9 คาถารวยแบบ “มหาเศรษฐีฟอร์บส์”

นเรศ เหล่าพรรณราย 11 May, 2016 at 17.22 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ทุกๆปีนิตยสารที่เป็นไอคอนของระบบทุนนิยมอย่าง “ฟอร์บส” จะต้องจัดอันดับมหาเศรษฐีโลก ใครที่ติดตามเป็นประจำจะรู้ว่าส่วนมากก็จะเป็นหน้าเดิมๆ อย่าง บิลเกตส์ ,วอเรน บัฟเฟต,คาร์ลอส สลิม ฯลฯ ที่สลับอันดับกันขึ้นอยู่กับว่าปีไหนธุรกิจใครดีกว่ากัน จะมีหลายปีหลังที่มหาเศรษฐีจากธุรกิจดิจิทัลอย่าง มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ที่ไต่อันดับได้รวดเร็ว

เครดิตภาพ: www.businesswire.com

Forbes_400_Coverเชื่อว่ามีบางคนต้องการจะมีชื่อหรือภาพตัวเองบนหน้าปกนิตยสารฟอร์บสกับเขาบ้าง หรืออย่างน้อยก็ขอให้มีทรัพย์สินที่ได้ชื่อว่าอยู่ในกลุ่มมั่งคั่งคือ 1 ล้านเหรียญ (36 ล้านบาท) ก็ยังดี แต่หลายคนคงถอดใจว่าชาตินี้ (และชาติหน้า) จะรวยแบบเขาได้อย่างไร

 

แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะรวยได้แบบพวกเขา แต่เราสามารถที่จะเดินตามรอยมหาเศรษฐีเหล่านี้ได้เช่นกัน พวกเขาเหล่านั้นล่วนแล้วแต่มี “อุปนิสัย” และวิธีคิดในการทำธุรกิจที่ไม่ต่างกันมากนัก เราลองไปดูกันว่าพวกเขาเหล่านั้นมีคุณสมบัติอย่างไรกันบ้าง

หนึ่ง..ทุกคนเป็นเจ้าของกิจการ หากไล่รายชื่อกันดูจะชัดเจนว่าในบรรดามหาเศรษฐี ไม่มีใครที่เป็นลูกจ้างแล้วติดอันดับแต่อย่างไร ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นเจ้าของกิจการ ผู้ก่อตั้งหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ ไม่ว่าจะบิล เกต ที่สร้างไมโครซอฟท์ขึ้นมาด้วยตัวเองหรือวอเรน บัฟเฟต ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในกิจการของตัวเอง นี่คือข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งว่าการเป็นลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นซีอีโอบริษัทใหญ่แค่ไหนก็ยากที่จะเป็นมหาเศรษฐี

 

สอง..เป็น First Mover ในตลาด โดยเฉพาะมหาเศรษฐีที่มาจากภาคธุรกิจไอทีอย่างบิล เกตส์,เจฟ แบร์ซอสและมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นผู้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับวงการ เช่น ไมโครซอฟท์ เป็นผู้ให้กำเนิดระบบปฎิบัติการณ์วินโดวส์ที่มีคนใช้ทั่วโลก อะเมซอนเป็นผู้นำเทรนด์เวบไซท์อีคอมเมิร์ซและเฟซบุ๊คคือผู้นำในโลกของโซเชียลมีเดีย เห็นได้ว่าไม่มีใครที่ทำธุรกิจตามคนอื่นหรือก๊อปปี้ธุรกิจแล้วขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐี

 

สาม..ใช้กลไกของตลาดหุ้น เป็นที่ชัดเจนว่าการก้าวขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีจำเป็นที่จะต้องนำกิจการเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหุ้น เห็นได้จากรายชื่อผู้ติดอันดับเกือบทั้งหมดเป็นบริษัทมหาชน และใช้เครื่องมือทางการเงินในการนำพากิจการให้เติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะการเติบโตแบบ Organic Growth เพียงอย่างเดียวไม่อาจจะทำให้เอาชนะคู่แข่งได้

 

สี่..กล้าที่จะลดสัดส่วนการถือหุ้น ต่อเนื่องจากการนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น สิ่งที่ตามมาคือการที่เจ้าของเดิมต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นลงไปให้ผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนสถาบันอย่างเช่นกองทุนหรือนักลงทุนทั่วไป โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นที่จะเข้ามาช่วยเสริมกิจการให้แข็งแกร่งขึ้นไม่ใช่เพียงแค่สนับสนุนด้านการเงิน

 

ในประเทศตะวันตก ผู้ที่ปั้นกิจการมักจะลดสัดส่วนการถือหุ้นของตัวเองลงเรื่อยๆจนไม่ใช่ผู้ถือหุ้นใหญ่ ส่วนประเทศตะวันออกอาจจะยังมีวัฒนธรรมของการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่ แต่ทั้งหมดต่างมีแนวคิดที่จะต้องเปิดทางให้ผู้อื่นมาร่วมหุ้นด้วยทั้งสิ้น

 

ห้า..เน้นขยายธุรกิจให้เร็ว สาเหตุที่ทำให้อามันซิโอ ออร์เตก้า มีความร่ำรวยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะเสื้อผ้าแบรนด์ Zara ที่เขาเป็นเจ้าของอยู่มีแผนธุรกิจที่เน้นความรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเทรนด์แฟชั่นที่ไม่ตายตัวพร้อมจะปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาและเน้นขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ขณะที่เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้ายูนิโคล่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นได้ด้วยกลยุทธ์เดียวกันคือเปลี่ยนแบบเสื้อผ้าเร็วและเน้นขยายสาขาเร็ว (เห็นได้จากชื่อบริษัทก็คือ Fast Retailing ก็บอกแล้วว่าต้องเร็ว)

 

หก..ขยายการลงทุนทุกรูปแบบ มหาเศรษฐีที่สร้างธุรกิจขึ้นมาเกือบทุกคนไม่มีใครที่โตมาจากการทำเพียงแค่ธุรกิจเดียวแต่มีการลงทุนธุรกิจที่หลากหลาย (อาจจะมี Core Business สำคัญเพียงอย่างเดียวที่ลงทุนธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้วย) ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือคาร์ลอส สลิม ที่ร่ำรวยมาจากธุรกิจมือถือ พอได้ฐานลูกค้าจำนวนมากจึงได้ขยายธุรกิจไปอย่างอื่นเช่น ธนาคาร ห้างค้าปลีก จนเป็นผู้ที่ครองตลาดในประเทศเม็กซิโกเกือบทุกธุรกิจ จะเรียกได้ว่าผู้ที่ทำธุรกิจกึ่งผูกขาดจะมีโอกาสเป็นมหาเศรษฐีสูง หรือ ซัมซุง ที่ลงทุนในธุรกิจทุกประเภทโดยมีซัมซุงอีเล็กทริกส์ เป็นรายได้หลัก

 

เจ็ด..อยู่ในธุรกิจที่ทำให้รวยได้ มีคำกล่าวว่า “ลงทุนผิดธุรกิจ ทำให้ตายก็ไม่รวย” เป็นความจริงอย่างแน่นอน แม้จะทำธุรกิจเก่งเพียงใด แต่หากไปลงทุนในธุรกิจที่เป็นตะวันตกดินหรือขาลง โอกาสที่จะรวยจะเกิดขึ้นได้ยาก ผู้ที่จะประสบความสำเร็จจึงต้อง “ฉลาด” ที่จะมองหาธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตสูงหรือกำลังอยู่ในกระแสของ Mega Trend

 

แปด..สะสมที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ นอกจากหุ้นแล้ว สินทรัพย์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้หลายสิบเปอร์เซ็นต์ในระยะยาวนั่นคืออสังหาริมทรัพย์ มหาเศรษฐีส่วนใหญ่ของโลกจึงมักจะสะสมที่ดินและเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะตลาดที่มีศักยภาพสูง ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่เศรษฐกิจกำลังเติบโตรวดเร็ว

 

เก้า..อดทนรอซื้อของถูกในช่วงเวลาวิกฤต มีคำกล่าวว่าคนรวยมักอดทนซื้อของในช่วงที่ทุกคนกำลังหวดกลัว หลายกิจการจึงสามารถเติบโตขึ้นมาได้ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะในช่วงเวลาที่คนส่วนมากกำลังหวดกลัว จะเป็นช่วงเวลาที่ราคาสินทรัพย์ต่างๆมีราคาถูกกว่าความเป็นจริงเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อกิจการ ตลาดหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ผู้คนขาดสภาพคล่องทางการเงิน มักจำใจขายสินทรัพย์ที่ถืออยู่ในราคาถูก

 

ช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูราคาสินทรัพย์ต่างๆมักจะแพงกว่ามูลค่าที่แท้จริงเสมอ ซึ่งมหาเศรษฐีที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจจะรอโอกาสเข้าซื้อของถูกทุกครั้ง ผู้ที่คิดจะเป็นมหาเศรษฐี จึงต้องจับจังหวะลงทุนให้สอดคล้องกับวงจรเศรษฐกิจด้วย

 

ทั้ง 9 ข้อที่ว่ามานี้ต้องควบคู่ไปกับความตั้งใจจริงในการทำธุรกิจด้วยถึงจะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาเศรษฐีไ้ด้ ที่สำคัญต้องเป็น “คนดี” ด้วย ขอให้ทุกท่านโชคดีครับ

นเรศ เหล่าพรรณราย

นเรศ เหล่าพรรณราย

นเรศ เหล่าพรรณราย FB:Gap Theory Twitter:@Nares_sd28 Chief Operation Officer Stock Quadrant (Thailand) Co.Ltd กรรมการ สมาคมฟินเทคประเทศไทย คนสื่อที่มีประสบการณ์ในแวดวงข่าวเศรษฐกิจโดยเฉพาะวงการตลาดหุ้นนานกว่า10ปี อยู่เบื้องหลังหนังสือด้านการลงทุนและธุรกิจมามากกว่าสิบเล่ม เคยทำงานหนังสือพิมพ์เศรษฐกิจอันดับหนึ่ง ปัจจุบันทำงานในบริษัทสื่อที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ มีความเชื่อว่าการเงินไม่ใช่เรื่องไกลตัวและทุกคนต้องรู้

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง