“The Whale” สวรรค์ของคนรักวาฬที่ห้ามพลาดบนเกาะ Andøya ที่นอร์เวย์ โดย Dorte Mandrup

Pawida W. 20 December, 2019 at 16.56 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


จุดชมวิวที่เด็ดที่สุดและพลาดไม่ได้สำหรับคนหลงรักวาฬที่นอร์เวย์ เมื่อนึกถึงประเทศนอร์เวย์ เรามักคิดถึงภาพวาฬยักษ์ตัวเป้งวนว่ายทั่วท้องทะเล วัฒนธรรมล่าวาฬอันเลื่องชื่อ และการรักษาธรรมชาติให้สมบูรณ์ซึ่งทั้งหมดนี้รวมกันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศนอร์เวย์ที่เป็นจุดขายเด่นไม่แพ้ชาติใดในโลก ด้วยเหตุนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ Dorte Mandrup เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับมอบหมายให้สร้าง “The Whale” แลนด์มาร์กใหม่รูปร่างคล้ายวาฬยักษ์ที่มีจุดมุ่งหมายส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ประเทศนอร์เวย์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ชมธรรมชาติที่สมบูรณ์ทั้งจากด้านในและด้านนอกอาคารจากจุดชมวิวดีไซน์เก๋คล้ายหางวาฬที่จงใจออกแบบให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติของนอร์เวย์อย่างเพอร์เฟค “The Whale” ตั้งอยู่บริเวณเกาะ Andøya ที่อยู่ห่างจากอาร์กติกเซอร์เคิล 300 กม. ซึ่งเป็นพิกัดสำคัญที่พวกวาฬและสัตว์น้ำต่างๆจะอพยบผ่านเส้นทางนี้กันเป็นประจำจึงกลายเป็นจุดชมวิวที่ดีที่สุดของนอร์เวย์ที่จะได้ชื่นชมและสังเกตุการฝูงวาฬได้อย่างจุใจและคุ้มค่าที่สุด   กว่าจะได้หางวาฬสวยๆเท่ห์ๆแบบนี้มาก็เล่นเอาต้องใช้ทีมครีเอทีฟระดับเทพๆทั้งนั้น ได้แก่ Marianne Levinsen Landskab, JAC Studio, Thornton Tomasetti, AT Plan & Arkitektur, Nils øien, และ Anders Kold มาร่วมมือกันเพื่อพัฒนาให้แหล่งท่องเที่ยวของที่นี่ออกสู่นานาชาติได้อย่างภาคภูมิ อย่างไรก็ตาม การได้มาสร้างโปรเจคนี้ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป เพราะก่อนที่จะได้เป็นผู้ดูแลโปรเจคก็ต้องส่งผลงานดีไซน์เข้าประกวดกันอย่างดุเดือดจนในที่สุดก็ได้ผู้ชนะอย่าง Dorte Mandrup มาร่วมทีม

(ภาพจาก www.designboom.com/architecture/dorte-mandrup-whale-visitor-attraction-arctic-circle-norway-11-04-2019)

ภาพจำลองภายนอกจากมุมด้านทางเข้าอาคาร(ภาพจาก www.dortemandrup.dk)

พื้นที่บนหลังคาหรือบริเวณบนหางของ “The Whale” ออกแบบให้เป็นจุดชมวิวแบบ Outdoor ให้ได้ชมวิว เพลิดเพลินกับการเฝ้าสังเกตุวาฬไปพร้อมๆกับการได้สูดอากาศบริสุทธิ์และกลิ่นทะเลอย่างเต็มปอด ประโยชน์ของการชมวิวแบบนี้ทำให้ได้อารมณ์การมาเที่ยวอย่างจุใจและยังได้เก็บเรื่องราวความประทับใจจากที่นี่ไปเล่าต่อให้เพื่อนๆฟังถึงประสบการณ์แปลกใหม่นี้ได้เต็มปาก เพราะที่นี่เป็นจุดชมวิวที่พลาดไม่ได้จริงๆ อีกอย่างหนึ่งที่ไม่น่าพลาด คือ การเฝ้าดูพระอาทิตย์เที่ยงคืนของนอร์เวย์ที่จะทอแสงผ่านเส้นขอบฟ้า หรือแม้แต่ตามล่าหาแสงเหนือที่นี่ก็มีให้ดู เรียกว่ามาที่เดียวก็เก็บภาพความทรงจำนี้ไปอีกนานเลยทีเดียว

ภาพบรรยากาศจำลองทัศนียภาพภาพนอกอาคาร (ภาพจาก www.designboom.com/architecture/dorte-mandrup-whale-visitor-attraction-arctic-circle-norway-11-04-2019)

ส่วนจุดชมวิว Indoor ก็เด็ดไม่แพ้กันกับ Outdoor เพราะ Interior ก็เน้นให้กลมกลืนไปกับธรรมชาติด้วยเช่นกัน อย่างกระจกที่หันหน้าออกสู่มหาสมุทรนั้นเป็นหน้าต่างบานทั้งหมด 100% แฝงด้วยดีเทลของกระจกที่มองไกลๆจะเห็นได้ชัดเจนว่าคล้ายกับหยดน้ำทะเลที่ไหลลงมาจากหางของวาฬขณะที่สบัดหางว่ายน้ำเพื่อมุ่งหน้าอพยบผ่านจุดยุทธศาสตร์นี้ด้วย สมกับความตั้งใจที่อยากให้สิ่งก่อสร้างกลมกลืนไปกับธรรมชาติของ Dorte Mandrup จริงๆ ส่วนการบริการก็มีพร้อมทั้ง คาเฟ่ ร้านค้าของที่นะลึก และออฟฟิศเล็กๆตั้งอยู่อีก นอกจากจะได้เห็นวาฬอย่างเต็มตาแล้ว ยังได้จิบเครื่องดื่มสไตด์นอร์เวย์ไปพร้อมๆกันอีกด้วย

ภาพบบรรยากาศจำลองด้านในอาคาร (ภาพจาก www.designboom.com/architecture/dorte-mandrup-whale-visitor-attraction-arctic-circle-norway-11-04-2019)

เนื่องจากตัวอาคารสร้างทับพื้นผิวขรุขระของหินขนาดยักษ์ริมทะเลจึงไม่แปลกที่จะเจอบางส่วนของหินพวกนี้ด้านในอาคาร ทำให้นักท่องเที่ยวได้เชื่อมต่ออารมณ์กับบรรยากาศด้านนอกได้สมบูรณ์แบบ เพิ่มเติมอีกอย่าหนึ่ง คือ ส่วนเว้าโค้งของกระจกที่ทำให้เห็นวิวด้านนอกได้กว้างกว่ากระจกแบนๆทั่วไปที่ยังคงความสวยงามไว้อย่างชาญฉลาด ด้วยเหตุผลนี้ส่งผลให้การมองผ่านกระจกจากจุดชมวิวได้ทั่วถึงในแนวกว้างจนทำให้เห็นวิวได้ทั่วจากทุกมุมห้อง

 

Prop Alert: “The Whale” เพิ่งเริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อ 1 พ.ย. 2562 ที่ผ่านมานี้เอง และมีกำหนดการสร้างเสร็จภายในปี 2022 อดใจรออีกแค่ 2 ปี เดี๊ยวเราก็ได้เที่ยวแล้วล่ะ

Andenes จุดยุทธศาสตร์ส่องวาฬที่เยี่ยมที่สุดของโลก

Andenes คือ อาณาเขตเหนือสุดของเกาะ Andøya ที่ตั้งของ “The Whale” จุดชมวาฬและสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์ที่ต้องว่ายน้ำอพยบผ่านเส้นทางห่างจากอาร์กติคเซอร์เคิล 300 กม. บริเวณนี้ทุกปีจะมีการอพยบของฝูงวาฬจนกลายเป็นวงจรชีวิตธรรมชาติของสัตว์น้ำละแวกนี้ ดังนั้นจุดนี้ย่อมเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดีที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่รักและหลงใหลธรรมชาติแบบสแกนดิเนเวียและเอนจอยกับการส่องสัตว์น้ำโดยเฉพาะวาฬ เพราะประเทศนอร์เวย์เป็นบ้านของวาฬในแถบนี้มานานแสนนาน เมื่อเทียบกับทะเลทางเหนือส่วนอื่นๆของนอร์เวย์ที่ก็มีวาฬแหวกว่ายไปทั่วแล้วก็ยังไม่สามารถจะได้เห็นการอพยบของวาฬได้เหมือนที่ Andenes เลย ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิน้ำทะเล สภาพอากาศ หรือแม้แต่ภูมิศาสตร์ของที่นี่ก็เหมาะสมแล้วที่ได้เป็นทางผ่านระหว่างการอพยบของสัตว์น้ำ

 

ทำความรู้จักผู้ก่อตั้ง Dorte Mandrup สถาปนิกหญิงสุดมั่นกับไอเดียการออกแบบที่ไม่ซ้ำใคร

(ภาพจาก www.surfacemag.com/articles/dorte-mandrup-unesco-favorite-architect)

เรามาทำความรู้จักสถาปนิกหญิงชาวเดนนิช คุณ Dorte Mandrup (ดอร์ท แมนดรับ) ผู้ก่อตั้ง บริษัท Dorte Mandrup มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองโคเปนเฮเกน (Copenhagen) เมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก สาวเดนนิชคนนี้เริ่มงานตำแหน่ง Creative Director เมื่อปี 1999 ที่บริษัทของตัวเอง เธอมีส่วนรับผิดชอบทุกโปรเจคเสมอมาภายใต้ systematic mindset บวกกับตัวตนด้วยความเป็น nonconformist ที่ไม่ได้สนใจว่าการดีไซน์งานของเธอจะโดนวิจารณ์จากสาธารณะเกี่ยวกับดีไซน์ที่แปลกประหลาดแตกต่างจากสถาปนิกคนอื่นๆ มีหลายคนถกเถียงกันมากมายแต่ก็ไม่สามารถทำให้เธอศูนย์เสียความมั่นใจที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมสักนิด เพราะเธอเชื่อมาตลอดว่าได้ดีไซน์ผลงานชั้นเลิศออกสู่สาธารณะเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคนในสังคมและกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมธรรมชาติมากที่สุด จนในที่สุดแล้วความพยายามและความมั่นใจอย่างสุดโต่งของ Dorte Mandrup ส่งผลให้ได้รับรางวัลจากทั้งระดับประเทศและนานาชาติ รางวัลที่ได้มากอดในอ้อมอกชิ่นล่าสุด คือ Chair of the prestigious Mies van der Rohe Award 2019 นอกจากจะเป็นผู้บริหารแล้วเธอก็ได้ทำงานตำแหน่งรองประธานให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งรัฐลุยเซียนา, สมาชิกสภาอาคารประวัติศาสตร์ของประเทศเดนมาร์ก, ศาสตราจารย์วุฒิคุณที่ The Royal Danish Academy of Fine Arts และมีโอกาสได้เดินทางไปสอนที่ต่างประเทศด้วยเมื่อปี 2018 ที่ Cornell University College of Architecture, Art and Planning

 

Dorte Mandrup มีความเชี่ยวชาญการดีไซน์ให้สิ่งก่อสร้างและภูมิสถาปัตยกรรมกลมกลืนไปกับภูมิทัศน์ เน้นฟังก์ชั่นการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งเจ้านี้ฮอตและเป็นที่ต้องการมากในวงการโปรเจค Landmark ตามโลเคชั่นสำคัญๆ, การดัดแปลงอาคาร, พื้นที่แหล่งการเรียนรู้, พื้นที่ทำงาน และอาคารmixed use ที่เข้ามาช่วยให้คุณภาพการใช้ชีวิตหลากหลายรูปแบบลงยิ่งตัวขึ้น เพราะทุกการดีไซน์ถูกปรับให้เข้ากันกับการใช้ชีวิตหลากหลายรูปแบบ ยิ่งเป็นที่น่าชื่นชมเข้าไปอีกเมื่อองค์ประกอบทุกอย่างที่ดีไซน์ไว้เพื่อปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและวัฒนธรรมที่สานต่อเรื่องราวของพื้นที่นั้นๆได้อย่างไร้ที่ติ

 

ผลงานน่าสนใจของ Dorte Mandrup

1. La Brea Tar Pits (ลาบลีอาทาร์พิตส์)

นี่คือการพิพิธภัณฑ์สุดโมเดิร์นต้นแบบแห่งโลกอนาคตเพื่อพัฒนาความรู้เรื่องระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าให้เจนเนอเรชันรุ่นต่อๆไปได้มีโอกาศเรียนรู้เพื่อการนำไปใช้อย่างยั่งยืน ดังนั้นการออกแบบพิพิธภัณฑ์ให้มีเพดานใต้ถุนโล่งและกว้างขนาดนี้ก็เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้ใช้พื้นที่ด้านล่างเข้าถึงธรรมชาติให้มากที่สุด นอกจากนี้ยังทำให้อากาศถ่ายเทบริสุทธิ์ตลอดทั้งวันและมองเห็นบรรยากาศสิ่งแวดล้อมรอบๆอย่างชัดเจน ส่วนด้านบนหลังคาก็ใช้ photovoltaic trees(เซลแสงพลังงานแสงอาทิตย์) ไว้เหมือนดงป่าในรูปแบบคล้ายต้นไม้และ)ป่าไม้ของจริงด้วยเช่นกัน แต่ต้นไม้บนหลังคาของที่นี่ก็ไม่พลาดที่มาในคอนเซปสวนสไตด์ New Pleistocene (สมัยไพลสโตซีนช่วงเวลายุคน้ำแข็ง) ให้ออกมาเป็นสวนหย่อมสวยๆที่สามารถผลิตออกซิเจนเพิ่มเพื่อรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมไว้ได้อีกด้วย สำหรับตัวกำแพงพิพิธภัณฑ์ก็ออกแบบให้มี Solar Pixels เล็กๆไว้สร้างพลังงานจากแสงอาทิตย์ไม่ต่างจากบนดาดฟ้าให้ด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเพื่อให้เข้ากันกับคอนเซป New Pleistocene (สมัยไพลสโตซีนช่วงเวลายุคน้ำแข็ง) ซึ่งเราจินตนาการได้เลยว่ามันคือผาน้ำแข็งนี่เอง! สรุปโดยรวมๆว่า Dorte Mandrup ไม่ได้ใช้แค่รูปทรงเลขาคณิตธรรมดาๆ แต่มันมีดีเทลเล็กซ่อนอยู่เสมอ

ภาพจำลองภูมิทัศน์

ภาพจำลองภูมิทัศน์

ส่วนเรื่องภูมิสถาปัตยกรรมเขาก็ออกแบบให้ถนนทางเข้าสามารถเข้าได้จากหลายๆทาง และยังสร้างเนินสูงต่ำไว้ให้สมจริงจนทำให้ผู้มาเยือนรู้สึกเหมือนได้เข้ามาอยู่อีกยุคนึงเลยแหละ ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ สัตว์ต่างๆที่ไม่ได้อยู่ในกรง ต้นไม้ชุกชมจนคล้ายป่า ทางเดินคดเคี้ยวและพิพิธภัณฑ์เองก็ด้วย

ภายในพิพิธภัณฑ์ใช้สีขาวล้วนส่วนใหญ่เพื่อให้ดูคล้ายกับบรรยากาศยุคน้ำแข็งมากที่สุด ไม่ว่าจะสีของเสา เพดาน พื้น และล้อมรอบด้วยหน้าต่างใสบานใหญ่ทั้งกำแพง แบบนี้ใครมาก็ชอบทั้งนั้นเพราะไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของพิพิธภัณฑ์ก็ได้ชมวิวทิวทัศน์ได้ 360 องศา และยังได้เข้าถึงบรรยากาศที่ดูสมจริงมากๆแบบนี้อีกก็ยิ่งอินเข้าไปใหญ่

ภาพจำลอง Interior

ภาพทั้งหมดด้านบนจาก www.dortemandrup.dk/work/la-brea-tar-pits

 

ผู้ร่างแบบจำลอง: Dorte Mandrup, MIR, Martha Schwartz Partners

Location: Los Angeles, USA

ผู้ว่าจ้าง: The Natural History Museums of Los Angeles County

ผู้ร่วมทีม: Martha Schwartz Partners(New York), ARUP, Gruen Associates(Los Angeles), Kontrapunkt

สถานะ: อยู่ระหว่างการนำเสนอโปรเจค

 

2. Thy National Park Center

Thy National Park Center ตั้งอยู่ที่อุทยานแห่งชาติของประเทศเดนมาร์ก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของหาด Jutland (จัตแลนด์) ประเทศเดนมาร์ก พื้นที่นี้อยู่ในภายใต้ควาคุ้มครองของ The Danish Environmental Protection Agency(องค์กรป้องป้องสิ่งแวดล้อมเดนนิช) ส่วนที่เป็นอุทยานคือส่วนที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์เดนมาร์ก ระบบนิเวศไปจนถึงระดับนานาชาติ “ซึ่งพื้นที่นี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ยุคน้ำแข็งช่วงสุดท้ายหลังจากอากาศอบอุ่นขึ้น” หากใช้จินตนาการเพิ่มขึ้นอีกนิด ก็จะสังเกตุได้ว่าอาคารที่ออกแบบมันคล้ายกับถ้ำของยุคน้ำแข็งไม่มีผิด ต่างกันแค่มีหน้าต่างบานโตๆเพิ่มขึ้นเพื่อรับแสงแดดธรรมชาติแค่นั้นเอง ภายในอาคารแบ่งเป็นสัดส่วนเพื่อการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอุทยานอย่างเจาะลึกพร้อมด้วย Interior Design ที่ส่งเสริมให้คนและธรรมชาติเชื่อมต่อกันจากด้านในได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น Modern Architect ที่ไม่ธรรมดาภายใต้การออกแบบจาก Dorte Mandrup ครั้งนี้ก็ยังคงคำนึงถึงการออกแบบเพื่อความยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แถมดูเผินๆแล้วก็กลมกลืนไปกลับสิ่งแวดล้อมแถวนี้ได้อย่างเพอร์เฟคจนเสมือนเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน

ภาพจากมุมสูงเผยให้เห็นมุมกว้างของทัศนียภาพแวดล้อมรอบๆ Thy National Park Center ริมทะเล หาดทราย และต้นหญ้าท้องถิ่นปิดคลุมทุกพื้นที่ว่างเปล่ารวมทั้งตัวอาคารเองด้วย

เนื่องจากหลังคาของอาคารมีลักษณะโค้งมนทั้งหลังทำให้ได้รับแสงจากหน้าต่าง Semi-circle ได้ลงตัวจนทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าไปได้พอสมควร   ภาพจำลองหน้าต่างทรง semi-circle สูงตั้งแต่พื้นจนไปถึงเพดานที่เว้าลึกเข้ามาด้านในอาคาร ทำให้คนภายนอกมองเห็นบรรยากาศภายในได้ทั่ว

ภาพจองภายในและภายนอกอาคาร

ภาพทั้งหมดจาก (www.dortemandrup.dk/work/thy-national-park-center)

 

รางวัลที่ได้รับ: Competition Spring 2019, 2nd price

ผู้ร่วมทีม: Tyréns, MASU Planning

Location: Nørre Vorupør, Denmark

ผู้ว่าจ้าง: Nationalpark Thy

 

#AmazingNorway #modernarchitect #whale #Norwaytrip #Andenes #marinemamals #arcticsea #animallover #Denmark #animalmuseum #Iceage #nationalpark #caveman

 

Resource

www.dortemandrup.dk

www.designboom.com

Pawida W.

Pawida W.

นักเขียน Gen Y โลกสวยที่เชื่อว่า การออกแบบที่ดีจะทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย ผังเมือง การเมือง สังคม หรือแม้แต่การออกแบบชีวิตของตัวเอง มีความคาดหวังที่จะได้ใช้โอกาสของการเป็นนักเขียนมาเขียนเล่าถึงการออกแบบที่ทันสมัยและการออกแบบของหมวดอสังหาฯ ให้เป็นประโยชน์ในวงกว้าง

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง