ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow กับอสังหาริมทรัพย์เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ต่อทอง ทองหล่อ 09 October, 2019 at 11.06 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อของ Abraham Maslow กับทฤษฎีที่เชื่อว่ามนุษย์จะมีลำดับความต้องการแบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ 1. Physiological Needs ความต้องการพื้นฐาน เช่น อาหาร น้ำ เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย 2. Safety Needs ความต้องการด้านความปลอดภัย 3. Love and belonging Needs ความต้องการเป็นที่รักและเป็นส่วนหนึ่ง 4. Esteem Needs ความต้องการมีคุณค่า และ 5. Self-Actualization Needs ความปรารถนาที่จะสามารถเติมเต็มภายในตนเองได้อย่างสมบูรณ์

โดย Maslow มองว่าเมื่อขั้นแรกได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะขยับความต้องการของตนเองไปสู่ขั้นถัดไป ซึ่งในปัจจุบันมีการนำมาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในวงการตลาดและการขาย แต่น้อยนักที่จะมีคนหยิบทฤษฎีนี้มาพูดในเชิงที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์

 

Steven Fudge, Sales Representative & The Innovative จาก Urbaneer Team ได้พูดถึงความเกี่ยวข้องของทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของ Maslow กับอสังหาริมทรัพย์ไว้ได้ใจความว่า ทั้งในแง่ของผู้ซื้อและผู้ขาย เป็นเรื่องที่น่าสนใจหากเราล่วงรู้ถึงปัจจัยที่ซ่อนอยู่ภายใต้การตัดสินใจซื้อทรัพย์สินชิ้นใหญ่อย่างอสังหาฯ ที่อาจช่วยให้ผู้ขายรู้วิธีการนำเสนอให้ตรงใจผู้ซื้อ และผู้ที่กำลังจะตัดสินใจซื้อเองก็รู้เท่าทันสิ่งที่กำลังมีอิทธิพลต่อตนเองโดยไม่รู้ตัว

หนึ่งในความต้องการพื้นฐานขั้นแรกของมนุษย์ทุกคน คือ ที่อยู่อาศัย ที่ที่ไม่เพียงแต่จะช่วยตอบสนองความต้องการในเชิงของความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพ แต่ยังรวมถึงความมั่นคงปลอดภัยทางการเงินในแง่ของการมองบ้านเป็นหนึ่งในการลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือครองได้ในวันข้างหน้า ต่างจากการลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความผันผวน การซื้อบ้านจึงสามารถช่วยตอบสนองความต้องการในส่วนนี้ของทุกคน

แต่หากมองไกลออกไปถึงสถานการณ์หลังตัดสินใจซื้อบ้านสักหลังไปแล้ว บ้านหลังนั้นจะยังคงช่วยตอบสนองความต้องการทางด้านความมั่นคงปลอดภัยดังเช่นในความต้องการขั้นที่สองของ Maslow ได้ยาวนานเพียงใด คงต้องให้ผู้ซื้อบ้านคำนึงถึงการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงที่ต้องจ่ายในฐานะเจ้าของบ้าน รวมทั้งความครอบคลุมของสัญญาประกันต่างๆ ที่จะช่วยตอบโจทย์ความมั่นคงปลอดภัยนี้ได้อย่างแท้จริง

 

ในแง่ของความต้องการเป็นที่รักและเป็นส่วนหนึ่ง ความต้องการในขั้นนี้มีอิทธิพลสำคัญในหัวของผู้ซื้อในช่วงของการประเมินว่าบ้านหลังที่กำลังจะซื้อนั้นมีสภาพแวดล้อมทางชุมชนเป็นอย่างไร ทำเลที่ตั้งเป็นแบบไหน อยู่ในเมืองเล็กๆ หรือเป็นย่านใจกลางเมืองที่มีคนพลุกพล่าน สามารถเข้ากันได้กับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตมากน้อยเพียงใด และบ้านหลังที่กำลังจะซื้อเป็นตัวแทนในชุมชนที่อยู่นั้นอย่างไร ทั้งในภาพลักษณ์เชิงกายภาพและเชิงเศรษฐกิจสังคม

ต่อมาความต้องการมีคุณค่า อย่างที่เข้าใจกันดีว่าการมีบ้านสามารถบ่งบอกถึงสถานะทางสังคมได้หลายอย่าง อีกทั้งยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ถือว่าการมีบ้านเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของการประสบความสำเร็จซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกมีคุณค่าและภาคภูมิใจในตนเอง สถานะทางสังคมนี้สามารถนิยามได้แตกต่างออกไปตามแต่ละคน สำหรับบางคนการมีบ้านคือช่องทางของการได้แสดงออกถึงตัวตนผ่านสไตล์การตกแต่ง บางคนซื้อบ้านเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้สึกถึงสถานะที่สูงขึ้น และปฏิเสธไม่ได้ว่าบ้านสามารถสะท้อนถึงสถานะทางการเงินของแต่ละคนได้เช่นเดียวกัน ลองจินตนาการถึงตอนที่ใครสักคนบอกว่าตนเองอาศัยอยู่ในกระท่อม ในขณะที่อีกคนอาศัยอยู่ในคอนโดหรือเพนท์เฮ้าส์สิ ประเภทของที่อยู่อาศัยเหล่านี้สามารถบ่งบอกอะไรบางอย่างเกี่ยวกับเจ้าตัวได้ในทันที

 

คลิกที่นี่เพื่อทำความเข้าใจกับ Mind Map ในการเลือกซื้อโครงการอสังหามากขึ้น และเพื่ออ่านบทความ ถามใจตัวเองดูว่า The Aspen Tree คือโครงการเดียวที่ช่วยเติมเต็ม Self-Actualization Needs ในวัยอิสระของคุณใช่หรือไม่?

 

ความต้องการขั้นสุดท้าย Self-Actualization อันที่จริงแล้วเป็นเรื่องยากหากจะวัดว่าใครได้เติมเต็มความต้องการในขั้นนี้ได้แล้ว หากคนคนหนึ่งสามารถผ่านขึ้นมาถึงจุดนี้ได้แต่ยังคงต้องผ่อนจ่ายหนี้ที่ซื้อบ้านมา จะสามารถเรียกว่าเป็น Self-Actualized ได้เต็มปากหรือไม่ แล้วสำหรับคนที่มีปัจจัยความต้องการพื้นฐานทุกอย่างพร้อมสรรพ มีบ้านและไม่มีหนี้ คนเหล่านี้มีระดับของ Self-Actualized ที่มากกว่างั้นหรือ? ท้ายที่สุดแล้วเราไม่สามารถสรุปได้เพราะมันขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละคน อีกทั้งยังมีตัวแปรอื่นๆ อีกมากมายในการตอบโจทย์ความต้องการในขั้นนี้ตามทฤษฎีของ Maslow แต่หากจะมองในแง่ของการซื้อบ้าน คงต้องดูให้ลึกลงไปว่าจุดประสงค์ของการซื้อบ้าน คือ ซื้อเพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือซื้อบ้านเพื่อหวังจะให้เป็น ‘บ้าน’ จริงๆ หากคุณหมกมุ่นอยู่กับการนั่งดีดตัวเลขคำนวณกำไรในอนาคตตั้งแต่วันนี้แล้วล่ะก็ แปลว่าคุณอาจจะไม่อยากก่อร่างสร้างความเป็นบ้านในเชิงของการเติมเต็มความรู้สึกซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านเพื่อหวังจะสร้างความเป็นบ้าน มันคือการซื้อที่มีความหมายลึกลงไปกว่าการซื้อเพียงอสังหาริมทรัพย์สักแห่ง เจตนารมณ์ที่ต่างออกไปนี้จะทำให้คนเริ่มมีความรู้สึกผูกพันธ์ในทุกๆ การใช้จ่ายและรู้ว่าพื้นที่แห่งนี้จะเข้ามาเติมเต็มจิตวิญญาณให้แก่ตนเองอย่างที่ไม่เคยมีสิ่งของชิ้นไหนทำได้ เมื่อใดก็ตามที่คุณได้มีช่วงเวลาพิเศษและสัมผัสได้ถึงพลังงานดีๆ ของความเป็นบ้านเช่นนี้ เมื่อนั้นคุณก็มีโอกาสที่จะไปถึงความรู้สึกของการเติมเต็มในตนเองได้อย่างสมบูรณ์

 

#จิตวิทยากับอสังหาริมทรัพย์

#RealEstatePsychology

 

แหล่งข้อมูลและภาพ

http://www.urbaneer.com/blog/maslow_hierarchy_of_needs_and_toronto_real_estate_for_selling

http://www.urbaneer.com/blog/maslows_hierarchy_of_needs_and_toronto_real_estate_for_buyers

https://www.thoughtco.com/maslows-hierarchy-of-needs-4582571

https://unsplash.com/photos/UaBIcWSS4FY

https://unsplash.com/photos/bOVZ_f3fbQM

https://unsplash.com/photos/pKeF6Tt3c08

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

นาวว์ เมกา

หากจะพูดถึง NOWW MEGA (นาวว์ เมกา) ในพื้นที่ของ Maga...

14 November, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง