แอบส่องกระเป๋าเงินกลุ่มชาวต่างชาติที่มาเกษียณอายุในไทยเขาใช้จ่ายเงินไปกับอะไรบ้าง

Propholic EditorialTeam 12 December, 2019 at 13.36 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


วันนี้เราลองมาสวมบทบาทเป็นชาวต่างชาติที่กำลังมองหาแหล่งพำนักในวัยเกษียณกัน ลองมาดูกันว่าถ้าเราเป็นชาวต่างชาติที่มาพักอาศัยหลังเกษียณเราจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างและประมาณกี่บาท ในฐานะคนไทยที่เป็นเจ้าบ้านจะได้รู้ว่าลูกค้าวัยเกษียณของเรานั้นมีเงินในมือพร้อมจ่ายสักเท่าไหร่กัน

 

ชีวิตวัยเกษียณในฝันคือการได้อยู่ท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงาม ได้เปิดประสบการณ์ทางวัฒนธรรม มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่เอื้อมถึงได้และมีค่าครองชีพต่ำ สำหรับชาวตะวันตกอาจต้องคิดถึงการไปเกษียณวัยในต่างแดน และหนึ่งในสถานที่ในฝันแห่งนั้นคือประเทศไทย ประเทศเล็กๆ ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จาก Annual Global Retirement Index 2019 ประเทศไทยติดอยู่ในอันดับที่ 9 จากทั้งหมด 10 ประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางแห่งการใช้ชีวิตหลังเกษียณ คำนวณคะแนนจากปัจจัยทางด้านการขอวีซ่าเพื่ออยู่อาศัย บริการทางสุขภาพ สภาวะอากาศ และค่าครองชีพ

การขอวีซ่าเกษียณอายุ

ต้องแสดงหลักฐานทางการเงินอันประกอบด้วยเงินฝากในบัญชีออมทรัพย์ของไทยไม่น้อยกว่า 800,000 บาท หรือมีเงินไม่น้อยกว่า 65,000 บาทต่อเดือน (ประมาณ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ) เพียงเท่านี้ชาวต่างชาติก็มั่นใจได้ว่าจะมีเงินเพียงพอสำหรับใช้ในการดำรงชีวิต และแน่นอนว่าในเงินจำนวนเดียวกันนั้นการเลือกไปอยู่ที่เชียงใหม่ย่อมได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าอยู่ในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร

ต้องมีเงินเท่าไร

สำหรับชาวเกษียณที่มีงบประมาณจำกัดก็ไม่ต้องกังวลหากงบประมาณการใช้จ่ายต่อเดือนที่ตั้งไว้ไม่อยากให้เกิน 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพราะประชากรไทยโดยทั่วไปเองก็มีค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพเฉลี่ยแล้วต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือน้อยกว่า 30,000 บาทต่อเดือน แต่นั่นจะหมายความว่าคุณจะต้องอาศัยอยู่ในอะพาร์ตเมนต์ขนาดเล็ก กินแต่อาหารธรรมดา ไม่ได้ออกไปท่องเที่ยว ไม่มีเงินพอสำหรับค่าใช้จ่ายทางสุขภาพและงดการเข้าถึงความบันเทิงทุกชนิด ในทางตรงกันข้ามชาวเกษียณคนไหนที่ติดนิสัยใช้จ่ายอย่างสบายตัว การมีเงินต่อเดือนสัก 5,000 ดอลลาร์หรือว่าราวๆ 150,000 บาทก็ถือว่าเพียงพอต่อการใช้ชีวิตในประเทศไทยได้อย่างสุขสบาย

 

อย่างไรก็ตามหากใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 1,500 ดอลลาร์สหรัฐหรือ 45,000 บาทต่อเดือน การมีงบประมาณ 200,000 ดอลลาร์ก็เพียงพอต่อการใช้ชีวิตไปได้ถึง 11 ปีหลังเกษียณ และนอกจากเงินที่ต้องสะสมไว้ใช้แล้ว 9 ใน 10 ของชาวอเมริกันยังได้สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมโดยเฉลี่ย 38% ของเงินเดือนเมื่อครั้งยังอยู่ในวัยทำงาน ชาวเกษียณจะมีรายรับเพิ่มอีกเฉลี่ยคนละ 1,341 ดอลลาร์สหรัฐ(ข้อมูลปี 2016) ซึ่งใกล้เคียงกับวงเงิน 45,000 บาทต่อเดือนสำหรับใช้ชีวิตในประเทศไทยได้อย่างไม่ขัดสน ในขณะที่คนไทยได้รับเงินบำนาญจากประกันสังคมสูงสุดอยู่ที่ 3,000 บาทต่อเดือน

 

การรักษาพยาบาล

ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพและค่ารักษาพยาบาลในไทยถือว่าอยู่ในอัตราที่ต่ำสำหรับชาวต่างชาติ จึงไม่แปลกที่การเตรียมพร้อมงบประมาณในส่วนนี้มักถูกมองข้ามไป ชาวเกษียณมีแนวโน้มที่จะใช้เงินเก็บของตนเองในการใช้จ่ายให้แก่เหตุการณ์ไม่คาดฝันมากกว่าลงทุนซื้อประกันทางอุบัติเหตุและสุขภาพ เพราะอย่าลืมว่าการเริ่มทำประกันในกลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมีค่าใช้จ่ายสูง

การจัดหาที่อยู่อาศัย

เช่นเดียวกับในหลายๆ พื้นที่ ทำเลคือปัจจัยสำคัญต่อราคาค่าเช่าที่พักอาศัย จากฐานข้อมูล Numbeo พบว่าราคาค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนของอะพาร์ตเมนต์หนึ่งห้องนอนในย่านใจกลางเมืองอยู่ที่ 331 ดอลาร์สหรัฐ หรือราวๆ หนึ่งหมื่นบาท หากเลือกอยู่ย่านชานเมืองที่ห่างไกลออกไปราคาก็ถูกลงไปเป็น 195 ดอลลาร์สหรัฐหรือราวหกพันบาท

ชาวต่างชาติไม่ได้รับการอนุญาตให้ถือครองที่ดินในประเทศไทย แต่สามารถทำการซื้อเป็นยูนิตได้ในอะพาร์ตเมนต์หรือคอนโดที่มีคนไทยเป็นเจ้าของเกินกว่า 51% ราคาค่าเฉลี่ยต่อตารางฟุตในพื้นที่ใจกลางเมืองอยู่ที่ 222 ดอลลาร์ และ 137 ดอลลาร์ในเขตนอกเมือง

ใช้เงินดอลลาร์ให้ถูกวิธี

วิธีที่จะใช้เงินดอลลาร์ในวัยชราที่เหลืออยู่ให้ยาวนานที่สุดนั่นคือการ ‘อยู่อย่างคนพื้นที่’ ส่วนวิธีที่จะผลาญเงินให้หมดไปได้เร็วที่สุดก็คือการเอาเงินไปลงขวดเหล้าและเดินเข้าร้านอาหารนานาชาติเป็นว่าเล่น ทั้งสองสิ่งนี้มีราคาแพงมากในประเทศไทย การรู้จักเสาะหาว่าคนในพื้นที่กินอะไร ซื้อของที่ไหน ไปผ่อนคลายและแสวงหาความบันเทิงในย่านใด จะช่วยให้คุณได้รับสินค้าและบริการในราคาคนท้องถิ่นแทนที่จะเป็นราคานักท่องเที่ยว และมีเงินเหลือเก็บไว้ใช้จนช่วงสุดท้ายของชีวิต

หากคุณผู้อ่านเคยมีประสบการณ์บริการลูกค้าชาวต่างชาติวัยเกษียณอยากให้เล่าประสบการณ์กันหน่อย แบ่งปันกันได้ที่ด้านล่าง และแชร์บทความนี้ให้เพื่อนๆ ที่อยู่ในวงการเดียวกับธุรกิจของคุณ และท้ายสุดอยากให้คลิกติดตามเพจของเรา https://www.facebook.com/propholic2014/

 

แหล่งข้อมูล

https://www.investopedia.com/articles/personal-finance/041015/how-much-money-do-you-need-retire-thailand.asp
https://www.investopedia.com/articles/personal-finance/042815/retire-thailand-200000-savings.asp

https://money.kapook.com/view197343.html

Propholic EditorialTeam

เราคือทีมสร้างสรรค์เนื้อหาคุณภาพจาก Propholic.com มุ่งมั่นตั้งใจนำเสนอความรู้และข่าวสารในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่ครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งหวังขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

เว็บไซต์

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

นาวว์ เมกา

หากจะพูดถึง NOWW MEGA (นาวว์ เมกา) ในพื้นที่ของ Maga...

14 November, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง