากขึ้น สื่อสารได้ดีขึ้น ช่วยลดความขัดแย้ง ควรมีกระบวนการติดตามผลที่ต้องชัดเจน และมีการบังคับใช้ EIA ให้เป็นไปอย่างที่วางแผนไว้ เพื่อให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและดีต่อสิ่งแวดล้อมในภาพรวม เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ทุกคนในวงการอสังหาริมทรัพย์ต้องร่วมมือกันพัฒนา โดยเริ่มจากการทำหน้าที่ของแต่ละคนให้ดีที่สุด

 

แหล่งข้อมูลและภาพ

https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/14615517.2012.661557?src=recsys

http://www.thailaws.com/aboutthailaw/land_110.htm

https://www.isranews.org/isranews-news/73001-eia-73001.html

https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1600111

https://pixabay.com/th/photos/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2-%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%86-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%95%E0%B8%81-4440658/

https://unsplash.com/photos/n52HL8hmsdg

https://unsplash.com/photos/ESZRBtkQ_f8

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง