10 สิ่งที่ต้องทำ เพื่อความอยู่รอดของเหล่า local broker

เกริก บุณยโยธิน 07 October, 2014 at 09.55 am

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


สวัสดีฉลองปิดยอดไตรมาสแรกครับ คุณผู้อ่านทุกท่าน สิ้นเดือนนี้เข้าใจว่าหลายๆคนคงจะเตรียมตัวรับโบนัส และก็เตรียม Plan ที่จะเอาไปใช้กันในช่วงหยุดยาวสงกรานต์แล้วใช่ไหมครับ…จะบอกว่าทางผมก็ได้เตรียมไปใช้หนี้หมดแล้วครับ T-T….วันนี้ผมมีเรื่องที่มีผู้อ่านหลายคนเหมือนกัน ได้อีเมลมาสอบถามผมว่าอยากจะเริ่มต้นอาชีพเป็นนายหน้าอสังหาฯ แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี และสิ่งที่ควรจะต้องคำนึงถึงนั้นมีอะไรบ้าง ยากมั้ย จะหาคนจากไหนมาซื้อ บลาๆๆ…ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผมมักจะตอบคำถามตามเคสของแต่ละคนครับ ว่าการเริ่มต้นของคุณนั้น คุณเริ่มจากศูนย์ หรือคุณเริ่มจากการมีทรัพยากรบ้างอยู่แล้ว หรือคุณเริ่มจากการไปซื้อแฟรนไชส์บริษัทนายหน้ามาทำเอง ฯลฯ แต่ยังไงก็แล้วแต่วันนี้เอาเป็นว่าผมจะรวบรวบ และเรียบเรียงมาให้คุณผู้อ่านที่คิดจะโลดแล่น Fly high ในวงการนี้ (ไม่ใช่แค่ทำงานอย่างเดียว แต่ต้องอยู่รอด ให้ได้ในยุคนี้นะครับ) ได้รับทราบเป็นข้อมูลกันครับ ว่าเค้าแบ่งกลุ่มตลาดกันอย่างไร เราควรเริ่มจากตรงไหน และจะมีสิ่งใดมั่งที่จำเป็นมากกกกในสมัยนี้ ขอบอกไว้ก่อนว่าบทความของผมมันจะค่อนข้างแตกต่างจากที่คุณๆเห็นกันตามแผงหนังสือพวก อยากเป็นอะไรก็ได้ง่ายนิดเดียวน่ะครับ เพราะในชีวิตจริงมันไม่ได้โลกสวยง่ายนิดเดียวแบบนั้นครับ การทำงานดิ้นรน ตบตีแย่งชิงลูกค้ากันเนี่ยมันเกิดขึ้นได้ทุกนาทีครับ

 

อย่างแรกเลยผมคงต้องขอกล่าวถึง competitive arena ของวงการนายหน้าเมืองไทยก่อนครับ ว่าเค้าแบ่งเป็นแบบไหนบ้าง เพื่อที่จะเป็น guideline ให้ทุกคนรู้ครับว่าหากเราคิดจะ start up business หรือคิดจะไปสมัครงานที่ไหน แล้วมันจะตรงกับตัวเรารึเปล่าน่ะครับ >> โดยหลักๆแล้วกลุ่มผู้เล่นในเมืองไทยมีแค่ 4 กลุ่มหลักครับ

1. กลุ่ม Local broker: กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีมาก่อนตั้งแต่ยุคอดีตกาลเลยครับ เรียกอีกอย่างนึงว่านายหน้าท้องถิ่น ส่วนสาเหตุที่ต้องเรียกนายหน้าท้องถิ่นก็เพราะ พวกนายหน้าหรือบริษัทเหล่านี้จะถนัดการหาสต๊อค และการขายในประเภทโซนใครโซนมันครับ ผมขอยกตัวอย่างแบรนด์อย่างเช่น For best Properties, Darvid Properties, Winner Estate, Realty World ฯลฯ

Characteristics ของ Local broker

  • เป็นนายหน้าอิสระ หรือจะเป็นบริษัทจดทะเบียนก็ได้ หรือพวก owner ที่ชอบขายเอง บางรายก็รวมอยู่ในนี้
  • สินค้าที่ถนัดการขายจะเป็นพวกที่ดิน คอนโดรีเซล ทาวน์โฮม โรงงาน อาคารพาณิชย์ หรืออาจจะเป็นอะไรก็ได้ที่มีคนฝากขายมา
  • มีการแบ่งโซนการขายตามความถนัดของเซลล์แต่ละคน (เป็นโซนเขตเลยครับ บางเจ้าก็แบ่งตามไลน์รถไฟฟ้า) รวมถึงสินทรัพย์ในการขายก็ไม่เยอะขนาดเป็น 1,000 lists
  • สินค้าที่ขายมักจะมีการ sign exclusive contract ที่ระบุเงื่อนเวลา เช่น ฝากกับเค้า แล้วห้ามให้คนอื่นขาย หรือขายเอง ไม่งั้นจะเสียค่าปรับ
  • อัตราค่าคอมมิชชั่นยืดหยุ่นมาก เพราะว่ากลุ่มนี้ไม่ได้มี regular stock เป็นของตัวเอง (ยกเว้นเป็นเจ้าของซะเอง) ไม่ได้มีโปรโมชั่นในการช่วยปิดการขาย ดังนั้นจึงใช้กลยุทธ์ cost leadership เป็นหลัก
  • นายหน้าท้องถิ่นหลายเจ้าเริ่มมีการดีลเอาสินทรัพย์เพื่อการขายทอดตลาดของเหล่าสถาบันการเงินมาขาย เพื่อให้ได้เป็น regular stock

2. กลุ่ม International Property Agent: กลุ่มนี้เรียกอีกอย่างว่าเป็นพวกนายหน้าอินเตอร์ครับ กล่าวคือมีบริษัทแม่อยู่ต่างประเทศและมาตั้งสาขาในเมืองไทย รูปแบบการดำเนินงาน ช่องทางหารายได้จะมีอาวุธครบมือมากกว่านายหน้าท้องถิ่นอย่างเปรียบเทียบไม่ได้ โดยรายได้หลักของบริษัทสามารถแบ่งออกเป็น ค่าบริหารงานขายโครงการ, ค่าบริหารงานนิติบุคคล, ค่าที่ปรึกษาการตลาดโครงการ, ค่าทำวิจัยการตลาด, ค่าทำวิจัยการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ, รายได้จากการขายรีเซล – ปล่อยเช่า, รายได้จากการขายสื่อโฆษณา, รายได้จากการสมัครสมาชิก research publication, รายได้จากค่านายหน้าขายที่ดิน, รายได้จากการบริหารอาคารสำนักงาน ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น CBRE, JJL, Savils, Century 21, Knight Frank, Colliers

Characteristics ของ International Property Agent

  • เป็น well known brand จากต่างประเทศ
  • มีฐานลูกค้าค่อนข้างเยอะ
  • มี worldwide connection สามารถ swap ลูกค้ากันระหว่างประเทศได้
  • มี web platform ที่อิง structure มาจากต่างประเทศ
  • มีการออก research publication รวมถึงการทำ PR อย่างสม่ำเสมอ
  • เป็นนักล่ารางวัลเพื่อประดับไว้ใน Hall of Fame
  • มักจะได้รับความไว้วางใจจาก developer ต่างชาติในการบริหารงานขาย

3. กลุ่ม Franchise Agent: กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่มีผู้เล่นน้อยรายที่สุดในเมืองไทยครับ แต่น้อยรายในที่นี้หากรวมสาขาแฟรนไชส์ของทุกเจ้ารวมกันด้วยก็มีร่วมร้อยสาขานะครับ เอ จะว่าไปเท่าที่ผมสังเกตดู กลุ่มนี้เนี่ยรายได้หลักของเค้ากลับไม่ได้มาจากการขายอสังหาน่ะครับ แต่มักจะมาจากค่าแฟรนไชส์น่ะครับ!!!! อาทิ ERA, Century 21 (เจ้านี้อยู่กึงๆระหว่าง International Agent + Franchise ครับ เพราะการขายของรีเซล เค้ามักจะมีรายได้มาจากเครือข่าย franshise ของเค้า) และที่มาใหม่ปัจจุบันสดๆร้อนๆ ที่เป็นแบรนด์ที่ค่อนข้างดังมากในอเมริกานั่นก็คืออออออ Remax ครับ (เค้าว่ากันว่านะครับ)

Characteristics ของกลุ่ม Franchise Agent

  • บริษัทที่เป็น master franchise มักจะไม่ค่อยจะขายของ แต่เน้นการขายแฟรนไชส์
  • บริษัทที่ไปซื้อ franchise เค้ามามักจะเป็นคนขายของ แล้วก็เสียส่วนแบ่งจากการขายของเป็น Royalty fee ให้กับ master franchise
  • บริษัท master franchise ชอบจัดคอร์สอบรมการเป็นนายหน้า (บางเจ้าก็ฟรี บางเจ้าก็เสียตัง)
  • ในต่างประเทศ ระบบการให้ค่าคอมมิชชั่น ค่อนข้างซับซ้อนพอๆกับการทำธุรกิจ MLM
  • มี Tools ที่ช่วยในการซื้อขาย เช่นระบบการค้นหา stock และระบบการรับลูกค้า (ถ้าต้องการ)
  • มีการทำประชาสัมพันธ์ในส่วนของ corporate branding ให้ (แต่ก็มีหลายครั้งที่คนซื้อ franchise มามักจะบ่นว่าถูกทิ้งให้โดดเดี่ยวทำการตลาดเอง หาสต๊อคเอง ดิ้นรนขายเอง บลาๆๆ แต่กลับต้องจ่ายค่า Royalty Fee ให้)
  • พนักงานขายมักจะได้เงินเดือนน้อย แต่ว่าได้ส่วนแบ่งค่าคอมมิชชั่นเยอะ
  • สต๊อคที่ขายก็แล้วแต่ความถนัดของผู้ซื้อแฟรนไชส์มา อาจจะเป็นคอนโดติดรถไฟฟ้าก้ได้ หรือจะเป็นทาวน์โฮมชานเมืองก็ได้

4. กลุ่ม Developer Agent: ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมากลุ่มนี้บูมมากครับ เนื่องจากทุก developer มองว่าการเปิดบริษัทนายหน้าซะเองมันช่วยให้คอนโดของเค้ามี liquidity ที่สูงขึ้น มีการซื้อขายเปลียนมือกันมากขึ้น มีฐานลูกค้ากลุ่มนักลงทุนมากขึ้น ช่วยให้ perception ของสินค้า one time purchasing กลายเป็น many times purchasing ได้ ลูกค้าสามารถนำเงินจากการขายคอนโดเก่าของตัวเอง มาซื้อของใหม่จากทางบริษัทได้เรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น บริษัท ดิ เอเจนท์ จำกัด (อนันดา), บริษัท แบงค์คอก ซิตี้ สมาร์ท (เอพี), บริษัท พลัส พร๊อพเพอร์ตี้ (แสนสิริ), และทุกบริษัทนายหน้าของ developer ดังๆ (ส่วนใหญ่ที่จด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีหมดน่ะครับ)

Characteristics ของกลุ่ม Developer Agent

  • เน้นการขายคอนโดรีเซลก่อนโอนกรรมสิทธิ์
  • หลังการโอนกรรมสิทธิ์แล้วจะโฟกัสที่การปล่อยเช่าห้อง
  • มี regular stock เข้ามาจาก deloper อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากมีการ sync ข้อมูลผู้ซื้อคอนโดตั้งแต่มือแรก
  • บางเจ้ามีการทำ exclusive promotion ร่วมกัน เพื่อกันนายหน้าเจ้าอื่นๆในการขาย เช่น การมอบโปรฟรีโอนให้เฉพาะการซื่อขายผ่านบริษัทลูก
  • เซลล์ส่วนใหญ่จะมีรายได้ที่ค่อนข้างดี เพราะมีการ support ในด้านงบประมาณการทำการตลาด ทำให้มี lead เยอะ ไม่ต้องปากกัดตีนถีบ เหมือนกับบรรดา local broker
  • สามารถสร้างความได้เปรียบในแง่ความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย มากกว่าการซื้อขายกับนายหน้าอิสระ
  • มีระบบการกระจายเคสให้เซลล์อย่างเป็นระเบียบ ตามคิว ลูกค้าไม่ซ้ำกัน
  • ค่าคอมมิชชั่นเก็บต่ำมากไม่ได้ เพราะติดข้อจำกัดในเรื่องของ operation cost ที่ค่อนข้างสูงกว่า local broker
  • เน้นการขายของของเจ้าใครเจ้ามัน (เพราะมีคนฝากขาย-เช่าค่อนข้างเยอะมาก จนแทบ ระบายสต๊อคไม่ทัน)
  • ความเสี่ยงในการโดนให้ออกกรณีทำเป้ายอดขายไม่ถึงมีสูง ยกตัวอย่างเช่น ที่ ดิ เอเจนท์ เซลล์ทุกรายต้องทำยอดให้ได้มากกว่าหรือเท่ากับเดือนละ 250,000 บาท (หมายถึงค่าคอมเข้าบริษัทนะครับ ไม่ใช่มูลค่าสินค้าที่ขายได้) หรือเฉลี่ยต้องขายให้ได้เดือนละ 2 – 3 ห้องขึ้นไป ยิ่งสมัยนี้คอนโดห้องขนาดเล็กลง มูลค่าสินค้าลดลง ค่าคอมก็ลดลงตามมูลค่าสินค้าครับ

เป็นไงครับนี่แค่เกริ่นนำ ยังไม่ทันจะเข้าเรื่องบทความวันนี้เลยครับ ยาวไปสามหน้าแล้ว หวังว่าหลายๆคนคงจะรู้แล้วนะครับว่าตัวเองน่าจะเข้ากับแนวไหนมากกว่ากัน เอาเป็นว่า >> อยากเท่ห์ไป Inter agent/ อยากรวยไป Developer agent/ อยากมั่นคงและรวยอยู่แล้วก็ไปซื้อ franchise นะครับ 5555555

วกกลับมาเข้าเรื่องหลักบ้างครับ จากที่ผมบอกถึง competitive arena มายืดยาวนั้น ผมขอบอกไว้ล่วงหน้า ไปอีก 1 ปีข้างหน้าเลยครับ ว่ากลุ่มตลาดที่มีความเสี่ยงมากที่สุดก็คือกลุ่มตลาดที่เป็นส่วนของ local broker ครับ ด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการคือ 1. คุณหา stock ยากขึ้นเรื่อยๆ และถึงหาได้ก็ไม่มีอาวุธเด็ดอะไรมาแข่งกับการ integrated promotion กับ developer agent ได้ เช่น โปรฟรีโอน ฟรีเฟอร์ ซึ่งโปรโมชั่นเหล่านี้แม้ว่าคุณจะลดค่าคอมลงมาเท่าไหร่ก็ตามมันก็เทียบกันไม่ได้เลยครับ 2. นายหน้าต่างชาติเข้ามาหากินกันได้แบบไร้ขีดจำกัด…ไม่ต้องมี license ก็ทำได้ อีกทั้งเมื่อ AEC เริ่มพวกนายหน้าต่างชาติก็จะประดังประเดกันเข้ามาตั้งสาขาในเมืองไทยพร้อมกับการ sign exclusive contract ในการดึงลูกค้ามาจากประเทศนั้นๆ 3. Local broker นั้นยังต้องแข่งขันโดยตรงกับเหล่า owner ที่นิยมการซื้อขายกันเอง อยู่เป็นประจำ…..ดังนั้นหากใครที่อยากจะมีหนทางไปในธุรกิจสายนี้คุณต้องมี 10 อย่างเหล่านี้ครับ

1. เน้นในเรื่อง Customer Service: ในส่วนของการบริหารงานลูกค้านั้น สำคัญมากๆ นะครับ ในอาชีพ นายหน้า เพราะคุณต้องมีการพูดคุย โน้มน้าว หาคอนเนคชั่นใหม่ๆตลอดเวลา คำว่า customer service ของผมนั้นรวมองค์ประกอบหลายๆอย่างดังนี้นะครับ

  • Instant feedback – ในการดูแลลูกค้านั้น ที่สำคัญคือคุณต้องมีการ feedback ลูกค้าให้ได้โดยเร็วที่สุดครับ อย่าลืมว่าลูกค้า 1 ราย มีการสอบถามถึงสินทรัพย์กับนายหน้าต่างๆหลายคนมาก นายหน้าคนไหนที่มี feedback ไวกว่า นำเสนอข้อมูล ทำนัด touring ได้ไวกว่าคนนั้นจะได้เปรียบครับ
  • Customer Classify – คำว่าลูกค้าในเชิงธุรกิจนายหน้านั้น ต้องแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ และหลายกลุ่มย่อยนะครับ กลุ่มผู้ขาย –ผู้ฝากเช่า และกลุ่มผู้ซื่อ-ผู้เช่า หากคุณไม่มีระบบหลังบ้านในการเก็บ database และกรองข้อมูลที่ละเอียด ถูกต้องเป็นระเบียบแล้ว การทำการตลาดให้ถูกต้องตาม target ก็จะไม่มีวันทำได้ครับ
  • Customer Promotion – หากคุณต้องการให้ลูกค้าติด สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือต้องสร้างความประทับใจให้ลูกค้าเก่าของคุณ เช่น เมื่อมีของอะไรดีๆ แทนที่คุณจะไป offer ให้กับลูกค้าใหม่ คุณควรที่จะต้องพิจารณาถึงกลุ่มลูกค้าเก่า โดยเฉพาะกลุ่ม top spender ของคุณก่อน
  • Customer feedback – สำคัญมากนะครับ ยิ่งหากว่าคุณเป็นบริษัทที่ใหญ่มากๆ มีเซลล์หลายคน คุณไม่ควรที่จะนั่งฟังแค่ลมปากของเซลล์เพียงอย่างเดียว โดยขาดการฟังเสียงตอบรับจากลูกค้า ซึ่งหากคุณมีการทำ survey ความพึงพอใจของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอแล้ว บางทีคุณอาจจะพบช่องโหว่หลายๆอย่างที่เกิดขึ้นในตัวบริษัทคุณก็ได้ หรือบางทีอาจจะพบว่าเซลล์คุณอาจจะไม่ได้ปิดเข้าบริษัทคุณ หรือมีการเรียกรับทิปที่เกินความจำเป็นจากผู้ฝากขาย

2. มี License การเป็นนายหน้า – ข้อนี้หลายๆคนคงจะมาแย้งผมว่า ไม่จริงหรอกเป็นนายหน้าเมืองไทย ไม่จำเป็นต้องมี license แต่ในความเป็นจริงแล้วผมเห็น developer agent หลายบริษัท ไม่มี license การเป็นนายหน้านะครับ ซึ่งถามว่ามีไปแล้วจะได้อะไร คำตอบคือได้มากมายมหาศาลครับ ในอนาคตคุณจะสามารถแข่งขันกับบรรดานายหน้าต่างชาติได้อย่างเต็มภาคภูมิ และหากคุณอยากจะขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ เอาง่ายๆ การไปขายคอนโดที่สิงค์โปร์นั้น คุณจำเป็นต้องมี license ในการขายนะครับ อย่าว่าแต่จะขายเลย แค่คุณไปลงโฆษณาอสังหาฯในประเทศเค้าเนี่ย เค้ามีข้อกำหนดว่าให้ระบุ license number ด้วยนะครับ ไม่งั้นไม่ให้ลง

3. อย่าให้ website ของคุณเป็นแค่ web listing – เทรนด์การบริโภคสื่ออนไลน์ของผู้บริโภคสมัยนี้คือการสร้าง creative content เพื่อให้ user เกิด engagement จนนำมาซึ่ง conversion ครับ หากเวปของคุณไม่ได้มีเนื้อหา คำเชิญชวน หรือลูกเล่นอะไรที่แปลกใหม่เลย แถม stock ก็ยังเหมือนๆกับชาวบ้านอีก คนดูเค้าก็เลือกที่จะปิดหน้าต่างเวปของคุณเป็นลำดับแรกครับ

4. หัดเล่านิทานให้เป็น – ผมเห็นการลงประกาศตาม web listing ของบรรดานายหน้าเมืองไทย นั้นแล้วก็พาลหงุดหงิดครับ ไม่รู้ทำไมส่วนใหญ่ลงเป็น pattern เดียวกันหมดเลย แถมไม่ใส่ราคา ไม่ใส่เบอร์โทร แถมล่อให้คนมาโพสบอกอีเมลเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมอีก….ผมต้องบอกว่ามันเป็นวิธีการที่เชยมากครับ เนื่องจากในสมัยก่อนการลง listing ในเวปปลากัดเนี่ย หากต้องการให้ยอด view ของกระทู้ตัวเองสูงขึ้น มันก้ต้อง draw ให้คนมาโพสถาม มา view ในกระทู้เยอะๆ บรรดานายหน้ามันก็เลยไม่บอกอะไรเลยครับ แทนที่ตัวเองจะกด up กระทู้เอง กลับใช้คนที่สนใจเป็นคนกด up กระทู้โดยการฝากอีเมลให้ซะงั้น >>> ขอบอกนะครับว่ายอด page view คุณอาจจะสูงแค่ในเวปนั้นๆ แต่ข้อมูล listing นี้มันไม่ถูกนำไปแสดงผลใน search engine เลยนะครับ เพราะ bot ของ google จะเลือกการแสดงผลลำดับต้นๆให้กับกระทู้ที่มีเนื้อหาความน่าสนใจ เช่น มีการอธิบายอย่างชัดเจนว่าโครงการนี้มี fact sheet อย่างไร ตกแต่งอย่างไร ทิศไหน ชั้นไหน ราคาเท่าไหร่ รวมถึง benefits ที่ได้มากกว่าครับ เปลี่ยนนะครับเปลี่ยนเพราะเดี๋ยวนี้ทั้ง google และผู้บริโภคเค้ามีเวลาซึมซับข้อมูลมากขึ้นครับ

5. โฟกัสการขายแค่สิ่งที่ตัวเองถนัด – หากคุณเลือกที่จะขายคอนโดในไลน์สีลมเท่านั้น คุณก็ควรเลือกเท่านี้ไปเลยครับ ไม่ใช่ว่าทำตัวเป็นมีของขายทุกอย่าง แต่พอมีลูกค้าสอบถามเข้ามาจริงๆคุณกลับต้องขอเวลาลูกค้าเพื่อไปตรวจเช็คข้อมูลดูก่อนว่า เอ ราคามันขึ้นรึยังนะ โปรเจคนี้เรามีห้องไหนบ้าง แล้วเค้าขายไปรึยัง….โถๆๆ ลูกค้าเค้าไม่รอคุณหรอกครับ กลับกัน หากลุกค้าคุณโทรเข้ามา แต่คุณสามารถตอบคำถามลูกค้าได้ทุกอย่าง เพราะมีการเช็คสถานะห้องกับ owner อยู่ตลอดเวลา ลูกค้าก็จะเกิดความเชื่อมั่นในตัวคุณครับ และจะนำมาซึ่งการใช้บริการ

6. สร้าง website ให้เป็น multi screen – ข้อนี้จัดว่าเป็นหนึ่งในดิจิตอลเทรนด์หลักของปีนี้เลยนะครับ คือปัจจุบันนี้เทคโนโลยีการเขียนโปรแกรมให้มัน cross platform ได้มันง่ายมากๆ ยิ่งการทำให้มันเป็น mobile site หรือ mobile app นั้น มันไม่ได้มีราคาหลักแสนเหมือนเมื่อสองสามปีก่อนแล้วครับ การเสียเงินเพิ่มขึ้นแค่ไม่เท่าไหร่ แลกกับการที่ได้รับลูกค้ามากขึ้นมันคุ้มค่าที่จะทำครับ

7. จดจำ Listing ที่ตัวเองไปโพส และเข้าไป update อย่าสม่ำเสมอ – ปัจจุบันนี้ ผมก็ต้องขอยืนยันนะครับ ว่าคุณไม่จำเป็นต้องไปโพสในเวปไซต์เป็นร้อยๆพันๆเวป เลือกแค่เวปที่มี stat ดีที่สุด ที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมายคุณมากที่สุดแค่ 2-3 แห่ง พอครับ เพราะมันคงไม่ดีแน่ถ้าคุณจะต้องตามไป update ทุก listing ในโลกออนไลน์ของคุณ ถึงแม้ว่าตอนนี้เทคโนโลยีการ update จะก้าวไกลไปแค่ไหนก็ตาม

8. อย่าไปไว้ใจพวก web listing ต่างชาติ (บางเวป) – ตอนนี้มีพวกฝรั่งหัวใสเยอะแยะครับ ที่ทำตัวเป็นสื่ออนไลน์ประเภทที่ว่าไปดึงกระทู้ของคุณมาอัตโนมัติจากเวปต่างๆ แล้วมาจัดเข้าไว้ในเวปตัวเอง อวดอ้างสรรพคุณว่าเป็น google ของธุรกิจอสังหาฯ แถมมาหลอกขายโฆษณาคุณอีก ระวังนะครับ ระวังเพราะคุณอาจจะโดนพวกนี้ขโมยลูกค้าคุณโดยไม่รู้ตัว สังเกตดีๆว่าทุกครั้งที่เข้าดึงข้อมูลคุณไป เข้าได้มีการดึงข้อมูลบริษัท เบอร์โทรคุณไปแสดงผลด้วยรึเปล่า หรือทางที่ดีคุณลองส่ง inquiry ไปเลยครับ ว่าจะมีใครโทรกลับมารึเปล่า ถ้าบังเอิญส่งไปยัง listing คุณ แต่ดันมีคนจากไอ้บริษัท สื่อนั้นโทรมาขายของแทน หรือวันดีคืนดีมีคนจาก บริษัทสื่อนั้นโทรมาขอ co stock ด้วย ก็ให้รับทราบไว่เลยนะครับ ว่าคุณโดนแล้วล่ะ!!!

9.Social media น่ะ มีไว้มันดีกว่าไม่ดีนะ – หลายๆคนมองว่า ไม่อยากเปิดหน้า fanpage หรือไม่อยากที่จะสร้าง account ของบรรดา social media ทั้งหลายแหล่ อันนี้คุณกำลังจะเสียโอกาสทางธุรกิจไปนะครับ อย่าลืมว่าตอนนี้ประเทศไทยติดอันดับประเทศที่มีคนใช้ social media เยอะที่สุดในโลก หลายๆธุรกิจเค้าเน้นการทำตลาดออนไลน์ในส่วนของ social media มากกว่าการทำ search engine marketing ด้วยครับ

10. Business Connection – ถึงแม้คุณจะขายของแค่คนเดียว แต่คุณไม่สามารถยืนหยัดทำธุรกิจนี้ได้เพียงแค่คนเดียวครับ การทำ co broker สำคัญมากๆทั้งในการหาสต๊อคและการขายของ นายหน้าบางรายใช้ทางลัด มีการใช้เงินใต้โต๊ะในการเจาะสต๊อคของคู่แข่งด้วยวิธีการต่างๆนานา ซึ่งมันอาจจะช่วยได้ในเรื่องของความอุ่นใจครับ ว่าเออ อย่างน้อยก็มีของขาย แต่คุณอย่าลืมนะครับว่าของเหล่านี้คุณไม่ได้ขายได้คนเดียวครับ หากคุณมีของแต่คุณปล่อยใม่ได้ มันก็เหมือนหัวล้านได้หวีครับ นอกจากนั้นตัวคุณเองก็จะไม่สามารถทำงานด้าน co broker ร่วมกับบริษัทอื่นๆได้อีกเลย มันคุ้มกันมั้ย ครับกับโอกาสทางธุรกิจในอนาคต ที่คุณต้องสูญเสียไป

เอาล่ะครับจบซะที คนไหนที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ก็ถือว่าเก่งมากนะครับ ขอปรบมือให้ดังๆสิบทีครับ 555 วันนี้ขอตัวไปก่อน พบกันใหม่เดือนหน้านะครับ ใครอยากจะแนะนำ ติชม หรือปรึกษาเรื่องราวในด้านอื่นๆก็เชิญส่งเมลมาหาผมได้ที่ kirk.bu@gmail.com นะครับ สวัสดีครับ

บทความโดย เกริก บุณยโยธิน

 

เกริก บุณยโยธิน

เกริก บุณยโยธิน

ผู้ก่อตั้งเวปไซต์แบ่งปันความรู้ด้านการตลาด และการสร้างแบรนด์ในวงการอสังหาฯ พร็อพฮอลิค ดอทคอม..หลังจากที่ใช้เวลามากกว่า 10 ปี ในการวนเวียน เข้าๆออกๆ ในสายงานด้านการตลาด และวางแผนกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ของบริษัทอสังหาฯ และเอเยนซีโฆษณาชั้นนำหลายแห่ง (โดยที่ไม่รู้ว่าทำไมต้องจับสลากเจอลูกค้าสายอสังหาฯทุกที)...จนถูกครอบงำโดยจิตใต้สำนึก ให้ถีบตัวเองออกจากกรอบการทำงานแบบเดิมๆ เพื่อออกมาจุดประกายความคิดที่ถูกต้อง และนำเสนอมุมมองใหม่ๆ ให้กับกลุ่มคนที่สนใจในธุรกิจอสังหาฯ

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง