“เอสซีจี” แนะวิธีติดตั้งฉนวนกันเสียง ใน 3 ห้องสำคัญของบ้าน พร้อมเคล็ดลับมิกซ์แอนด์แมทช์ให้สวยมีดีไซน์ ไร้เสียงรบกวน

เกริก บุณยโยธิน 16 November, 2016 at 14.04 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


“เสียงรบกวน” เป็นปัญหาอันดับต้นๆ ที่มักพบ ทั้งจากการอาศัยอยู่ร่วมกันของคนในบ้าน และเสียงรบกวนจากภายนอก ปัญหาเรื่องเสียงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เนื่องจากการอยู่อาศัยร่วมกันต้องมีการติดต่อสื่อสาร มีการทำกิจกรรมทั้งในรูปแบบส่วนบุคคล และการทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว จึงเกิดเสียงรบกวนได้ตลอดเวลา เช่น เสียงพูดคุย เสียงทีวี หรือเสียงโฮมเธียร์เตอร์ สำหรับเสียงรบกวนจากภายนอกบ้านอาจเกิดได้จาก เสียงรถยนต์ เสียงรบกวนจากข้างบ้าน หรือเสียงการก่อสร้าง ซึ่งมลพิษทางเสียงเหล่านี้ไม่เพียงทำให้ผู้อยู่อาศัยเกิดความรำคาญเท่านั้น ยังรบกวนการพักผ่อนและลดทอนความสุขในการใช้เวลาภายในบ้าน ดังนั้น “เอสซีจี” ในฐานะผู้นำนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง จึงขอแนะนำเทคนิคลดปัญหาเสียงรบกวนให้กับ 3 ห้องสำคัญของบ้าน เพื่อสร้างความสุขในการอยู่อาศัยร่วมกัน และยังทำให้บ้านสวยมีดีไซน์ได้อีกด้วย

นายทศพล  ป้องเกียรติชัย สถาปนิกจากเอสซีจี กล่าวว่า “เสียงรบกวน” ถือเป็นเรื่องที่ดูเหมือนไม่สำคัญ ไม่เป็นปัญหา แต่ในระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อความสุขของการอยู่อาศัยร่วมกันระหว่างสมาชิกภายในบ้าน แม้เสียงรบกวนที่เกิดบริเวณที่พักอาศัยจะไม่เกินเกณฑ์ค่าเสียง 85 เดซิเบล ที่เป็นอันตรายต่อระบบประสาท แต่ก็สร้างความรบกวนทางอารมณ์และความรู้สึกไม่น้อย เพราะโดยปกติผู้ฟังจะวัดค่าเสียงจากการได้ยินและความรู้สึกมากกว่าการใช้อุปกรณ์วัดค่าเสียง

 

unnamed_resize

สำหรับแนวทางในการป้องกันเสียงทำได้หลากหลายวิธี อาทิ ปลูกต้นไม้เพื่อลดทอนเสียงจากภายนอก สร้างผนังด้านนอกของบ้าน หรือผนังกั้นระหว่างห้องให้มีความหนาที่มากขึ้น เพื่อไม่ให้เสียงลอดผ่านเข้าไปได้ แต่ก็จะเสียพื้นที่ใช้สอยบางส่วนไป อย่างไรก็ตามเพื่อให้สามารถตอบโจทย์ที่อยู่อาศัยในปัจจุบันที่มีพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่ค่อนข้างจำกัด “เอสซีจี” จึงแนะเทคนิคลดปัญหากวนใจเรื่องเสียงด้วยการติดตั้ง “วัสดุอะคูสติก” ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฉนวนป้องกันเสียง ช่วยป้องกันเสียงจากภายนอกไม่ให้เข้าสู่ภายในบ้าน และป้องกันเสียงจากภายในห้องไม่ให้ออกไปภายนอก ติดตั้งโดยสอดเข้าไปในระบบโครงคร่าว ระหว่างการก่อสร้าง หรือกรีดผนังเพื่อใส่ฉนวนเข้าไปก็ได้เช่นกัน ฉนวนดูดซับเสียง ช่วยดูดซับเสียง ลดเสียงก้องเสียงสะท้อน และยังใช้ตกแต่งผนังให้สวยงามด้วยนวัตกรรมการขึ้นรูปให้เป็นแผ่นแข็งรูปทรงต่างๆ อาทิ สี่เหลี่ยม  หรือสามเหลี่ยม หรือหกเหลี่ยม หุ้มด้วยผ้าเฟอร์นิเจอร์สีสันสวยงาม ติดตั้งโดยทากาวตะปูไปที่หลังแผ่นฉนวนและนำไปติดกับผนังได้ตามต้องการ

unnamed4_resize1

นอกจากเทคนิดในการป้องกันและดูดซับเสียงรบกวนแล้ว เพื่อความสวยงามของห้องต่างๆ ภายในบ้าน “เอสซีจี” ขอแนะนำเคล็ดลับมิกซ์แอนด์แมทช์ 3 ห้องสำคัญของบ้าน ให้สวยมีดีไซน์ ไร้เสียงรบกวน เริ่มด้วยห้องแรก ห้องนอน ห้องที่ต้องการความสงบ เพื่อการพักผ่อนอย่างเต็มที่ จึงควรติดตั้งฉนวนป้องกันเสียงในโครงคร่าวที่บริเวณผนังด้านที่ติดกับห้องข้างๆ เพื่อป้องกันเสียงจากภายนอกเข้ามารบกวน และติดตั้งฉนวนดูดซับเสียงผนังบริเวณหัวนอนซึ่งเป็นจุดตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดเสียง เพื่อลดเสียงสะท้อน และเป็นการเพิ่มจุดสนใจให้กับห้อง โดยอาจใช้ฉนวนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส จัดเรียงสลับสีกันจนเกิดเป็นลวดลายมีดีไซน์ โทนสีที่เหมาะกับห้องนอนควรเป็นสีอ่อนที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เช่น สีขาว ครีม น้ำตาลอ่อน และอาจจะแซมสีที่ดูหวานแต่ยังอยู่ในโทนเย็น เช่น สีชมพู เขียวอ่อน เป็นต้น

unnamed2_resize

ถัดมา ห้องนั่งเล่น เนื่องจากเป็นห้องที่มีปริมาณการใช้เสียงสูงกว่าห้องนอน เพราะมักเป็นห้องศูนย์รวมของสมาชิกภายในบ้าน เพื่อใช้ทำกิจกรรมยามว่างร่วมกัน อย่างดูทีวี ฟังเพลง หรือจัดกิจกรรมที่ส่งเสียงดัง จึงแนะนำ ให้ติดตั้งฉนวนป้องกันเสียงในโครงคร่าวเพื่อป้องกันเสียงรบกวน จากนั้นติดตั้งฉนวนดูดซับเสียงประมาณ 35% ของพื้นที่ผนังทั้ง 4 ด้าน เพื่อลดเสียงสะท้อนและดูดซับเสียงภายในห้องไม่ให้ออกไปรบกวนภายนอก สำหรับโทนสีที่เหมาะควรคำนึงถึงสไตล์ของห้องและเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ อาจเน้นให้เลือกสีที่ดูสบายตา อบอุ่น หากต้องการใช้มากกว่า 2 สี ควรคุมโทนสีให้มีความใกล้เคียงกัน  เช่น สีเบจ สีขาว ครีม หรือ  ดำ น้ำตาล เทา เป็นต้น รูปแบบการจัดเรียงอาจใช้แผ่นสีเหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็กเรียงสลับกับขนาดใหญ่ สร้างสรรค์ให้ผนังดูมีดีไซน์

unnamed3_resize

ปิดท้ายด้วย ห้องเอนเตอร์เทนเม้นท์ เช่น ห้องซ้อมดนตรี ห้องคาราโอเกะ หรือห้องโฮมเธียร์เตอร์ ลักษณะการใช้งานอาจคล้ายกับห้องนั่งเล่น แต่ห้องเอนเตอร์เทนเม้นท์อาจมีการใช้เสียงที่มีค่าเสียงรบกวนสูงกว่า จึงเป็นห้องที่ควรเก็บเสียงไม่ให้รบกวนพื้นที่ข้างเคียง และป้องกันเสียงจากภายนอกเข้ามารบกวน ดังนั้นแนะนำให้ติดตั้งฉนวนป้องกันเสียงในโครงคร่าวและฉนวนดูดซับเสียงบริเวณผนังทั้ง 4 ด้าน ดีไซน์และรูปแบบการจัดเรียงฉนวนให้คำนึงถึงไลฟ์สไตล์การใช้งานของห้อง เช่น ห้องโฮมเธียร์เตอร์เน้นการจัดเรียงแบบเรียบง่ายไม่มีลวดลายมากนัก อาจใช้ฉนวนรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่วางเรียงต่อกัน โดยใช้โทนสีเข้ม หรือดำ เพื่อลดการดึงดูดทางสายตา เนื่องจากเป็นห้องที่ต้องการการโฟกัสไปที่จุดๆ เดียว สำหรับห้องคาราโอเกะหรือห้องซ้อมดนตรี มัเน้นดีไซน์ที่สร้างความตื่นตัวและความสนุกสนานด้วยสีสันที่สดใส เรียงตัดกัน เช่น สีแดง ฟ้า เหลือง ดำ หรือหากเจ้าของบ้านชอบห้องที่ดูเรียบง่าย สบายตา ก็สามารถดีไซน์ผนังโดยใช้ฉนวนโทนสีอ่อน อย่างเทา ขาว เบจ ในการตกแต่งได้เช่นกัน

screenshot2

นอกจาก 3 ห้องภายในบ้านพักอาศัยแล้ว ยังสามารถติดตั้งฉนวนกันเสียงในห้องอื่นๆ ได้เช่นกัน โดยเลือกประเภทฉนวนตามฟังก์ชั่นการให้งานของห้อง และค่าเสียงรบกวนที่เกิดขึ้น  ซึ่งเจ้าของบ้านสามารถเลือกดีไซน์ ขนาด และสีสันของฉนวนได้ตามความชื่นชอบ ทั้งนี้หากต้องการติดตั้งฉนวนป้องกันเสียงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินติดตั้ง สำหรับฉนวนดูดซับเสียงเจ้าของบ้านสามารถ DIY ได้ตามต้องการ เพราะติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอคำแนะนำได้ที่ เอสซีจี คอนแทค เซ็นเตอร์ โทร. 02-586-2222  หรือคลิ๊กเว็บไซต์ www.scgbuildingmaterials.com 

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

นาวว์ เมกา

หากจะพูดถึง NOWW MEGA (นาวว์ เมกา) ในพื้นที่ของ Maga...

14 November, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง