การต่อเติมปัญหาใหญ่ของคนมีบ้าน พลัสฯแนะนำ 5 สิ่งที่ต้องระวัง โดย บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด

เกริก บุณยโยธิน 02 June, 2023 at 11.22 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


วันนี้ด้วยปัจจัยของราคาที่ดินที่มีราคาสูงขึ้นทุกปี  การออกแบบการใช้พื้นที่ในการอยู่อาศัยจึงต้องเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในการใช้งาน ฟังก์ชัน และความคุ้มค่ามากที่สุด  ดังนั้นจะเห็นถึงการที่คนซื้อบ้านมักจะมีการวางแผนการต่อเติมพื้นที่ในตัวบ้าน  การต่อเติมบ้านก็เหมือนกับการขยับขยายพื้นที่แห่งความสุขออกไปให้กว้างขึ้นอีกหน่อย เพราะสิ่งที่เจ้าของบ้านจะได้จากการต่อเติมหน้าพื้นที่ในบ้านนอกจากพื้นที่ใช้สอยที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้บ้านของคุณถูกแปลงโฉมใหม่ให้เหมาะสมกับ Lifestyle อีกด้วย   โดยพื้นที่ในส่วนที่มักต่อเติมออกมามากที่สุด คือ ห้องครัว  ห้องนั่งเล่น และโรงจอดรถ  แต่การจะต่อเติมบ้านนั้นใช่ว่าคิดอยากทำแล้วจะทำได้ทันที ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ต้องรู้ก่อนต่อเติม ดังนั้นวันนี้ทางพลัส  พร็อพเพอร์ตี้ ในฐานะผู้บริหารโครงการที่พักอาศัยและอาคารเพื่อการพาณิชย์ กว่า 350 โครงการ พื้นที่กว่า 18 ล้านตร.ม.  มีข้อแนะนำในการต่อเติมบ้าน 5 สิ่งที่ต้องระวัง ดังนี้

1. ควรมีการตรวจสอบโครงสร้างเดิมของบ้านก่อนการต่อเติม ซึ่งปัญหาในการต่อเติมบ้าน ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่มองข้ามในเรื่องของการตรวจเช็กโครงสร้างตัวบ้านเดิม และพื้นที่ดินโดยรอบตัวบ้าน โดยเฉพาะโครงการบ้านจัดสรร บางครั้งตัวบ้านถูกสร้างบนที่ดินที่อาจเคยเป็นแหล่งน้ำ เมื่ออาศัยอยู่ได้สักระยะ พื้นดินจะเกิดการทรุดตัว เพราะการถมที่ดินใช้ระยะเวลาสั้น เมื่อมีการต่อเติมบ้านภายหลัง อาจส่งผลให้เกิดการทรุดตัวจากธรรมชาติได้ ดังนั้นเจ้าของบ้านควรปรึกษาเจ้าของโครงการเรื่องโครงสร้างของตัวบ้าน การวางเสาเข็มใหม่ให้เหมาะสมกับขนาดพื้นที่ต่อเติม เพื่อป้องกันการทรุดตัวเมื่อต่อเติมบ้าน

2. ควรแยกโครงสร้างใหม่ ออกจากโครงสร้างเดิม  เป็นอีกหนึ่งวิธีที่แนะนำให้ทุกๆ บ้านทำเมื่อคิดต่อเติมบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแยกตัว (Cracks) ปัญหาผนังแตกร้าว รั่วซึม ระหว่างตัวโครงสร้างบ้านเดิมกับส่วนต่อเติม เนื่องจากการต่อเติมบ้าน มักใช้เสาเข็มที่มีขนาดเล็กกว่าตัวบ้าน ด้วยข้อจำกัดในการเข้าถึงพื้นที่ ที่ไม่สามารถนำปั้นจั่นเข้าไปยังพื้นที่ด้านหลังได้ จึงส่งผลให้โครงสร้างเดิม และส่วนต่อเติมเกิดการทรุดตัวที่แตกต่างกันได้ เพราะขนาดของเสาเข็มแตกต่างกัน เป็นอีกจุดที่ต้องมีการคำนวณลักษณะโครงการหรือหาวิธีการแยกโครงสร้างที่ต่อเติมใหม่  นอกจากไม่กระทบกับตัวบ้านเดิม  ยังทำให้การเดินระบบต่างๆ ง่ายต่อการก่อสร้างและลดปัญหาภายหลังจากการต่อเติมอีกด้วย

3. คำนวณการรับน้ำหนักของโครงสร้างบ้านให้เหมาะสม เจ้าของบ้านต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับน้ำหนักของโครงสร้างบ้าน โดยเฉพาะคานที่มีอยู่เดิม บางครั้งไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักสำหรับก่อกำแพงอิฐ และฉาบปูน เพื่อต่อเติมในส่วนที่ต้องการใช้งาน เช่น ครัวหลังบ้าน ห้องนั่งเล่นข้างบ้าน  ควรเป็นคานที่สามารถรับน้ำหนักของพื้น รวมถึงไม่ควรเชื่อมคานยื่นออกไปจากคานเดิม แต่ควรสร้างคานใหม่เพื่อรองรับพื้น เพื่อป้องกันไม่ให้โครงสร้างบ้านเดิมเกิดความเสียหาย เมื่อส่วนต่อเติมหลังบ้าน เกิดการทรุดตัว

4. การคำนึงถึงกำลังไฟที่ใช้งานในพื้นที่ต่อเติม อาจจะทำการคำนวณว่าในพื้นที่ใหม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นต้องติดตั้งอะไรบ้าง เช่น  หลอดไฟ  แอร์  ตู้เย็น  ปลั๊กไฟ  เป็นต้น ควรทำการแยกติดตั้งตู้ไฟคอนซูมเมอร์ที่มีระบบการติดตั้งเบรกเกอร์แบบรางดินออกจากอาคารเดิม เพิ่มกำลังไฟ 10-20 แอมป์  ให้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน  ประเภทและขนาดของเบรกเกอร์ก็มีส่วนสำคัญควรเลือกใช้ให้เหมาะสม เพราะเบรกเกอร์(Breaker) นั้นไม่ได้มีหน้าที่แค่ใช้ปิด-เปิดไฟเท่านั้น แต่ยังทำหน้าที่ตัดวงจรอัตโนมัติหากเกิดการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน ที่เป็นสาเหตุทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรอีกด้วย โดยเบรกเกอร์ที่ตัดวงจรไฟฟ้าเนื่องจากการลัดวงจรอย่างรวดเร็วภายใน 0.003 วินาทีนั้น เรียกว่าเป็นเบรกเกอร์แบบ Current Limiting

5. ต้องมีการศึกษาเรื่องกฎหมาย หรือ พรบ. ควบคุมอาคาร ข้อจำกัดในการต่อเติมบ้านที่เจ้าของบ้านควรรู้ คือ การเว้นระยะห่างระหว่างอาคารที่ก่อสร้างกับแนวเขตพื้นที่ดินข้างเคียง เพื่อป้องกันความปลอดภัย ง่ายต่อการซ่อมแซม หากต่อเติมพื้นที่ของบ้าน  เช่น ครัวหลังบ้าน ต้องทำโดยมีช่องเปิดหรือหน้าต่าง จำเป็นต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง 2 เมตร แต่หากต่อเติมหลังบ้านเป็นผนังทึบ มีกันสาดที่เจ้าของบ้านไม่ได้ใช้งาน ต้องเว้นระยะ 0.50 เมตร แต่บางครั้งมักเห็นข้างบ้านต่อเติมติดรั้ว ก็อาจเป็นเพราะได้รับความยินยอมจากเจ้าของบ้านข้างเคียงเป็นลายลักษณ์อักษร จึงสามารถสร้างได้ตามข้อตกลง  นอกจากการระวังไม่สร้างหลังคาบ้านเกินเขตพื้นที่บ้านแล้ว ยังต้องระวังไม่ให้น้ำฝนจากหลังคาบ้านตกลงไปในพื้นที่เพื่อนบ้านจนเกิดความเสียหาย ซึ่งการทำรางน้ำฝนระบายน้ำบนหลังคานับเป็นหนึ่งในทางออกที่ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำฝนร่วงหล่นจากหลังคาได้ โดยเจ้าของบ้านต้องทำการยื่นแบบขออนุญาตต่อเติมกับสำนักงานเขต ฝ่ายโยธา และต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานราชการก่อน รวมถึงทำการแจ้งให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรฯ รับทราบด้วย  ทั้งนี้พลัสฯ ได้มีมาตรฐานในการตรวจสอบผู้รับเหมา ตั้งแต่กรอกแบบฟอร์มที่ลงรายละเอียดกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่แล้วเสร็จ การขออนุญาตเข้าทำงาน มีเวลาที่ชัดเจนในการเข้าออกพื้นที่โครงการเพื่อไม่ให้กระทบการพักอาศัยในโครงการ  รวมไปถึงมีการออกกฎระเบียบในการวางเงินประกันสำหรับป้องกันความเสียหายในพื้นที่ส่วนกลางอีกด้วย

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ดูแลบริหารจัดการโครงการที่พักอาศัย ครอบคลุมโครงการคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว และทาวน์โฮม คอยดูแลด้วยมีทีมงานมืออาชีพเป็นที่ปรึกษา มีความรู้จริง ตอบรับกับทุกความต้องการ คำนึงถึงความปลอดภัยและการอยู่อาศัยอย่างมีคุณภาพของลูกบ้านเป็นสำคัญ  สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามบริการได้ทาง โทร. 02-688-7555 และทางเว็บไซต์ www.plus.co.th/service/living-management

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง