Hotel Industry Trend: Boutique กับ Budget มันต่างกันนะจ๊ะ

เกริก บุณยโยธิน 07 October, 2014 at 09.18 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


สวัสดีเดือนสุดท้ายของปี 2555 ครับ แหม…เขียนไปเขียนมา แปปเดียวก็ผ่านจะครบปีแล้วสิเนี่ย >> ผมต้องขอขอบคุณคุณผู้อ่านทุกท่านนะครับ ที่ติดตามคอลัมน์ของผมมาโดยตลอด ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมา มีคุณผู้อ่านหลายท่านทีเดียวครับที่ส่งอีเมลมาแนะนำเรื่องราว หรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการทำการตลาดอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนเขียนมาเพื่อคุยกันเฉยๆก็มีครับ ข้อความเหล่านี้ช่วยสร้างกำลังใจ + แรงบันดาลใจในการเขียนบทความของผมไม่ใช่น้อยเลยครับ เอาล่ะครับวันนี้อาจจะมาทักทายสายหน่อยเพราะว่าผมติดภารกิจต้องไปต่างประเทศ และเพิ่งกลับมาครับ…บทความสำหรับเดือนนี้ เนื่องจากเป็นเดือนธันวาคม = เดือนแห่งการท่องเที่ยว และก็เชื่อว่าหลายๆคนตอนนี้ก็คงลาหยุดยาวกันตลอดทั้งเดือนน่ะครับ >> ผมก็เลยถือโอกาสนี้พักเรื่องซีเรียสๆของตลาดคอนโดในบ้านเราไปก่อน และพาคุณผู้อ่านไปเปิดโลกของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอย่าง ธุรกิจโรงแรมมาฝากกันครับ (เนื่องจากผมไม่เคยทำงานอยู่สาย โรงแรมมาก่อนหากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยกูรูแล้วกันนะคร้าบบบ ^^)

ช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสอ่านข่าว เกี่ยวกับรายงานสถิติของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในเมืองไทยของทาง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ครับ โดยพบว่า “จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเที่ยวไทย 10 เดือนแรก ปีนี้ มีจำนวน 17.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 9.7% โดย 6 เดือนแรกภาคการท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศแล้ว 4.67 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
แนวโน้มภาวะแวดล้อมที่เกื้อหนุน การท่องเที่ยว รวมถึงการเข้าสู่ฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปี คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ภาครัฐได้ตั้งเอาไว้ในปีนี้ จำนวน 20.5 ล้านคน ส่วนแนวโน้มปีหน้าคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวมีประมาณ 22.5 ล้านคน

 

โดยปีนี้คาดว่าภาคการท่องเที่ยวจะมีรายได้ ประมาณ 9.2 แสนล้านบาท เป็นรายได้ของธุรกิจโรงแรมและที่พัก 2.8 แสนล้านบาท ธุรกิจจำหน่ายสินค้า 2.2 แสนล้านบาท ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 1.7 แสนล้านบาท และธุรกิจอื่นๆ 2.5 แสนล้านบาท…” >>> เป็นไงครับ แค่ได้เห็นย่อหน้าที่ quote มาให้หลายๆคนก็อาจ จะเดาว่า โอ้โห้ รัฐบาลและผู้ประกอบการธุรกิจด้านโรงแรมนี่ฟันกำไรหัวแบะเลยนิ!?!? ……หากเรามองจากบริบทและตัวเลขเพียงแค่ด้านเดียวมันก็ดูเหมือนจะใช่นะครับ แต่ถ้าเราซูมอินให้ลึกลงไปอีกก็จะพบว่า ธุรกิจโรงแรมเนี่ยแม้กระทั่ง chain ใหญ่จากต่างชาติ หรือพี่เบิ้มในบ้านเราล้วนแล้วแต่มีกำไรน้อยลงนะครับ ยิ่งธุรกิจ SMEs บางรายถึงกับเจ๊งเลยด้วยซ้ำไป!!! ทั้งนี้ทาง ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี เค้ามีหลักฐานเป็นตัวเลขมายืนยันครับว่า ไอ้ธุรกิจโรงแรมเนี่ยมันแข่งดุยิ่งกว่าตลาดคอนโดในกรุงเทพซะอีก และในหลายๆครั้งก็โดนเจ้าของคอนโดปล่อยเช่ามาแย่งตลาดอีกแหน่ะ >> นี่มัน cross category competition ชัดๆ!!!

“แม้ภาวะการท่อง เที่ยวมีทิศทางสดใส แต่สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจนี้อาจไม่รู้สึกถึงแนวโน้มดังกล่าว เช่น ธุรกิจโรงแรมและที่พัก แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่าง 2550-2554 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7.8% ต่อปี แต่พื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างโรงแรมและที่พักกลับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 31.4% ต่อปี ทำให้อัตราการเข้าพักโรงแรม ช่วงเวลาเดียวกันเฉลี่ย 50-60% เท่านั้น แสดงให้เห็นภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนธุรกิจท่องเที่ยวอื่นๆ ถือเป็นภาคบริการที่ใช้เงินลงทุนไม่สูงนัก ทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ธุรกิจง่าย ธุรกิจจึงอยู่ในภาวะการแข่งขันที่สูงเช่นกัน ขณะเดียวกัน ภาวะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเองมีความอ่อนไหวต่อภาวะแวดล้อมอย่างสูง เช่น ความวุ่นวายทางการเมือง ภัยธรรมชาติ โรคระบาด ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ความพร้อมและความสมบูรณ์ของทรัพยากรการท่องเที่ยว

pullman

นอก จากนี้ความท้าทายที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 ซึ่งอนุญาตให้ผู้ลงทุนชาติสมาชิกสามารถถือหุ้นได้ถึง 70% ในธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ ยิ่งกระตุ้นให้เกิดการลงทุนและการแข่งขันจากนักธุรกิจในเออีซีสูงขึ้นอีก” >>> อ้าว เข้า AEC แล้วไม่พอ ยังเอื้อให้ธุรกิจ hospitality สามารถถือหุ้นโดยต่างชาติได้อีก 70%อีกแหน่ะ อันนี้ผมว่าคนไทยหลายๆคนก็ไม่รู้เรื่องเลยนะครับ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs…. ทีนี้จะทำยังไงอ่ะครับ ค่าแรงก็ขึ้น คู่แข่งก็เยอะ ต่างชาติมาลงทุนเองโดยไม่ผ่านนอมินีได้อีก ฟังๆดูแล้วเหมือนธุรกิจนี้จะไม่รุ่งซะแล้วล่ะครับ >> ทางออกนั้น กูรู นักวิชาการหลายๆฝ่ายก็มักจะออกมาวิเคราะห์และบอกถึงแนวทางการแก้ปัญหา (แบบเดิมๆ) ครับว่าเราต้องเร่งปรับตัวเพื่อรองรับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นมาในอนาคต และอ้อนวอนขอให้รัฐบาลออกมาตรการมาช่วย!!! เอ่า แล้วจะปรับตัวยังไง ไม่มีใครบอก ไอ้ครั้นจะหวังให้รัฐบาลมาช่วยก็คงจะเจ๊งไปก่อนเป็นแน่แท้…เอาล่ะครับ วันนี้ผมจะขอยกตัวอย่างของการปรับตัวในธุรกิจโรงแรม ที่เอามาจากต่างประเทศให้ฟังครับ ว่าเค้าทำกันยังไง จะรุ่งหรือจะร่วงไปติดตามกันครับ..

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าธุรกิจโรงแรมนั้น มีแหล่งรายได้มาจากนักท่องเที่ยว 3 ประเภทใหญ่ครับ

1.    นักท่องเที่ยวแบบมาเที่ยวเลย จะเป็นมาเดี่ยว หรือมาเป็นกรุ๊ปก็แล้วแต่
2.    การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism)
3.    การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมและความสนใจเฉพาะ (MICE)

ใน จำนวน 3 ประเภทนี้ ถ้าจะวัดเชิงปริมาณนักท่องเที่ยว แน่นอนว่าแบบที่ 1 นำแน่ๆครับ แต่หากนับในเชิง ปริมาณและรายจ่ายต่อหัวที่ได้รับจากนักท่องเที่ยวนี่สิ อันดับที่ 2-3 เรียกภาษาชาวบ้านว่า “จ่ายหนัก” กว่าแบบที่ 1 แน่ๆครับ ….. นักท่องเที่ยวประเภทที่ 1 ผมคงไม่ต้องพูดอะไรมากแล้ว เพราะทุกคนคงจะรู้จัก แต่ประเภทที่ 2 กับ 3 นี่ถือว่าเป็นตลาดใหม่ และสดใส นำพาเงินเข้าประเทศมากมายมหาศาลในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมานะครับ

Medical Tourist Recovering from Plastic Surgery by Swimming Pool

การ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) เนี่ยหากอธิบายอย่างง่ายๆก็คือ การที่ชาวต่างชาติเดินทางมาเมืองไทย  เพื่อเข้ารับการรักษา บำบัด หรือใช้บริการอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น นวดแผนไทย ตรวจสุขภาพ รักษาโรค ทำศัลยกรรมความงาม ทำสปา แปลงเพศ ทำฟัน ฯลฯ ที่สถานพยาบาลในเมืองไทย นั่นเองครับ

เมื่อเดือนที่แล้วนี้ เอง ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้เคยทำการสำรวจเอาไว้ว่า “จากข้อมูลในการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (พิจารณาเฉพาะชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาใช้บริการด้านสุขภาพจากโรงพยาบาล เอกชนในไทย) ซึ่งได้ประมาณการว่าในปี 2555 ตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 1,740,000 ล้านบาท ( 58,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยภูมิภาคเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ครองส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ร้อยละ 15 ของมูลค่าตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลก หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 2.7 แสนล้านบาท” ตัวเลขดังกล่าวเราเป็นที่สองของอาเซียน รองก็แค่สิงค์โปร์เองนะครับ >>> และหากจะซูมอินลงไปก็จะพบว่า ค่าใช้จ่ายของ Medical tourist (เฉพาะนักท่องเที่ยวกลุ่มอาเซียน) ที่ใช้กับธุรกิจเกี่ยวเนื่องกันอย่างที่พักเนี่ยเป็นมูลค่าถึง 1,370 ล้านบาท อันนี้ยังไม่รวมค่าบริการสปา นวดไทยจากสถานบริการนอกโรงพยาบาลที่มีอีก 1,530 ล้านบาท….แค่นับเฉพาะคนอาเซียนด้วยกันเองยังขนาดนี้ แล้วนับทั่วโลกจะขนาดไหนเนี่ย?

สำหรับกลุ่ม MICE (Meeting, Incentive Travel, Convention and Exhibition)  หมายถึง  ตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวประเภทที่เดินทางเข้ามาเพื่อเข้าร่วมประชุมสัมมนา  แสดงนิทรรศการหรือแสดงสินค้านานาชาติ  รวมถึงการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล  เกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรปราวศตวรรษที่ 19  ต่อมาขยายสู่ภูมิภาคอเมริกา  และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะแพร่หลายมายังเอเชีย โดย MICE  เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม 4 ประเภท  ซึ่งสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียน (Asian  Association  of  Convention and Visitor Bureaus : AACVB)  ได้จำแนกกิจกรรมดังกล่าวไว้ดังนี้ (ขออนุญาต copy เลยนะคร้าบ)

M : Meeting  (การประชุม)  หมายถึง  การประชุมของกลุ่มบุคคลหรือองค์กรหนึ่งเพื่อทำกิจกรรมเฉพาะโดยจะจัดเป็นการ เฉพาะกิจและมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า  เช่น  การประชุมประจำปี  การประชุมคณะกรรมการ  เป็นต้น   โดยอาจจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ  การประชุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลของบุคคลในสาขาอาชีพเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ระยะเวลาในการจัดประชุมประมาณ 4-5 วัน   ใช้เวลาเตรียมงานอย่างน้อย 1 ปี  เรียกว่า  Association  Meeting   โดยหมายรวมถึง   Conference  คือ การที่ผู้เข้าร่วมประชุมจะปรึกษาหารือกันเพื่อหาข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา  และ   Congress   คือ  การประชุมที่มีหัวข้อการประชุมมาจากการสนับสนุนของสมาชิก/องค์กรนั้น  ส่วนใหญ่มีการวางแผนล่วงหน้า 1 ปีขึ้นไป  มีขนาดใหญ่กว่า Conference   สำหรับ  Symposium  หมายถึง การประชุมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยการเสนอผลงานจากผู้เชี่ยวชาญในหัว ข้อนั้นๆ  เพื่อให้ที่ประชุมพิจารณาให้ความเห็น    ประเภทที่สอง  คือ  การประชุมของกลุ่มบุคคลที่มาจากองค์กร/บริษัทเดียวกัน/เครือเดียวกัน  ซึ่งอาจมาจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก ใช้เวลาเตรียมงานน้อยกว่า 1 ปี  เรียกว่า Corporate  Meeting    และมีขนาดการประชุมเล็กกว่า Association Meeting   หรือการประชุมของกลุ่มบุคคลหรือผู้แทนจากหน่วยงานราชการ  ซึ่งอาจมาจากหลายๆ ประเทศทั่วโลกก็ได้  และการประชุมประเภทที่ 3 คือ การประชุมของกลุ่มบุคคล/ผู้แทนจากหน่วยราชการและเป็นการจัดโดยหน่วยราชการ เรียกว่าGovernment Meeting

I : Incentive  Travel  (การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล)  หมายถึง   รูปแบบการท่องเที่ยวที่เกิดจากการจัดนำเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลแก่พนักงานหรือ บุคคลที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่บริษัท/องค์กรวางไว้   โดยบริษัท/องค์กรเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมด  จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ
ประเภทกลุ่ม (Group Incentive Travel)   ซึ่งจัดนำเที่ยวแก่พนักงานเป็นกลุ่ม  และเป็นที่นิยมโดยทั่วไป   เนื่องจากประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าประเภทบุคคล (Individual  Incentive Travel)  โดยเป็นการให้บริการแก่คนกลุ่มใหญ่   สำหรับประเภทบุคคล  นักท่องเที่ยวมีสิทธิเลือกสถานที่ท่องเที่ยวได้แต่ส่วนใหญ่กำหนดให้เป็นการ ท่องเที่ยวในประเทศ

C : Convention  (การประชุม)  มีลักษณะคล้ายกับ  Meeting  แต่จะแตกต่างกันที่จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม (ขนาดการประชุม)  ซึ่งจะมีมากกว่าตั้งแต่หลายร้อยจนไปถึงหมื่นคน  และใช้เวลาในการเตรียมงานไม่ต่ำกว่า 2 ปี   ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการจัดประชุมระดับประเทศ  ภูมิภาค  จนถึงระดับนานาชาติ มักเป็นการจัดโดยสมาคมหรือองค์การระดับนานาชาติหรือระดับรัฐบาล

E : Exhibition  (การจัดนิทรรศการ/งานแสดงสินค้า)  หมายถึง   กิจกรรมที่จัดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเพื่อแสดง/ขายสินค้าหรือบริการให้ กับกลุ่มเป้าหมายโดยภายในงานอาจเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมได้  จำแนกออกเป็น 3 ประเภท  ได้แก่  การจัดนิทรรศการหรืองานแสดงสินค้าสำหรับผู้ประกอบการ (Trade  Show)  ผู้บริโภค  (Consumer  Show)   และสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริโภค (Trade and Consumer Show)

จะเห็นว่ากลุ่ม MICE นั้นมาเที่ยวแบบเต็มใจเที่ยว และเต็มใจจ่ายนะครับ โดยเฉพาะในส่วนของ Incentive Travel เนี่ยบริษัทฯเค้าจะจ่ายค่าเดินทางกับที่พักให้ ที่เหลือก็เอาเงินส่วนตัวไปช้อปกันตามสบาย ส่วนพวกที่จัดงานประชุมหรือ exhibition เนี่ยมาทีโรงแรมแทบจะปิด เพราะว่าเป็นการเข้าพักแบบยกชั้นไปเลย

tceb

มี คนว่ากันว่าโรงแรมที่เน้นกลุ่ม MICE นั้น ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเส้นรัชดาภิเษก + พระราม 9 + ห้วยขวาง ครับ….เนื่องจากความได้เปรียบในเรื่องของ new CBD ในอนาคตนี่เองแหละครับ >>> โครงการ Belle Grand ออฟฟิศใหม่กลุ่มยูนิลิเวอร์ ตลาดหลักทรัพย์ใหม่ สำนักงานใหญ่ AIA และอีกสารพัด ที่กำลังทยอยผุดขึ้นมา…. ลองนับเล่นๆดูในย่านนี้ก็จะมี 4-5 โรงแรมที่ล้วนแต่ชูจุดเด่นในด้านความพร้อม ยิ่งใหญ่ ของห้องประชุม สันทนาการ ห้องจัดเลี้ยง ห้องอาหาร ใกล้แหล่งเอนเตอร์เทนเมนต์ (ผมว่าอันนี้เป็นปัจจัยหลักหรือเปล่าครับ) ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็น สวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพ ดิ เอ็มเมอร์รัล เจ้าพระยาปาร์ค แกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน โอ้ย….เยอะไปหมดครับ

swiss hotel

 

 

กลับ เข้ามาที่เรื่องของเราบ้าง…แล้วไอ้ที่บอกว่าการปรับตัวของธุรกิจโรงแรม ที่ผู้ประกอบการควรที่จะต้องทำ มีอะไรบ้างล่ะ? >>> แหม ก็ผมอุตสาห์แยกประเภทของผู้เข้าพักแต่ละแบบ แต่ละสไตล์ให้ เท่านี้คุณๆก็น่าจะรู้แล้วล่ะครับว่าที่พักของคุณเหมาะสมกับลูกค้ากลุ่มใด กลุ่มหนึ่งในนี้หรือเปล่า? แล้วถ้าหาลูกค้าที่เหมาะๆได้แล้ว จะทำยังไงให้คนเข้ามาพักที่โรงแรมเราล่ะ? มาติดตามกันต่อครับ….

โดยกระแส ของธุรกิจโรงแรมในปัจจุบัน เราสามารถกำหนดแทรนด์ของการวาง product positioning ของแต่ละเชนโรงแรมได้ครับ ว่าเค้าแบ่งกันเป็นแบบไหนบ้าง และที่เค้าแบ่งกันก็เพราะว่าทางโรงแรมก็เอา consumer insight เป็นที่ตั้งครับ สุดแล้วแต่ว่าทำเลไหน หรือกลุ่มลูกค้าแต่ละคนมีความชอบแบบไหน หรือถ้ากลุ่มลูกค้าเชนใหญ่ๆมีความชอบที่แตกต่างกันออกไป ก็เปิดแบรนด์ให้ครอบคลุมมัน ทุกเซกเมนต์เลยครับ ตอนนี้เทรนด์ของ positioning แบ่งเป็น 4 อย่างครับ (ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากผู้จัดการ 360 องศา รายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 16 มีค. 2555)

1.    เทรนด์ Budget hotels  เน้นห้องพักราคาประหยัด และง่ายต่อการใช้บริการ ส่วนใหญ่แล้วห้องจะมีขนาดเล็ก 18 – 25 ตารางเมตร และราคาไม่เกิน 1,500 บาทต่อคืน เชนแอคคอร์ถือเป็นเชนที่บุกเบิกการเป็นผู้นำตลาด budget hotels  เจ้าแรกในเมืองไทย โดยดัน 2 แบรนด์หลัก คือ Ibis และ All Seasons (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Ibis Style) ราคาขายห้องพักขยับขึ้น-ลงตามวัน เริ่มต้น 1,000-3,000 บาท/ห้อง/คืน นอกจากนี้ก็ยังมีแบรนด์ใหม่จากกลุ่ม Air Asia ที่ชื่อว่า Tune Hotel ซึ่งก่อตั้งโดย นายโทนี เฟอร์นันเดส ผู้ก่อตั้งสายการบินต้นทุนต่ำ แอร์เอเชีย ที่มีการร่วมทุนกับนักธุรกิจท้องถิ่นในประเทศที่สายการบินมีเส้นทางบินเพื่อ เปิดบริการ ทูนโฮเต็ล ส่วนในประเทศไทยเปิดให้บริการแล้วที่ พัทยา หาดใหญ่ อโศก (กทม.) ป่าตอง ซึ่งราคาค่าห้องพักจะเริ่มที่ 699 บาท เก็บค่าไฟตามที่ใช้จริง และบวกราคาสำหรับบริการเพิ่มเติม เช่น เครื่องปรับอากาศ อาหารเช้า ผ้าเช็ดตัว อินเทอร์เน็ต ทีวี ฯลฯ ส่วนคนต่างชาติส่วนใหญ่ก็น่าจะรู้จักโรงแรม Lub D และล่าสุดแว่วๆมาว่าเครือ centara ก็จะขยับขยายไปเล่นในเทรนด์นี้เช่นเดียวกัน (เรียกได้ว่าโหนตามกระแส lowcost airline กันเลยทีเดียว)

tune

tune2

2.    เทรนด์ Luxury hotels and resorts เน้นทุ่มทุนสร้างห้องพักสไตล์หรูหรา มีเอกลักษณ์ เน้นบรรยากาศความเป็นส่วนตัว แพงระยับ ราคาเริ่มต้นที่ 10,000-60,000 บาท/ห้อง/คืน ผู้นำตลาดแข่งขันกันอย่างสนุกมี 2 เชน คือ เชนซิกซ์เซนส์ ที่ได้ก่อสร้างรีสอร์ตคอนเซ็ปต์พูลวิลล่าระดับ 6 ดาว ขนาด 40-70 ห้อง/รีสอร์ต ด้วยแบรนด์โซเนวา (Soneva) ซึ่งจะนำร่องเปิดแห่งแรกในชื่อ เนวา คีรี แอนด์ ซิกซ์เซนส์ สปา เกาะกูด จ.ตราด และแบรนด์ซิกซ์เซนส์ระดับ 5 ดาว ซึ่งจะเปิดซิกซ์เซนส์ ไฮอะเวย์ เกาะยาว นอกนั้นก็จะมีพวก Sofitel, Conrad, St. Regis, Renaissance, Sripanwa, The Sukhothai, Muthimaya, The Siam ของกลุ่มสุโกศล ฯลฯ

1593285_55_b

Conrad

conrad2

six-senses-hideaway-at-samui.4

sixsenses at yao-noi

3.    เทรนด์ห้องพักกึ่งพรีเมียม ซึ่งลงทุนพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก และการตกแต่งให้ดูดีมีราคา (premier  hotels) เริ่มต้นที่ 2,000-6,000 บาท/ห้อง/คืน ซึ่งเชนเบสท์ เวสเทิร์น มาแรงที่สุดในกลุ่มนี้ โดยแบรนด์ เบสท์ เวสเทิร์น พรีเมียร์ ได้เข้ามาขยายเครือข่ายในเมืองไทยขั้นต่ำ 25 โรงแรม คู่แข่งที่น่าจับตาในกลุ่มนี้ คือ เชน  IHG ซึ่งมีแบรนด์คราวน์พลาซ่า และ Holiday Inn เป็นหัวหอกสำคัญ รวมถึงเชนแอคคอร์บางแบรนด์เช่น โนโวเทล แกรนด์เมอร์เคียว และ Pullman หรือแบรนด์ไทยอย่าง The Sukosol

thesukosol bs_bar_day__38814fa

4.    เทรนด์ Fashion & Boutique (บางคนอาจจะเรียกว่า Lifestyle Hotel) >> อันนี้เป็น trend ใหม่ที่ทยอยเกิดขึ้นมาทั่วโลกครับ โดดเด่นด้านการดีไซน์ เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริโภคที่ต้องการโรงแรมทันสมัยหรือมีเอกลักษณ์ แตกต่างชัดเจน ราคาไม่ได้จำกัดว่าต้องมี range อยู่ที่เท่าไหร่ อาจจะถูกหรือแพงก็ได้ (แต่กระซิบว่า…..ส่วน ใหญ่แพงโคตรครับ) เช่น Brand ใน portfolio ของ MGallery ในกลุ่มแอคคอร์อย่าง VIE Hotel Bangkok และ Sofitel So หรือ Wave Hotel ของกลุ่มสุโกศลที่ทำออกมาในสไตล์ Miami Boutique ริมหาดพัทยา หรือ Edition ของเครือ Marriott หรือ Tenface Bangkok และล่าสุดคือ W Hotel Bangkok ในกลุ่ม Starwood
Sofitel-so-Bangkok_The-Box_resize

sofitel-so-bangkok---earth-element-room---07-mac-mini

Sofitel-So-Bangkok-Red-Oven

นาที นี้คงต้องบอกล่ะครับว่าเทรนด์ในส่วนของ Budget hotels นั้นมาแรงมากๆครับ มาแรงตามกระแสของ low cost airline ก็นั่นน่ะสิ สมัยนี้คนเราถ้าเดินทางไปเที่ยวเน้นแค่ shopping ก็มักเอาถูกไว้ก่อนครับ……..แต่ถ้าถามผม ผมกลับมองว่าเทรนด์ Boutique Hotel กลับเป็นแนวทางที่ดูมีเสน่ห์มากกว่า และมี มนตราในการดึงดูดลูกค้าให้เข้าพักมากกว่านะครับ มันคงจะดีไม่น้อยถ้า SMEs โรงแรมที่เป็นของไทยจับ เอาจุดขาย และสามารถเล่านิทาน ให้ออกมาให้เป็นรูปธรรมได้ครับ ดูแนวทางของ Tenface เป็นตัวอย่างก็ได้ที่จับเอาวรรณกรรมอย่างรามเกียรติมาทำให้เป็น Theme ของโรงแรม Shanghai Mansion ที่ตั้งอยู่ใจกลางเยาวราช และ จักรพงษ์ วิลล่า

apartments-Camera-da-letto-Tenface-Suite---Tenface-B-Bangkok-965-1--up-29122010-114645

bangkok-tenface-bangkok-171540

shanghai-mansion-bangkok_120520100453131122

Shanghai-Mansion-BKK--IMG_1401

thegallery-boutique-tenface-bangkok-hotel_2

twobedsuite-boutique-tenface-bangkok-hotel_3

หรือถ้าใครคิดไม่ออก ผมก็ขอยก ตัวอย่างเพิ่มเติมให้เห็นภาพมากขึ้นครับ

เมื่อ หลายปีก่อนเวปไซต์ Living lifestyle destination ชื่อดังอย่าง www.cnngo.com ได้มีการนำเสนอรูปแบบของ Boutique Hotel ชั้นดีที่เกิดขึ้นมาทั่วโลกครับ ใน article ที่มีชื่อว่า A hotel to match that dress: Fashion designer hotels
ผมว่ามันเจ๋งมากทีเดียว ซึ่งก็แน่นอนว่าส่วนใหญ่แล้วมักจะมาจากแรงบันดาลใจของเหล่าแฟชั่นดีไซน์ เนอร์ชั้นแนวหน้าบนโลกใบนี้ครับ ไม่ว่าจะเป็น Bulgari, LV, Giorgio Armani หรือ Ralph Lauren

Armani Hotel ธุรกิจโรงแรมในดูไบที่ Burj Khalifa อาคารสูงสุดของโลก ซึ่งหลังจากเปิดโรงแรม ในดูไบแล้วได้ขยายธุรกิจไปยังอีก 6 เมืองในต่างประเทศได้แก่ นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มิลาน อิตาลี นอกจากนี้ signature ที่สำคัญของ Armani Hotel คือร้านขายลูกกวาดที่ชื่อว่า Armani Dolci และไนท์คลับที่ชื่อ Armani Prive ที่นี่ผนังถูกหุ้มด้วยเครื่องหนังชั้นดีจากอิตาลี พื้นถูกปูด้วยเสื่อญี่ปุ่น และหินอ่อนสีไม่ไผ่เขียวจากบราซิล

Armani_Hotel_Dubai_15

Armani-Hotel-Dubai-bathroom-wooden

Armani-Hotel-Dubai-home-to-worlds-first-in-hotel-ARMANI-Spa

Armani-hotel-dubai-room-design-580x386

armani-hotel-dubai1

หลุยส์ วิตตอง เปิด Boutique Hotel ที่เมือง St. Tropez ของฝรั่งเศส โดยตั้งชื่อที่มีความหมายเป็นโรงแรมสีขาวว่า White 1921 ซึ่งตอนแรกถูกเรียกว่า Maison Blanche เป็นบูติก โฮเต็ล ขนาด 8 ห้องนอน และมีแชมเปญ + ค๊อกเทลบาร์ที่ดีไซน์โดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศสที่ชื่อ Jean-Michel Wilmotte โดย White 1921 นี้จะเปิดให้เข้าพักในช่วงเดือนพฤษภาคม – ตุลาคมในแต่ละปีเท่านั้น

LVMH White 1921

lvmh_first_ever_white_1921_hotel_in_saint_tropez_has_just_eight_rooms_9ussp

LVMH_Hotel-White-1921-Saint-Tropez

White 1921 9

หาก ใครที่บินไปช้อปปิ้งที่เกาะฮ่องกงบ่อยๆ ก็อาจจะเคยเห็น Hotel ICON ที่ตั้งสวยเด่นเป็นสง่าอยู่ที่ริมอ่าว Victoria แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าโรงแรมนี้ถูกออกแบบและบริหารงานโดย Fashion Designer ชื่อดังของฮ่องกงอย่าง Vivienne Tam
icon

vivienne-tam.ashx

Hotel ICON

เอา ล่ะครับวันนี้ผมร่ายยาวเกี่ยวกับเทรนด์โรงแรมมาพอสมควรแล้วครับ ก็หวังว่าคุณผู้อ่านพอจะรู้ถึงแนวทางคร่าวๆในการ “ปรับตัวให้เข้ากับยุคที่มีการแข่งขันสูง” กันได้นะครับ พบกันใหม่คราวหน้า สวัสดีครับ

หากเพื่อนๆหรือคุณผู้อ่านคนไหนอยากให้ผมเขียนเรื่อง อะไร และจะแนะนำติชมอะไรขอให้ส่งเมลมาได้ที่ kirk.bu@gmail.com นะครับ อะไรที่หามาได้ ก็จะเอามาเขียนตอบแน่นอนครับ ส่วนอะไรที่ตอบไม่ได้ก็รอไปก่อนนะครับ แต่สัญญาว่าจะหามาให้ได้ครับ

บทความโดย เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง