7 เทรนด์และเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ต้องจับตามองในปี 2020

Propholic EditorialTeam 01 June, 2020 at 12.46 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


เว็บไซต์เกี่ยวกับวงการวิศวกรรม www.InterestingEngineering.com เผยเทรนด์ในวงการก่อสร้างที่ต้องจับตามองในปี 2020 และหลายๆ เทรนด์ก็มีผลกระทบต่อวงการอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตเช่นกัน เรามาดูกันว่ามีเทรนด์อะไรกันบ้าง

 

เทรนด์ที่ 1 เทคโนโลยี VR, AR และ MR

เทคโนโลยีเหล่านี้ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในหลายอุตสาหกรรมทั่วโลก รวมถึงอุตสาหกรรมการก่อสร้างอย่างไม่มีข้อยกเว้น อาคารจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่าที่เคย สถาปนิกและทีมก่อสร้างจะได้ตัวช่วยการออกแบบให้มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจหาข้อผิดพลาดได้ง่ายขึ้น ไล่มาตั้งแต่การหาจุดบกพร่องในการออกแบบระบบการจัดการอากาศ (HVAC System Design) การหาส่วนประกอบที่ถูกมองข้ามไประหว่างขั้นตอนการออกแบบ

 

นอกจากนี้ VR (Virtual Reality) AR (Augmented Reality) และ MR (Mixed Reality) ยังถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างในแง่ของการออกแบบโมเดล 3 มิติของโครงสร้างและอาคาร ใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการแสดงภาพของ BIM (Building Information Modeling) ช่วยบันทึกข้อมูลอาคารและให้ลูกค้าได้เห็นภาพการออกแบบก่อนลงมือก่อสร้างจริง หรือกระทั่งช่วยวิศวกรและเจ้าหน้าที่ฝ่ายซ่อมบำรุงมองเห็นการตรวจสอบภายในได้ดียิ่งขึ้น

 

เทรนด์ที่ 2 Building Information Modeling หรือ BIM
BIM คือ ระบบที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองเสมือนอาคารที่แม่นยำ โดยมีทั้งการออกแบบ เขียนแบบ คำนวณโครงสร้าง ประเมินราคา วางแผนงานระบบภายในอาคาร ซึ่งถูกนำไปใช้แล้วในแวดวงสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการก่อสร้างอื่นๆ และจากที่กล่าวถึงไปข้างต้น การผนวกกำลังกันของ AR และ VR เข้ากับ BIM จะยิ่งขยายขีดความสามารถของเทคโนโลยีการก่อสร้างให้ไปได้ไกลมากยิ่งขึ้น

 

เทรนด์ที่ 3 เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ (3D Printing)
เครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถนำมาใช้งานทั้งการปริ้นท์ชิ้นส่วนไว้ล่วงหน้าหรือเอาไปใช้หน้างานก่อสร้างเลยก็ได้ ซึ่งให้ประโยชน์อย่างชัดเจนทั้งในแง่ของการประหยัดงบประมาณและตัววัสดุ ลดการเกิดของเสียจากการก่อสร้าง ทุกวันนี้เราสามารถปริ้นท์บ้าน 3 มิติออกมาได้ทั้งหลังภายในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง

ตลาดเครื่องพิมพ์คอนกรีต 3 มิติถูกคาดการณ์มูลค่าไว้ที่ 56.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 หรือราวๆ 1,800 ล้านบาท บริษัทมากมายเริ่มสร้างส่วนบริการนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะทั้งเพื่อการใช้พัฒนาต่อไปในอนาคตและใช้งานจริงในปัจจุบัน เช่น บริษัท Apis Cor ที่ได้เริ่มสร้างบ้านจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นรายแรกในอเมริกา

เทรนด์ที่ 4 หุ่นยนต์ (Robotics)
จากรายงานของ World Economic Forum คาดการณ์ว่าปี 2020 นี้จะเป็นปีทองของหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง จากเดิมที่เรามีหุ่นยนต์ก่ออิฐ (Robotic Brick Layer)ทุกวันนี้หุ่นยนต์พบจุดยืนของตัวเองในแวดวงการก่อสร้างมากขึ้นแล้ว ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมที่ไม่มีระบบงานแบบอัตโนมัติและพึ่งพาแรงงานคนเป็นส่วนมาก

การเข้ามาของหุ่นยนต์ทำให้หลายบริษัทมุ่งพัฒนาไปที่เรื่องของระยะเวลาที่ใช้ในการสร้างอาคาร และนำไปช่วยในส่วนงานรื้อถอนอาคาร ด้วยความสามารถในการรื้อถอนคอนกรีตที่ถูกและปลอดภัยกว่าการใช้แรงงานคน นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยงานดูแลรักษาอาคาร เช่น หุ่นยนต์ทำความสะอาดหน้าต่าง เป็นต้น

Robotic Brick layer

 

เทรนด์ที่ 5 เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน (Sustainability)
ในปัจจุบันข้อกำหนดในการสร้างอาคารมีแต่จะเข้มงวดมากขึ้นในเรื่องของการออกแบบเพื่อความยั่งยืนและสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
การพยายามหาทางใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและข้อตระหนักเรื่องการปล่อยคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศให้น้อยไปจนถึงศูนย์ มีบทบาทในการขับเคลื่อนนวัตกรรมการก่อสร้างและการออกแบบมานานนับปี

 

ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาเราก็มีหลังคาคอนกรีตที่สร้างและเก็บพลังงานได้ นวัตกรรมเหล่านี้จะเข้ามาช่วยให้การใช้งานภายในอาคารมีราคาถูกลงและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การลดการเกิดของเสียและการนำวัสดุเก่ากลับมาใช้ใหม่ก็เป็นอีกส่วนที่ช่วยให้เกิดความยั่งยืนในอุตสาหกรรม

 

เทรนด์ที่ 6 ชิ้นส่วนก่อสร้างสำเร็จรูป (Modular and Prefabricated Construction)
ความจริงแล้วพวกงานชิ้นส่วนสำเร็จรูปนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงการก่อสร้าง อาจมีช่วงที่การใช้งานจากชิ้นส่วนในลักษณะนี้หายไปแต่ดูเหมือนว่ามันจะกลับมาอีกครั้งในช่วงปีที่ผ่านมา

 

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการออกแบบและการก่อสร้างหมายรวมถึงจำนวนชิ้นส่วนประกอบที่สามารถผลิตนอกสถานที่ได้จำนวนมากขึ้น เท่ากับว่าเราจะสามารถสร้างอาคารได้ไวขึ้น มีเสียงรบกวนน้อยลงและลดของเสียจากการก่อสร้างได้ดียิ่งขึ้น

 

เทรนด์ที่ 7 เทคโนโลยีเอ็กโซสเคเลตัน (Exoskeletons)
Exoskeletons คือ อุปกรณ์สำหรับให้คนสวมใส่ที่แขนหรือขา เสมือนโครงกระดูกที่ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของร่างกายมนุษย์ ปัจจุบันใช้ทำกายภาพให้แก่คนหลังผ่าตัด เป็นต้น

 

สำหรับงานก่อสร้าง หากคนงานสวมใส่อุปกรณ์เหล่านี้ก็จะสามารถยกของได้หนักกว่าที่กำลังปกติของมนุษย์จะทำไหว ช่วยเพิ่มความปลอดภัยที่หน้างานก่อสร้าง และลดการสูญเสียแรงงานคนจากการบาดเจ็บ

 

มีงานวิจัยที่คาดการณ์ไว้ว่าตลาดเทคโนโลยี Exoskeletons จะมีมูลค่าขึ้นไปถึง 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือราวๆ 57,000 ล้านบาท ในปี 2025 เพิ่มขึ้นจากปี 2014 ที่ 68 ล้านดอลลาร์ หรือ 2,100 ล้านบาท Exoskeletons ราว 6,000 ชุดจะถูกขายในปีนี้ แต่โดยส่วนใหญ่จะถูกใช้เพื่อการพักฟื้นสมรรถภาพทางร่างกายแก่ผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม Exoskeletons อาจแพ้ทางให้แก่หุ่นยนต์และเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพราะตัวมันเองยังต้องพึ่งพามนุษย์ในการใช้งาน แต่บ้างก็ว่ากันว่ามันอาจจะเป็นเทคโนโลยีที่ลงตัวดีใน ณ ขณะนี้ หากสหภาพแรงงานพยายามที่จะเข้ามาปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของกลุ่มผู้ใช้แรงงานไม่ให้สูญเสียงานไปจากการเข้ามาของเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย

 

สรุป
เทรนด์การใช้เทคโนโลยีเพื่อวงการก่อสร้างในช่วงปี 2020 นี้ได้แก่ VR AR MR, 3D Printing, หุ่นยนต์, ความยั่งยืน, BIM และ Exoskeleton

 

แหล่งข้อมูลและภาพ
https://interestingengineering.com/7-construction-industry-trends-to-watch-in-2020
https://www.apis-cor.com/gallary
https://www.suitx.com/
http://www.yfbrickmachine.com/

Propholic EditorialTeam

เราคือทีมสร้างสรรค์เนื้อหาคุณภาพจาก Propholic.com มุ่งมั่นตั้งใจนำเสนอความรู้และข่าวสารในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง