“Social เปลี่ยน Design ก็เปลี่ยน” เมื่อการออกแบบคอนโดมิเนียมต้องปรับเปลี่ยนรองรับกับสังคมที่เปลี่ยนไป

ต่อทอง ทองหล่อ 15 July, 2019 at 11.31 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและพัฒนาการที่อยู่อาศัยในญี่ปุ่น

สมัยก่อนสงครามครอบครัวชาวญี่ปุ่นมักจะเป็นครอบครัวใหญ่ประกอบด้วยสมาชิกถึง 3 รุ่นคือรุ่นพ่อแม่ รุ่นลูก และรุ่นหลาน อาศัยอยู่รวมกันในบ้านหลังเดียวกัน

ภายหลังสงครามสังคมญี่ปุ่นก็เปลี่ยนแปลงไปเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น คือเมื่อลูกแต่งงานก็จะแยกครอบครัวออกมา ในบ้านหนึ่งหลังก็จะมีแค่ พ่อ-แม่ ลูก 1-2 คน หรือ พ่อ-แม่ และลูกที่ยังไม่แต่งงาน

และในปัจจุบันญี่ปุ่นก็เปลี่ยนไปอีกครั้ง กลายเป็นสังคมคนโสด คนญี่ปุ่นแต่งงานกันน้อยลง ข้อมูลสำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นระบุว่า เหตุผลอันดับแรกที่ทั้งชายและหญิงในวัย 25-34 ปียังไม่ยอมแต่งงานคือ “ยังไม่เจอคนที่เหมาะสม” ส่วนเหตุผลรองลงมาของฝ่ายชายคือ“ยังไม่รู้สึกว่าจำเป็น” และ “ไม่มีเงินทุนพอในการแต่งงาน” และเหตุผลรองลงมาของฝ่ายหญิงคือ “ไม่อยากสูญเสียความอิสระและความสบายไป” และ “ยังไม่รู้สึกว่าจำเป็น”

หลักๆ น่าจะเป็นเพราะลักษณะทางสังคมของญี่ปุ่นเป็นแบบปัจเจกนิยม (Individualism) หรือเรียกง่ายๆ ว่าสังคมที่แต่ละคนมีความเป็นตัวตนสูง  หนุ่มสาวในญี่ปุ่นมักชอบอยู่คนเดียวในช่วงวันหยุดและใช้เวลาอย่างอิสระเสรี ชอบไปไหนตามลำพัง พวกเขาจะใช้เวลาไปกับกิจกรรมที่สนใจอย่างเต็มที่ เลือกทำในสิ่งที่รักอย่างเสรี นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาไม่ค่อยคิดถึงเรื่องแต่งงาน อีกทั้งในปัจจุบันนี้ผู้หญิงญี่ปุ่นสามารถทำงานและพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ความจำเป็นที่จะแต่งงาน มีครอบครัวจึงเป็นเรื่องไม่สำคัญอีกต่อไป สภาพเศรษฐกิจโดยรวมก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนคิดว่าการอยู่คนเดียวน่าจะเหมาะสมกว่าเพราะการทำกิจกรรมต่างๆ กับคนรัก การแต่งงาน การมีลูก ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องใช้เงินแทบทั้งสิ้น

Photo by Jason Ortego on Unsplash

คอนโดมิเนียมญี่ปุ่นในปัจจุบัน

ด้วยสภาพสังคมเปลี่ยนไปคอนโดขนาดกะทัดรัดจึงเป็นที่ต้องการเช่าซื้อค่อนข้างมาก  กลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่นจึงได้ปรับเปลี่ยน Plan ของคอนโดให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบัน เช่น MITSUBISHI ESTATE RESIDENCE จึงสร้างโครงการที่มีห้องพักอาศัยโดยเน้นห้องขนาดเล็กหรือแบบ studio และห้องขนาด 1 ห้องนอน เพื่อเอาใจกลุ่มคนวัยทำงานและกลุ่มนักเรียนที่เข้ามาเรียนในโตเกียว

 

ตัวอย่างภาพห้องพักในโครงการ The ParkOne’s series ด้วยขนาดเล็กแค่ 25 ตารางเมตรแต่บรรจุเอาทุกอย่างเข้าไปได้แก่ ตู้รองเท้า ครัวปิด ห้องนอนวางเตียง 3.5 ฟุตที่รวมกับห้องนั่งเล่นแล้ว มีตู้เสื้อผ้า 2 ตู้ทั้งแบบธรรมดาและแบบ walk-in closet มีห้องน้ำแยกโซนเปียกแห้งรวมถึงอ่างอาบน้ำก็ยังเข้ามาอยู่ในห้องนี้ได้ด้วย ถือว่าเป็นการออกแบบที่ใช้พื้นที่คุ้มค่าแทบจะทุก “ตารางเซ็นติเมตร” เลยทีเดียว

ภาพจาก https://www.mecsumai.com/tpo-monzennakacho/plan/b.html

 

 

ทำไมคนไทยนิยมคอนโดมิเนียมแบบ 1 Bedroom

 

สำหรับตลาดคอนโดมิเนียมในเมืองไทยเราเองก็นิยมห้องรูปแบบ 1 Bedroom เช่นเดียวกันกับญี่ปุ่นในปัจจุบัน แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลเพราะเป็นโสดแบบคนญี่ปุ่น เหตุผลที่ห้องแบบ 1 Bedroom เป็นที่นิยมในไทยเพราะกลุ่มคนที่นิยมอยู่คอนโดมิเนียมคือกลุ่มคนวัยทำงาน ยังไม่มีครอบครัว ให้ความสำคัญกับชีวิตอิสระและความคล่องตัว เดินทางสะดวก ใกล้ที่ทำงาน จึงต้องการที่อยู่อาศัยที่สามารถเดินทางไปทำงาน เที่ยว หรือ แฮงค์เอ้าท์ได้สะดวกรวดเร็วไม่ต้องเสียเวลารถติดอยู่บนท้องถนน อีกทั้งกลุ่มคนวัยทำงานที่ยังไม่มีครอบครัวส่วนใหญ่รายได้จะไม่สูงมากนักเพราะเป็นวัยเพิ่งเริ่มต้นทำงาน กำลังซื้อมักจะไม่สูง ดังนั้นคอนโดมิเนียมรูปแบบ 1 Bedroom ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักแต่ฟังก์ชั่นการอยู่อาศัยครบถ้วน ทำเลดีติดรถไฟฟ้าจึงตอบโจทย์สำหรับกลุ่มคนเหล่านี้

 

บริษัทพัฒนาคอนโดมิเนียมในไทยก็มี know-how ในการสร้างคอนโดมิเนียมขนาดเล็กแต่ครบ มีทุกอย่างในยูนิตเดียว ใช้พื้นที่คุ้มค่าในแบบที่คนต่างชาติมาเห็นก็ยังแปลกใจว่าทำได้ยังไง พื้นที่ไม่ใหญ่ แต่มีทุกอย่างครบดีจริงๆ

 

ตัวอย่างห้อง Studio ที่ออกแบบได้น่าสนใจ โซนครัวอยู่หน้าห้องเชื่อมต่อกับโซนนั่งเล่นและห้องนอน มีระเบียงแยกและจุดเด่นคือห้องน้ำที่มีหน้าต่างรับแสงได้

ภาพจาก www.grandunity.co.th

 

ตัวอย่างห้อง 1 Bedroom ที่มีฟังก์ชั่นในการอยู่อาศัยครบถ้วนทั้งโซนห้องนั่งเล่น ห้องนอนที่มีประตูบานเลื่อนกั้น ห้องครัวแยก ห้องน้ำที่แยกโซนเปียก-แห้ง มีระเบียงสำหรับซักล้างและตากผ้า ห้องที่มีฟังก์ชั่นแบบนี้นี้นิยมมากในกรุงเทพมหานคร แต่จะแตกต่างที่ตำแหน่งการออกแบบภายใน

ภาพจาก https://www.estarpcl.com/en/project/quintara-arte-sukhumvit-52

 

นอกจากนี้ห้อง 1 Bedroom หรือ 1 Bedroom Plus ก็ยังตอบโจทย์กลุ่มคนที่มีครอบครัวแล้วและเลือกใช้คอนโดเป็นบ้านชั่วคราว (Second Home) จะพักอยู่คอนโดมิเนียมเฉพาะในวันจันทร์-วันศุกร์ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรติดขัด ลดเวลาที่ใช้ในการเดินทางในแต่ละวัน เพิ่มความสะดวกให้ครอบครัวด้วยคอนโดมิเนียมติดแนวรถไฟฟ้า ส่วนวันหยุดสุดสัปดาห์ก็จะหลีกหนีความวุ่นวายแออัดในเมืองกลับไป slow life สูดอากาศแถวชานเมืองที่มีบ้านหลังใหญ่อยู่แล้ว กลุ่มคนกลุ่มนี้ก็นิยมคอนโดมิเนียมที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักเช่นกัน เพราะจะพักอาศัยอยู่เฉพาะเวลาที่รีบเร่งไปทำงานหรือไปเรียนเท่านั้นไม่จำเป็นต้องใหญ่โตมีห้องครบตามจำนวนคนแค่มีฟังก์ชั่นการใช้งานครบถ้วนพอพักอาศัยได้ก็เพียงพอแล้ว อีกทั้งด้วยภาระค่าใช้จ่ายของครอบครัวและภาระการผ่อนบ้านหลังใหญ่ทำให้ไม่สะดวกนักที่จะซื้อและผ่อนคอนโดที่มีขนาดใหญ่เพิ่มอีก ดังนั้นคอนโด Plan ห้องแบบ 1 Bedroom, 1 Bedroom Plus ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนักแต่ฟังก์ชั่นการอยู่อาศัยครบถ้วน ทำเลดีติดรถไฟฟ้าจึงตอบโจทย์สำหรับกลุ่มคนกลุ่มนี้ด้วย

Photo by bill wegener on Unsplash

ในอดีตเมื่อ 8-10 ปีที่แล้ว ห้องขนาด 33 ตารางเมตรคงจะมีแค่ห้องนอนเดียว แต่ปัจจุบันด้วยเหตุผลหลายๆ อย่างทำให้พื้นที่เพียงแค่สามสิบตารางเมตรกว่าๆ ก็สามารถเนรมิตให้เป็น 1 Bedroom Plus ได้แล้ว เป็นรูปแบบห้องที่เหมาะกับกลุ่มครอบครัวพ่อแม่ลูก มีครัวแยก ห้องน้ำแยกโซนเปียกแห้ง เหมาะกับการเป็น second home สำหรับพักในคืนวันอาทิตย์-พฤหัส

ภาพจาก https://assetwise.co.th/condominium/ivoryratchada32/

 

เราอาจพอจะเรียกได้ว่าปัญหาการจราจรในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ เป็นสาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ห้องแบบ 1 Bedroom ได้รับความนิยมในบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ได้เห็นถึงความต้องการของกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้จึงออกแบบห้อง 1 Bedroom ไว้ในสัดส่วนที่มากที่สุดในแต่ละโครงการ รวมถึงออกแบบให้ห้องมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีฟังก์ชั่นการอยู่อาศัยตามความต้องการครบถ้วน และปัจจุบันเริ่มมีสัดส่วนเพิ่มห้องแบบ 1 Bedroom Plus เข้ามาให้เป็นตัวเลือกสำหรับกลุ่มครอบครัวอีกด้วย

Photo by Peerapon Chantharainthron on Unsplash

 

แม้ว่าปัจจุบันตลาดคอนโดมิเนียมในไทยจะนิยม 1 Bedroom มากที่สุด แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น อาจจะเกิดกระแสความนิยมคอนโดมิเนียม 3 Bedroom ขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นเพื่อนกันอยากอยู่ด้วยกันซื้อร่วมกัน อาจมีกฎเกณฑ์หรือแรงกดดันด้านการเงินหรืออะไรสักอย่างที่สามารถเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมได้ เช่น คอนโดมิเนียมแบบ co-living concept ที่ในห้องแบบ unit in unit ในห้อง studio ห้องเดียวกันอาจมี roommate ได้มากถึง 4 คน แต่อยู่แยกแบบมีความเป็นส่วนตัว

 

อนาคตจะมีเหตุผลใหม่ๆ อะไรเข้ามาทำให้ชีวิตของเราเปลี่ยนแปลงบ้างอีกหรือไม่ และนักออกแบบและบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะรับมือและปรับตัวกันอย่างไร เป็นเรื่องที่เราคงต้องคอยติดตามกันต่อไป

ต่อทอง ทองหล่อ

ต่อทอง ทองหล่อ

บรรณาธิการสื่อเกี่ยวกับการศึกษา และ Blogger ผู้มีผลงานการวิเคราะห์ด้านอสังหาฯ มามากกว่าร้อยบทความ ยังเป็นผู้สนใจลงทุนคอนโดมิเนียม ชอบใช้ชีวิตแบบ Digital Nomad รักการเดินเท้าและเลือกใช้ขนส่งมวลชนสำรวจความเปลี่ยนแปลงของทำเลสถานที่ผ่านมุมมองการเข้าใจมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็น Active Citizen ช่วยขับเคลื่อนพัฒนาเมืองผ่านงานเขียนและเครื่องมือสื่อสารที่เชื่อมรัฐกับประชาชน เป้าหมายระยะยาวต้องการเห็นคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีขึ้นของทุกคนในสังคม ติดตามผลงานได้ที่ https://matttortong.weebly.com

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง