Outlet Mall จีนกลับขึ้นมาผงาดเย้ยธุรกิจขายของออนไลน์ที่นักลงทุนต่างจับตามอง

Propholic EditorialTeam 22 July, 2019 at 13.36 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


OUTLET MALL เอาท์เล็ทมอลล์เป็นสถานที่ซึ่งแบรนด์ต่างๆ สามารถใช้เป็นช่องทางขายสินค้าจากโรงงานของตนให้แก่ลูกค้าได้โดยตรงกำลังถูกจับตามองด้วยยอดขายที่เติบโตอย่างต่อเนื่องไปทั่วเอเชียแปซิฟิก สวนทางกับธุรกิจค้าปลีกแบบเดิมรายอื่นที่กำลังอยู่ในช่วงขาลงในยุคอีคอมเมิร์ซครองเมือง

ผลตอบรับนี้เห็นได้ชัดเจนในจีนเมื่อมีจำนวนตึกเอาท์เล็ทมอลล์เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในสองปีที่ผ่านมา รวมทั้งหมด 110 แห่งทั่วประเทศจีน หรือคิดเป็น 45% จากทั้งหมด 244 แห่งทั่วเอเชียแปซิฟิก

กองทุนที่ลงทุนอสังหากลับมามีความหวังอีกครั้งกับวงการเอาท์เล็ทมอลล์ พูดได้ว่ามันยังดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคไว้ได้อยู่แม้ว่าตลาดออนไลน์กำลังเข้ามาดึงส่วนแบ่งช่องทางค้าปลีกอื่นๆ ไปทั่วโลก

 

Harry Tan หัวหน้าการวิจัยระดับเอเชียแปซิฟิกที่ Nuveen Real Estate  ให้ความเห็นว่า ลูกค้าต่างถูกดึงดูดด้วยสินค้าลดราคาที่มีอยู่ทั่วทั้งเอาท์เล็ท อีกทั้งยังมีการออกแบบทางสถาปัตยกรรมอันงดงามที่ช่วยรังสรรค์ให้ที่แห่งนี้เป็น “จุดหมายปลายทางแห่งการพักผ่อนในช่วงสุดสัปดาห์” ของใครหลายๆ คน

การออกแบบที่ดีช่วยสร้างประสบการณ์ให้แก่นักช้อปได้ไม่ต่างจากการเดินเข้าไปดื่มด่ำบรรยากาศในสถานที่ที่มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรมเฉพาะตัว คอนเซ็ปต์ของความเป็นหมู่บ้านบวกกับการเนรมิตบรรยากาศต่างๆ นักช้อปเหล่านี้ต้องการความเป็นเอกลักษณ์ ความสุนทรีย์ การได้เห็นในที่สิ่งสวยงามซึ่งเอาท์เล็ทตอบโจทย์ในสิ่งที่พวกเขากำลังมองหา

 

Nuveen Real Estate มีเอาท์เล็ททั้งหมด 7 แห่งภายใต้ชื่อ Florentia Village ในจีนรวมถึงเอาท์เล็ทหนึ่งแห่งที่ไควชุงในฮ่องกง

 

สาเหตุที่เอาท์เล็ทมอลล์อยู่รอดปลอดภัยต่างจากร้านค้าปลีกแบบเดิมๆ ก็คือการตั้งตนเป็นเสมือน “ศูนย์รวมแห่งการสังสรรค์ของผู้คน” ยิ่งหากรวมการขายอาหารเข้าไปด้วยก็ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นที่จะเอามางัดกับร้านค้าออนไลน์ได้ดีกว่า ยิ่งหาทางดึงดูดคนให้เข้ามาใช้บริการในพื้นที่ได้มากเท่าไหร่ ย่อมให้ผลลัพธ์ในทางที่ดีกว่ามากขึ้นเท่านั้น

 

ผู้ประกอบการในฮ่องกงมีชั้นเชิงไปมากกว่านั้น มีการออกแบบกิจกรรมต่างๆ โดยรวมเอาทั้งเกมส์ สนามกอล์ฟ และแฟชั่นไว้ในแหล่งค้าปลีกด้วยความหวังจะสร้างความสุขสำราญให้แก่เหล่านักช้อป

นาย Tan ยังกล่าวอีกว่าบริษัทของเขาเองก็กำลังมองหาทำเลที่จะขยายคอนเซ็ปต์เอาท์เล็ทเพิ่มอีกในจีน แต่ไม่บอกแน่ชัดว่าจะเป็นย่านไหนกันแน่ และเขาเองยังมองหาเม็ดเงินที่จะนำไปทุ่มทุนในโครงการนี้เพิ่มอีกทั้งจากทางนักลงทุนและกองทุนหุ้นนอกตลาด ปีที่ผ่านมาเขาเห็นถึงความสนใจที่เด่นชัดขึ้นจากสถาบันการลงทุนสืบเนื่องจากเขาเหล่านั้นได้เล็งเห็นถึงผลประโยชน์ของการเพิ่มเอาท์เล็ทมอลล์เข้าไปอยู่ในพอร์ตของตัวเอง

ในขณะที่ตลาดร้านค้าระดับ Hi-end ในจีนต่างมียอดขายลดลงในช่วงปีที่ผ่านมา เอาท์เล็ทมอลล์ของนาย Tan กลับเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งสาขา Florentia Village Jingjin และ Florentia Village Shianghai ที่เติบโตขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์ในช่วงสิบปีนับตั้งแต่เปิดร้านมา

บริษัทในลอนดอนเองที่มีทรัพย์สินภายใต้การจัดการมูลค่า 129 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เกือบๆ 4 ล้านล้านบาท) เริ่มพิจารณาเพิ่มเอาท์เล็ทมอลล์ของจีนเข้าไปอยู่ในพอร์ตการลงทุนของตนเองกันอย่างขะมักเขม้น ทั้งในสาขาที่เปิดในปี 2554 ที่ Jingjin,  ปี 2558 ที่ Shainghai, และปี 2560 ที่ Hongkong

ทาง Shui On เองก็ได้แปลงโฉมห้าง Xintiandi Plaza ในเซี่ยงไฮ้ เมื่อเห็นว่านั่นกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่นักช้อปสาวหลายๆ คนจะต้องไป

Lawrence Wan ซีเนียร์ไดเรกเตอร์ผู้ให้บริการให้คำปรึกษาและการทำธุรกรรมทางการค้าปลีกแห่ง CBRE ฮ่องกงกล่าวว่า การให้ส่วนลดของเอาท์เล็ทมอลล์คือหัวใจแห่งความสำเร็จในธุรกิจนี้

การใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นอะไรที่อ่อนไหวต่อราคาเป็นอย่างมาก นี่จึงเป็นส่วนที่ช่วยขยายส่วนแบ่งทางตลาดของเอาท์เล็ทมอลล์ แล้วยิ่งมีการจับตลาดเฉพาะกลุ่มอย่างไซส์ XXS, XXL หรือมีสินค้านอกซีซั่นก็ยิ่งเป็นข้อได้เปรียบที่ไม่สามารถหาแบรนด์ไหนเทียบได้ติด

Bailian Group หนึ่งในห้างค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในจีนรายงานว่ายอดขายในส่วนเอาท์เล็ทของเขาเติบโตขึ้น 10.8% ในปี 2561 ขณะที่ยอดขายของร้านค้าปลีกปกติลดลง 1% ในช่วงเวลาเดียวกัน

 

Euromonitor บริษัทสำรวจด้านการตลาดระดับโลกได้ประมาณการมูลค่าร้านค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกว่าจะอยู่ที่ 4.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า ตอบรับการเติบโต 2.2% จากโครงการมูลค่า 4.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ (ราวๆ หนึ่งแสนล้านบาท) ในส่วนของร้านค้าออนไลน์คาดว่าจะเติบโตขึ้น 1.08% ในปี 2563 ตอบรับการเติบโต 13.8% ตามคาดหมายด้วยมูลค่า 949 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ หรือคิดเป็นเกือบสามหมื่นล้านบาทไทย

ด้านความเคลื่อนไหวในบ้านเราก็กำลังตามจีนไปติดๆ เมื่อสองเจ้าแห่งวงการค้าปลีกอย่าง CPN จากเครือเซ็นทรัลและสยามพิวรรธน์ผู้ให้กำเนิดไอคอนสยามก็เพิ่งได้มีการประกาศพัฒนาโครงการเอาท์เล็ทของตัวเองไปเมื่อปีที่แล้ว โดย CPN ส่งประกวดในชื่อ “เซ็นทรัล วิลเลจ (Central Village)” เอาท์เล็ทนำร่องใกล้สนามบินสุวรรณภูมิที่กำลังจะเปิดให้บริการเร็วๆ นี้ในเดือนสิงหาคม 2562

ภาพจาก https://www.cpn.co.th/en/centralvillage

ส่วนด้านสยามพิวรรธน์ (Siam Piwat) ที่หันไปผนึกกำลังกับ Simon Property Group บริษัทอสังหาเพื่อการค้าปลีกระดับโลก วางแผนปล่อย 3 โครงการเอาท์เล็ทใหม่ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัด โดยต่างก็มีเป้าหมายที่จะชิงเงินในกระเป๋าจากเหล่านักช้อปไทยและต่างประเทศให้มากขึ้นในตลาดค้าปลีกที่ยังพอมีช่องว่างให้ทำผลกำไรอยู่นั่นเอง

 

แหล่งข้อมูลและภาพ

https://www.marketingoops.com/news/biz-news/siampiwat-vs-cpn-expand-to-luxury-outlet/

 

 

ภาพ : Florentia Village Jingjin

https://www.nuveen.com/global/strategies/real-estate/properties/china/florentia-village-jingjin

ภาพ : shopping unsplash

https://unsplash.com/photos/_3Q3tsJ01nc

ภาพ : shopping area by raymond-tan-unsplash

https://unsplash.com/photos/cxC5tIDiRKk

Propholic EditorialTeam

เราคือทีมสร้างสรรค์เนื้อหาคุณภาพจาก Propholic.com มุ่งมั่นตั้งใจนำเสนอความรู้และข่าวสารในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง