Living the High Life: ชีวิตเหนือระดับบนเมืองลอยฟ้า

เกริก บุณยโยธิน 16 March, 2017 at 14.19 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


Michael Webb เป็นชายผู้โชคดี นักวิจารณ์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ เขาอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์ทันสมัยชั้นบนในเมือง ลอส แองเจลิส ในโครงการเดียวกันกับที่ Orson Welles เคยใช้ชีวิตอยู่ มันมีการวางแผนที่ดี … ด้วยธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ล้อมรอบด้วยต้นไม้จำนวนมากซึ่งให้ร่มเงาและความเป็นส่วนตัว และยังมีบานหน้าต่างใหผู้พักสามารถรับสายลมที่พัดมาจากมหาสมุทรได้ เจ้าของสองคนก่อนหน้า นั่นคือ Charles และ Ray Eames รักการใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นมาก เมื่อพวกเขาย้ายออก พวกเขาได้เขียนจดหมายขอบคุณสถาปนิกผู้ออกแบบเพื่อขอบคุณเขา Richard Neutra

 

อาคาร Isokon ในกรุงลอนดอน (1933) ออกแบบโดย Wells Coates

ไม่น่าแปลกใจเลยที่ Webb ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งสำหรับการออกแบบที่อยู่อาศัยแบบแฟลต ในบทนำหนังสือใหม่ของเขา “อาคารที่อยู่อาศัย: สถาปัตยกรรมอพาร์ทเมนต์ใหม่” ตีพิมพ์โดย Thames และ Hudson เขาพูดถึง “ความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการสร้างอพาร์ทเมนต์อื่นๆ” เพื่อบรรเทาภาวะการขาดแคลนที่อยู่อาศัยในเมืองของเรา การใช้ที่ดินทางเศรษฐกิจมากขึ้น และเพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางที่ยาวไกลไปนอกเมือง – ซึ่งเขาอธิบายว่ามันเป็น “ความสิ้นเปลือง” (คุณไม่สามารถจินตนาการได้ว่าเขาเป็นแฟนคลับของวิธีการแก้ปัญหาที่ถูกเสนอโดยรัฐบาลอังกฤษเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติด้านที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นการสร้างบ้านใหม่ หมู่บ้านที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม)

 

น่าเสียใจที่เขาอธิบายว่า อพาร์ทเมนต์สมัยใหม่ส่วนใหญ่นั้นน่ากลัว นักพัฒนาที่หลีกเลี่ยงความเสี่ยง (risk aversion) กระหายผลกำไรมักจะสมคบกันสร้างช่วงตึกและอาคารที่แออัด แสงและอากาศจะเข้ามาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง และโถงทางเดินที่มักจะเป็น Double loaded corridor การสำรวจสั้นๆของอาคารทันสมัยที่สุดและรูปแบบสถาปัตยกรรม Brutalist – จากอาคารIsokon ใน Hampstead to Le Corbusier’s Unité d’Habitation ในเมือง Marseille – เป็นตัวชี้เตือนถึงความตกต่ำของจินตนาการในปัจจุบันของเรา

 

ความพยายามในการแสดง “ศักยภาพที่ยังไม่เกิดขึ้น” ของอาคารอพาร์ทเมนต์  Webb ได้รวบรวมตัวอย่างกว่า 30 ตัวอย่างของการพัฒนาเมื่อไม่นานมานี้จากทั่วโลก พวกเขาอยู่ในช่วงแฟลตหรูไปจนถึงที่อยู่ในสังคม จากอาคารเตี้ย ไปจนถึงอาคารสูง มีภาพจำนวนไม่มากที่ช่างภาพของการตกแต่งภายในอาจได้รับและขณะที่ Webb ถูกสัมภาษณ์ แต่มันน่าสนใจที่จะมองการตอบสนองทางความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้เพื่อความเรียบง่ายของการควบคุมคนจำนวนมากในพื้นที่ขนาดเล็ก

อาคาร CityLife ที่เมือง Milan ผลงานของ Zaha Hadid Architects (2004-14)

 

ในช่วงปี 2000-2010 เหล่าสถาปนิกดาวรุ่ง ต่างพากันล้มเหลวในการสร้างผลงานอพาร์ทเมนต์ที่ดีออกมา แฟลตของ Zaha Hadid ทำให้เกิดส่วนของรั้วกั้นในย่านที่พักอาศัยที่ CityLife ขึ้น โดยกินพื้นที่ขนาด 1 ตารางในใจกลางกรุงมิลาน โดยภายในนั้นยังรวมถึงตึกสูงขนาดใหญ่ที่เป็นผลงานของ Hadid, Daniel Libeskind (นักออกแบบอพาร์มเมนต์) และ Arata Isozaki มีสวนสาธารณะ และมีสถานีรถไฟฟ้าของตัวเอง รูปแบบส่วนโค้งของตัวแฟลตในช่วงทศวรรษที่ 1930 (ดูที่อาคาร Isokon) นั้นเลียนแบบมาจากส่วนหัวของเรือเดินสมุทร อพาร์ทเมนต์ของ Hadid ที่ด้านหน้าของตัวอาคารทำจากไม้ซีดาร์และทาทับด้วยสีขาวแสดงให้เห็นถึงรูปทรงของเรือยอร์ชขนาดใหญ่ ถึงแม้เธอจะไม่ได้รับผิดชอบดูแลในส่วนของการตกแต่งภายใน (หรือมีส่วนอยู่บ้างตามที่ Webb กล่าวเอาไว้) แต่ก็เป็นคนวางมาตรฐานให้ผู้ที่รับหน้าที่ตกแต่งภายในต้องทำการออกแบบโดยเน้นให้มีส่วนโค้งภายในตัวอาคารเพื่อให้สอดคลองกับรูปลักษณ์ภายนอกของตัวอาคาร

 

The Interlace, Singapore, OMA/Ole Scheeren (2007-13)

 

ลองจินตนาการถึงยักษ์สองตนที่กำลังเล่นเจงก้า นั่นคือลักษณะของอพาร์ทเมนต์ขนาดใหญ่ที่เคยทำให้ผู้คนอ้าปากค้างมาแล้ว Ole Scheeren สถาปนิกผู้ออกแบบซึ่งเบื่อหน่ายกับตึกสูงที่ผุดขึ้นมาจนหนาแน่นเต็มพื้นที่ทวีปเอเชียได้เกิดแนวความคิดในการออกแบบอาคารขนาด 1,040 ยูนิต ในพื้นที่ 20 เอเคอร์ เขาได้ลองใช้แนวคิดใหม่ๆ ในการออกแบบครั้งนี้ และผลลัพธ์ที่ได้คือตัวอาคารที่แยกออกเป็นส่วนๆ สระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก และพื้นที่สีเขียว ซึ่ง Scheeren เชื่อว่าเป็นต้นแบบที่ดีของที่พักอาศัย เขาภูมิใจอย่างมากที่ Interlace มีผู้จับจองถึง 90% “ต่างจากอาคารอื่นๆ ที่กลายเป็นอาคารร้าง เพราะถูกซื้อมาเพื่อเก็งกำไรเท่านั้น”

 

 

25 Verde, Turin, Luciano Pia (2007-13)

         

หากครอบครัว Robinson จากสวิตเซอร์แลนด์ย้ายมาที่ Turin พวกเขาจะต้องคิดว่ามันเป็นบ้านของพวกเขาอย่างแท้จริง ตัวอาคารนั้นประกอบด้วยต้นไม้จำนวน 150 ต้น ที่ได้รับการดูแลโดยผู้พักอาศัยและคนสวนที่ดูแลในส่วนของสวนส่วนกลางของอาคารด้วย อาคารนี้เป็นหนึ่งในแนวคิด ‘สร้าง’ ต้นไม้ในงานออกแบบ ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่สถาปนิก ซึ่งนอกจากจะได้รับคำชื่นชมแล้ว ยังช่วยลดเสียงรบกวน ให้ร่มเงา และทำให้เกิดความเป็นส่วนตัวด้วย Webb ได้กล่าวว่า อพาร์ทเมนต์จำนวน 63 ห้องนี้ได้ดึงดูดผู้เข้าพักอาศัยที่มีรายได้ปานกลางที่หลากหลาย โดยห้องมีขนาดตั้งแต่ 480 ถึง 1,720 ตารางฟุต

 

Sugar Hill, New York, Adjaye Associates (2012-14)

 

“พวกเราพยายามที่จะไม่สร้างอะไรก็ตามที่ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงไม่ได้ -ผมมองว่าแนวคิดนี้เป็นการดูถูกกัน สิ่งที่น่าสนใจกว่าสำหรับผมคือการสร้างอาคารที่ไม่ได้มีไว้แค่อยู่อาศัย แต่ให้ประสบการณ์การพักอาศัยในเมืองแบบใหม่ๆ” นั่นคือคำพูดของ David Adjaye ที่ทำให้ Broadway Housing Communities องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร อนุญาตให้เขาสร้างอาคาร 13 ชั้น ใน Harlem

 

ตัวอาคารสร้างจากคอนกรีตสีทึบเพื่อให้ดูดกลืนแสง และมีหน้าต่างทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสที่แสดงให้เห็นถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมของท้องถิ่น (แม้จะมีผู้พักอาศัยส่วนหนึ่งบอกว่ามันเหมือนกับคุก) เช่นเดียวกับแฟลต 124 70% ของผู้พักอาศัยคือผู้มีรายได้ต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยและมีผู้พักอาศัยที่เป็นคนไร้บ้าน 25 ราย ในตัวอาคารประกอบด้วยศูนย์การเรียนรู้สำหรับเด็ก พิพิธภัณฑ์เด็กและห้องเวิร์คช็อปที่สนับสนุนให้ผู้พักอาศัยออกแบบงานศิลปะของตัวเอง

 

เป็นเรื่องน่าผิดหวังที่อาคารแห่งนี้ไม่มีระเบียงและส่วนใหญ่จะมองเห็นทิวทัศน์ได้เพียงมุมเดียว  เนื่องจากมีหน้าต่างขนาดเล็กเพียงอันเดียวในแต่ละห้อง ยังเป็นเรื่องน่าเสียดายที่ห้องในตัวอาคารนั้นไม่เหมาะสำหรับผู้พักอาศัยแบบครอบครัว มีเพียงไม่กี่ห้องเท่านั้นที่มี 3 ห้องนอน ในขณะที่ห้องส่วนใหญ่มีเพียง 1 ห้องนอน แต่นั่นเป็นเพราะสถาปนิกต้องทำงานอยู่ภายใต้ข้อจำกัดทั้งในด้านการเงินและจำนวนห้องที่ต้องจัดสรรให้พอดี

 

 

V_Itaim, Sao Paulo, Studio MK27 (2011-14)

 

ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่มีผู้พักอาศัยในแฟลตต้องเผชิญคือการขาดความเป็นส่วนตัว และมันก็ได้กลายเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นทุกวันเมื่อการออกแบบในยุคนี้มุ่งเน้นไปที่การมีหน้าต่างขนาดใหญ่ตั้งแต่พื้น ไปจนถึงเพดานทั่วทุกพื้นที่ของตัวอาคาร สถาปนิกผู้ออกแบบอาคารแห่งนี้ใน Sao Paulo ได้ออกแบบอาคารที่สามารถแก้ปัญหาที่กล่าวมาได้ บานเกล็ดที่ถูกสร้างจากไม้ freijo ที่เจาะให้เป็นรู สามารถเลื่อนเปิดปิดหน้าต่างได้ เพื่อให้ความเป็นส่วนตัวกับผู้พักอาศัย ให้ร่มเงา และทำให้เกิดรูปแบบใหม่ๆ ของตัวอาคาร

 

Source: https://www.1843magazine.com/design/the-daily/living-the-high-life

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง