R11 อาคารเก่ายุค 80 ในเมือง Munich กับการเปลี่ยนวัสดุจากคอนกรีตเป็นไม้เพื่อสร้างส่วนต่อขยาย

Propholic EditorialTeam 25 January, 2021 at 12.15 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


เมืองมิวนิค (Munich) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศเยอรมนี แม้จะไม่ใช่เมืองหลวงของประเทศอย่างกรุงเบอร์ลิน แต่ก็เป็นเมืองที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าเมืองหลวงของประเทศเลยก็ว่าได้ เป็นทั้งจุดเริ่มต้นและจุดศูนย์กลางในการเดินทางไปยังเมืองอื่น ๆ ในยุโรป เมืองที่มีมนต์เสน่ห์ของของศิลปะ วัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมสไตล์บาร็อค และเรอเนสซองส์ โดยความโดดเด่นต่าง ๆ ยังคงปรากฏจวบจนทุกวันนี้

โครงการ R11 เป็นส่วนต่อขยายหลังคาของอาคารสี่ชั้นในเมือง Munich ใกล้กับ central station โดยฐานรากของอาคารยุค 80 ในปัจจุบันนั้นมีขีดความสามารถในการรองรับที่ค่อนข้างจำกัด และไม่ได้รับอนุญาตให้มีการต่อเติมขยายเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการทำลายโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเดิมบนชั้นสี่ก่อนที่จะขยายขึ้นไปด้วยกระบวนการก่อสร้างที่ใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบามากขึ้น

Pool Leber Architekten สถาปนิกชื่อดัง ได้เลือกใช้ไม้แปรรูป Cross-Laminated Timber (CLT) ซึ่งได้จากการนำไม้หลาย ๆ ชิ้น มาเชื่อมอัดเข้าด้วยกาวต่อกันเป็นชั้นเลเยอร์ ในลักษณะ cross แนวขวางสลับกันไปมาในแต่ละชั้น นั่นจึงทำให้มวลของไม้ CLT มีความหนาแน่น และมีความแข็งแรงในการรับน้ำหนักได้มากกว่าไม้ทั่ว ๆ ไป และเพิ่มการตกแต่งสไตล์ Loft ใหม่ที่เรียบง่ายสวยงามและดูกว้างขวางให้กับอาคารที่พักอาศัยยุค 80 ใน Munich แห่งนี้ไปในตัว

โครงสร้างใหม่นี้ทำจากไม้แปรรูป Cross-Laminated Timber (CLT)

ซึ่งเป็นไม้ที่ทางวิศวกรรมสามารถให้ความแข็งแรงเท่ากับ

เหล็กหรือคอนกรีตนั่นเอง

ภาพจาก : http://www.greenspec.co.uk/building-design/cross-laminated-timber-manufacturing-process/

บริเวณสองชั้นที่มีการดัดแปลงต่อเติมใหม่ได้รับการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากขึ้น โดยแบ่งการใช้งานออกเป็น 3 ห้อง ประกอบไปด้วย  ห้องพักมาตรฐาน 2 ห้องนอน และส่วนของห้องชุดอพาร์ทเมนท์ที่อยู่ติดกัน ทั้งสองห้องสามารถเข้าถึงพื้นที่ห้องใต้หลังคาที่เป็นเอกลักษณ์สุด ๆ ในชั้นบน

 

นอกจากนี้ยังสามารถที่จะแยกห้องชุดที่อยู่ติดกันสองแห่งให้เป็นยูนิตแยกต่างหากได้ เป็นความง่ายอย่างหนึ่งที่จะเปลี่ยนชั้นบนให้เป็นบ้านอีกหลังได้ ซึ่งจะทำให้จำนวนยูนิตรวมมีมากถึงสี่ยูนิต

พื้นที่ทุกส่วนภายในได้รับการออกแบบให้รวบรวมฟังก์ชันทั้งหมดไว้ด้วยกัน ตั้งแต่พื้นที่ภายในและภายนอกที่มีการเชื่อมต่อกัน ในส่วนของชั้นบนเชื่อมต่อกันด้วย gallery แนวตะวันออก-ตะวันตก โดยใช้ประโยชน์จากดีไซน์ความลาดชันของหลังคา บวกกับการวิเคราะห์ทุกมิติอย่างละเอียดเพื่อสำรวจความเป็นไปได้ในแง่ของการกระจายธรรมชาติแสงทั่วทุกพื้นที่ได้อย่างไร้ขีดจำกัดของโครงสร้าง โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้พื้นที่ที่สว่างสม่ำเสมอ และเต็มไปด้วยแสงธรรมชาติทุกองศา

 

ภายนอกโครงสร้างไม้ สะท้องพลังแห่งความลึกลับน่าค้นหา ซ่อนอยู่หลังโครงสร้างเหล็กที่ตรงกับผนังในชั้นล่างตามเดิม แต่ภายในไม้ที่เป็นวัสดุตกแต่งโดดเด่นครอบคลุมผนังเพดานและพื้น

ไม้ยังนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ในการตกแต่งองค์ประกอบภายในต่าง ๆ อย่างเฟรมประตูหน้าต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้นบนที่เน้นการออกแบบตกแต่ง สร้างสรรค์ไม้เป็นที่นั่งริมหน้าต่าง ทั้งชุดตู้เก็บของต่าง ๆ เคาท์เตอร์ครัวที่ทำการดีไซน์ให้ slope มุมเพื่อเป็นตู้เก็บจานชามในส่วนภายในห้องครัว เป็นการผสมผสานดีไซน์ที่สวยงามเข้ากับประโยชน์ใช้สอยอย่างแท้จริง

บันไดดีไซน์สวยงามน่าหลงไหลถูกสร้างขึ้นเป็นรูปแบบบันไดลอย ฝังผนังทรงเหลี่ยมสไตล์โมเดิร์น โทนสีอบอุ่นของไม้ตัดกับผนังคอนกรีตได้อย่างลงตัว จะมองมุมไหนก็เต็มไปด้วยความสวยงาม ทันสมัยอย่างมีระดับสุด ๆ

ลักษณะที่โดดเด่นทั้งการออกแบบของโทนสีต่าง ๆ ไปจนถึงความสำคัญในการเลือกใช้วัสดุที่มีการไล่ระดับสีที่นุ่มนวลอ่อนโยนด้วย palette สีธรรมชาติจากไม้สีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีเทาของเหล็กและคอนกรีต นี่คือความแตกต่างแต่ไปด้วยกันได้ด้วยโทนสีดำและสีขาวของโครงเฟรม ไม้ของชั้นบนมีลักษณะเป็นไม้เปลือยให้เห็นถึงลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์สวยงาม และยังมีการคำนึงถึงคุณสมบัติข้อสำคัญของวัสดุไม้ที่จำเป็นต้องให้ความสนใจ นั่นคือการป้องกันไฟไหม้โดยมีการปรึกษากับวิศวกรดับเพลิงอย่างละเอียด

 

มากไปกว่าดีไซน์ภายในที่สวยงาม ภายนอกระเบียงของทั้งสองชั้นที่ได้ต่อเติมอาจจะรู้สึกถึงความแปลกใหม่ ไม่ตรงกับการวางแนวในตำแหน่งของชั้นเดิมที่อยู่ด้านล่าง แต่ก็แฝงไปด้วยความโมเดิร์นที่สวยงามลงตัวซึ่งเข้ากับการออกแบบภายในใหม่มากขึ้นและยังพอดีกับหน้าต่างล้อมรอบแบบต่าง ๆ อีกด้วย

 

ด้านหน้าของอาคารเป็นการผสมผสานการตกแต่งพื้นที่ภายในและภายนอกเข้าด้วยกัน โดยด้านหน้าของอาคารเต็มไปด้วยหน้าต่างยาวต่อเนื่องที่ยื่นออกไปซึ่งสามารถสัมผัสได้ถึงวิวมุมกว้างของเมือง ส่วนพื้นที่ระเบียงก็มีหลังคารองรับในด้านหน้า ดีไซน์ของหน้าต่างที่กว้างและสูงเป็นการรวมเอาระเบียงเข้ากับตัวอาคารได้อย่างไม่มีที่ติ

ด้วยการดีไซน์ชายคาที่เรียบง่ายนั้นจึงสามารถเข้ากับบ้านที่ใกล้เคียงกับต้นกำเนิดจากยุค 80 เป็นอย่างดี หน้าต่างที่ตั้งด้านนี้ให้แสงที่ส่องเข้ามาซึ่งเป็นแสงอาทิตย์โดยตรงจากหน้าต่างและเปลี่ยนสภาพแสงตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ เหนือไปกว่านั้นยังทำการเพิ่ม skylights จากหน้าต่างบนหลังคาด้วยเพื่อให้แน่ใจว่ามีแสงสว่างเพียงพอที่จะส่องผ่านเข้าอาคารได้ทั่วทุกตารางเมตร

 

การออกแบบ Floor plan ของโครงการ R11

 

Fourth Floor Plan

Fifth Floor Plan

รูปตัดด้านต่าง ๆ ของโครงการ R11

 

Section A

Section B

Section C

Location Plan ของโครงการ R11

Photography is by Brigida González.

Project credits:
Architecture firm:
 Pool Leber Architekten
Design team: Isabella Leber, Martin Pool, Johannes Sailer, Valeria Polakovicova

 

แหล่งข้อมูลและภาพ

https://www.dezeen.com/2019/09/27/pool-leber-architekten-r11-loft-extension/

https://www.archdaily.com/923537/roof-extension-maxvorstadt-r11-pool-leber-architekten

 

เรียบเรียงบทความโดย Junejune Sasithorn Wijitnukoonpradit

Propholic EditorialTeam

เราคือทีมสร้างสรรค์เนื้อหาคุณภาพจาก Propholic.com มุ่งมั่นตั้งใจนำเสนอความรู้และข่าวสารในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง