อี-คอมเมิร์ซ ดาต้าเซ็นเตอร์ และอีอีซี กำหนดทิศทางตลาดพื้นที่อุตสาหกรรมไทยหลังโควิด-19

เกริก บุณยโยธิน 03 December, 2020 at 15.09 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกเปิดเผยว่า ปัจจัยสำคัญที่จะกำหนดทิศทางตลาดพื้นที่อุตสาหกรรมของไทยหลังโควิด-19 ในช่วงไม่กี่ปีต่อจากนี้ คือ การเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดอี-คอมเมิร์ซซึ่งเป็นผลมาจากการผู้ค้าออนไลน์   ความต้องการพื้นที่อุตสาหกรรมสมัยใหม่อย่างดาต้าเซ็นเตอร์   และโครงการอีอีซีที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐเพื่อดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ

 

ผลกระทบต่อซัพพลายเชน

“ประเทศไทยอาจได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน และความเป็นไปได้ในช่วงหลังโควิด-19 ที่บริษัทที่ต้องพึ่งพาการผลิตจากจีนเป็นหลักจะลดการผลิตในจีนและตั้งฐานการผลิตรองที่ประเทศอื่นและ/หรือเป็นการสำรองระบบซัพพลายเชน     การตัดสินใจเรื่องที่ตั้งฐานการผลิตและซัพพลายเชนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นและดำเนินการได้ในระยะเวลาอันสั้น  ดังนั้นประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากปัจจัยเหล่านี้จึงอาจต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะเป็นจริง” นายอาดัม เบลล์ หัวหน้าแผนกพื้นที่อุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ ซีบีอาร์อี  ประเทศไทย กล่าว

 

ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ความตึงเครียดทางการค้าและโควิด-19  ประเทศไทยมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้นจากบริษัทจีนอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะกลับมาอย่างต่อเนื่องเมื่อการเดินทางทางอากาศกลับเข้าสู่สภาวะปกติ   ขนาดตลาดอุตสาหกรรมของจีนนั้นใหญ่มากเมื่อเปรียบเทียบกับตลาดไทยทั้งนี้ แม้บริษัทผู้ผลิตจากจีนเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เข้ามาตั้งโรงงานในไทยก็นับว่ามีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้าสู่ประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก   อย่างไรก็ตาม ยังมีประเทศอื่นๆ เช่น เวียดนาม ที่แข่งขันเพื่อดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นนี้

แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี พบว่าอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยแรงงานจำนวนมากมีความกังวลด้านต้นทุนแรงงานในไทย แต่โดยรวมแล้วประเทศไทยยังคงมีข้อเสนอที่น่าดึงดูดมากสำหรับบรรดาผู้ผลิต ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้พัฒนาระบบซัพพลายเชนที่แข็งแกร่งสำหรับอุตสาหกรรมหลักต่างๆ เช่น ยานยนต์  บริษัทต่างๆ สามารถเริ่มการผลิตในไทยและจัดหาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ได้จากในประเทศแทนที่จะต้องนำเข้าในตลาดใหม่ๆ บริษัทจำเป็นต้องนำเข้าชิ้นส่วนหลายประเภท  ซึ่งการพัฒนาระบบซัพพลายเชนลักษณะนี้ต้องใช้ระยะเวลาหลายปี   ซีบีอาร์อีคาดว่าเมื่อการเดินทางระหว่างประเทศกลับมาสู่ภาวะปกติ  ความต้องการที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมจะเพิ่มมากขึ้น

 

การเติบโตของอี-คอมเมิร์ซและดาต้าเซ็นเตอร์

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซีบีอาร์อีได้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งส่งผลให้การเติบโตนี้เพิ่มสูงขึ้นไปอีก เนื่องจากศูนย์การค้าหลายแห่งต้องปิดทำการเป็นเวลานาน   หลายคนได้มีโอกาสทำงานจากที่บ้านเป็นครั้งแรกแทนการทำงานในสำนักงาน  ซึ่งส่งผลให้ยอดขายสินค้าออนไลน์พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว  โดยเคอรี่ เอ็กซ์เพรส ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทาง (Last Mile Delivery) ได้ให้ความเห็นว่า “เราไม่เคยเห็นเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อนทั้งในประวัติศาสตร์ของบริษัทและของตลาดโลจิสติกส์  โดยยอดส่งสินค้าเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% หรือบางช่วงเวลาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในหนึ่งวัน” นายอเล็กซ์ อึ้ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) กล่าวกับสื่อมวลชนรายหนึ่ง “เคอรี่กำลังดำเนินการเพื่อเพิ่มกำลังในการขนส่งสินค้า”

 

ยอดส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลต่อตลาดคลังสินค้าให้เช่าเนื่องจากผู้ให้บริการขนส่งสินค้าหลายรายต้องใช้พื้นที่มากขึ้นในพื้นที่ที่สำคัญสำหรับการส่งสินค้า  ซึ่งทำเลสำคัญในย่านบางนา-ตราดก็เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนที่ดินที่สามารถนำมาพัฒนาพื้นที่คลังสินค้าได้

 

“นอกจากนี้ เรายังได้รับการติดต่อสอบถามเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่งในไทยสร้างเสร็จเป็นที่เรียบร้อยและเริ่มให้บริการแล้ว ขณะที่อีกหลายแห่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง   สิทธิประโยชน์จากภาครัฐที่มีวัตถุประสงค์ในการดึงดูดบริษัทด้านดิจิทัลได้ดึงดูดให้บริษัทในตลาดดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่งเริ่มพิจารณาถึงการลงทุนในประเทศไทยเพื่อสิทธิประโยชน์ที่ภาครัฐมีให้”  นายอาดัม กล่าว

 

อนาคตของอีอีซีและอุตสาหกรรมใหม่ๆ

โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นโครงการสำคัญของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งมีการใช้เวลาและทรัพยากรจำนวนมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หลายโครงการ เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินในกรุงเทพฯ ไปยังอู่ตะเภา โครงการสนามบินภาคตะวันออกที่สนามบินอู่ตะเภา และการขยายท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด    โครงข่ายถนนมอเตอร์เวย์ในเขตอีอีซีก็ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และทำให้การเดินทางจากฐานการผลิตไปยังแหลมฉบังและที่อื่นๆ มีประสิทธิภาพ    รัฐบาลยังส่งเสริมอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นอย่างมาก ซึ่งรู้จักกันในชื่ออุตสาหกรรม “S Curve” ซึ่งนักลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีและด้านอื่นๆ อีกมากมาย

 

“คำถามสำคัญที่ไทยต้องพิจารณาคือเราจะไปในทิศทางใดต่อจากนี้   พื้นฐานโดยรวมของตลาดอุตสาหกรรมในไทยนั้นยังคงแข็งแกร่งถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยแรงงานจำนวนมากจะเห็นว่าค่าแรงในไทยสูงกว่าตลาดเกิดใหม่บางแห่ง   ไทยยังจำเป็นต้องพิจารณาว่าจะสามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมที่ได้พัฒนาไปสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ ได้อย่างไร ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับแรงงานทักษะสูง มากกว่าอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยแรงงานจำนวนมาก” นายอาดัม ให้ความเห็น

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง