ตามมาติดๆด้วย TOYOTA APM ที่จะช่วยโดยสารผู้ชมที่มาเชียร์ทีมชาติของตัวเองในงานให้ได้รับความสะดวกสบายอย่างทั่วถึงตลอดการแข่งขันที่มีดีไซน์โมเดิร์น เบาะนั่งสามารถพักเก็บได้เพื่อบริการผู้โดยสารที่ใช้รถเข็น Wheelchair ได้อีกหนึ่งคัน โดยรวมแล้วมีคุณสมบัติไม่แพ้กันกับ TOYOTA e-Palette “Tokyo 2020 Version” แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปจาก TOYOTA e-Palette “Tokyo 2020 Version” คือ TOYOTA APM ไม่มีระบบ Automated Driving System จึงจำเป็นต้องใช้คนขับรถทุกครั้ง บรรทุกผู้โดยสารได้น้อยกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง ใช้กำลังไฟน้อยกว่าจึงทำให้เคลื่อนตัวได้ช้าและใช้เดินทางระยะสั้นเท่านั้น
โมเดลรถรุ่น TOYOTA APM
ภาพด้านบนทั้งหมดจากจาก global.toyota/en/newsroom/corporate/28866860.html
ประเภทของรถยนต์
Toyota Concept-i (Tokyo 2020 version) ดาวเด่นของเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งนี้ อีกหนึ่งรถยนต์พลังงานสะอาดขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าด้วยคาแรคเตอร์โฉมใหม่ “ high-tech one-motion silhouette” เพียบพร้อมด้วยดีไซน์มินิมอลเก๋ๆในแบบฉบับญี่ปุ่นที่เรียบง่ายและโมเดิร์นยิ่งกว่า 2 คันที่ได้พูดถึงด่อนหน้านี้ซะอีก ด้วยการออกแบบให้เป็นรถไซด์มินิขนาดเล็กจึงทำให้การเคลื่อนตัวปราดเปรียว ด้วยดีไซน์สุดเท่ห์แบบนี้นี่แหละที่ทางเจ้าภาพจงใจให้มันกลายเป็นจุดสนใจของงานโอลิมปิกครั้งนี้ด้วยการ “ใช้เป็นรถนำขบวนมาราธอนเปิดงานครั้งสำคัญระดับนานาชาติให้ทั่วทั้งโลกได้จับตามองกัน”
ซีรีย์ของ Toyota Concept-I มีคอนเซปที่ชัดเจน ด้วยการให้ทุกรุ่นในซีรีย์นี้เป็นรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนอัตโนมัติได้(SAE Level 4*3)และฟังค์ชั่นที่น่าสนใจต่างๆ ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็น “ Agent conversation” ที่เป็นระบบที่พัฒนาอัจฉริยะให้ทำความเข้าใจมนุษย์ได้เพื่อให้ได้ช่วยเหลือมนุษย์อย่างเต็มที่ที่สุดให้สมกับที่จะกลายเป็น “ beloved cars” ที่แท้จริงของทุกคน
โมเดลรถรุ่น Toyota Concept-i (Tokyo 2020 version) ภายนอก
โมเดลรถรุ่น Toyota Concept-i (Tokyo 2020 version) ด้านหน้า
โมเดลรถรุ่น Toyota Concept-i (Tokyo 2020 version) ด้านหลัง
โมเดลรถรุ่น Toyota Concept-i (Tokyo 2020 version) ภายใน
โมเดลรถรุ่น Toyota Concept-i (Tokyo 2020 version) ภายใน
สังเกตว่าดีไซน์ภายในรถยนต์ใช้สีขาวเกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเบาะนั่ง หลังคา ประตูทั้งหมดและคอนโซลหน้ารถทำให้พื้นที่ดูแคบน้อยลงมาเมื่อใช้สีอ่อนที่ทำให้ผู้โดยสารรู้สึกว่ามันสบายตาขึ้น แล้วยังเพิ่มดีเทลสีทองข้างหลังเก้าอี้แถวหน้าทั้ง 2 อีกด้วยยิ่งเสริมให้รถดูดีมีราคาเพิ่มขึ้นไปอีก
ตารางข้อมูลทั่วไปรุ่น Toyota Concept-i (Tokyo 2020 version)
ภาพด้านบนทั้งหมดจาก global.toyota/en/newsroom/corporate/29232815.html
ประเภทอื่นๆ
TOYOTA Walking area BEVs คือ ซี่รีย์รถขนาดเที่ใช้ได้แค่คนเดียว ไม่สามารถมีผู้โดยสารมาเพิ่มเติมได้อีก ข้อดีของรถที่มีขนาดกระทัดรัดแบบนี้ทำให้ประหยัดพลังงานได้เพิ่มขึ้นมากกว่าทุกๆคันที่เราได้นำเสนอไป
คันแรกคันนี้อาจจะเรียกได้ว่าเป็น Scooter ที่ใช้ง่ายมากๆและยังคล่องตัวอีกด้วย แต่ความเร็วของมันก็คล้ายตอนที่เราวิ่งกันอย่างเร็วๆนี่แหละ จึงทำให้ไปได้แค่ระยะทางไม่ไกลมากนักและเหมาะสำหรับคนทั่วไปที่สามารถยืนได้ปกติ ซึ่งยานพาหนะนี้จะเป็นยานพาหนะหลักของเจ้าหน้าที่โอลิมปิกเพื่อให้ได้ดำเนินการอย่างคล่องตัวและสะดวกกว่าการเดินหรือวิ่งแบบเดิมๆเพื่อให้ดูแลและจัดงานให้ลุล่วงไปด้วยดี
โมเดลรถรุ่น TOYOTA Walking area BEVs (Standing Type)
คันที่ 2 นี้จะสบายกว่าคันแรก เพราะผู้ใช้รถสามารถนั่งได้ตลอดการเดินทาง ซึ่งก็คล้ายมอร์เตอร์ไซด์บ้านๆ แต่ที่เจ๋งกว่าคือมันใช้หลังงานสะอาดหรือพลังงานไฟฟ้านั่นเอง ไม่สามารถใช้น้ำมันเพื่อเป็นเชื้อเพลิงได้นะจ๊ะ แต่สามารถวิ่งยาวต่อเนื่องได้ถึง 10 กม. ซึ่งตัวเลขนี้ก็ไม่ใช้ถือว่าทำได้ยอดเยี่ยมเลยนะเมื่อเทียบกับความสะดวกสบายที่จะได้รับ คันนี้ใช้ได้ทั้งกลางแจ้งและในอาคารจึงทำให้สะดวกสบายเพิ่มขึ้นไปอีก แถมยังมีพื้นที่วางสัมภาระด้านล่างเก้าอีอีกด้วย แหม่ อะไรมันจะสบายและยังประหยัดทรัพยากรโลกได้ขนาดนี้เชียว
โมเดลรถรุ่น TOYOTA Walking area BEVs (Sitting Type)
ส่วนรุ่นสุดท้ายนี้ คือ รุ่นที่ออกแบบไว้เพื่ออำนวยความสะดวกเป็นพิเศษให้ผู้ใช้ Wheelchair เพื่อให้ทั่วถึงคนทุกกลุ่ม ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีผู้ช่วยมาคอยเข็นให้ในกรณีที่รถเข็น Wheelchair ไม่ใช่แบบไฟฟ้าที่คนที่นั่งจะบังคับเองได้ตามใจชอบ เมื่อเป็นแบบนี้ก็จำเป็นต้องใช้คัวช่วยอย่าง TOYOTA Walking area BEVs รุ่นพิเศษนี้ให้เป็นประโยชน์ในงานโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่โตเกียวได้แน่นอน แถมยังวิ่งได้สูงสุดถึง 20 กม. ซึ่งไกลกว่าทั้ง 2 รุ่นก่อนหน้าที่เล่าไปอีกด้วยนะ เจ๋งไม่เบาเลย
โมเดลรถรุ่น TOYOTA Walking area BEVs (Wheelchair-Link)
ตารางข้อมูลทั่วไป TOYOTA Walking area BEVs
ภาพด้านบนทั้งหมดจาก global.toyota/en/newsroom/corporate/29232815.html
สรุปโดยรวมแล้วรุ่น TOYOTA Walking area BEVs ทุกคันที่นำมาใช้ที่งานโอลิมปิกเกมส์ 2020 ที่กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ต้องใช้เวลาชาร์ตพลังงานฟ้าเฉลี่ย 2 ชม. เรียกว่าทำเวลาได้ดีมาก เมื่อเทียบกับระยะทางที่ทุกคันสามารถเดินทางได้ในระยะที่ยาวมากกว่า 10 กม. ทั้งนั้น ซึ่งก็คุ้มค่าและได้ทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว
เหรียญ Olympics และ Paralympics Tokyo 2020 ถูกรีไซเคิลจากขยะอิเล็กทรอนิกส์เกือบ 80,000 ตัน !
ประเทศญี่ปุ่นขึ้นชื่อว่า “ศูนย์กลางความไฮเทคของโลก” เพราะเทคโนโลยีของประเทศญี่ปุ่นเป็นที่รู้กันดีว่ามีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีจนเป็นที่โด่งดังไปทั่วโลก โดยเฉพาะเรื่องเครื่องมือสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือแบรดน์ญี่ปุ่นที่มีมากมายจนนับไม่ถ้วนรวมไปถึงการส่งออกไปขายสู้กับแบรนด์อื่นๆของต่างประเทศอีกด้วย แต่ข้อเสียอย่างหนึ่งของเทคโนโลยีเหล่านี้ก็คือมันต้องมีการอัพเกรดอยู่เสมอ จึงทำให้มีของตกรุ่นบ้างเป็นธรรมดา ยิ่งสมัยนี้ที่เทคโลโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจึงส่งผลให้มีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นตามกระแสค่านิยมของสังคมยุคใหม่ “ด้วยเหตุนี้จึงได้ปิ๊งไอเดียที่จะนำขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มา recycle เป็นเหรียญโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 โดยการเปิดรับบริจาคทั่วประเทศได้เกือบถึง 80,000 ตัน ภายในระยะเวลา 2 ปีเต็มเพื่อให้ได้จำนวนมากพอที่จะนำมาทำเหรียญโอลิมปิกและพาราลิมปิกประมาณ 5,000 เหรียญ ( Japan recycled nearly 80 , 000 tons of cell phones and other electronics to make the medals for the 2020 Tokyo Olympics and Paralympics by www.businessinsider.com)” ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ไม่ได้มีอะไรน่าแปลกใจ เพราะขยะประเภทนี้ก็เพิ่มขึ้นทุกวันอยู่แล้ว ดังนั้นหากได้นำมันกลับมา Recycle เพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างคุณค่าให้กับมันด้วยการเปลี่ยนเป็นเหรียญรางวัลอันทรวเกียรติแก่นักกีฬาผู้พากเพียรในการแข่งขันระดับโลกครั้งนี้
เหรียญโอลิมปิกเกมส์ โตเกียว 2020 ภาพจาก www.businessinsider.com/tokyo-2020-olympic-paralympic-medals-made-from-old-phones-gadgets-2019-7
ภาพบรรยากาศการรับริจาคขยะอิเล็กทรอนิกส์ ภาพจาก www.businessinsider.com/tokyo-2020-olympic-paralympic-medals-made-from-old-phones-gadgets-2019-7
คบเพลิงแห่งเกียรติยศ เรื่องราวนักล่าฝันและ “Path of Hope” ‘Hope Lights Our Way’
เรามาจบกันด้วยคบเพลิงแห่งความหวัง หรือ “Path of Hope” มาจากคอนเซป “Hope Lights Our Way” ที่ตัวแทนจากทั่วโลกจะได้ส่งกันให้ครบทุกประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันด้วยยอดคบเพลิงที่ดีไซน์คล้ายกลับอกซากุระด้านบน ช่างเป็นไอเดียที่เรียบง่าย โมเดิร์น แต่ยังคงอัตลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างสมศักดิ์ศรีที่ได้โอกาศเป็นเจ้าภาพครั้งนี้อย่างสมบูรณ์แบบ แถมยังเป็นการโปรโมทเทศของดีประเทศญี่ปุ่นเองอีกด้วย เรียกได้ว่าจัดครั้งเดียวก็กะโปรโมทให้ครบรอบด้านไปเลยไม่ว่าจะเป็นด้านนวัตกรรม ไอเดียสร้างสรรค์ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ความโมเดิร์นและเรียบง่ายแต่ใส่ใจรายละเอียดตามแบบฉบับสังคมญี่ปุ่นที่น่าชื่นชมออกสู่สายตานานชาติอย่างเต็มภาคภูมิ และยังคงคอนเซปเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเหมือนเดิม เพราะ “คบเพลิงทำจากขยะอลูมิเนียมที่ถูกนำมารีไซเคิลหลังจากผลกระทบแผ่นดินไหวทางฝั่งตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความสงบ โดยมีประมาณ 30% ของคบเพลิงโอลิมปิกที่ทำจากขยะอลูมิเนียม (Tokyo 2020 Olympic Torch Relay Emblem by tokyo2020.org/en/special/torch/olympic/design/ )”
คบเพลิงโอลิมปิกเกมส์ โตเกียว 2020
คบเพลิงโอลิมปิกเกมส์ โตเกียว 2020 มุมด้านบน
กราฟฟิกดอกซากุระที่ใช้เป็นแม่แบบคบเพลิง
ภาพทั้งหมดด้านบน จาก tokyo2020.org/en/special/torch/olympic/design/
Prop Alert: การดีไซน์คบเพลิงโอลิมปิกเกมส์ โตเกียว 2020 ครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทุกคนได้ถือมันไว้อย่างมั่นใจโดยไม่มีข้อกังขาเรื่องความแตกต่างทางเพศและอายุ
ตารางแสดงรายละเอียดคบเพลิงโอลิมปิกเกมส์ โตเกียว 2020 จาก tokyo2020.org/en/special/torch/olympic/design/
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถซื้อบัตรชมการแข่งขันได้ที่ https://www.jtbthailand.com/th/OlympicsTokyo2020/index.html
#OlympicsTokyo2020 #Olympic2020 #Toyota #ecocar2020 #Tokyo #Japan #savetheearth #greenenergy #globalwarming #ecotech2020 #recycle #OlympicMetal2020
Resources
www.tokyo2020.org
www.jnto.or.th
www.businessinsider.com