ทฤษฎีหน้าต่างแตก กับเหตุผลที่ทำให้บ้านคุณรก

นันทเดช สุทธิเดชานัย 24 August, 2015 at 20.17 pm

ประกาศที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา


ในการออกแบบภายใน องค์ประกอบต่างๆเช่น สี แสง เงา รูปทรง เส้นสาย ลวดลาย ส่งผลต่อจิตใต้สำนึกและอารมณ์ความรู้สึกของผู้ที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญ โดยเขาเหล่านั้นอาจไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ ดังนั้นการที่ที่อยู่อาศัยรก ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ย่อมส่งผลกระทบต่ออารมณ์ผู้อยู่อาศัยอย่างแน่นอน และนอกจากนั้นยังอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ ถ้ามีของวางเกะกะบริเวณที่มีความเสี่ยง เช่นทางเดิน หรือบันได ดังนั้นการทำบ้านให้เป็นระเบียบจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง

หลายครั้งที่ผมมีโอกาสได้กลับไปเยี่ยมบ้านลูกค้าหลังจากที่ได้ส่งมอบงานตกแต่งไปนานแล้ว ลูกค้าบางท่านจัดข้าวของไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมือนที่วางแผนไว้ด้วยกันตอนออกแบบแม้เวลาจะผ่านมาเป็นหลักปีแล้วก็ตาม บางท่านหาซื้อของตกแต่งต่างๆจัดเรียงอย่างสวยงามราวกับในนิตยสารตกแต่งบ้าน ในฐานะคนออกแบบก็รู้สึกดีใจว่าเราได้ทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์แล้ว และได้มอบคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยที่ดีให้ลูกค้า แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่กลับไปแล้วพบว่ามีข้าวของเพิ่มขึ้นมากมาย มากกว่าพื้นที่จัดเก็บที่ได้วางแผนไว้ และข้าวของต่างๆก็อยู่ผิดที่ผิดทาง ทั้งที่ตอนออกแบบก็ได้วางแผนกับลูกค้าไว้เป็นอย่างดีแล้ว ในฐานะคนออกแบบผมพยายามคิดซ้ำไปซ้ำมาว่ามีจุดใดที่บกพร่องผิดพลาดไป และอนาคตจะหาทางแก้ไขป้องกันอย่างไรไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้น…

จนกระทั่งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมบังเอิญได้อ่านเกี่ยวกับ Broken Window Theory หรือขอเรียกเป็นภาษาไทยว่า “ทฤษฎีหน้าต่างแตก” นำเสนอครั้งแรกในปี 1982 โดยนักสังคมวิทยา James Q. Wilson และ George L. Kelling



ทฤษฎีนี้เดิมใช้อธิบายเรื่องระดับการเกิดอาชญากรรม โดยอธิบายไว้ว่าการปล่อยปละละเลยให้เกิดอาชญากรรมเล็กน้อย เช่น การทำหน้าต่างอาคารแตก ไม่นานจะส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมที่ใหญ่กว่ามาก กล่าวคือ ถ้ามีคนทำหน้าต่างแตกหนึ่งบาน แต่เรากลับเพิกเฉยไม่ใส่ใจที่จะซ่อมแซม ไม่นานหน้าต่างบานที่สองจะแตกเพราะคนคิดว่าไม่เป็นไร ถ้าเรายังเพิกเฉยอีกก็จะมีบานที่ 3, 4, 5,… ตามมา จนอาคารเสื่อมโทรมกลายเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อแก่การก่ออาชญากรรมที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

 

DSC_4259_s
broken-window_drawing_01

 

ทฤษฎีนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วหลายครั้ง ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุดคือ New York ในปี 1990 เริ่มมีการเข้มงวดตรวจจับอาชญากรรมเล็กน้อย เช่น การพ่นสีอาคาร ปัสสาวะในที่สาธารณะ การขายบริการทางเพศตามถนนและอื่นๆ ปรากฏว่าปริมาณอาชญากรรมทั้งเล็กใหญ่ลดลงต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญตลอดทศวรรษ อีกตัวอย่างในปี 2005 เมื่อมหาวิทยาลัย Harvard ร่วมกับมหาวิทยาลัย Suffolk ทำการวิจัยในเมือง Lowell รัฐ Massachusetts โดยเลือกพื้นที่ของเมือง 2 ส่วนมาทำการวิจัย พื้นที่ส่วนแรกไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย ในขณะที่พื้นอีกส่วนมีการทำความสะอาดเมือง เก็บขยะ ซ่อมไฟถนน ให้ตำรวจเพิ่มความเข้มงวดกับอาชญากรรมเล็กน้อย เช่น การทิ้งขยะ พ่นสี ฯลฯ ผลวิจัยรายงานกว่าจำนวนสายโทรศัพท์ที่โทรแจ้งความกับตำรวจในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลง ลดลงมากถึง 20% เทียบกับพื้นที่ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

 

function-space

 

กลับมาที่เรื่องบ้าน ในการออกแบบที่อยู่อาศัย พื้นที่ทั้งหมดถูกจัดสรรออกเป็นส่วนๆ ตามฟังก์ชั่นการใช้งาน เช่น ส่วนเก็บของ ส่วนอยู่อาศัย ส่วนทางเดินสัญจร เป็นต้น ทีนี้ลองจินตนาการว่าเกิดการใช้งานผิดประเภท มีคนนำของไปวางนอกพื้นที่จัดเก็บ เช่น พื้นที่ทางเดิน ตอนแรกอาจจะวางทิ้งไว้แค่ชิ้นสองชิ้น (เหมือนหน้าต่างบานแรกที่แตก) แต่สมาชิกในบ้านกลับเพิกเฉยคิดว่าไม่เป็นไร (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนั้น เพราะของชิ้นเดียวที่วางผิดที่ยังไม่สร้างความเดือดร้อน) ถ้าของชิ้นแรกถูกเพิกเฉย อีกไม่นานก็จะมีของชิ้นที่สอง ชิ้นที่สามตามมาเรื่อยๆ จนทั้งบริเวณเต็มไปด้วยของรกๆ สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าอยู่ และไม่มีใครอยากเข้าไปจัดเก็บเพราะต้องใช้เวลาและแรงงานมาก ทำให้ปัญหาสะสมมาขึ้นเรื่อยๆ เปรียบเหมือนอาคารที่หน้าต่างแตกและมีสภาพแวดล้อมทรุดโทรมเอื้อแก่อาชญากรรมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนยากจะแก้ไข

broken-window_drawing_02

 

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่าไม่ว่าปัญหาอาชญากรรม หรือปัญหาบ้านรก ทั้งสองปัญหาล้วนมีต้นตอที่เหมือนกัน คือ “การละเลยเพิกเฉยต่อปัญหาเล็กน้อย” และการที่เรา “ยอมรับที่จะเห็นปัญหานั้นเกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติจนชินตา” และปล่อยให้ลุกลามมากขึ้น จนสภาพแวดล้อมโดยรวมเอื้อให้เกิดปัญหาที่ใหญ่กว่ามากจนยากที่จะแก้ไขได้ ดังนั้นทางแก้ไขทางเดียวคือความมีระเบียบวินัยและความเข้มงวดของผู้อยู่อาศัยที่จะไม่ละเลยและเพิกเฉย และมีความกระตือรือร้นที่จะรีบจัดการปัญหาแม้จะเพียงเล็กน้อยมากก็ตาม
สุดท้ายนี้ผมขอทิ้งการบ้านไว้ให้ผู้อ่านได้ลองคิดต่อยอดดูว่า “ทฤษฎีหน้าต่างแตก” ที่นำมาเล่าวันนี้จะนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหาใดได้อีกบ้าง วันนี้ผมเล่าเรื่องการประยุกต์ใช้กับปัญหาที่บ้านเพราะบ้านและครอบครัวเป็นหน่วยทางสังคมที่เล็กที่สุด จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ง่ายที่สุด ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่า

 

อ้างอิง
“Broken Window Theory”. Wikipedia. https://en.wikipedia.org/wiki/Broken_windows_theory
“Research Boosts Broken Windows”. Suffolk University. 2009-02-20. http://www2.suffolk.edu/34417.html

นันทเดช สุทธิเดชานัย

นันทเดช สุทธิเดชานัย

จบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และเริ่มงานด้านที่ปรึกษาการตลาดในบริษัท ไอเดีย 360 จำกัด จนได้เรียนรู้ประสบการณ์จากหลายกลุ่มธุรกิจ จึงตัดสินใจออกมาเปิดธุรกิจส่วนตัวด้านออกแบบภายใน และที่ปรึกษาด้านการลงทุนอสังหาฯแบบครบวงจร โดยมีความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านการออกแบบภายในที่อยู่อาศัย และมีพันธมิตรที่สำคัญคือบริษัท ฮาว บิวเดอร์ จำกัด รับผิดชอบในส่วนรับเหมาก่อสร้าง และต่อเติมอาคาร เพื่อให้บริการลูกค้าได้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น

เว็บไซต์

ศุภาลัย พรีเมียร์ สามเสน-ราชวัตร

โซลเลซ พหลฯ-ประดิพัทธ์

นิว เวิร์ส กรุงเทพกรีฑา

ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาต้องบอกว่าย่านกรุงเทพกรีฑาตัดใหม...

28 February, 2024

นิว ซี-สแควร์ สวนหลวง สเตชั่น

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาพบกับโครงการคอนโดพร้อมอ...

30 January, 2024

ริธึ่ม เจริญนคร ไอคอนิค

วันนี้จะมาเล่าเรื่องเกี่ยวกับคอนโดมิเนียมสุดฮอตชื่อโ...

29 January, 2024

วิสซ์ดอม คราฟท์ สามย่าน

Whizdom Craftz Samyan คือโครงการที่มอบ 5 องค์ประกอบพ...

4 December, 2023

สอบถามโครงการ

ได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว
ขอบคุณอย่างยิ่งที่สนใจครับ
จะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับไปนะครับ

ขออภัย
ไม่สามารถส่งข้อมูลได้
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง