เรื่องราวเบื้องหลังอันไม่น่าเชื่อ ของตึกระฟ้าสุดแปลกที่ถูกสร้างขึ้นมาแล้วจริงๆ

เกริก บุณยโยธิน 16 March, 2017 at 14.42 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


มนุษย์เรานั้นมีความพยายามที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างสูงใหญ่เพื่อจะไปถึงให้สวรรค์ชั้นฟ้า จากพีระมิดที่ทำด้วยหินจนถึงตึกระฟ้าที่ทำด้วยเหล็ก นักออกแบบที่ประสบความสำเร็จของแต่ละยุคสมัยล้วนมีแนวคิดใหม่ๆ ที่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคของงานทางด้านสถาปัตยกรรม อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นงานจากหินหรืองานเหล็ก ทั้งหมดล้วนแสดงให้เห็นถึงการใช้วัสดุอุปกรณ์และแรงงานจำนวนมหาศาล ยิ่งชิ้นงานซับซ้อนมากเท่าไร ความเสี่ยงที่งานจะล้มเหลวก็มากขึ้นเท่านั้น

Ryugyong Hotel / Baikdoosan Architects

 เครดิตภาพ:  wikipedia.org

 

คำแถลงของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี หรือประเทศเกาหลีเหนือ ได้กล่าวถึงโรงแรม Ryugyong ที่กำลังจะถูกสร้างขึ้นว่ามันจะกลายโรงแรมที่สูงที่สุดในโลก การก่อสร้างเริ่มขึ้นในปี 1987 พร้อมๆ กับคำถามถึงสาเหตุของการก่อสร้างโรงแรมแห่งนี้ บ้างก็เชื่อว่าเป็นการตอบโต้ผู้สร้างชาวเกาหลีใต้ที่ประสบความสำเร็จในการก่อสร้างโรงแรมขนาดใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ บ้างก็เชื่อว่าเป็นการแสดงตอบโต้ที่ประเทศเกาหลีใต้ได้ถูกเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาวปี 1988 แต่ไม่ว่าเบื้องหลังของแรงบันดาลใจในการก่อสร้างจะเป็นอะไร โรงแรม Ryugyong ก็ได้ถูกออกแบบอย่างน่าประทับใจ

โรงแรม Ryugyong ประกอบไปด้วยสามอาคารย่อย ที่ยื่นออกมาจากอาคารหลักตรงกลาง แต่ละอาคารทำมุม 75 องศาและมาประกบกันที่จุดยอดจนได้เป็นรูปทรงกรวย จำนวนชั้นทั้งหมด 105 ชั้นประกอบไปด้วยร้านอาหารและห้องพักไม่ต่ำกว่า 3,000 ห้อง ตัวอาคารที่สร้างด้วยคอนกรีตถูกสร้างเสร็จก่อนที่จะเกิดการล่มสลายของสหภาพโซเวียต  ผู้สนับสนุนเงินรายใหญ่ของเกาหลีเหนือในเวลาไม่นาน ในช่วงปี 1991 ผลกระทบด้านการเงินที่เกิดขึ้นทำให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง จนทำให้มีผู้คนต้องประสบปัญหาขาดแคลนอาหารประมาณ 1 ล้านคน และทำให้การก่อสร้างโรงแรม Ryugyong ต้องหยุดชะงักลงในปี 1992 หลังจากนั้นยี่สิบปี รัฐบาลเกาหลีเหนือก็ได้ใช้ความพยายามอย่างมากในการทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นหลักฐานชิ้นโตที่ตั้งตระหง่านในกรุงเปียงยางชิ้นนี้

 

แม้จะมีการอ้างว่าคอนกรีตคุณภาพต่ำและการก่อสร้างระบบลิฟท์โดยสารที่ผิดพลาดทำให้การก่อสร้างโรงแรม Ryugyong ไม่ประสบความสำเร็จ ในปี 2009 บริษัทด้านการสื่อสารคมนาคมสัญชาติอียิปต์ ได้ถูกว่าจ้างให้ทำการก่อสร้างต่อโดยจะได้รับค่าตอบแทนคือสามารถเข้ามาวางระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเกาหลีเหนือได้ หลังจากนั้นไม่กี่ปีโครงร่างคอนกรีตของตัวโรงแรมก็ได้รับการแก้ไขให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปูทับด้วยกระจกสะท้อนแสง จนได้ลักษณะภายนอกที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตามในปี 2013 ปัญหาความตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทดลองอาวุธนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือทำให้ผู้เข้ามาลงทุนได้ถอนตัวออกไป และนั่นเป็นอีกครั้งที่โรงแรม Ryugyong กลับเข้าสู่ภาวะมองไม่เห็นอนาคต

John Hancock Tower / Henry Cobb, I.M. Pei & Partners

เครดิตภาพ: By Tim Sackton – Flickr: John Hancock Tower, Blue Hour

 

ด้วยกระจกสะท้อนแสงสีฟ้าที่แทบจะกลืนไปกับท้องฟ้าในวันฟ้าโปร่ง อาคาร John Hancock ถูกออกแบบมาให้ดูไม่สะดุดตาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้สำหรับตึกสูงระฟ้า เพื่อที่จะไม่ไปบดบังโบสถ์ Trinity ซึ่งเป็นโบสถ์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในบอสตันที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกัน น่าเสียดายที่ความตั้งใจอันดีนี้ถูกทำลายลงเนื่องจากปัญหาด้านการก่อสร้าง ซึ่งจุดที่แย่ที่สุดคือปัญหาเกี่ยวกับหน้าต่างกระจกขนาดใหญ่ที่ร่วงตกลงมาบนพื้นถนนอยู่เป็นระยะ

 

ปัจจุบันอาคาร Hancock เป็นตึกที่สูงที่สุดในบอสตัน โดยในอดีตนั้นมันถูกมองว่าเป็นการตอบโต้ของบริษัท John Hancock ต่อออฟฟิศ 52 ชั้นของ Prudential บริษัทคู่แข่งของ John Hancock ในตอนที่บริษัทได้เลือก Copley Square ให้เป็นที่ก่อสร้างอาคาร Hancock นั้น ได้มีการต่อต้านจากผู้คนที่อยู่อาศัยในละแวกนั้นเนื่องจากเกรงว่าอาคารแห่งใหม่นี้จะไปบดบังสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างโบสถ์ Trinity ดังนั้นสถาปนิกผู้ดูแลการก่อสร้างอย่าง  Henry Cobb จึงได้เลือกใช้แผ่นกระจกรูปสี่เหลี่ยงคางหมูชั้นเดียว และออกแบบอาคารให้มุมต่างๆ ไม่ไปบดบังตัวโบสถ์ โดยกระจกนั้นจะไม่สร้างความโดดเด่นให้กับตัวอาคารแต่จะสะท้อนให้เห็นสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ที่อยู่โดยรอบแทน

 

น่าเสียดายที่ความน่าเชื่อถือของอาคาร Hancock นั้นถูกทำลายลงเนื่องความผิดพลาดในการคำนวณระหว่างขั้นตอนก่อสร้าง การขุดเพื่อติดตั้งเสาหลักทำให้เกิดปัญหาดินทรุดตัว ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับสิ่งก่อสร้างโดยรอบ และในปี 1975 คำเตือนถึงความเสี่ยงในการเกิดอาคารถล่มเนื่องจากสภาพอากาศอันมีสาเหตุมาจากการเพิ่ม cross-braces เข้าไปในตัวโครงสร้างของอาคารทำให้การก่อสร้างต้องชะลอตัวลง  นอกจากนี้ตัวอาคารยังมีชื่อเสียงในแง่ลบเกี่ยวกับบานหน้าต่างที่ยื่นเลยออกมาจากขอบ และทำให้มีเศษกระจกตกลงมาที่ทางเดินเท้าและบนถนน และทำให้ต้องเปลี่ยนซ่อมด้านหน้าของอาคาร อย่างไรก็ตามเมื่อปัญหานี้ถูกแก้ไข การออกแบบอาคารของ Cobb ก็ยังคงถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย และอาคาร Hancock ก็ยังคงโดดเด่นอยู่บนฟ้าของบอสตัน

F&F Tower / Pinzon Lozano & Asociados Arquitectos

         

เครดิตภาพ:  https://es.wikipedia.org

 

รูปร่างก้นหอยหรือทรงเกลียวของอาคาร F&F Tower ในเมืองปานามา มีจุดเริ่มต้นจากการทดลองทางทฤษฎีในออฟฟิศของ  Pinzon Lozano & Asociados Arquitectos และถึงแม้จะไม่ได้มีความตั้งใจที่จะก่อสร้างขึ้นจริงๆ แต่รูปแบบของอาคารก็ไปเตะตาลูกค้าของบริษัทที่มีศักยภาพพอที่จะทำความร่วมมือกับ Pinzon Lozano เพื่อจะสร้างอาคารออกมา โดยผลลัพธ์ที่คาดหวังคืออาคาร 52 ชั้น ที่บิดเป็นเกลียวรอบๆ แกนกลางที่สร้างจากคอนกรีต และการจัดวางตำแหน่งที่หลักหลั่นกันไปนี้ก็จะทำให้มีระเบียงเล็กๆ ของออฟฟิศจำนวน 4 ระเบียงในแต่ละชั้น ชั้นที่สูงที่สุดของอาคารจะมีขนาดเล็กเพื่อหดเข้าหาจุดยอดของตัวอาคาร

 

การออกแบบอันน่าตื่นใจนี้มีข้อจำกัดอยู่สองข้อใหญ่ๆ หนึ่งคือพื้นที่ก่อสร้างที่มี่ขนาดค่อนข้างเล็ก และรายล้อมด้วยธนาคาร และสองคืองบประมาณจำนวน 50 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ สถานีน้ำมันที่อยู่ใกล้เคียงที่มีตาน้ำอยู่ใต้ดินจะต้องได้รับค่าชดเชยจากบริษัท และการก่อสร้างก็มีสาเหตุที่ทำให้ช้าลง แต่ถึงแม้จะพบปัญหามากมายแต่อาคารก็ถูกสร้างสำเร็จในปี 2012

 

ด้วยความสูง 233 เมตร (764 ฟุต) อาคาร  F&F เป็นอาคารสูงเพียงไม่กี่อาคารในเมืองปานามาที่ถูกสร้างขึ้นในรอบหลายปี โดยปานามานั้นมีจำนวนตึกสูงเท่าๆ กับจำนวนตึกสูงในเมืองปูซาน ประเทศเกาหลีที่มีการสร้างตึกระฟ้ามากที่สุดในปี 2012 อย่างไรก็ตามการก่อสร้างที่เพิ่มมากขึ้นนี้ไม่ได้สอดคล้องไปกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ นั่นจึงเป็นผลให้จำนวนออฟฟิศที่ถูกสร้างขึ้นใหม่มีจำนวนเกิดความต้องการและค่าเช่าก็ถูกลง อาคาร F&F ก็ได้รับผลกระทบนี้ไปด้วยเช่นกัน อีกทั้งปัญหาเรื่องจำนวนลิฟต์โดยสารที่น้อยเกินไป ทำให้อาคารที่แม้จะมีการออกแบบอันน่าตื่นใจนี้ ไม่ประสบความสำเร็จในเชิงธุรกิจเท่าที่ควร

Tour Montparnasse / Cabinet Saubot-Jullien, Eugène Élie Beaudouin, Louis-Gabriel de Hoÿm de Marien, Urbain Cassan, A. Epstein and Sons International

         

ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นอาคารขนาดเล็กในใจกลางปารีส นั่นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะไม่มีใครสังเกตเห็นความแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นอย่าง Tour Montparnasse นับตั้งแต่ที่มีการยืนแบบร่างในปี 1959 ก็มีการต่อต้านด้วยเกรงว่ารูปแบบอาคารนั้นจะไม่สอดคล้องกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ที่อยู่โดยรอบ การก่อสร้างนั้นได้ถูกปฏิเสธมาตลอดเก้าปีเต็ม แต่ด้วยการสนับสนุนจาก Georges Pompidou ประธานาธิบดีในขณะนั้น (ผู้เป็นแฟนงานด้านสถาปัตยกรรม) อาคารจึงได้ถูกสร้างขึ้นด้วยความเร็วหกชั้นต่อเดือน และสำเร็จลงในปี 1973 นับเป็นเวลากว่าสิบปีหลังจากที่มีการเสนอให้สร้างครั้งแรก

เครดิตภาพ: https://commons.wikimedia.org

 

ด้วยความสูง 210 เมตร (689 ฟุต) Tour Montparnasse ได้ถูกจัดว่าเป็นตึกระฟ้าที่สูงที่สุดในยุโรปเป็นเวลาเกือบยี่สิบปี มันเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงเป็นอันดับสองในปารีส รองจากหอไอเฟล ที่มีความสูง 324 เมตร (1063 ฟุต) และถึงแม้พื้นที่ส่วนใหญ่ของอาคารจะเป็นออฟฟิศ สำนักงาน แต่ก็มีการแบ่งพื้นที่บางส่วนสำหรับบุคคลทั่วไป ซึ่งนั่นก็คือ Le Ciel de Paris ร้านอาหารที่สูงที่สุดในเมืองที่ดาดฟ้าชั้น 56 โดยจะสามารถมองเห็นวิวของไอเฟลได้อย่างชัดเจน และได้รับการกล่าวขานว่าเป็นจุดชมวิวที่ดีที่สุดของปารีส โดยจะสามารถมองเห็นได้ทุกอย่างยกเว้นตัวอาคารเอง

 

หลังจากอาคารถูกสร้างเสร็จหน่วยงานปกครองของเมืองก็ได้ออกกฎหมายห้ามก่อสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 7 ชั้น  โดยกฎหมายนี้ถูกตราขึ้นเพื่อสนองความต้องการประชาชน และเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะไม่มีตึกสูงใดๆ ที่จะถูกสร้างขึ้นเกินกว่าตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ถือครองกรรมสิทธิ์  Tour Montparnasse ได้มีการร้องเรียนต่อศาลเพื่อจะทำการปรับปรุงอาคาร โดยการเคลื่อนย้ายหินอ่อนออกและทำการปรับปรุงด้านหน้าของอาคารใหม่เพื่อให้มีความทันสมัยและเป็นที่ยอมรับของชาวปารีสมากขึ้น

CCTV Headquarters / OMA (Rem Koolhaas and Ole Scheeren)

         

ในปี 2002 Rem Koolhaas ได้ถูกบังคับให้ทำการติดสินใจระหว่างทุ่มเทดูแลการสร้าง World Trade Center แห่งใหม่ในนิวยอร์กกับการสร้างสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของ CCTV (สถานีโทรทัศน์ของประเทศจีน) ในปักกิ่ง ข้อขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในนิวยอร์กทำให้ Koolhaas รู้สึกว่าสภาพบรรยากาศเช่นนี้จะไม่สามารถทำให้เขาออกแบบสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าที่แท้จริงได้ เขาจึงเลือกหันไปมองที่ปักกิ่ง อย่างไรก็ตาม ปัญหาทางการเมืองก็ได้ตามเขาไปด้วย และ Koolhaas ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงการออกแบบอนุสาวรีย์ที่หลายคนมองว่าเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลจีน

เครดิตภาพ: http://oma.eu/projects/cctv-headquarters

 

แทนที่จะจมอยู่กับปัญหา Koolhaas และเพื่อร่วมงานของเขา Ole Scheeren มีแผนการที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงมากกว่าเดิม นั่นก็คือ “skyscraper in a loop” (อ้างอิงจาก OMA) หรืออาคารสองอาคารบนสตูดิโอบล็อคที่มีทางเชื่อมระหว่างอาคารอยู่ด้านบน โครงร่างของมันทำให้การสร้างเสาหลักตามรูปแบบเดิมๆ นั้นเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากประกอบด้วยแท่งเหล็กที่วางขวางกันไปมาตามแนวเส้นทแยงมุม โดยพื้นที่ที่ต้องรับน้ำหนักมาจะถูกรองรับโดยแท่งเหล็กที่มีความหนากว่าส่วนอื่นๆ ขั้นตอนการก่อสร้างเชื่อมอาคารสองอาคารนั้นจะต้องทำในตอนเช้าเพื่อลดผลกระทบจากอุณหภูมิที่จะส่งผลถึงการจัดวาง

 

การก่อสร้างนั้นถูกทำให้ช้าลงเนื่องจากการเกิดเพลิงไหม้โดยมีสาเหตุจากการแสดงพลุที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวอาคารและบ้านเรือนใกล้เคียง และทำให้มีผู้คนติดค้างอยู่ในที่เกิดเหตุจำนวน 20 คน รวมถึงผู้จัดการโปรเจ็กต์ หลังจากนั้น นักวิจารณ์ชาวจีนก็ได้ออกมาอ้างว่ารูปแบบสำนักงานใหญ่ของ CCTV ที่กำลังก่อสร้างนั้นอ้างอิงมากจากรูปลามกของผู้หญิงที่ก้มโค้งโดยคุกเข่าและวางมือสองข้างบนพื้น และทำให้เกิดความเสียหายทางภาพลักษณ์เป็นอย่างมากจน Koolhaas ต้องออกมาให้แถลงข่าวปฏิเสธ ถึงแม้จะเกิดปัญหาและข้อขัดข้องมากมายแต่สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของ CCTV นี้ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของปักกิ่ง เป็นสัญลักษณ์ของความทันสมัยในเมืองที่เป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

Chrysler Building / William Van Alen

         

ในช่วงใกล้จะสิ้นสุดทศวรรษที่ 1920 Walter Chrysler เจ้าของและผู้ก่อตั้ง Chrysler Motors Corporation ได้เข้าพบสถาปนิก William Van Alen เพื่อให้ช่วยออกแบบสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ในแมนฮัตตัน (นิวยอร์ก) โดยมีเงื่อนไขง่ายๆ คือ อาคารแห่งใหม่นี้ต้องมีความสูงมากกว่าหอไอเฟล ซึ่งในขณะนั้นจัดเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีความสูงมากที่สุดในโลกมาเป็นเวลาเกือบ 40 ปีแล้ว ผลจากความต้องการของ Chrysler คือตึกระฟ้า Art Deco ที่ส่วนยอดทำมาจากเหล็กที่ส่องประกายเป็นมันวาว หน้าต่างแบบ sunburst ละการตกแต่งที่เน้นไปที่วิศวกรรมยานยนต์ ซึ่งได้รับการขนานนามว่า “Roaring Twenties”

เครดิตภาพ: https://th.wikipedia.org/wiki

 

ก่อนที่จะเริ่มทำการก่อสร้างอาคาร Chrysler Van Alen พบว่าคู่แข่งของเขา H. Craig Severance ได้เริ่มการสร้างตึกที่ 40 Wall Street downtown ซึ่งคาดว่าจะเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก สิ่งที่ตามมาคือการเปลี่ยนแปลงโครงร่างมากมายเพื่อที่จะเอาชนะคู่แข่งให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขนาด การสร้างเพ้นท์เฮ้าส์ในตัวอาคาร หรือการสร้างเสาธงความสูง 50 ฟุต (15 เมตร) ที่ยอดตึกเพื่อให้ได้มาซึ่งการขนานนามว่าตึกที่สูงที่สุดในโลก เมื่อตึกที่ 40 Wall Street สร้างเสร็จ Severance และคนทั่วโลกต่างก็เชื่อว่ามันคือผู้ชนะการแข่งขันครั้งนี้

 

อย่างไรก็ตาม Van Alen ก็มีไม้เด็ดซ่อนไว้ หรืออันที่จริง มันถูกซ่อนไว้ในยอดของตัวอาคาร Severance และบุคคลทั่วไปต่างไม่รู้ว่ามีการสร้างยอดอีกยอดหนึ่งในส่วนของยอดที่ทำจากเหล็กของอาคาร Chrysler มันถูกปิดเป็นความลับจนกระทั่ง 40 Wall Street ได้ความสูงที่แน่นอน ในตอนนั้นเองที่ยอดอีกอันที่มีความสูง 185 ฟุต (56 เมตร) ที่ถูกเก็บซ่อนไว้ได้ปรากฏขึ้น ทำให้อาคารมีความสูงทั้งหมด 1048 ฟุต (319 เมตร) และได้รับการขานนามว่าเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามอาคาร Chrysler ครองตำแหน่งนี้ไวได้เพียงแค่ 11 เดือนเท่านั้น ก่อนที่จะพ่ายแพ้ให้กับตึก Empire State ปัจจุบันยอดอาคารที่เคยถูกปิดเป็นความลับนี้ยังคงถูกมองว่าเป็นหนึ่งในงานระดับมาสเตอร์พีซที่ดีที่สุดของ Art Deco

Cayan Tower / Skidmore, Owings & Merrill (SOM)

         

หลังจากได้ออกแบบตึกที่สูงที่สุดในโลกในดูไบ SOM ได้รับมอบหมายให้ออกแบบอาคารรูปทรงเกลียวที่มีความสูงมากที่สุดในโลกในเมืองเดียวกัน อาคารนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะเดียวกันกับ Turning Torso ในประเทศสวีเดน เจ้าของตำแหน่งอาคารรูปทรงเกลียวที่มีความสูงมากที่สุดในโลกก่อนหน้านี้ โดย อาคาร Cayan จะบิดหมุน 90 องศาจากชั้นล่างสุดไปจนถึงชั้นบนสุด โดยทางเข้าจะหันไปทาง Dubai Marina ชั้นบนของอาคารจะสามารถมองเห็นอ่าวเปอร์เซียได้ พื้นของอาคาร Cayan จะมีขนาดใหญ่กว่าพื้นของตึกในประเทศสวีเดน และทำให้โครงสร้างอาคารทั้งหมดต้องมีการบิดหมุนทำมุม 1.2 องศาระหว่างแต่ละชั้นของอาคาร

เครดิตภาพ: http://www.som.com

 

แต่แรกนั้นอาคารหลังนี้จะถูกตั้งชื่อว่า Infinity แต่ก็มีการเปลี่ยนภายหลังเนื่องจากไปซ้ำกับชื่อของอาคารอื่นๆ Cayan เป็นชื่อที่ถูกเลือกขึ้นมาใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับความโดดเด่นของตัวอาคารที่ไม่เหมือนใคร ผู้พัฒนาอาคารได้กล่าวว่าพวกเขาจะไม่ใช้โครงร่างของอาคาร Cayan กับโปรเจ็กต์อื่นๆ อีก แสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทในการรักษาความแปลกใหม่นี้ไว้ดังชื่อของตัวอาคาร

 

ความผิดพลาดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 2007 เกือบจะทำให้การสร้างอาคาร Cayan ต้องล้มเลิกไป แรงงานประมาณ 100 คน กำลังทำการขุดเจาะเพื่อลงเสาเข็มก่อนที่จะเกิดเสียงดังสนั่นขึ้น หลังจากนั้นไม่นาน ทรายก็มีการเคลื่อนตัวลงไปในหลุมที่ทำการขุดเจาะ คนงานได้รับคำสั่งให้ทำการอพยพจากบริเวณก่อสร้าง โดยสิ่งที่เกิดขึ้นคือกำแพงอ่างเก็บน้ำได้พังลงทำให้มีน้ำทะเลไหลเข้าท่วมบริเวณที่ทำการก่อสร้าง เป็นโชคดีที่ไม่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น แม้การก่อสร้างจะต้องใช้เวลาถึงเจ็ดปีเต็มเนื่องจากความล่าช้าอันเป็นผลจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่มีความผิดพลาดอื่นๆ เกิดขึ้นตั้งแต่ทำการเปิดอาคารในปี 2013 และตัวอาคารก็ยังได้รับรางวัลอันดับที่สี่ในงาน Emporis Skyscraper Awards อีกด้วย

Citigroup Center / Hugh Stubbins and William LeMessurier

         

ถึงแม้ดาดฟ้าที่ทำมุม 45 องศาของ Citigroup Center จะโดดเด่นเป็นสง่าบนเส้นขอบฟ้าของแมนฮัตตัน แต่ฐานของมันคือเสาค้ำจำนวนเก้าเสาที่ทำให้อาคารหลังนี้แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร แทนที่จะช่วยค้ำยันในส่วนมุมของอาคาร เสาขนาดใหญ่เหล่านี้กลับตั้งอยู่ตรงกลางของแต่ละตึก จำนวนทั้งหมด 4 ตึก ทำให้ชั้นบนเป็นคานยื่นออกมาเหนือโบสถ์ที่ตั้งอยู่บริเวณมุมอาคาร การวางเหล็กในลักษณะรูปตัววีกลับหัวนี้ทำให้น้ำหนักทั้งหมดถูกถ่ายมาที่ตอม่อและลงไปในพื้นดิน นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งเครื่องลดการสั่นสะเทือนในชั้นบนของตัวอาคารเป็นครั้งแรกของโลก เพื่อลดการเคลื่อนที่ของตัวอาคารเนื่องจากลม

เครดิตภาพ: Amar.raavi at the English language Wikipedia

 

หลังจากสร้างเสร็จสิ้นในปี 1977 นักศึกษาสถาปัตยกรรม Diane Hartley ได้ติดต่อไปยังออฟฟิศของ William LeMessurier วิศวกรผู้ออกแบบอาคาร โดยการคำนวณของเธอชี้ให้เห็นว่าแม้ตัวอาคารจะสามารถทนต่อแรงลมได้ในทุกพื้นที่หน้าตัด แต่หากมีลมความแรงสูงเข้ากระทบพื้นที่หน้าตัดสองหน้าที่อยู่ในแนวทแยงซึ่งกันและกันก็จะเกิดความเสี่ยงอย่างมาก หลังจากยืนยันกับ Hartley ว่าตัวอาคารมีความพร้อมในการรับมือสถานการณ์ดังกล่าว LeMessurie ก็ได้กลับไปพิจารณาคำพูดของ Hartley และพบว่าที่เธอพูดนั้นเป็นเรื่องจริง พายุที่มีความสามารถในการทำลายตัวอาคารได้จะเกิดขึ้นในนิวยอร์กทุก 55 ปี ที่แย่ยิ่งไปกว่านั้น ความเสี่ยงที่จะเกิดการขัดข้องของระบบไฟฟ้าที่จะทำให้เครื่องลดการสั่นสะเทือนทำงานขัดข้องนั้นคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นทุก 16 ปี

 

LeMessurier ได้นำข้อมูลนี้เสนอแก่ Citigroup และเสนอให้มีการแก้ไขปรับปรุงอาคารอย่างลับๆ ก่อนที่พายุจะพัดทำลายตัวอาคารและสิ่งก่อสร้างโดยรอบ การประท้วงหยุดงานของบริษัทผู้ผลิตหนังสือพิมพ์ทำให้เรื่องง่ายขึ้น โดยคนงานจะเข้าไปทำการซ่อมแซมปรับปรุงอาคารในช่วงเวลากลางคืน มีการวางแผนรับมือสถานการณ์ล่วงหน้าร่วมกับ NYPD และกาชาด และเกือบจะได้นำแผนที่ว่ามาใช้ในปี 1978 เมื่อเฮอร์ริเคน Ella เคลื่อนตัวมายังนิวยอร์ก เป็นโชคดีที่พายุนั้นมาไม่ถึง และ  Citigroup Center ก็ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนสำเร็จลุล่วงก่อนที่หายนะจะเกิดขึ้น เรื่องราวนี้ถูกนำมายกตัวอย่างให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพและการมีจริยธรรม ซึ่งเป็นผลจากความเด็ดเดี่ยวและรวดเร็วในการแก้ปัญหาของ LeMessurier ที่ยอมนำความน่าเชื่อถือของตนมาเสี่ยง และสำหรับวีรสตรีของเรื่องอย่าง Diane Hartley เธอยังคงไม่ทราบถึงผลของการโทรเข้าไปคุยกับ LeMessurier ในปี 1977 จนกระทั่งได้ยินเรื่องดังกล่าวผ่านทาง BBC documentary ในปี 2000

Torre Velasca / BBPR

         

Torre Velasca เป็นอาคารที่มีลักษณะพิเศษ โดยมันสามารถจะกลมกลืนและโดดเด่นได้ในเวลาเดียวกัน นอกเหนือจากโดมและหอคอยระฆังซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญทางประวัติศาสตร์ของมิลานแล้ว อาคารหลังนี้ก็เป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ควรมองข้าม จริงอยู่ที่มันถูกสร้างขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 ซึ่งอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้หลายคนเชื่อว่ามันถูกสร้างขึ้นในรูปแบบที่ทันสมัย แต่เมื่อเข้าไปดูใกล้ๆ แล้วจะพบว่าแท้จริงแล้วการออกแบบอาคาร Torre Velasca นั้นอ้างอิงตามรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่ของมิลาน

เครดิตภาพ: By Photo by CEphoto, Uwe Aranas

 

Torre Velasca คือหอสังเกตการณ์ขนาดใหญ่สไตล์ยุคกลาง ที่มีจุดเด่นคือ กำแพงหิน หน้าต่างขนาดเล็ก และหลังคาลาดเอียงที่ทำจากทองแดง ซึ่งทำให้นึกถึงยุคสงครามล่าอาณานิคมของอิตาลี การออกแบบในส่วนของชั้นบนของตัวอาคารให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่นั้นเลียนแบบมาจากสไตล์โกธิคที่ในขณะนั้นมีอิทธิพลอย่างสูงต่อสถาปัตยกรรมของมิลาน และสามารถมองเห็นเสาที่ค้ำยันในส่วนของชั้นบนของตัวอาคารได้อย่างชัดเจน

 

การผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมอันเก่าแก่และล้ำสมัยแทนที่จะทำให้เหมือนรูปแบบในอดีตทั่วไปนี้ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1950 มีการออกมาเคลื่อนไหวสนับสนุนรูปแบบสถาปัตยกรรมใหม่นี้ และทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมถูกลืมเลือน โดย Torre Velasca เป็นหนึ่งในหลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดที่เปลี่ยนไปของชาวมิลาน และมีการกล่าวอ้างจากสถาปนิกว่ารูปทรงอันแปลกประหลาดของ Torre Velasca นั้นถูกออกแบบเพื่อให้เอื้ออำนวยความสะดวกทั้งด้านการอยู่อาศัยและการค้า ปัจจุบันนี้ก็ยังมีข้อถกเถียงว่ารูปแบบของ Torre Velasca นั้นถูกออกแบบอ้างอิงตามความล้ำสมัย หรือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความไม่สมเหตุสมผลจนกระทั่งน่าเกลียด ไม่น่ามอง หรือมันถูกออกแบบอย่างชาญฉลาดโดยการนำรูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมมาตีความหมายใหม่กันแน่ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทุกคนคิดเหมือนกันคือ Torre Velasca นั้นมีความแปลกใหม่ไม่เหมือนใครจริงๆ

Robot Building / Sumet Jumsai

         

สถาปนิกชาวไทย สุเมธ ชุมสาย ได้ถูกกล่าวถึงอย่างมากในฐานะผู้ออกแบบอาคารทรงแปลกประหลาดในปี 1997 ตึกช้าง ผลงานของเขาได้รับการจัดอันดับว่าเป็นอาคารรูปช้างที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยสิบปีก่อนหน้านั้นเขาได้รับมอบหมายให้ออกแบบสำนักงานใหญ่ของ Bank of Asia และได้เขียนแบบร่างที่ดูคล้ายกับหุ่นยนต์ขนาดยักษ์ออกมา

 

แต่แรกแล้วนั้นตึกหุ่นยนต์นี้ดูเหมือนกล่องที่วางซ้อนกันเนื่องจากความล่าช้าในการสร้างและปัญหาด้านกฎหมาย สิ่งที่โดดเด่นที่สุดของตัวอาคารคือการประดับด้วยแท่งหลอดไฟหนึ่งคู่ที่เลียนแบบมาจากรูปทรงของงาช้าง เหล็กรูปวงกลมขนาดใหญ่ที่ติดไว้อยู่ด้านข้างของส่วนหน้าสุดของตัวอาคารที่ดูเหมือนสายฟ้า และกระจกทรงวงกลมหนึ่งคู่ที่เป็นเหมือนตาของหุ่นยนต์ซึ่งจะถูกเปิดปิดได้ด้วย ‘เปลือกตากันแดด’ โดยในส่วนของตานั้นถูกออกแบบให้สามารถกะพริบได้ตามจังหวะดนตรี ซึ่งในส่วนนี้ได้รับความร่วมมือจากนักแต่งเพลงชาวไทย Jacques Bekaert จนทำให้เกิดชื่อ “Robot Symphony”

 

รูปแบบของสำนักงานใหญ่ของ Bank of Asia นี้ได้แนวคิดมาจากของเล่นของบุตรชายของชุมสายเอง โดยสาเหตุที่เขาเลือกหุ่นยนต์นั้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในสถาบันการเงินในช่วงทศวรรษที่ 1980 และหุ่นยนต์ก็แสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรของเทคโนโลยีใหม่ๆ นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้นแล้ว เหตุผลอีกข้อที่ชุมสายเลือกใช้หุ่นยนต์เป็นแนวคิดในการออกแบบตัวอาคารนั้นเป็นความคิดของตัวเขาเองที่ต้องการจะแสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของ Postmodern style ที่กำลังจะเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเขาได้กล่าวถึงไว้ว่า “แทนที่โดยไม่เข้าไปแทนที่” ไม่มีผู้ใดแน่ใจว่าชุมสายจัดผลงานชิ้นนี้ของเขาอยู่ในหมวดศิลปะรูปแบบใด แต่ตึกหุ่นยนต์นี้ได้ถูกจัดเป็นหนึ่งในตึกระฟ้าที่แปลกใหม่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาอย่างไม่ต้องสงสัย

 

Source: http://www.archdaily.com/801233/unexpected-stories-behind-ten-built-skyscrapers

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง